บันทึกของพาพัน@Pantip ตอน สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society)

พาพันชอบ

สวัสดีครับเพื่อนๆ พี่ๆ ทุกคน กลับมาเข้าคลาสเรียนวิชารักษ์โลกกับพาพันในซีรี่ย์สาระดีๆ ที่ว่าด้วยเรื่องราวของวิชา “Scrap Design การออกแบบจากวัสดุเหลือใช้” ซึ่งกระทู้นี้เป็นกระทู้ลำดับที่ 5 แล้วนะครับ

แต่ก่อนที่จะไปชมว่าวันนี้พาพันมีเรื่องน่าสนใจอะไรมาฝากพี่ๆ  พาพันขออนุญาตใช้พื้นที่อัพเดทผลงานที่ผ่านมาก่อนนะครับ  ใครพลาดกระทู้ไหนในซีรี่ย์นี้ไป  ตามกลับไปอ่านได้เลยครับผม

Scrap Design the Series  1 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน วิชาออกแบบเศษวัสดุเหลือใช้
Scrap Design the Series  2 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์กับเส้นใยธรรมชาติ วิชา Scrap Design
Scrap Design the Series  3 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน Dyeing การย้อมสี กลวิธีดึงสีสันจากธรรมชาติ
Scrap Design the Series  4 บันทึกของพาพัน@pantip ตอน ผลงานการศึกษาและออกแบบเศษวัสดุ วิชา Scrap design


พาพันประจำที่  เตรียมพร้อมเก็บข้อมูลรักษ์โลกมาฝากพี่ๆ ครับผม



พี่ๆ นักศึกษาก็ทยอยมากันแล้วครับ


เย็นวันนี้อาจารย์สิงห์เปิดเรื่องด้วยการพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับโลกใบนี้ครับ ในสถานการณ์ปัจจุบันโลกนี้มีทั้งปัญหาเรื่องการบริโภคเกินความจำเป็น (Over consumption)  ประชากรล้น (Over Population) การขยายความเป็นเมือง (Urbanization)   มลพิษ (Population) ความยากจน (Poverty)   โรคที่เพิ่มขึ้น เช่น ซารส์ (SARS)  ความหลากหลายทางชีวภาพที่หายไป (Biodiversity) และตอนนี้ก็ถึงยุคที่พูดถึงปัญหาโลกร้อน (Global Warming)  ปัญหาใหญ่ที่นำไปสู่ปัญหาทั้งเรื่องมลพิษทั้งทางอากาศและน้ำ (Air & Water pollution)  และด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายเกิดสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง(Climate change)  สภาพอากาศเริ่มเพี้ยน  สับสน  และมั่วไปหมด


อย่างภัยธรรมชาติเมื่อ 30 ปีที่แล้ว เกิดขึ้นประมาณ 150 ครั้งต่อปี รอบโลก แต่เมื่อปีที่แล้ว คือปี 2013 มีภัยธรรมชาติเกิดขึ้นเกือบ 500 ครั้ง ถือว่าภัยธรรมชาติเกิดบ่อยขึ้นมากๆ  เฉลี่ยแล้วเรียกได้ว่าเกิดภัยธรรมชาติทุกๆ วันเลย  ซึ่งภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยมาจากกิจกรรมของมนุษย์นี่แหละครับ




ถ้าหากเราพิจารณาดูจะเห็นว่าตอนนี้โลกของเรากำลังแย่แล้ว  คำถามสำคัญที่ตามมาคือ  

“ตอนนี้เราผ่านจุดที่หมดหนทางแก้ไขแล้วหรือยัง”


พี่ๆ บางคนในห้องเรียนมีความคิดว่าเราเลยจุดที่จะแก้ไขได้  แต่บางคนก็มีความเห็นว่ายังไม่เลยจุดนั้น  เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลานานในการแก้ปัญหา  แต่ความจริงก็คือ  “เราไม่รู้” เราไม่รู้ว่าเราผ่านจุดนั้นมาแล้วหรือยัง   ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้เกิดการโต้เถียงกันมากมายว่าทำไมกลุ่มคนที่อยู่กับไอที โลกไซเบอร์ โลกไฮเทค โลกของแฟชั่นดีไซน์จึงยังไม่เชื่อว่าโลกนี้จะแย่เกินเยียวยา แต่ทำไมสถาปนิกเชื่อว่าโลกย่ำแย่แล้ว  ก็เพราะเรายังไม่รู้  
พาพันสงสัยพาพันสงสัย


ในวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสังคมคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Society กันครับ  พาพันเชื่อว่าเพื่อนๆพี่ๆ น่าจะเคยได้ยินคำๆ นี้  แต่จริงๆ แล้วสังคมคาร์บอนต่ำคืออะไร และจะช่วยแก้ปัญหาโลกของเราได้อย่างไร  อาจารย์สิงห์จะมาอธิบายหลักการและกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำครับ


อาจารย์สิงห์ถามพี่ๆนักศึกษาว่า
อาจารย์สิงห์ : สังคมคาร์บอนต่ำมีหน้าตาเป็นอย่างไรในความคิดเห็นของเรา
พี่ๆนักศึกษา : เป็นสังคมที่คิดก่อนใช้  สังคมที่เลือกใช้พลังงานทางเลือก  เช่น  พลังงานแสงอาทิตย์  พลังงานลม  ก๊าซชีวภาพ
ซึ่งอาจารย์สิงห์เลยถามพี่ๆ นักศึกษาต่อว่า  
อาจารย์สิงห์ : แล้วสังคมคาร์บอนต่ำเป็นเหมือนในรูปนี้หรือเปล่า??








จากที่เห็นเมืองใหญ่ทุกเมืองต่างพยายามพัฒนาและก่อสร้าง สร้างสิ่งต่างๆ ไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ  แต่ลองนึกดูนะครับว่า หากเรายังมุ่งหน้าสร้างๆๆๆ ต่อไปอย่างนี้ อนาคตของเราจะเป็นอย่างไร  ต่อให้เราจะสร้างตึกที่ถูกต้องตามกฎหมาย  ตามหลักของอาคารรักษ์โลก (Green Buildings) แต่โลกจะยั่งยืนจริงหรือ  แม้เมืองแบบโตเกียวจะทำตาม Green Building Codes อย่างเคร่งครัด  แต่โตเกียวจะเป็นเมืองที่ยั่งยืน เป็นสังคมคาร์บอนต่ำหรือเปล่า  และจะยั่งยืนต่อไปในอนาคตหรือไม่  อาจารย์สิงห์บอกว่า  ในฐานะที่เราเป็นนักออกแบบ  เป็นวิศวะกร  เป็นสถาปนิก  เราต้องคิดเรื่องนี้  เราคงต้องหาทิศทางใหม่  หาทางเลือกใหม่  เพราะเราจะไปในทิศทางเดิมไม่ได้


Cr : ภาพสไลด์โดย สิงห์ อินทรชูโต
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่