ยาง8หมื่นตันแลกอาวุธรัสเซีย สต๊อกท่วมฉุดราคาวูบ12บาท เกษตรฯ หวัง "ปูติน" เยือนไทยกลางปี ซื้อยาง 8 หมื่นตัน แลกอาวุธรัสเซีย ชี้ผู้ส่งออกขายตัดราคาหนักในจีนทำรัฐขายไม่ออก สต๊อกท่วมโกดัง ราคายางทรุดกก.ละ 10-12 บาท หลัง อ.ส.ย.ชะลอซื้อ แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภายหลังที่จีนได้ตกลงซื้อยางพาราของไทยประมาณ 2 แสนตัน มีกรอบระยะเวลาส่งมอบใน 2 ปี ตั้งแต่ปี 2558-59 และฝ่ายไทยได้ส่งมอบยางจริง 2,000 ตัน ให้แก่บริษัท ไซน่า ไห่หนาน รับเบอร์อินดัสตรี้ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ปลายเดือน ธ.ค. 2557 เท่านั้น ก็ยังไม่มีการระบายยางในสต๊อกอีก เพราะภายหลังที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมเป็นประธานการประชุมเพื่อติดตามการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำร่วมกับ บริษัทเอกชนที่บ้านเกษะโกมล เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา กระทั่ง พล.อ.ประวิตรได้ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนว่า จะผลักดันราคายางให้ถึงกิโลกรัมละ 80 บาท เนื่องจากมีเอกชนเสนอให้ แนวทางการผลักดันยางให้ถึงกิโลกรัมละ 80 บาท บนเงื่อนไขว่าจะไม่มีการระบายยางออกนอกประเทศ ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ตอบตกลง จึงไม่มีการระบายยางในสต๊อกยางเป็นเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. จนถึงวันที่ 22 ก.พ. 2558 แต่ก็ไม่สามารถทำให้ราคายางถึงกิโลกรัมละ 80 บาทได้ตามที่สัญญา อย่างไรก็ตาม หลังจากครบ 1 เดือน แผนการที่จะระบายยางให้แก่บริษัท ไชน่า ไห่หนาน รับเบอร์ อินดัสทรี กรุ๊ป อีกครั้ง และทางบริษัทไชน่า ไห่หนานฯ ได้เปิดใบขอรับมอบมาเพิ่ม 40,000 ตัน ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบได้ภายในเดือนมี.ค.นี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า ฝ่ายไทยจะมีการเจรจากับรัสเซียซึ่งแสดงความสนใจซื้อยาง 80,000 ตัน โดยนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย จะเดินทางมาเยือนไทยเป็นทางการพร้อมเจรจาซื้อยาง ขณะนี้ฝ่ายรัฐบาลไทยกับรัสเซียกำลังประสานแผนการเดินทางมาเยือนไทย คาดว่าอยู่ในช่วงกลางปีนี้ และไทยอาจจะซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซียเป็นการแลกเปลี่ยน ราคาวูบ 10-12 บาท/กิโล น.ส.อธิ วีณ์ แดงกนิษฐ์ รักษาการผู้อำนวยการตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราชกล่าวว่า องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ได้ชะลอรับซื้อยางแล้วตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. 58 โดยจะชะลอการรับซื้อไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา อ.ส.ย.รับซื้อยางปริมาณมาก ทำให้กำลังผลิตของโรงงานอัดก้อน ที่ อ.ส.ย.จัดจ้างไว้ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามการส่งมอบยางที่ อ.ส.ย.ประมูลไว้แล้วยังดำเนินต่อเนื่อง โดยอาศัยกำลังทหารช่วยขนส่งด้วย คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 14 วัน น.ส.อธิ วีณ์เปิดเผยว่า ราคายางในตลาดกลางหลัง อ.ส.ย.ชะลอรับซื้อ ลดลงถึง 10-12 บาท/กก. โดยราคาวันที่ 10 มี.