เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2568 จีนได้ทดสอบอาวุธชนิดใหม่โดยใช้ แมกนีเซียมไฮไดรด์ (MgH₂) หนัก 2 กิโลกรัม สร้างลูกไฟร้อนจัดเกิน 1,000°C และคงอยู่ได้นานกว่า TNT ถึง 15 เท่า! โดยสิ่งที่น่ากลัวคือ ลูกไฟนี้ไม่ใช่แค่เผาไหม้รุนแรง… แต่ยัง ดูดออกซิเจนจากอากาศโดยรอบ จนคนในพื้นที่ขาดอากาศหายใจด้วย??? เรามาดูกันว่า ข่าวนี้ รายละเอียดจริงเท็จ มีอย่างไร
MgH₂ ทำงานอย่างไร?
แมกนีเซียมไฮไดรด์จะแตกตัวเป็นแมกนีเซียมและ"ไฮโดรเจน"เมื่อได้รับความร้อน และเทั้งแมกนีเซียมกับไฮโดรเจน ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศให้ความร้อนเพิ่มขึ้นมาอีกตามสมการด้านล่าง
• H₂ + ½O₂ → H₂O + ความร้อน
• Mg + ½O₂ → MgO + ความร้อนเพิ่มอีก
ผลลัพธ์ ของการระเบิด มันจะให้ 1. อุณหภูมิสูงเกิน 1,000°C 2. มีแรงดันจากแรงระเบิดบางส่วน พร้อมกับ 3. อากาศรอบๆ ถูกแย่ง O₂ อย่างรวดเร็ว ทำให้คนหมดสติจาก “oxygen depletion” ได้ ตรงนี้เอง ระเบิดแมกนีเซียมไฮไดรด์ จะดูคล้ายกับระเบิดทุนนิยม เช่น ระเบิดนิวตรอนที่เน้นฆ่าสิ่งมีชีวิต โดยยังรักษา infrastructure ต่างๆไว้
ทำไมถึงเป็นแมกนีเซียมไฮไดรด์
จีนผลิต MgH₂ ในภาคอุตสาหกรรมอยู่แล้ว
จีนผลิตแมกนีเซียมไฮไดรด์ในระดับอุตสาหกรรมกว่า 150 ตัน/ปี เพื่อนำไปใช้ใน...

อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด:
– เก็บไฮโดรเจนในสถานะของแข็ง (solid-state H₂ storage)
– ทำแบตเตอรี่โลหะแมกนีเซียม (Mg-ion battery)

อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง:
– ทำวัสดุเปลี่ยนเฟส (phase-change material)
– เซ็นเซอร์ไฮโดรเจน / thermal switch / memory device
MgH₂ ในไทย
ในไทย เพิ่งมีการ Show case แมกนีเซียมเป็น ทางเลือกในการเก็บไฮโดรเจน ที่ปลอดภัย ไม่ต้องใช้แรงดันสูงหรือความเย็นจัด เหมาะกับบริบทของ:

แผน CCS (แผนดักจับและกักเก็บคาร์บอนของไทย)

เป้าหมายพลังงานสะอาด 2050

การเปลี่ยนผ่านพลังงานในภาคอุตสาหกรรม
แมกนีเซียมเป็นหนึ่งในทางเลือกตัวกลางการขนส่งไฮโดรเจนนอกเหนือจากแอมโมเนียที่ทาง ปตท ของไทยมีแผนการศึกษาอยู่
โดยเปรียบเทียบ
เทคโนโลยี H₂ (g/L) วิธีใช้ สถานะ
-------------------------------------------------------------------
MgH₂ pellet 110 ให้ความร้อน ~300°C ของแข็ง
แอมโมเนีย NH₃ 108 ใช้ catalyst+heat ของเหลว
-------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ: NH₃ เก็บ H₂ ได้มากกว่าในเชิง wt% แต่การขนส่งนั้นปริมาตรสำคัญกว่า และ มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยในการรั่วไหล แต่ในแง่การขนส่ง แอมโมเนียสามารถขนถ่ายเทใส่ได้ง่ายกว่า ไม่ต้องทิ้งตัวถังแมกนีเซียมไว้หรือแลกขนส่งกลับ ในภาคปฏิบัติจึงคิดว่ามันอาจมีการใช้งานทั้งสองแบบในวันที่เราเปลี่ยนถ่ายเชื้อเพลิงฟอสซิลไปเป็นไฮโดรเจนแล้ว
สรุป:
MgH₂ ไม่ใช่แค่วัตถุดิบของแบตเตอรี่หรือเชื้อเพลิงสะอาด แต่ตอนนี้กำลังกลายเป็นอาวุธ ที่ใช้ความร้อน + ความสามารถในการดูด O₂ มาเป็นจุดเด่น
เทคโนโลยีนี้นอกจากมิติ พลังงาน และ อุตสาหกรรม มันจึงยังมีมิติ ความมั่นคงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนั่นเอง
บทความนี้ค้นมาเพราะอารามตกใจเห็นสำนักข่าวต่างๆเอารูประเบิดดอกเห็ดนิวเคลียร์มาลง เฮ้ย มันไม่ใช่นิวเคลียร์อย่างไร หรือเป็นระเบิดนิวตรอน ก็เลยรู้ว่ามันเป็นการทดสอบเล็กๆระดับ 2 กิโลกรัมแมกนีเซียมไฮไดรด์แค่นั้น!?!? ตุ๋นกันนี่หว่า จบข่าว แยกย้ายๆ
จีนทดสอบระเบิดแมกนีเซียมไฮไดรด์