‘ไฮโดรเจน’ ดาวรุ่งแทนที่อีวี? ให้พลังงานโดยไม่ก่อมลพิษ จีนทุ่มลงทุน มัสก์เปลี่ยนใจมาลุย
.
จากวิวาทะ ‘รถอีวี’ หรือ ‘รถไฮโดรเจน’ แบบไหนดีกว่า ล่าสุด ‘จีน’ หันมาทุ่มกับพลังงานไฮโดรเจนแล้ว ไม่เว้นแม้แต่ ‘อีลอน’ ที่เคยมองไฮโดรเจนว่าโง่เขลาก็เปลี่ยนความคิดมาลุย พลังงานที่ให้ทั้งความร้อนและไฟฟ้าโดยไม่ก่อมลภาวะ อีกทั้งเป็นน่านน้ำใหม่ที่ไม่ฟาดฟันกันจนนองเลือดเท่าอีวี
.
นับตั้งแต่โลกถือกำเนิดมาเมื่อ 4,600 ล้านปีที่แล้ว “พลังงานฟอสซิล” ซึ่งเกิดจากการทับถมของสัตว์มาหลายพันปีได้ช่วยหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ แต่ในอีกด้านของเหรียญ กลับก่อมลภาวะโลกร้อน และมลพิษฝุ่น PM2.5 ที่เผชิญกันทุกวันนี้
.
อย่างไรก็ตาม มีแหล่งพลังงานหนึ่งที่อาจเข้ามาเปลี่ยนโลกใบนี้ให้ดีขึ้นได้ เพราะสามารถสร้างกระแสไฟฟ้า และให้พลังงานความร้อนโดย “ไม่ก่อมลพิษใด ๆ” แม้ถูกเผาไหม้ก็ตาม นั่นคือ “พลังงานไฮโดรเจน” และนี่คือสิ่งที่ “รัฐบาลจีน” หันมาทุ่มพัฒนาในขณะนี้ โดยได้กำหนดให้เป็น 1 ใน 6 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตของจีน
.
📌หายนะโลกร้อนให้โอกาสทางธุรกิจ
.
นอกจากมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกแล้ว จีนยังเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกในปี 2024 ด้วย เพื่อให้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2060 ดังที่จีนตั้งเป้าไว้ พญามังกรจึงหันมาทุ่มพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนนี้
.
จุดเด่นของพลังงานนี้ คือ หากเป็น “พลังงานฟอสซิลแบบเดิม” อย่างน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ เมื่อถูกเผาไหม้แล้วจะเกิดมลพิษและ “ก๊าซคาร์บอน” ขึ้น ซึ่งเป็นตัวการโลกร้อน
.
ต่างจาก “ไฮโดรเจน” เมื่อถูกเผาแล้ว กลับให้ไอน้ำและพลังงานความร้อนแทน โดย “ไม่มีควันหรือมลพิษเกิดขึ้น” จึงสามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ทำความร้อน และลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมอย่างเหล็กและซีเมนต์ได้ เพื่อจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส
.
องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะโลกร้อน โลกอาจต้องใช้ไฮโดรเจนอย่างน้อย 430 ล้านตันต่อปีภายในปี 2050 เทียบกับ 95 ล้านตันในปี 2022 ซึ่งมีแนวโน้มสร้างโอกาสทางธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมาก สร้างงานหลายล้านตำแหน่งทั่วโลกในอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน และนี่ถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ที่จีนสนใจอย่างยิ่ง
.
ในปัจจุบัน “จีน” เป็นผู้ผลิตไฮโดรเจนรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยผลิตไฮโดรเจนประมาณ 25 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 4 ของผลผลิตทั่วโลก
.
แม้ว่าจีนยังไม่ครองตลาดไฮโดรเจนสูงเหมือนที่จีนครองส่วนแบ่งอีวีของโลกถึง 76% ตามข้อมูลจากสมาคมรถยนต์นั่งแห่งประเทศจีน ทว่า ผู้ใดก็ตามที่เข้าสู่ตลาดก่อน ย่อมเป็นผู้ลดต้นทุนต่อหน่วยได้ก่อน ซึ่งจะทำให้มี “ข้อได้เปรียบ” เหนือคู่แข่งที่เข้าสู่ตลาดช้ากว่า ยิ่งในช่วงที่ไฮโดรเจนยังไม่เป็นที่กล่าวขานมากนัก และยังไม่มีคู่แข่งมากรายเท่าอีวี
.
📌น่านน้ำใหม่ที่ไม่ฟาดฟันหนักเท่าอีวี
.
ก่อนหน้านี้เคยเกิดวิวาทะระหว่าง “รถอีวี” กับ “รถไฮโดรเจน” หลายคนมองว่าต้นทุนการผลิตรถไฮโดรเจนยังคงค่อนข้างสูง อีกทั้งเสี่ยงอันตรายมากกว่า เพราะไฮโดรเจนเป็นก๊าซไวไฟ จึงทำให้เทรนด์โลกแห่ไปทางรถยนต์ไฟฟ้าแทน
.