ค. 58 ยางแผ่นดิบราคา 48.96 บาท/กก. และยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคา 50.72 บาท/กก. ทำให้เกษตรกรและสหกรณ์ชะลอการส่งยางเข้าประมูลเพื่อรอดูท่าทีก่อนว่า อ.ส.ย.จะเข้าประมูลอีกครั้งหรือไม่ ยางค้างสต๊อกสหกรณ์ภาคใต้ นาย ทรงวุฒิ ดำรงกูล เหรัญญิกคณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย (คยชท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. 2558 เป็นต้นมา องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ได้ปิดรับซื้อยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควันในโครงการมูลภัณฑ์กันชน เพราะถึงฤดูปิดหน้ายาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มสถาบันเกษตรกรยางพารา เช่น สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น โดยในกลุ่มของตนซึ่งครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) ประสบปัญหาทันที เพราะมียางค้างในสต๊อก 125 ตัน ที่ไม่สามารถนำออกไปขายยังตลาดกลางยางพาราในโครงการมูลภัณฑ์กันชนได้ในราคา กิโลกรัมละ 63 บาทเศษ ด้านนายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มแห่งประเทศไทย (คยปท.) กล่าวว่า ข้อมูลเบื้องต้นขณะนี้มีปริมาณยางพาราที่ค้างสต๊อกในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 2,400 ตัน สงขลา 3,000 ตัน ตรัง 700 ตัน และสตูล 500 ตัน จี้สางปัญหาบัฟเฟอร์ฟันด์ ทั้ง นี้ จากการประชุมระหว่างชาวสวนยางพารา ฝ่ายทหาร ฝ่ายปกครอง และผู้บริหารโครงการมูลภัณฑ์กันชน (Buffer Fund) ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2558 มีการยอมรับว่า มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ซึ่งทางภาคีเครือข่ายจะหารือกับฝ่ายกฎหมายเพื่อยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อไป และต้องกำหนดเงื่อนไขการขายยางในโครงการมูลภัณฑ์กันชนให้เอื้อประโยชน์ต่อ เกษตรกรชาวสวนยางตัวจริง "ตอนนี้สต๊อกเต็มหมดแล้ว ทั้งยางในสต๊อกเก่า 2.1 แสนตัน และสต๊อกใหม่โครงการมูลภัณฑ์กันชนอีกกว่า 1 แสนตันก็ยังระบายออกไม่ได้ เมื่อถึงเดือนพ.ค.นี้ก็จะเปิดหน้ากรีดพร้อมกันทั่วประเทศ ผลผลิตภายในไตรมาสเดียวประมาณ 1.1 ล้านตัน จะบริหารจัดการอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะการนำไปแปรรูปก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า" ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า การระบายยางพาราในสต๊อกของรัฐไปต่างประเทศที่ผ่านมาทำได้ค่อนข้างลำบาก นอกจากการคัดค้านของกลุ่มเกษตรกรแล้ว มีสาเหตุมาจากผู้ส่งออกยางของไทยขายตัดราคากันค่อนข้างหนัก ราคายางชนิดเดียวกัน มาตรฐานเดียวกันที่ซื้อขายในจีนต่ำกว่าราคาซื้อขายในไทยไม่ต่ำกว่า กก.ละ 5 บาท ยังไม่รวมยางที่รัฐแทรกแซงซื้อในราคาสูงกว่าเอกชนมาก ทำให้นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เตรียมหาทางออกด้วยการบาร์เตอร์เทรดสินค้ายางในสต๊อกกับสินค้าของประเทศผู้ ซื้อ อาทิ รัสเซีย จีน
ถ้าจัดหายุทโธปกรณ์ของรัสเซียจริงๆ จัดหา SU-35 เลย
หรือ Buk-m2e
หรือ Kilo class
หรือ Yak-130
หรือ AK-108
ข่าวจาก
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1426143862
ยาง8หมื่นตันแลกอาวุธรัสเซีย สต๊อกท่วมฉุดราคาวูบ12บาท
