วันนี้ 5 มิ.ย. 57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้ให้ความเห็นชอบโครงการเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรฯ แล้วทั้งสิ้น 4 โครงการ วงเงินรวม 11,698 ล้านบาท ประกอบด้วย
งบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 6,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินสนับสนุนค่าปัจจัยการผลิตให้แก่ชาวสวนยางไร่ละ 2,520 บาท ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบปี 2557 ระยะสั้น
งบประมาณแก้ไขปัญหาโรคตายด่วน (อีเอ็มเอส) ระบาดในกุ้งทะเล จำนวน 200 ล้านบาท
งบกลางจำนวน 5,498 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรวม 584,005 ราย ที่ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตรในปี 2556-2557
และ เห็นชอบโครงการบริหารจัดการนมโรงเรียน ที่ให้องค์การส่งเสริมกิจการโคมนม หรือ อสค. เข้าไปซื้อขายนมกับท้องถิ่นโดยตรงเป็นกรณีพิเศษ เพิ่มเติมอีก 2 ปี โดยโครงการนี้ไม่มีการขออนุมัติงบประมาณ
ทั้งนี้สำหรับการประชุมติดตามงานด้านยางพารากับฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.นั้น ได้ติดตามความคืบหน้าโครงการด้านยางพารา เพื่อเสนอ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ใน 3 โครงการ ประกอบด้วย การจัดการยางในสต๊อกจำนวน 210,000 ตัน จากโครงการเสริมสร้างสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางวงเงิน 5,000 ล้านบาท และการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ
ขณะเดียวกัน ได้สรุปข้อเท็จจริงกรณีเอกชนร้องเรียน คสช. เรื่องการระบายยางในสต๊อก 210,000 ตัน ซึ่งจะทำให้ราคายางตกต่ำว่า กระทรวงเกษตรฯ ยังไม่มีการระบายยางออกจากสต๊อกแต่อย่างใด ทำให้ คสช.เข้าใจข้อเท็จจริงตรงกันแล้ว ส่วนโครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาทของรัฐบาลชุดก่อน คสช.ยังไม่อนุมัติดำเนินการ โดยขอให้ไปจัดทำแนวทางการดำเนินโครงการที่ชัดเจนมาให้พิจารณาใหม่อีกครั้ง
news.mthai.com/politics-news/343184.html
มาดู tccc กันกับข่าว คสช.ไฟเขียว ชงงบให้ก.เกษตรฯ 1.1 หมื่นล้านบาท
วันนี้ 5 มิ.ย. 57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ฝ่ายเศรษฐกิจคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้ให้ความเห็นชอบโครงการเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรฯ แล้วทั้งสิ้น 4 โครงการ วงเงินรวม 11,698 ล้านบาท ประกอบด้วย
งบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 6,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินสนับสนุนค่าปัจจัยการผลิตให้แก่ชาวสวนยางไร่ละ 2,520 บาท ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบปี 2557 ระยะสั้น
งบประมาณแก้ไขปัญหาโรคตายด่วน (อีเอ็มเอส) ระบาดในกุ้งทะเล จำนวน 200 ล้านบาท
งบกลางจำนวน 5,498 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรวม 584,005 ราย ที่ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตรในปี 2556-2557
และ เห็นชอบโครงการบริหารจัดการนมโรงเรียน ที่ให้องค์การส่งเสริมกิจการโคมนม หรือ อสค. เข้าไปซื้อขายนมกับท้องถิ่นโดยตรงเป็นกรณีพิเศษ เพิ่มเติมอีก 2 ปี โดยโครงการนี้ไม่มีการขออนุมัติงบประมาณ
ทั้งนี้สำหรับการประชุมติดตามงานด้านยางพารากับฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.นั้น ได้ติดตามความคืบหน้าโครงการด้านยางพารา เพื่อเสนอ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ใน 3 โครงการ ประกอบด้วย การจัดการยางในสต๊อกจำนวน 210,000 ตัน จากโครงการเสริมสร้างสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางวงเงิน 5,000 ล้านบาท และการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ
ขณะเดียวกัน ได้สรุปข้อเท็จจริงกรณีเอกชนร้องเรียน คสช. เรื่องการระบายยางในสต๊อก 210,000 ตัน ซึ่งจะทำให้ราคายางตกต่ำว่า กระทรวงเกษตรฯ ยังไม่มีการระบายยางออกจากสต๊อกแต่อย่างใด ทำให้ คสช.เข้าใจข้อเท็จจริงตรงกันแล้ว ส่วนโครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา วงเงิน 5,000 ล้านบาทของรัฐบาลชุดก่อน คสช.ยังไม่อนุมัติดำเนินการ โดยขอให้ไปจัดทำแนวทางการดำเนินโครงการที่ชัดเจนมาให้พิจารณาใหม่อีกครั้ง
news.mthai.com/politics-news/343184.html