สัญญาณราคายางรูดต่ำ50บาท
วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2014 เวลา 10:30 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
งดเก็บเงินเซสส์ 4 เดือนพ่นพิษ พ่อค้าหัวใสกว้านซื้อยางพาราในตลาด พร้อมปั้นดีมานด์เทียมส่งออกตลาดจีนล่วงหน้า หวังฟันกำไร เจอตอราคาตลาดจีนต่ำกว่าไทย แถมมีสต๊อกอื้อกว่า 3.5 แสนตัน ถูกเบี้ยวรับมอบของแถมถูกหักคอขายราคาถูก ณ ท่าเรือปลายทางทำขาดทุนกันระนาว วงการฟันธงราคายางในประเทศมีสิทธิ์ต่ำกว่า 50 บาท/กก. เผยราคา 4 เดือนปี 57 ต่ำสุดรอบ 4 ปี
นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) (บมจ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากกรณีที่รัฐบาล ได้ยกเลิกการจัดเก็บเงินสงเคราะห์เกษตรกรจากผู้ส่งออกยางพารา หรือ เงินเซสส์ เป็นเวลา 4 เดือน(ก.ย.-ธ.ค.56) เพื่อช่วยลดภาระผู้ส่งออกทำให้มีเงินมาซื้อยางพาราช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำนั้น ส่วนหนึ่งมีผลให้ผู้ส่งออกยางพาราไทย และพ่อค้าจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้ายางพาราจากไทยรายใหญ่สุดได้มีการเก็งกำไร โดยปั้นดีมานด์เทียมตัวเลขส่งออกล่วงหน้า เพื่อหลบเลี่ยงการจ่ายเงินเซสส์หลังสิ้นสุดระยะเวลาการยกเลิกเก็บชั่วคราว โดยหวังฟันกำไรช่วงยางพาราขาขึ้น
อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่กลับต้องผิดหวัง เพราะขณะนี้ราคายางในตลาดโลกได้ดิ่งลง ซ้ำราคายาง ณ เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง (เมืองศูนย์กลางยางพาราของจีน และเป็นที่ตั้งสมาคมอุตสาหกรรมยางพาราแห่งประเทศจีน ) ราคายางแผ่นดิบต่ำกว่าเมืองไทยถึง กิโลกรัมละ 5 บาท ขณะที่ยางแท่งต่ำกว่าถึง 57-58 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยหลายรายถูกพ่อค้าจีนเบี้ยวสัญญา ทั้งการยกเลิกคำสั่งซื้อ หรือไม่รับมอบสินค้าที่ท่าเรือปลายทาง ทำให้ถูกบีบขายราคาถูก เพราะไม่เช่นนั้นต้องเสียค่าภาระหน้าท่ารายวัน ทำให้จำใจต้องขาย ต้องเปลี่ยนจากเก็งกำไร เป็นเก็งการขาดทุนแทน
ขณะเดียวกันจากการประเมินขณะนี้จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้ายางพารารายใหญ่สุดของไทย มีสต๊อกยางพารารวมกว่า 3.5 แสนตันไม่จำเป็นต้องเร่งซื้อ ขณะที่เมืองไทยรัฐบาลได้แบกสต๊อกยางกว่า 2.1 แสนตัน แต่ในภาพรวมผู้ส่งออกมีสต๊อกไม่มาก ส่วนใหญ่ไม่กล้าซื้อเก็บสต๊อกมาก แต่จะซื้อเก็บเท่าที่มีคำสั่งซื้อเท่านั้น ประกอบกับช่วงนี้(มี.ค.-เม.ย.)เป็นช่วงยางผลัดใบชาวสวนหยุดกรีดยาง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ซึ่งหากเข้าสู่ช่วงฤดูกรีดยางอีกครั้ง(เริ่มปลายเดือนเมษายน) คาดจะได้เห็นยางพาราต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาท (ณ วันที่ 18 เม.ย.57 ราคายางแผ่นดิบท้องถิ่นเฉลี่ยที่ 62.30 บาทต่อกิโลกรัม)