ยาง8หมื่นตันแลกอาวุธรัสเซีย สต๊อกท่วมฉุดราคาวูบ12บาท เกษตรฯ หวัง "ปูติน" เยือนไทยกลางปี ซื้อยาง 8 หมื่นตัน แลกอาวุธรัสเซีย ชี้ผู้ส่งออกขายตัดราคาหนักในจีนทำรัฐขายไม่ออก สต๊อกท่วมโกดัง ราคายางทรุดกก.ละ 10-12 บาท หลัง อ.ส.ย.ชะลอซื้อ แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภายหลังที่จีนได้ตกลงซื้อยางพาราของไทยประมาณ 2 แสนตัน มีกรอบระยะเวลาส่งมอบใน 2 ปี ตั้งแต่ปี 2558-59 และฝ่ายไทยได้ส่งมอบยางจริง 2,000 ตัน ให้แก่บริษัท ไซน่า ไห่หนาน รับเบอร์อินดัสตรี้ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ปลายเดือน ธ.ค. 2557 เท่านั้น ก็ยังไม่มีการระบายยางในสต๊อกอีก เพราะภายหลังที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมเป็นประธานการประชุมเพื่อติดตามการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำร่วมกับ บริษัทเอกชนที่บ้านเกษะโกมล เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา กระทั่ง พล.อ.ประวิตรได้ออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนว่า จะผลักดันราคายางให้ถึงกิโลกรัมละ 80 บาท เนื่องจากมีเอกชนเสนอให้ แนวทางการผลักดันยางให้ถึงกิโลกรัมละ 80 บาท บนเงื่อนไขว่าจะไม่มีการระบายยางออกนอกประเทศ ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ตอบตกลง จึงไม่มีการระบายยางในสต๊อกยางเป็นเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค. จนถึงวันที่ 22 ก.พ. 2558 แต่ก็ไม่สามารถทำให้ราคายางถึงกิโลกรัมละ 80 บาทได้ตามที่สัญญา อย่างไรก็ตาม หลังจากครบ 1 เดือน แผนการที่จะระบายยางให้แก่บริษัท ไชน่า ไห่หนาน รับเบอร์ อินดัสทรี กรุ๊ป อีกครั้ง และทางบริษัทไชน่า ไห่หนานฯ ได้เปิดใบขอรับมอบมาเพิ่ม 40,000 ตัน ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบได้ภายในเดือนมี.ค.นี้ แหล่งข่าวกล่าวว่า ฝ่ายไทยจะมีการเจรจากับรัสเซียซึ่งแสดงความสนใจซื้อยาง 80,000 ตัน โดยนายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย จะเดินทางมาเยือนไทยเป็นทางการพร้อมเจรจาซื้อยาง ขณะนี้ฝ่ายรัฐบาลไทยกับรัสเซียกำลังประสานแผนการเดินทางมาเยือนไทย คาดว่าอยู่ในช่วงกลางปีนี้ และไทยอาจจะซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของรัสเซียเป็นการแลกเปลี่ยน ราคาวูบ 10-12 บาท/กิโล น.ส.อธิ วีณ์ แดงกนิษฐ์ รักษาการผู้อำนวยการตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราชกล่าวว่า องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ได้ชะลอรับซื้อยางแล้วตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. 58 โดยจะชะลอการรับซื้อไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา อ.ส.ย.รับซื้อยางปริมาณมาก ทำให้กำลังผลิตของโรงงานอัดก้อน ที่ อ.ส.ย.จัดจ้างไว้ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามการส่งมอบยางที่ อ.ส.ย.ประมูลไว้แล้วยังดำเนินต่อเนื่อง โดยอาศัยกำลังทหารช่วยขนส่งด้วย คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 14 วัน น.ส.อธิ วีณ์เปิดเผยว่า ราคายางในตลาดกลางหลัง อ.ส.ย.ชะลอรับซื้อ ลดลงถึง 10-12 บาท/กก. โดยราคาวันที่ 10 มี.