พาพันมีข่าวมาอัพเดทครับ
ตอนนี้ เจ้าวัสดุ "Metile" ได้แปลงร่างกลายเป็นผลิตภัณฑ์แล้วครับผม ตามไปดูกันได้ที่
กระทู้นี้ครับ
สวัสดีครับพี่ๆ วันศุกร์ที่ผ่านมา... น้องพาพัน ยุวฑูตรักษ์โลกได้มีโอกาสไปงานเปิดตัววัสดุชนิดใหม่ครั้งแรกในโลกกับวัสดุที่ชื่อว่า “Metile” ครับ วัสดุชนิดใหม่นี้เป็นผลงานจากการศึกษาคิดค้นของทีมงาน รศ.ดร.เจษฎา วรรณสินธุ์ และ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต นักออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
“Metile” เกิดจากการหลอมโลหะรวมกับไม้ แต่พาพันแอบบอกพี่ๆไว้ก่อนเลยว่า... วัสดุชิ้นนี้ไม่ธรรมดาครับ เพราะโดยปกติแล้วการหลอมโลหะรวมกับไม้นั้นยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน เพราะเมื่อไม้เจอกับโลหะหลอมที่ร้อนๆ จะทำให้ไม้ไหม้ครับ ฉะนั้นเจ้าวัสดุตัวนี้จึงถือเป็นการค้นพบครั้งใหม่ของวงการเลย
ก่อนอื่นมาดูรูปร่างหน้าตาของเจ้า “Metile” กันก่อนเลยครับ
“Metile” ชิ้นนี้มาจากการหลอมอะลูมิเนียมรวมกับไม้สักครับ ถ้าพี่ๆสังเกตดีๆจะเห็นว่าอณูของโลหะได้แทรกซึมเข้าไปในช่องว่างของเศษไม้ครับ ระยิบระยับสวยจริงๆ
นอกจากรูปร่างหน้าตาของ “Metile” ที่พาพันเอามาฝากแล้ว พาพันยังได้มีโอกาสขอความรู้จาก รศ.ดร.เจษฎา วรรณสินธุ์ หนึ่งในผู้ร่วมคิดค้นวัสดุใหม่ “Metile” มาฝากพี่ๆครับ
พาพัน : สวัสดีครับอาจารย์เจษฎา พาพันอยากทราบว่าวัสดุใหม่ที่ชื่อ “Metile” นี่มันคืออะไรเหรอครับ
ดร.เจษฎา : “Metile” เป็นแผ่นวัสดุผสม ที่ผสมระหว่างไม้กับโลหะ โดยการหล่อรวมกันให้เป็นชิ้นเดียว ซึ่งขึ้นรูปในตอนที่โลหะมีสถานะเป็นของเหลว เป็นน้ำร้อนๆ เลย เหมือนหลอมทอง แล้วก็เทไปในแม่พิมพ์แล้วก็ขึ้นรูปร่วมกับไม้ แล้วก็ได้ออกมาเป็นแบบนี้ โดยเราสามารถใช้โลหะรีไซเคิล 100 %
พาพัน : โห...ใช้โลหะรีไซเคิล 100 % เลยเหรอครับ
ดร.เจษฎา : ครับ โลหะที่นำมาผลิตก็เป็นเศษอะลูมิเนียม เศษกระป๋องหรือจากอุตสาหกรรม แล้วก็มาหลอมให้เป็นของเหลว ส่วนเรื่องการหลอมนั้นมันมีรายละเอียดเรื่องอุณหภูมิอยู่ ซึ่งในส่วนนั้นได้จดสิทธิบัตรไว้ เป็นส่วนที่บอกว่าหลอมยังไงไม่ให้ไม้มันไหม้ และไม้ที่นำมาผลิตก็เป็นเศษไม้จากอุตสาหกรรม โดยเป้าหมายคือการเอาเศษไม้และเศษอะลูมิเนียมมาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มครับ
พาพัน : ไม่ทราบว่า แรงบันดาลใจหรือไอเดียที่ทำให้เกิดชิ้นงานนี้คืออะไรครับ
ดร.เจษฎา : ผมทำงานโลหะอยู่แล้วครับ ก็มาคุยกับอาจารย์สิงห์ ซึ่งอาจารย์สิงห์ก็ทำเรื่องกรีนอยู่แล้วมากมาย คุยกันไปอาจารย์สิงห์ก็เสนอให้เปลี่ยนวัสดุจากเศษพลาสติก เป็นเศษอื่นๆ เช่น แก้ว หิน หอย พัฒนากันแล้วอาจารย์สิงห์มองแล้วยังไม่ชอบ เลยเสนอให้ผมลองใช้ไม้ เพราะยากดี ดูนุ่มนวลและทันสมัย และ Osisu ก็ขายเฟอร์นิเจอร์ไม้มากที่สุด ตลาดชื่นชอบผลงานไม้ สุดท้ายก็พัฒนาร่วมกันก็ออกมาเป็นผลงาน Metile ชุดนี้ครับ ซึ่งน่าสนใจมาก และยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน
พาพัน : วัสดุตัวนี้สามารถนำไปใช้ในงานไหนได้บ้างครับ
ดร.เจษฎา : ตอนนี้ที่อาจารย์สิงห์มองไว้ก็คือ เป็นวัสดุสำหรับงานก่อสร้าง งานตกแต่งผนัง เช่น กระเบื้อง หรือพัฒนาต่อเป็นเฟอร์นิเจอร์ เรากำลังพยายามจะทำให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่อยู่ ตอนแรกนี่เป็น Tile ติดผนังครับ พวก Wall covering ครับ
พาพัน : แล้วเจ้าวัสดุ “Metile” ตัวนี้ จะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้างครับ
ดร.เจษฎา : ก็แทนที่เราจะเอาเศษกระป๋องหรือเศษอะลูมิเนียมที่ไม่มีคุณค่ามาก ที่เราเอาไปขายได้กิโลละ 20 หรือ 30 บาท กับเศษไม้จากโรงงานที่เหลือทิ้ง เผาหุงต้ม พวกไม้ที่เป็นเส้นๆ เล็กๆ เนี่ย เราสามารถเอามารวมกันแล้วสร้างมูลค่าเพิ่มได้
พาพัน : วัสดุชิ้นนี้จะคงสภาพและมีอายุการใช้งานนานแค่ไหนครับ
ดร.เจษฎา : ด้วยความที่โลหะมันแทรกซึมเข้าไปอยู่ในช่องว่างของไม้แล้ว มันก็จะล็อกกันอยู่ข้างใน เพราะฉะนั้นมันก็จะคงรูปอย่างนี้ตลอดไป
พาพัน : วัสดุชิ้นนี้ทนความร้อนหรือไม่ครับ
ดร.เจษฎา : ก็จะเหมือนกับวัสดุไม้ทั่วไปครับ ส่วนอะลูมิเนียมก็จะมีคุณสมบัติระบายความร้อนครับ
พาพัน : แล้ว...ถ้าเกิดว่าเราไม่ใช้งานวัสดุนี้แล้ว เราจะสามารถนำเศษวัสดุนี้ไปรีไซเคิลหรือนำไปอัพไซเคิลได้ไหมครับ
ดร.เจษฎา : เราสามารถนำเอาวัสดุชิ้นเล็กๆไปขึ้นรูปให้เป็นงานชิ้นใหญ่ได้ หรือสามารถนำมาหลอมและผ่านกระบวนการแยกวัสดุ ไม้ที่เป็นคาร์บอนก็สามารถแยกออกมาได้ส่วนอะลูมิเนียมก็จะสามารถนำมารีไซเคิลได้อีกครับ
โห สุดยอดเลยนะครับ เพราะเจ้า “Metile” เนี่ยทั้งสวย ทั้งช่วยลดขยะด้วย เพราะทำมาจากวัสดุรีไซเคิล 100% เลย
และนอกจากการหลอมรวมระหว่างอะลูมิเนียมกับไม้สักแล้ว อาจารย์ยังบอกว่าสามารถใช้โลหะชนิดอื่นมาหลอมรวมกับไม้ชนิดอื่นได้ด้วยครับ โลหะอื่นๆ ที่สามารถนำมาหลอมเป็นวัสดุนี้ได้ คือ ทองเหลือง หรือสัมฤทธิ์ ส่วนไม้นั้นสามารถใช้ ไม้ไผ่ หรือไม้ยางพารา ครับ
ความเก่งกาจของคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก พี่ๆ เห็นด้วยไหมครับ พาพันภูมิใจสุดๆ ที่คนไทยเราร่วมงานกันคิดค้นอะไรที่เจ๋งๆ แถมยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน นี่เป็นตัวอย่างให้กับนักคิดรุ่นใหม่ เพราะในปัจจุบัน เราไม่ได้ต้องการแค่ของที่สวยงามหรือตอบโจทย์การใช้งานเท่านั้น แต่ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย งานนี้ต้องขอปรบมือให้กับทีมงาน ดร.เจษฎา และดร.สิงห์ ครับ
ตอนนี้ พาพันขอตัวไปหาข้อมูลข่าวสารกรีนใหม่ๆก่อนนะครับ มีข่าวใหม่น่าสนใจพาพันจะกลับมาอัพเดทให้พี่ๆ ฟังแน่นอนครับ
บ๊ายบายครับ
Metile : โลหะ + ไม้ = วัสดุใหม่ที่ทั้งไฉไล ทั้งอีโค่