"ขณะนี้ปริมาณยางน้อยราคายังตกต่ำ อีกทั้งยังไม่มีปัจจัยบวกอะไรที่จะดันราคาในตลาดโลกให้ขยับดึงราคาขึ้น เพราะสต๊อกยางจีนมีมากกว่า3.5 แสนตัน ขณะที่เมืองไทยสต๊อกรัฐบาลยังมีกว่า 2.1 แสนตัน"
สอดคล้องกับนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มองว่า หากเริ่มเปิดกรีดยางได้ทั่วประเทศแล้วอาจจะเห็นราคายางต่ำกว่ากิโลกรัมละ 50 บาท เพราะเห็นสัญญาณแล้วจากราคายางตลาดยางท้องถิ่นบางแห่งได้ลดลงมาอยู่ที่กว่า 50 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว
สำหรับในปีนี้นับว่าผิดปกติเนื่องจากเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว ราคายางอยู่ในช่วงผลัดใบผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงแทนที่ราคายางจะปรับเพิ่มขึ้น แต่ราคายางกลับสวิงขึ้นสวิงลง มีแนวโน้มต่ำลงด้วยซ้ำ สาเหตุที่ราคายางขาลง เพราะสต๊อกเมืองชิงเต่าน่าจะถึง 4 แสนตัน และยางรถยนต์ ยังไม่ได้ผลิต ทำให้มียางค้างในสต๊อกจำนวนมาก ขณะเดียวกันเพื่อนบ้านทั้งเมียนมาร์ สปป.ลาว กัมพูชา ได้ปลูกยางและเริ่มกรีดได้แล้วทำให้ซัพพลายในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นธรรมดาที่จะทำให้ราคายางลดลง
อย่างไรก็ตามนายอุทัย ยังได้ประเมินปริมาณยางในสต๊อกรัฐบาลไทย ว่า หากระบายออกมาจะถูกพ่อค้ากดราคาเหลือระดับ 50 บาทต่อกิโลกรัม (ขณะที่ต้นทุนยางพาราที่รัฐบาลซื้อมา รวมค่าแปรรูป ยังไม่รวมค่าฝากเก็บ ค่าเบี้ยประกันภัย ตกกิโลกรัมละ 120 บาท) จะทำให้รัฐบาลขาดทุนขั้นต่ำกว่า 1.47 หมื่นล้านบาท
"อยากจะต่อว่านายยุคล ลิ้มแหลมทอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้รับผิดชอบยางพาราทั้งระบบ ที่ให้ข่าวกับสำนักข่าวต่างประเทศว่าจะมีการขายยางพาราในสต๊อกเพื่อมาใช้หนี้ ยิ่งซ้ำเติมทำให้ราคาตลาดโลกตก ดังนั้นสิ่งที่ควรเร่งดำเนินการคือจัดตั้งรัฐบาลให้เร็วที่สุด"
เช่นเดียวกับนายอุดมศักดิ์ ศุทธิเวทิน ประธานเครือข่ายเกษตรกร สถาบันเกษตรกรด้านยางพาราครบวงจร ที่กล่าวว่า ขณะนี้ราคายางดิ่งเหวลงทุกวัน เกษตรกรจะตายหมดแล้วและมีแนวโน้มจะต่ำกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม ที่ผ่านมารัฐมนตรีที่รับผิดชอบเรื่องยางพาราไม่สนใจที่จะดูแล และกระตุ้นราคายางในประเทศเลย ขณะที่ผู้ซื้อในประเทศและผู้ส่งออกก็ไม่กล้าซื้อ เพราะคิดว่าราคายางน่าจะต่ำลงอีก หากเป็นอย่างนี้เกษตรกรตายอย่างเดียว
ขณะที่ทันตแพทย์พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด มองมุมต่างว่า ราคายางพารา ยังมีสัญญาณบวก ในเร็วๆนี้ราคาน่าจะขยับขึ้น ไม่น่าจะต่ำลงไปกว่านี้แล้ว ส่วนกรณีพ่อค้าจีนเบี้ยวสัญญา บริษัทยังโชคดีที่ได้คู่ค้าที่ดี ไม่มีการเบี้ยวแต่อย่างใด