แต่ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมรถอีวีดูเหมือนมาถึง “จุดใกล้อิ่มตัว” แล้วหรือไม่ เมื่อกว่า 80% ของผู้ผลิตอีวีจีนอยู่ไม่รอด จากเดิมที่เคยมีบริษัทรถอีวีเกือบ 500 รายเมื่อปี 2019 แต่มีปิดกิจการไปราว 400 ราย เหลือเพียงประมาณ 100 รายในปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนถึงจำนวนผู้ผลิตอีวีขยายใหญ่กว่าตลาดจนต้องหันมาฟาดฟันราคากันเอง กลายเป็นน่านน้ำสีเลือด
.
แม้แต่อีลอน มัสก์ ก็เปลี่ยนแนวคิดด้านไฮโดรเจน เดิมทีอีลอนเคยวิจารณ์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนว่า “โง่เขลาอย่างยิ่ง” และเป็น “สิ่งที่โง่ที่สุดเท่าที่ผมจินตนาการได้ในการกักเก็บพลังงาน” อีกทั้งเสริมอีกว่า การกักเก็บไฮโดรเจนมีความซับซ้อน และเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าแบตเตอรี่ จนไม่เหมาะกับการใช้งานจริง
.
แต่ในปัจจุบัน อีลอนเปลี่ยนความคิดนี้แล้วแบบ 180 องศา โดยประกาศว่า Tesla จะเริ่มใช้พลังงานไฮโดรเจนในปี 2026 นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับ Tesla ซึ่งก่อนหน้านี้มุ่งเน้นไปที่รถยนต์ไฟฟ้า
.
แน่นอนว่าเมื่อรายใหญ่ Tesla ขยับ พญามังกรก็ขยับด้วย รัฐบาลจีนมีเป้าหมายที่จะนำรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน 50,000 คันออกสู่ท้องถนนภายในปี 2025 พร้อมสร้างสถานีบริการเติมไฮโดรเจนรองรับ ไม่แน่ว่าสงครามเลือดอีวีอาจย้ายไปสู่ตลาดใหม่อย่าง “ไฮโดรเจน” ก็เป็นได้ ในการชิงเป็นเจ้าตลาดนี้
.
.
ที่มา :
https://www.bangkokbiznews.com/world/1162545?anm=
.
‘ไฮโดรเจน’ ดาวรุ่งแทนที่ EV? ให้พลังงานโดยไม่ก่อมลพิษ จีนทุ่มลงทุน มัสก์เปลี่ยนใจมาลุย
.
จากวิวาทะ ‘รถอีวี’ หรือ ‘รถไฮโดรเจน’ แบบไหนดีกว่า ล่าสุด ‘จีน’ หันมาทุ่มกับพลังงานไฮโดรเจนแล้ว ไม่เว้นแม้แต่ ‘อีลอน’ ที่เคยมองไฮโดรเจนว่าโง่เขลาก็เปลี่ยนความคิดมาลุย พลังงานที่ให้ทั้งความร้อนและไฟฟ้าโดยไม่ก่อมลภาวะ อีกทั้งเป็นน่านน้ำใหม่ที่ไม่ฟาดฟันกันจนนองเลือดเท่าอีวี
.
นับตั้งแต่โลกถือกำเนิดมาเมื่อ 4,600 ล้านปีที่แล้ว “พลังงานฟอสซิล” ซึ่งเกิดจากการทับถมของสัตว์มาหลายพันปีได้ช่วยหล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ แต่ในอีกด้านของเหรียญ กลับก่อมลภาวะโลกร้อน และมลพิษฝุ่น PM2.5 ที่เผชิญกันทุกวันนี้
.
อย่างไรก็ตาม มีแหล่งพลังงานหนึ่งที่อาจเข้ามาเปลี่ยนโลกใบนี้ให้ดีขึ้นได้ เพราะสามารถสร้างกระแสไฟฟ้า และให้พลังงานความร้อนโดย “ไม่ก่อมลพิษใด ๆ” แม้ถูกเผาไหม้ก็ตาม นั่นคือ “พลังงานไฮโดรเจน” และนี่คือสิ่งที่ “รัฐบาลจีน” หันมาทุ่มพัฒนาในขณะนี้ โดยได้กำหนดให้เป็น 1 ใน 6 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตของจีน
.
📌หายนะโลกร้อนให้โอกาสทางธุรกิจ
.
นอกจากมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกแล้ว จีนยังเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลกในปี 2024 ด้วย เพื่อให้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2060 ดังที่จีนตั้งเป้าไว้ พญามังกรจึงหันมาทุ่มพัฒนาพลังงานไฮโดรเจนนี้
.
