เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่ จ.ตรัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่เกษตรกรชาวสวนยางพาราประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำทำให้ชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก หลายแปลงเจ้าของสวนตัดสินใจโค่นทิ้งก่อนหมดอายุกรีด เพื่อหันไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน และทำการเกษตรประเภทอื่นแทน ขณะเดียวกันหลายแปลงลูกจ้างกรีดยางหนีหาย เจ้าของสวนหาคนกรีดใหม่ไม่ได้ ต้องปล่อยทิ้งร้าง
นาย
ชอบ ประจงใจ เจ้าของสวนยางในพื้นที่ ต.ทุ่งต่อ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เนื้อที่กว่า 20 ไร่ กล่าวว่า ขณะนี้พบมีสวนยางพาราหลายแปลงถูกปล่อยทิ้งร้างไม่มีคนกรีด เพราะประสบปัญหาเรื่องคนงานมีรายได้จากการรับจ้างกรีดยางในแต่ละวัน ไม่พอเลี้ยงครอบครัว จึงหยุดกรีด แล้วหันหาอาชีพรับจ้างอย่างอื่นทำแทน ในส่วนของตนเองมีทั้งหมด 3 แปลง ทั้งกรีดเองบ้าง ให้ลูกจ้างกรีดบ้าง ส่วนที่ลูกจ้างกรีดเนื้อที่กว่า 20 ไร่ ต้องทิ้งร้างหาลูกจ้างใหม่ไม่ได้ และทุกครั้งที่มีปัญหาราคายางตกต่ำ ก็จะเกิดปัญหาลูกจ้างทิ้งสวนยางไม่มีคนกรีดทุกครั้ง
“ส่วนที่ตนเองกรีดเองก็จะกรีดบ้างหยุดบ้าง เพราะราคายางตกต่ำ กรีดก็ได้เงินไม่คุ้มค่าเหนื่อย จึงไม่มีกำลังใจจะกรีด และหันไปทำอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย และในพื้นที่ ต.ทุ่งต่อ อ.ห้วยยอด ก็มีหลายแปลงที่ถูกทิ้งร้าง อยากให้ผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทย และรัฐบาลเร่งหามาตรการแก้ไขปัญหา เพราะหากปัญหายังอยู่ลักษณะนี้เกษตรกรจะอยู่ต่อไปไม่ได้ เพราะจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ราคายางพาราที่เกษตรกรอยู่ได้จะต้องอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 70 บาท เพราะต้นทุนการผลิตยางพาราอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 66 บาท” นาย
ชอบกล่าว
JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ราคายางพ่นพิษ สวนยางถูกทิ้งร้าง รายได้ต่ำคนกรีดยางหนี เกษตรกรขอ 70 บ./กก.
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่ จ.ตรัง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่เกษตรกรชาวสวนยางพาราประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำทำให้ชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก หลายแปลงเจ้าของสวนตัดสินใจโค่นทิ้งก่อนหมดอายุกรีด เพื่อหันไปปลูกปาล์มน้ำมันแทน และทำการเกษตรประเภทอื่นแทน ขณะเดียวกันหลายแปลงลูกจ้างกรีดยางหนีหาย เจ้าของสวนหาคนกรีดใหม่ไม่ได้ ต้องปล่อยทิ้งร้าง
นายชอบ ประจงใจ เจ้าของสวนยางในพื้นที่ ต.ทุ่งต่อ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เนื้อที่กว่า 20 ไร่ กล่าวว่า ขณะนี้พบมีสวนยางพาราหลายแปลงถูกปล่อยทิ้งร้างไม่มีคนกรีด เพราะประสบปัญหาเรื่องคนงานมีรายได้จากการรับจ้างกรีดยางในแต่ละวัน ไม่พอเลี้ยงครอบครัว จึงหยุดกรีด แล้วหันหาอาชีพรับจ้างอย่างอื่นทำแทน ในส่วนของตนเองมีทั้งหมด 3 แปลง ทั้งกรีดเองบ้าง ให้ลูกจ้างกรีดบ้าง ส่วนที่ลูกจ้างกรีดเนื้อที่กว่า 20 ไร่ ต้องทิ้งร้างหาลูกจ้างใหม่ไม่ได้ และทุกครั้งที่มีปัญหาราคายางตกต่ำ ก็จะเกิดปัญหาลูกจ้างทิ้งสวนยางไม่มีคนกรีดทุกครั้ง
“ส่วนที่ตนเองกรีดเองก็จะกรีดบ้างหยุดบ้าง เพราะราคายางตกต่ำ กรีดก็ได้เงินไม่คุ้มค่าเหนื่อย จึงไม่มีกำลังใจจะกรีด และหันไปทำอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย และในพื้นที่ ต.ทุ่งต่อ อ.ห้วยยอด ก็มีหลายแปลงที่ถูกทิ้งร้าง อยากให้ผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทย และรัฐบาลเร่งหามาตรการแก้ไขปัญหา เพราะหากปัญหายังอยู่ลักษณะนี้เกษตรกรจะอยู่ต่อไปไม่ได้ เพราะจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ราคายางพาราที่เกษตรกรอยู่ได้จะต้องอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 70 บาท เพราะต้นทุนการผลิตยางพาราอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 66 บาท” นายชอบกล่าว