ด้านนายยุคล ลิ้มแหลมทอง ผู้รับผิดชอบยางพาราทั้งระบบ กล่าวถึงกรณีที่ให้ข่าวซึ่งไปสอดรับกับที่ราคายางในตลาดโลกตกต่ำว่า ไม่เกี่ยวกันเลย เราจะไปกำหนดราคายางในตลาดโลกได้อย่างไร ที่ผ่านมาที่มีข่าวจะระบายยางในสต๊อก 2.1 แสนตัน และมีการต่อรองราคากัน พ่อค้ามักจะใช้เป็นข้ออ้างเสมอว่าเป็นสาเหตุทำให้ราคายางตก ดังนั้นหากจะระบาย จะไม่ให้กระทบตลาด เพราะหากตัดสินใจเก็บไว้ ก็มีค่าเช่าโกดัง ค่าเบี้ยประกันภัย มีรายจ่ายทุกวัน
"สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ราคายางในตลาดโลกตกต่ำ และกระทบถึงราคาในประเทศเพราะ สต๊อกโลกมีจำนวนมาก การกล่าวอ้างหรือโยนความผิดให้ กลายเป็นแพะง่ายที่สุด ซึ่งถ้าไม่พูดราคายางวันนี้จะไม่ตกก็คงไม่ใช่ ดังนั้นวันนี้ยืนยันว่าควรจะระบายยางออกจากสต๊อก จะมีการตั้งราคากลาง อย่างน้อยได้เงินคืนกลับมา ดีกว่าปล่อยยางเสื่อมไปตามสภาพ แล้วไม่ได้อะไรเลยจะกลายเป็นแค่เศษขยะ ไม่มีประโยชน์"
ด้านสถาบันวิจัยยาง รายงานสถานการณ์ยางพารา ล่าสุด ณ วันศุกร์ที่ 18 เมษายน 2557 ราคายางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควันชั้น 3 ตลาดกลางยางพาราอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปรับตัวลดลงกิโลกรัมละ 0.74 บาท และ 0.90 บาท แตะระดับ 65.03 บาทต่อกิโลกรัม และ 67.19 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ ซึ่งเป็นไปในในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ยางของจีน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจของจีนเดือนมีนาคม ทั้งการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนจากต่างประเทศ ปรับตัวลดลงเกินคาด ประกอบกับสต๊อกยาง ณ ท่าเรือชิงเต่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ราคายางยังได้รับแรงกดดันหลังวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์จะเริ่มเปิดกรีดยางได้ทั่วประเทศ ส่งผลให้ผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
อนึ่ง จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ในปี 2556 ที่ผ่านมา ไทยการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพารา 2.49 แสนล้านบาท ขยายตัวลดลงจากปีก่อน 7.7% ขณะที่ช่วง 2 เดือนแรกของปี 2557 มีการส่งออก 4.54 หมื่นล้านบาท ขยายตัวลดลง 5.5% โดยในจำนวนนี้ตลาดส่งออกยางพารา 5 อันดับแรกของไทย ประกอบด้วย จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ สัดส่วน 51.7, 10.6, 9.8, 4.6 และ 4.6% ตามลำดับ
ขณะที่ราคายางพารา(ยางแผ่นดิบ ราคาท้องถิ่นที่เกษตรกรขายได้) ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2557 (ม.ค.-เม.ย.) เฉลี่ยที่ 64.01 บาทต่อกิโลกรัมถือเป็นราคาต่ำสุดรอบ 4 ปี (2553-2556) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 104.49, 129.96, 91.07, 75.55 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ
ราคายาง !
วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2014 เวลา 10:30 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
งดเก็บเงินเซสส์ 4 เดือนพ่นพิษ พ่อค้าหัวใสกว้านซื้อยางพาราในตลาด พร้อมปั้นดีมานด์เทียมส่งออกตลาดจีนล่วงหน้า หวังฟันกำไร เจอตอราคาตลาดจีนต่ำกว่าไทย แถมมีสต๊อกอื้อกว่า 3.5 แสนตัน ถูกเบี้ยวรับมอบของแถมถูกหักคอขายราคาถูก ณ ท่าเรือปลายทางทำขาดทุนกันระนาว วงการฟันธงราคายางในประเทศมีสิทธิ์ต่ำกว่า 50 บาท/กก. เผยราคา 4 เดือนปี 57 ต่ำสุดรอบ 4 ปี
นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) (บมจ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากกรณีที่รัฐบาล ได้ยกเลิกการจัดเก็บเงินสงเคราะห์เกษตรกรจากผู้ส่งออกยางพารา หรือ เงินเซสส์ เป็นเวลา 4 เดือน(ก.ย.-ธ.ค.56) เพื่อช่วยลดภาระผู้ส่งออกทำให้มีเงินมาซื้อยางพาราช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำนั้น ส่วนหนึ่งมีผลให้ผู้ส่งออกยางพาราไทย และพ่อค้าจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้ายางพาราจากไทยรายใหญ่สุดได้มีการเก็งกำไร โดยปั้นดีมานด์เทียมตัวเลขส่งออกล่วงหน้า เพื่อหลบเลี่ยงการจ่ายเงินเซสส์หลังสิ้นสุดระยะเวลาการยกเลิกเก็บชั่วคราว โดยหวังฟันกำไรช่วงยางพาราขาขึ้น
อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่กลับต้องผิดหวัง เพราะขณะนี้ราคายางในตลาดโลกได้ดิ่งลง ซ้ำราคายาง ณ เมืองชิงเต่า มณฑลซานตง (เมืองศูนย์กลางยางพาราของจีน และเป็นที่ตั้งสมาคมอุตสาหกรรมยางพาราแห่งประเทศจีน ) ราคายางแผ่นดิบต่ำกว่าเมืองไทยถึง กิโลกรัมละ 5 บาท ขณะที่ยางแท่งต่ำกว่าถึง 57-58 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้ผู้ส่งออกไทยหลายรายถูกพ่อค้าจีนเบี้ยวสัญญา ทั้งการยกเลิกคำสั่งซื้อ หรือไม่รับมอบสินค้าที่ท่าเรือปลายทาง ทำให้ถูกบีบขายราคาถูก เพราะไม่เช่นนั้นต้องเสียค่าภาระหน้าท่ารายวัน ทำให้จำใจต้องขาย ต้องเปลี่ยนจากเก็งกำไร เป็นเก็งการขาดทุนแทน
ขณะเดียวกันจากการประเมินขณะนี้จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้ายางพารารายใหญ่สุดของไทย มีสต๊อกยางพารารวมกว่า 3.5 แสนตันไม่จำเป็นต้องเร่งซื้อ ขณะที่เมืองไทยรัฐบาลได้แบกสต๊อกยางกว่า 2.1 แสนตัน แต่ในภาพรวมผู้ส่งออกมีสต๊อกไม่มาก ส่วนใหญ่ไม่กล้าซื้อเก็บสต๊อกมาก แต่จะซื้อเก็บเท่าที่มีคำสั่งซื้อเท่านั้น ประกอบกับช่วงนี้(มี.ค.-เม.ย.)เป็นช่วงยางผลัดใบชาวสวนหยุดกรีดยาง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ซึ่งหากเข้าสู่ช่วงฤดูกรีดยางอีกครั้ง(เริ่มปลายเดือนเมษายน) คาดจะได้เห็นยางพาราต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาท (ณ วันที่ 18 เม.ย.57 ราคายางแผ่นดิบท้องถิ่นเฉลี่ยที่ 62.30 บาทต่อกิโลกรัม)