จุดเด่นของพลังงานนี้ คือ หากเป็น “พลังงานฟอสซิลแบบเดิม” อย่างน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ เมื่อถูกเผาไหม้แล้วจะเกิดมลพิษและ “ก๊าซคาร์บอน” ขึ้น ซึ่งเป็นตัวการโลกร้อน
.
ต่างจาก “ไฮโดรเจน” เมื่อถูกเผาแล้ว กลับให้ไอน้ำและพลังงานความร้อนแทน โดย “ไม่มีควันหรือมลพิษเกิดขึ้น” จึงสามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ทำความร้อน และลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมอย่างเหล็กและซีเมนต์ได้ เพื่อจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส
.
องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะโลกร้อน โลกอาจต้องใช้ไฮโดรเจนอย่างน้อย 430 ล้านตันต่อปีภายในปี 2050 เทียบกับ 95 ล้านตันในปี 2022 ซึ่งมีแนวโน้มสร้างโอกาสทางธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมาก สร้างงานหลายล้านตำแหน่งทั่วโลกในอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน และนี่ถือเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ที่จีนสนใจอย่างยิ่ง
.
ในปัจจุบัน “จีน” เป็นผู้ผลิตไฮโดรเจนรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยผลิตไฮโดรเจนประมาณ 25 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 4 ของผลผลิตทั่วโลก
.
แม้ว่าจีนยังไม่ครองตลาดไฮโดรเจนสูงเหมือนที่จีนครองส่วนแบ่งอีวีของโลกถึง 76% ตามข้อมูลจากสมาคมรถยนต์นั่งแห่งประเทศจีน ทว่า ผู้ใดก็ตามที่เข้าสู่ตลาดก่อน ย่อมเป็นผู้ลดต้นทุนต่อหน่วยได้ก่อน ซึ่งจะทำให้มี “ข้อได้เปรียบ” เหนือคู่แข่งที่เข้าสู่ตลาดช้ากว่า ยิ่งในช่วงที่ไฮโดรเจนยังไม่เป็นที่กล่าวขานมากนัก และยังไม่มีคู่แข่งมากรายเท่าอีวี
.
📌น่านน้ำใหม่ที่ไม่ฟาดฟันหนักเท่าอีวี
.
ก่อนหน้านี้เคยเกิดวิวาทะระหว่าง “รถอีวี” กับ “รถไฮโดรเจน” หลายคนมองว่าต้นทุนการผลิตรถไฮโดรเจนยังคงค่อนข้างสูง อีกทั้งเสี่ยงอันตรายมากกว่า เพราะไฮโดรเจนเป็นก๊าซไวไฟ จึงทำให้เทรนด์โลกแห่ไปทางรถยนต์ไฟฟ้าแทน
.
แต่ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมรถอีวีดูเหมือนมาถึง “จุดใกล้อิ่มตัว” แล้วหรือไม่ เมื่อกว่า 80% ของผู้ผลิตอีวีจีนอยู่ไม่รอด จากเดิมที่เคยมีบริษัทรถอีวีเกือบ 500 รายเมื่อปี 2019 แต่มีปิดกิจการไปราว 400 ราย เหลือเพียงประมาณ 100 รายในปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนถึงจำนวนผู้ผลิตอีวีขยายใหญ่กว่าตลาดจนต้องหันมาฟาดฟันราคากันเอง กลายเป็นน่านน้ำสีเลือด
.
แม้แต่อีลอน มัสก์ ก็เปลี่ยนแนวคิดด้านไฮโดรเจน เดิมทีอีลอนเคยวิจารณ์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนว่า “โง่เขลาอย่างยิ่ง” และเป็น “สิ่งที่โง่ที่สุดเท่าที่ผมจินตนาการได้ในการกักเก็บพลังงาน” อีกทั้งเสริมอีกว่า การกักเก็บไฮโดรเจนมีความซับซ้อน และเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าแบตเตอรี่ จนไม่เหมาะกับการใช้งานจริง
.
แต่ในปัจจุบัน อีลอนเปลี่ยนความคิดนี้แล้วแบบ 180 องศา โดยประกาศว่า Tesla จะเริ่มใช้พลังงานไฮโดรเจนในปี 2026 นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับ Tesla ซึ่งก่อนหน้านี้มุ่งเน้นไปที่รถยนต์ไฟฟ้า
.
แน่นอนว่าเมื่อรายใหญ่ Tesla ขยับ พญามังกรก็ขยับด้วย รัฐบาลจีนมีเป้าหมายที่จะนำรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน 50,000 คันออกสู่ท้องถนนภายในปี 2025 พร้อมสร้างสถานีบริการเติมไฮโดรเจนรองรับ ไม่แน่ว่าสงครามเลือดอีวีอาจย้ายไปสู่ตลาดใหม่อย่าง “ไฮโดรเจน” ก็เป็นได้ ในการชิงเป็นเจ้าตลาดนี้
.
.
ที่มา :
https://www.bangkokbiznews.com/world/1162545?anm=
.