ดับ10ศพ โควิดวันนี้ ป่วยใหม่ต่ำกว่าพันราย ปอดอักเสบลด เผยยอด ATK
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_7262267
โควิดวันนี้ ศบค. รายงานสถานการณ์เบื้องต้นพบผู้ป่วยใหม่ต่ำกว่า 1,000 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบเหลือ 660 ราย เสียชีวิต 10 ราย เผยยอดติดเชื้อเข้าข่าย ATK
วันที่ 13 ก.ย.2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ว่า เบื้องต้นมีผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) 619 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 619 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,445,428 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 1,827 ราย หายป่วยสะสม 2,457,540 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 10,265 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 10 ราย เสียชีวิตสะสม 10,866 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 660 ราย ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (ATK) (สัปดาห์ที่ 36 : 4-10 ก.ย.65) จำนวน 107,503 คน สะสม 7,940,017 คน
เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
เกษตรกรชาวสวนยางพาราวอนรัฐแก้ปัญหาราคาตกต่ำ เหลือโลละ 19-20 บาท
https://ch3plus.com/news/economy/morning/310475
เมื่อวันที่ 13 ก.ย.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำในช่วงนี้ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงาได้รับความเดือดร้อนหลังจากราคายางพาราก้อนถ้วยปรับลดเหลือกิโลกรัมละ19-20 บาท
แม้จะมีฝนตกลงมาในเวลากลางคืน ก็ยังต้องออกกรีดยางแม้จะเสี่ยงกับการถูกฝนตกใส่น้ำยาง อาจเก็บน้ำยางไม่ได้ และราคายางพาราตกต่ำเนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอรายจ่าย และต่างก็เป็นหนี้สิน และยังต้องส่งลูกหลานเรียนหนังสือ แต่ละรายกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
ทางนาย
ภานุ เกษตรกรชาวสวนยางพารา ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา กล่าวว่า ตอนนี้ทางเกษตรกรชาวสวนยางได้รับผลกระทบจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำเพราะขณะนี้ค่าครองชีพสูง ราคาน้ำมันก็แพง ค่าแรงงานที่ต้องจ่ายให้กับกิจกรรมทางการเกษตรก็สูงและแพงขึ้น ซึ่งเมื่อก่อนถ้าชาวสวนยางที่เปิดกรีดเองโดยไม่ได้จ้างแรงงาน ยางกิโลกรัมละ 25 บาทก็พออยู่ได้
ถ้าไม่เกิน 15 ไร่ ถ้าต่ำกว่ากิโลกรัมละ 25 บาทจะส่งผลกระทบให้กับเกษตรกรเพราะตอนนี้ต้องแบกรับภาระค่าปุ๋ยค่าแรงงาน ประกอบกับค่าของชีพในปัจจุบันที่สูงขึ้นซึ่งถ้าทางรัฐ ขอให้ประกันราคาได้กิโลกรัมละ 25 บาท และจะต้องประกันราคายางพาราให้กับเกษตรกรชาวสวนยางพาราทุกกลุ่ม ซึ่งตอนนี้ทางเกษตรกรชาวสวนยางก็ยังได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกทำให้ยางกรีดได้น้อย
โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาสามารถกรีดยางได้ไม่ถึง 20 วัน เพราะฝนตกหนัก และปัญหาโลกใบร่วง จึงทำให้เกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้ ครับและทำให้ปริมาณน้ำยางออกน้อยลง พร้อมกับมาเจอกับปัญหาราคายางพาราตกต่ำซึ่งถ้าเกษตรกรที่ไม่มีต้นทุนก็จะทำให้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ซึ่งตอนนี้เกษตรกรชาวสวนยางต้องแบกรับภาระราคาปุ๋ยที่สูงโดยในแต่ละปีจะมีการใส่ปุ๋ยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งตอนนี้ราคาปุ๋ยตกกระสอบละ 2,000 กว่าบาท
ถ้าราคายางเหลือกิโลกรัมละ 19-20 บาทก็จะส่งผลกระทบให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก มีบางส่วนที่เกษตรกรต้องปล่อยทิ้งให้ยางยืนต้นตายไม่ได้กรีดยางรัดช่วยเร่งแก้ปัญหาราคาขายยางพาราอย่าให้ต่ำกิโลละ 25 บาทต่อไป
ฟันธง 8 ปี 'บิ๊กตู่' ปฏิรูปการศึกษาเหลว 'นักการเมือง' หงอ ขรก.-ไม่ยึดประโยชน์ น.ร.
https://www.matichon.co.th/education/news_3556442
ฟันธง 8 ปี ‘บิ๊กตู่’ ปฏิรูปการศึกษาเหลว ‘นักการเมือง’ หงอ ขรก.-ไม่ยึดประโยชน์ น.ร. ‘สมพงษ์’ แฉยุค ‘ข้าราชการระดับสูง-ครู’ ได้ดี
ศ.ดร.
สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา เปิดเผยว่า ช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ภายใต้การนำของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา เราได้บทเรียนมาจำนวนมาก เพราะผ่านมา 8 ปี การปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาล้มเหลว ซึ่งถือเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ของรัฐบาล นักการเมือง และนักปฏิรูป ที่สะท้อนให้เห็นว่า แม้จะมีความพยายาม มีคำมั่นสัญญา มีผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ทำไมไม่สามารถจัดการ และปฏิรูปการศึกษาได้ มีแต่เสียเวลา เสียทรัพยากร และทำให้สังคมไทยเริ่มสิ้นหวังกับการศึกษาในระบบโรงเรียนมากขึ้น ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐประหารมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ใช้คนเข้ามาปฏิรูปประเทศจำนวนมาก มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ 250 คน มีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 13 ชุด มีรัฐมนตรีว่าการ ศธ. 5 คน และมีรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.อีก 8 คน มีรายงานการปฏิรูป 130 เล่ม มีวาระการปฏิรูป 37 วาระ และมีข้อเสนอการปฏิรูป 1,342 ข้อ
ศ.ดร.
สมพงษ์กล่าวต่อว่า แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถปฏิรูปประเทศ และไม่สามารถปฏิรูปการศึกษาได้ กลับติดหล่มอยู่กับที่ ไม่ไปไหน เห็นแต่การใช้อำนาจเพิ่มมากขึ้น เช่น การใช้อำนาจ คสช.ที่ออกมาจัดการควบคุม ศธ.มากกว่า 14 ฉบับ แต่ไม่ช่วยให้ ศธ.ดีขึ้น กลับสร้างความขัดแย้งขึ้นกับ ศธ.มากขึ้น เช่น การออกคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ ศธ.ที่สร้างความขัดแย้งระหว่างศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เป็นต้น
“คณะกรรมการปฏิรูปชุดต่างๆ ที่ตั้งมา ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทาง และหมดหน้าที่ ไม่มีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ และคณะกรรมการปฏิรูปที่มาทำงาน ไม่มีความหลากหลาย ไม่เปิดให้คนทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม แต่กลับคัดเลือกคนพวกเดียวกัน มีแนวความคิดเหมือนกัน ทำให้การปฏิรูปติดกรอบ จาก 8 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่านายกรัฐมนตรีเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง แม้นายกฯ จะให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษา แต่นายกฯ กลับยึดแนวคิด ความต้องการของตนเป็นหลัก เช่น การออกค่านิยม 12 ประการ สั่งให้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง สั่งยุติการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นต้น” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
ศ.ดร.
สมพงษ์กล่าวอีกว่า ในส่วนของ ศธ.จะเห็นว่า 8 ปีที่ผ่านมา การศึกษาไทยยิ่งแย่ลง เด็กเกิดน้อยลง โรงเรียนถูกปิดตัวมากขึ้น แต่กลไกระบบราชการของ ศธ.กลับดีขึ้น มีข้าราชการระดับสูงเพิ่มขึ้น มีช่องทางในการไต่เต้าเพิ่มมากขึ้น ต้องเสียงบประมาณจ่ายเงินเดือน และวิทยฐานะ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง สาเหตุที่ไม่สามารถจัดการ และผ่าตัดปัญหาเหล่านี้ได้ เพราะนักการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง เกรงใจข้าราชการ ไม่ยึดประโยชน์นักเรียนเป็นตัวตั้ง แต่กลับยึดประโยชน์ของครูแทน
“ระบบต่างๆ กำลังกัดกินเด็ก แล้วเราจะปล่อยให้การศึกษากัดกินคุณภาพเด็ก กินงบที่เด็กควรจะได้รับต่อไปหรือ ผมมองว่า 8 ปีที่ผ่านมา ทำการศึกษาเน่าเฟะไปแล้ว 70% เหลืออีก 30% ยังมีส่วนที่ดีบ้าง เช่น มี พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ การเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวใหม่ มีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาปฏิรูปประเทศ แต่ต้องมีเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะนำเด็กเป็นที่ตั้งในการพัฒนาแก้ไขปัญหา และนักการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ต้องไม่กลัวการต่อต้านของข้าราชการ ต้องกล้าสังคายนาระเบียบกฎเกณฑ์ และมองความต้องการของประชาชน และเด็กเป็นที่ตั้ง” ศ.ดร.