"ขณะนี้ปริมาณยางน้อยราคายังตกต่ำ อีกทั้งยังไม่มีปัจจัยบวกอะไรที่จะดันราคาในตลาดโลกให้ขยับดึงราคาขึ้น เพราะสต๊อกยางจีนมีมากกว่า3.5 แสนตัน ขณะที่เมืองไทยสต๊อกรัฐบาลยังมีกว่า 2.1 แสนตัน"
สอดคล้องกับนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มองว่า หากเริ่มเปิดกรีดยางได้ทั่วประเทศแล้วอาจจะเห็นราคายางต่ำกว่ากิโลกรัมละ 50 บาท เพราะเห็นสัญญาณแล้วจากราคายางตลาดยางท้องถิ่นบางแห่งได้ลดลงมาอยู่ที่กว่า 50 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว
สำหรับในปีนี้นับว่าผิดปกติเนื่องจากเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว ราคายางอยู่ในช่วงผลัดใบผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงแทนที่ราคายางจะปรับเพิ่มขึ้น แต่ราคายางกลับสวิงขึ้นสวิงลง มีแนวโน้มต่ำลงด้วยซ้ำ สาเหตุที่ราคายางขาลง เพราะสต๊อกเมืองชิงเต่าน่าจะถึง 4 แสนตัน และยางรถยนต์ ยังไม่ได้ผลิต ทำให้มียางค้างในสต๊อกจำนวนมาก ขณะเดียวกันเพื่อนบ้านทั้งเมียนมาร์ สปป.ลาว กัมพูชา ได้ปลูกยางและเริ่มกรีดได้แล้วทำให้ซัพพลายในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นธรรมดาที่จะทำให้ราคายางลดลง
อย่างไรก็ตามนายอุทัย ยังได้ประเมินปริมาณยางในสต๊อกรัฐบาลไทย ว่า หากระบายออกมาจะถูกพ่อค้ากดราคาเหลือระดับ 50 บาทต่อกิโลกรัม (ขณะที่ต้นทุนยางพาราที่รัฐบาลซื้อมา รวมค่าแปรรูป ยังไม่รวมค่าฝากเก็บ ค่าเบี้ยประกันภัย ตกกิโลกรัมละ 120 บาท) จะทำให้รัฐบาลขาดทุนขั้นต่ำกว่า 1.47 หมื่นล้านบาท
"อยากจะต่อว่านายยุคล ลิ้มแหลมทอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้รับผิดชอบยางพาราทั้งระบบ ที่ให้ข่าวกับสำนักข่าวต่างประเทศว่าจะมีการขายยางพาราในสต๊อกเพื่อมาใช้หนี้ ยิ่งซ้ำเติมทำให้ราคาตลาดโลกตก ดังนั้นสิ่งที่ควรเร่งดำเนินการคือจัดตั้งรัฐบาลให้เร็วที่สุด"
เช่นเดียวกับนายอุดมศักดิ์ ศุทธิเวทิน ประธานเครือข่ายเกษตรกร สถาบันเกษตรกรด้านยางพาราครบวงจร ที่กล่าวว่า ขณะนี้ราคายางดิ่งเหวลงทุกวัน เกษตรกรจะตายหมดแล้วและมีแนวโน้มจะต่ำกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม ที่ผ่านมารัฐมนตรีที่รับผิดชอบเรื่องยางพาราไม่สนใจที่จะดูแล และกระตุ้นราคายางในประเทศเลย ขณะที่ผู้ซื้อในประเทศและผู้ส่งออกก็ไม่กล้าซื้อ เพราะคิดว่าราคายางน่าจะต่ำลงอีก หากเป็นอย่างนี้เกษตรกรตายอย่างเดียว
ขณะที่ทันตแพทย์พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต กรรมการผู้จัดการ บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด มองมุมต่างว่า ราคายางพารา ยังมีสัญญาณบวก ในเร็วๆนี้ราคาน่าจะขยับขึ้น ไม่น่าจะต่ำลงไปกว่านี้แล้ว ส่วนกรณีพ่อค้าจีนเบี้ยวสัญญา บริษัทยังโชคดีที่ได้คู่ค้าที่ดี ไม่มีการเบี้ยวแต่อย่างใด
ด้านนายยุคล ลิ้มแหลมทอง ผู้รับผิดชอบยางพาราทั้งระบบ กล่าวถึงกรณีที่ให้ข่าวซึ่งไปสอดรับกับที่ราคายางในตลาดโลกตกต่ำว่า ไม่เกี่ยวกันเลย เราจะไปกำหนดราคายางในตลาดโลกได้อย่างไร ที่ผ่านมาที่มีข่าวจะระบายยางในสต๊อก 2.1 แสนตัน และมีการต่อรองราคากัน พ่อค้ามักจะใช้เป็นข้ออ้างเสมอว่าเป็นสาเหตุทำให้ราคายางตก ดังนั้นหากจะระบาย จะไม่ให้กระทบตลาด เพราะหากตัดสินใจเก็บไว้ ก็มีค่าเช่าโกดัง ค่าเบี้ยประกันภัย มีรายจ่ายทุกวัน
"สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ราคายางในตลาดโลกตกต่ำ และกระทบถึงราคาในประเทศเพราะ สต๊อกโลกมีจำนวนมาก การกล่าวอ้างหรือโยนความผิดให้ กลายเป็นแพะง่ายที่สุด ซึ่งถ้าไม่พูดราคายางวันนี้จะไม่ตกก็คงไม่ใช่ ดังนั้นวันนี้ยืนยันว่าควรจะระบายยางออกจากสต๊อก จะมีการตั้งราคากลาง อย่างน้อยได้เงินคืนกลับมา ดีกว่าปล่อยยางเสื่อมไปตามสภาพ แล้วไม่ได้อะไรเลยจะกลายเป็นแค่เศษขยะ ไม่มีประโยชน์"
ด้านสถาบันวิจัยยาง รายงานสถานการณ์ยางพารา ล่าสุด ณ วันศุกร์ที่ 18 เมษายน 2557 ราคายางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควันชั้น 3 ตลาดกลางยางพาราอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปรับตัวลดลงกิโลกรัมละ 0.74 บาท และ 0.90 บาท แตะระดับ 65.03 บาทต่อกิโลกรัม และ 67.19 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ ซึ่งเป็นไปในในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ยางของจีน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจของจีนเดือนมีนาคม ทั้งการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนจากต่างประเทศ ปรับตัวลดลงเกินคาด ประกอบกับสต๊อกยาง ณ ท่าเรือชิงเต่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ราคายางยังได้รับแรงกดดันหลังวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์จะเริ่มเปิดกรีดยางได้ทั่วประเทศ ส่งผลให้ผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
อนึ่ง จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ในปี 2556 ที่ผ่านมา ไทยการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพารา 2.49 แสนล้านบาท ขยายตัวลดลงจากปีก่อน 7.7% ขณะที่ช่วง 2 เดือนแรกของปี 2557 มีการส่งออก 4.54 หมื่นล้านบาท ขยายตัวลดลง 5.5% โดยในจำนวนนี้ตลาดส่งออกยางพารา 5 อันดับแรกของไทย ประกอบด้วย จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเกาหลีใต้ สัดส่วน 51.7, 10.6, 9.8, 4.6 และ 4.6% ตามลำดับ
ขณะที่ราคายางพารา(ยางแผ่นดิบ ราคาท้องถิ่นที่เกษตรกรขายได้) ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2557 (ม.ค.-เม.ย.) เฉลี่ยที่ 64.01 บาทต่อกิโลกรัมถือเป็นราคาต่ำสุดรอบ 4 ปี (2553-2556) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ย 104.49, 129.96, 91.07, 75.55 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