พาพันมีข่าวมาอัพเดทครับ
ตอนนี้ เจ้าวัสดุ "Metile" ได้แปลงร่างกลายเป็นผลิตภัณฑ์แล้วครับผม ตามไปดูกันได้ที่กระทู้นี้ครับ
สวัสดีครับพี่ๆ วันศุกร์ที่ผ่านมา... น้องพาพัน ยุวฑูตรักษ์โลกได้มีโอกาสไปงานเปิดตัววัสดุชนิดใหม่ครั้งแรกในโลกกับวัสดุที่ชื่อว่า “Metile” ครับ วัสดุชนิดใหม่นี้เป็นผลงานจากการศึกษาคิดค้นของทีมงาน รศ.ดร.เจษฎา วรรณสินธุ์ และ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต นักออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม
“Metile” เกิดจากการหลอมโลหะรวมกับไม้ แต่พาพันแอบบอกพี่ๆไว้ก่อนเลยว่า... วัสดุชิ้นนี้ไม่ธรรมดาครับ เพราะโดยปกติแล้วการหลอมโลหะรวมกับไม้นั้นยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน เพราะเมื่อไม้เจอกับโลหะหลอมที่ร้อนๆ จะทำให้ไม้ไหม้ครับ ฉะนั้นเจ้าวัสดุตัวนี้จึงถือเป็นการค้นพบครั้งใหม่ของวงการเลย
ก่อนอื่นมาดูรูปร่างหน้าตาของเจ้า “Metile” กันก่อนเลยครับ
“Metile” ชิ้นนี้มาจากการหลอมอะลูมิเนียมรวมกับไม้สักครับ ถ้าพี่ๆสังเกตดีๆจะเห็นว่าอณูของโลหะได้แทรกซึมเข้าไปในช่องว่างของเศษไม้ครับ ระยิบระยับสวยจริงๆ
นอกจากรูปร่างหน้าตาของ “Metile” ที่พาพันเอามาฝากแล้ว พาพันยังได้มีโอกาสขอความรู้จาก รศ.ดร.เจษฎา วรรณสินธุ์ หนึ่งในผู้ร่วมคิดค้นวัสดุใหม่ “Metile” มาฝากพี่ๆครับ
พาพัน : สวัสดีครับอาจารย์เจษฎา พาพันอยากทราบว่าวัสดุใหม่ที่ชื่อ “Metile” นี่มันคืออะไรเหรอครับ
ดร.เจษฎา : “Metile” เป็นแผ่นวัสดุผสม ที่ผสมระหว่างไม้กับโลหะ โดยการหล่อรวมกันให้เป็นชิ้นเดียว ซึ่งขึ้นรูปในตอนที่โลหะมีสถานะเป็นของเหลว เป็นน้ำร้อนๆ เลย เหมือนหลอมทอง แล้วก็เทไปในแม่พิมพ์แล้วก็ขึ้นรูปร่วมกับไม้ แล้วก็ได้ออกมาเป็นแบบนี้ โดยเราสามารถใช้โลหะรีไซเคิล 100 %
พาพัน : โห...ใช้โลหะรีไซเคิล 100 % เลยเหรอครับ
ดร.เจษฎา : ครับ โลหะที่นำมาผลิตก็เป็นเศษอะลูมิเนียม เศษกระป๋องหรือจากอุตสาหกรรม แล้วก็มาหลอมให้เป็นของเหลว ส่วนเรื่องการหลอมนั้นมันมีรายละเอียดเรื่องอุณหภูมิอยู่ ซึ่งในส่วนนั้นได้จดสิทธิบัตรไว้ เป็นส่วนที่บอกว่าหลอมยังไงไม่ให้ไม้มันไหม้ และไม้ที่นำมาผลิตก็เป็นเศษไม้จากอุตสาหกรรม โดยเป้าหมายคือการเอาเศษไม้และเศษอะลูมิเนียมมาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มครับ
พาพัน : ไม่ทราบว่า แรงบันดาลใจหรือไอเดียที่ทำให้เกิดชิ้นงานนี้คืออะไรครับ
ดร.เจษฎา : ผมทำงานโลหะอยู่แล้วครับ ก็มาคุยกับอาจารย์สิงห์ ซึ่งอาจารย์สิงห์ก็ทำเรื่องกรีนอยู่แล้วมากมาย คุยกันไปอาจารย์สิงห์ก็เสนอให้เปลี่ยนวัสดุจากเศษพลาสติก เป็นเศษอื่นๆ เช่น แก้ว หิน หอย พัฒนากันแล้วอาจารย์สิงห์มองแล้วยังไม่ชอบ เลยเสนอให้ผมลองใช้ไม้ เพราะยากดี ดูนุ่มนวลและทันสมัย และ Osisu ก็ขายเฟอร์นิเจอร์ไม้มากที่สุด ตลาดชื่นชอบผลงานไม้ สุดท้ายก็พัฒนาร่วมกันก็ออกมาเป็นผลงาน Metile ชุดนี้ครับ ซึ่งน่าสนใจมาก และยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน
พาพัน : วัสดุตัวนี้สามารถนำไปใช้ในงานไหนได้บ้างครับ
ดร.เจษฎา : ตอนนี้ที่อาจารย์สิงห์มองไว้ก็คือ เป็นวัสดุสำหรับงานก่อสร้าง งานตกแต่งผนัง เช่น กระเบื้อง หรือพัฒนาต่อเป็นเฟอร์นิเจอร์ เรากำลังพยายามจะทำให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่อยู่ ตอนแรกนี่เป็น Tile ติดผนังครับ พวก Wall covering ครับ
พาพัน : แล้วเจ้าวัสดุ “Metile” ตัวนี้ จะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างไรบ้างครับ
ดร.เจษฎา : ก็แทนที่เราจะเอาเศษกระป๋องหรือเศษอะลูมิเนียมที่ไม่มีคุณค่ามาก ที่เราเอาไปขายได้กิโลละ 20 หรือ 30 บาท กับเศษไม้จากโรงงานที่เหลือทิ้ง เผาหุงต้ม พวกไม้ที่เป็นเส้นๆ เล็กๆ เนี่ย เราสามารถเอามารวมกันแล้วสร้างมูลค่าเพิ่มได้
พาพัน : วัสดุชิ้นนี้จะคงสภาพและมีอายุการใช้งานนานแค่ไหนครับ
ดร.เจษฎา : ด้วยความที่โลหะมันแทรกซึมเข้าไปอยู่ในช่องว่างของไม้แล้ว มันก็จะล็อกกันอยู่ข้างใน เพราะฉะนั้นมันก็จะคงรูปอย่างนี้ตลอดไป
พาพัน : วัสดุชิ้นนี้ทนความร้อนหรือไม่ครับ
ดร.เจษฎา : ก็จะเหมือนกับวัสดุไม้ทั่วไปครับ ส่วนอะลูมิเนียมก็จะมีคุณสมบัติระบายความร้อนครับ
พาพัน : แล้ว...ถ้าเกิดว่าเราไม่ใช้งานวัสดุนี้แล้ว เราจะสามารถนำเศษวัสดุนี้ไปรีไซเคิลหรือนำไปอัพไซเคิลได้ไหมครับ
ดร.เจษฎา : เราสามารถนำเอาวัสดุชิ้นเล็กๆไปขึ้นรูปให้เป็นงานชิ้นใหญ่ได้ หรือสามารถนำมาหลอมและผ่านกระบวนการแยกวัสดุ ไม้ที่เป็นคาร์บอนก็สามารถแยกออกมาได้ส่วนอะลูมิเนียมก็จะสามารถนำมารีไซเคิลได้อีกครับ
โห สุดยอดเลยนะครับ เพราะเจ้า “Metile” เนี่ยทั้งสวย ทั้งช่วยลดขยะด้วย เพราะทำมาจากวัสดุรีไซเคิล 100% เลย
และนอกจากการหลอมรวมระหว่างอะลูมิเนียมกับไม้สักแล้ว อาจารย์ยังบอกว่าสามารถใช้โลหะชนิดอื่นมาหลอมรวมกับไม้ชนิดอื่นได้ด้วยครับ โลหะอื่นๆ ที่สามารถนำมาหลอมเป็นวัสดุนี้ได้ คือ ทองเหลือง หรือสัมฤทธิ์ ส่วนไม้นั้นสามารถใช้ ไม้ไผ่ หรือไม้ยางพารา ครับ
ความเก่งกาจของคนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก พี่ๆ เห็นด้วยไหมครับ พาพันภูมิใจสุดๆ ที่คนไทยเราร่วมงานกันคิดค้นอะไรที่เจ๋งๆ แถมยังคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน นี่เป็นตัวอย่างให้กับนักคิดรุ่นใหม่ เพราะในปัจจุบัน เราไม่ได้ต้องการแค่ของที่สวยงามหรือตอบโจทย์การใช้งานเท่านั้น แต่ผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย งานนี้ต้องขอปรบมือให้กับทีมงาน ดร.เจษฎา และดร.สิงห์ ครับ
ตอนนี้ พาพันขอตัวไปหาข้อมูลข่าวสารกรีนใหม่ๆก่อนนะครับ มีข่าวใหม่น่าสนใจพาพันจะกลับมาอัพเดทให้พี่ๆ ฟังแน่นอนครับ
บ๊ายบายครับ