สมพงษ์ กล่าว
JJNY : ดับ10 ป่วยใหม่ต่ำกว่าพัน│ยางาคาตกเหลือโลละ 19-20 บ.│8 ปี 'ตู่'ปฏิรูปการศึกษาเหลว│ศาลถก 14 ก.ย.ลุ้นชี้คดีตู่
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_7262267
โควิดวันนี้ ศบค. รายงานสถานการณ์เบื้องต้นพบผู้ป่วยใหม่ต่ำกว่า 1,000 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบเหลือ 660 ราย เสียชีวิต 10 ราย เผยยอดติดเชื้อเข้าข่าย ATK
วันที่ 13 ก.ย.2565 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ว่า เบื้องต้นมีผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) 619 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 619 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,445,428 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 1,827 ราย หายป่วยสะสม 2,457,540 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 10,265 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 10 ราย เสียชีวิตสะสม 10,866 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 660 ราย ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (ATK) (สัปดาห์ที่ 36 : 4-10 ก.ย.65) จำนวน 107,503 คน สะสม 7,940,017 คน
เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
เกษตรกรชาวสวนยางพาราวอนรัฐแก้ปัญหาราคาตกต่ำ เหลือโลละ 19-20 บาท
https://ch3plus.com/news/economy/morning/310475
เมื่อวันที่ 13 ก.ย.65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำในช่วงนี้ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงาได้รับความเดือดร้อนหลังจากราคายางพาราก้อนถ้วยปรับลดเหลือกิโลกรัมละ19-20 บาท
แม้จะมีฝนตกลงมาในเวลากลางคืน ก็ยังต้องออกกรีดยางแม้จะเสี่ยงกับการถูกฝนตกใส่น้ำยาง อาจเก็บน้ำยางไม่ได้ และราคายางพาราตกต่ำเนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอรายจ่าย และต่างก็เป็นหนี้สิน และยังต้องส่งลูกหลานเรียนหนังสือ แต่ละรายกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
ทางนายภานุ เกษตรกรชาวสวนยางพารา ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา กล่าวว่า ตอนนี้ทางเกษตรกรชาวสวนยางได้รับผลกระทบจากปัญหาราคายางพาราตกต่ำเพราะขณะนี้ค่าครองชีพสูง ราคาน้ำมันก็แพง ค่าแรงงานที่ต้องจ่ายให้กับกิจกรรมทางการเกษตรก็สูงและแพงขึ้น ซึ่งเมื่อก่อนถ้าชาวสวนยางที่เปิดกรีดเองโดยไม่ได้จ้างแรงงาน ยางกิโลกรัมละ 25 บาทก็พออยู่ได้
ถ้าไม่เกิน 15 ไร่ ถ้าต่ำกว่ากิโลกรัมละ 25 บาทจะส่งผลกระทบให้กับเกษตรกรเพราะตอนนี้ต้องแบกรับภาระค่าปุ๋ยค่าแรงงาน ประกอบกับค่าของชีพในปัจจุบันที่สูงขึ้นซึ่งถ้าทางรัฐ ขอให้ประกันราคาได้กิโลกรัมละ 25 บาท และจะต้องประกันราคายางพาราให้กับเกษตรกรชาวสวนยางพาราทุกกลุ่ม ซึ่งตอนนี้ทางเกษตรกรชาวสวนยางก็ยังได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกทำให้ยางกรีดได้น้อย
โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาสามารถกรีดยางได้ไม่ถึง 20 วัน เพราะฝนตกหนัก และปัญหาโลกใบร่วง จึงทำให้เกษตรกรไม่สามารถกรีดยางได้ ครับและทำให้ปริมาณน้ำยางออกน้อยลง พร้อมกับมาเจอกับปัญหาราคายางพาราตกต่ำซึ่งถ้าเกษตรกรที่ไม่มีต้นทุนก็จะทำให้ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ซึ่งตอนนี้เกษตรกรชาวสวนยางต้องแบกรับภาระราคาปุ๋ยที่สูงโดยในแต่ละปีจะมีการใส่ปุ๋ยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งตอนนี้ราคาปุ๋ยตกกระสอบละ 2,000 กว่าบาท
ถ้าราคายางเหลือกิโลกรัมละ 19-20 บาทก็จะส่งผลกระทบให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก มีบางส่วนที่เกษตรกรต้องปล่อยทิ้งให้ยางยืนต้นตายไม่ได้กรีดยางรัดช่วยเร่งแก้ปัญหาราคาขายยางพาราอย่าให้ต่ำกิโลละ 25 บาทต่อไป
ฟันธง 8 ปี 'บิ๊กตู่' ปฏิรูปการศึกษาเหลว 'นักการเมือง' หงอ ขรก.-ไม่ยึดประโยชน์ น.ร.