ค. 58 ยางแผ่นดิบราคา 48.96 บาท/กก. และยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคา 50.72 บาท/กก. ทำให้เกษตรกรและสหกรณ์ชะลอการส่งยางเข้าประมูลเพื่อรอดูท่าทีก่อนว่า อ.ส.ย.จะเข้าประมูลอีกครั้งหรือไม่ ยางค้างสต๊อกสหกรณ์ภาคใต้ นาย ทรงวุฒิ ดำรงกูล เหรัญญิกคณะกรรมการเครือข่ายชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย (คยชท.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค. 2558 เป็นต้นมา องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ได้ปิดรับซื้อยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควันในโครงการมูลภัณฑ์กันชน เพราะถึงฤดูปิดหน้ายาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มสถาบันเกษตรกรยางพารา เช่น สหกรณ์ วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น โดยในกลุ่มของตนซึ่งครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) ประสบปัญหาทันที เพราะมียางค้างในสต๊อก 125 ตัน ที่ไม่สามารถนำออกไปขายยังตลาดกลางยางพาราในโครงการมูลภัณฑ์กันชนได้ในราคา กิโลกรัมละ 63 บาทเศษ ด้านนายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มแห่งประเทศไทย (คยปท.) กล่าวว่า ข้อมูลเบื้องต้นขณะนี้มีปริมาณยางพาราที่ค้างสต๊อกในจังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 2,400 ตัน สงขลา 3,000 ตัน ตรัง 700 ตัน และสตูล 500 ตัน จี้สางปัญหาบัฟเฟอร์ฟันด์ ทั้ง นี้ จากการประชุมระหว่างชาวสวนยางพารา ฝ่ายทหาร ฝ่ายปกครอง และผู้บริหารโครงการมูลภัณฑ์กันชน (Buffer Fund) ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2558 มีการยอมรับว่า มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ซึ่งทางภาคีเครือข่ายจะหารือกับฝ่ายกฎหมายเพื่อยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อไป และต้องกำหนดเงื่อนไขการขายยางในโครงการมูลภัณฑ์กันชนให้เอื้อประโยชน์ต่อ เกษตรกรชาวสวนยางตัวจริง "ตอนนี้สต๊อกเต็มหมดแล้ว ทั้งยางในสต๊อกเก่า 2.1 แสนตัน และสต๊อกใหม่โครงการมูลภัณฑ์กันชนอีกกว่า 1 แสนตันก็ยังระบายออกไม่ได้ เมื่อถึงเดือนพ.ค.นี้ก็จะเปิดหน้ากรีดพร้อมกันทั่วประเทศ ผลผลิตภายในไตรมาสเดียวประมาณ 1.1 ล้านตัน จะบริหารจัดการอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะการนำไปแปรรูปก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า" ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า การระบายยางพาราในสต๊อกของรัฐไปต่างประเทศที่ผ่านมาทำได้ค่อนข้างลำบาก นอกจากการคัดค้านของกลุ่มเกษตรกรแล้ว มีสาเหตุมาจากผู้ส่งออกยางของไทยขายตัดราคากันค่อนข้างหนัก ราคายางชนิดเดียวกัน มาตรฐานเดียวกันที่ซื้อขายในจีนต่ำกว่าราคาซื้อขายในไทยไม่ต่ำกว่า กก.ละ 5 บาท ยังไม่รวมยางที่รัฐแทรกแซงซื้อในราคาสูงกว่าเอกชนมาก ทำให้นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เตรียมหาทางออกด้วยการบาร์เตอร์เทรดสินค้ายางในสต๊อกกับสินค้าของประเทศผู้ ซื้อ อาทิ รัสเซีย จีน
ถ้าจัดหายุทโธปกรณ์ของรัสเซียจริงๆ จัดหา SU-35 เลย
หรือ Buk-m2e
หรือ Kilo class
หรือ Yak-130
หรือ AK-108
ข่าวจาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1426143862