https://www.matichon.co.th/education/news_3556442
ฟันธง 8 ปี ‘บิ๊กตู่’ ปฏิรูปการศึกษาเหลว ‘นักการเมือง’ หงอ ขรก.-ไม่ยึดประโยชน์ น.ร. ‘สมพงษ์’ แฉยุค ‘ข้าราชการระดับสูง-ครู’ ได้ดี
ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา เปิดเผยว่า ช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เราได้บทเรียนมาจำนวนมาก เพราะผ่านมา 8 ปี การปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะการปฏิรูปการศึกษาล้มเหลว ซึ่งถือเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ของรัฐบาล นักการเมือง และนักปฏิรูป ที่สะท้อนให้เห็นว่า แม้จะมีความพยายาม มีคำมั่นสัญญา มีผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ทำไมไม่สามารถจัดการ และปฏิรูปการศึกษาได้ มีแต่เสียเวลา เสียทรัพยากร และทำให้สังคมไทยเริ่มสิ้นหวังกับการศึกษาในระบบโรงเรียนมากขึ้น ตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐประหารมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ใช้คนเข้ามาปฏิรูปประเทศจำนวนมาก มีสภาปฏิรูปแห่งชาติ 250 คน มีคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 13 ชุด มีรัฐมนตรีว่าการ ศธ. 5 คน และมีรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ.อีก 8 คน มีรายงานการปฏิรูป 130 เล่ม มีวาระการปฏิรูป 37 วาระ และมีข้อเสนอการปฏิรูป 1,342 ข้อ
ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวต่อว่า แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถปฏิรูปประเทศ และไม่สามารถปฏิรูปการศึกษาได้ กลับติดหล่มอยู่กับที่ ไม่ไปไหน เห็นแต่การใช้อำนาจเพิ่มมากขึ้น เช่น การใช้อำนาจ คสช.ที่ออกมาจัดการควบคุม ศธ.มากกว่า 14 ฉบับ แต่ไม่ช่วยให้ ศธ.ดีขึ้น กลับสร้างความขัดแย้งขึ้นกับ ศธ.มากขึ้น เช่น การออกคำสั่ง คสช.ที่ 19/2560 เรื่องการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ ศธ.ที่สร้างความขัดแย้งระหว่างศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เป็นต้น
“คณะกรรมการปฏิรูปชุดต่างๆ ที่ตั้งมา ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแนวทาง และหมดหน้าที่ ไม่มีการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ จนเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ และคณะกรรมการปฏิรูปที่มาทำงาน ไม่มีความหลากหลาย ไม่เปิดให้คนทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม แต่กลับคัดเลือกคนพวกเดียวกัน มีแนวความคิดเหมือนกัน ทำให้การปฏิรูปติดกรอบ จาก 8 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่านายกรัฐมนตรีเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง แม้นายกฯ จะให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษา แต่นายกฯ กลับยึดแนวคิด ความต้องการของตนเป็นหลัก เช่น การออกค่านิยม 12 ประการ สั่งให้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง สั่งยุติการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นต้น” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวอีกว่า ในส่วนของ ศธ.จะเห็นว่า 8 ปีที่ผ่านมา การศึกษาไทยยิ่งแย่ลง เด็กเกิดน้อยลง โรงเรียนถูกปิดตัวมากขึ้น แต่กลไกระบบราชการของ ศธ.กลับดีขึ้น มีข้าราชการระดับสูงเพิ่มขึ้น มีช่องทางในการไต่เต้าเพิ่มมากขึ้น ต้องเสียงบประมาณจ่ายเงินเดือน และวิทยฐานะ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง สาเหตุที่ไม่สามารถจัดการ และผ่าตัดปัญหาเหล่านี้ได้ เพราะนักการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง เกรงใจข้าราชการ ไม่ยึดประโยชน์นักเรียนเป็นตัวตั้ง แต่กลับยึดประโยชน์ของครูแทน
“ระบบต่างๆ กำลังกัดกินเด็ก แล้วเราจะปล่อยให้การศึกษากัดกินคุณภาพเด็ก กินงบที่เด็กควรจะได้รับต่อไปหรือ ผมมองว่า 8 ปีที่ผ่านมา ทำการศึกษาเน่าเฟะไปแล้ว 70% เหลืออีก 30% ยังมีส่วนที่ดีบ้าง เช่น มี พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ การเพิ่มค่าใช้จ่ายรายหัวใหม่ มีกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มีการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาปฏิรูปประเทศ แต่ต้องมีเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะนำเด็กเป็นที่ตั้งในการพัฒนาแก้ไขปัญหา และนักการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการ ศธ.ต้องไม่กลัวการต่อต้านของข้าราชการ ต้องกล้าสังคายนาระเบียบกฎเกณฑ์ และมองความต้องการของประชาชน และเด็กเป็นที่ตั้ง” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว