อุกฤษชี้ สานนูน วินิจฉัยโดยไร้กฎหมายรองรับ

กระทู้สนทนา
เมื่อวันที่21 เม.ย. นายอุกฤษ มงคลนาวิน   ประธานกรรมการอิสระ  ว่าด้วย  การส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ทำจดหมายเปิดผนึกฉบับที่ 2 เรื่อง  “ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญเป็นฝ่ายที่ฝ่าฝืนหลักนิติธรรมเสียเองศาลรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ” โดยระบุว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีสำคัญหลายคดีที่ผ่านมาถูกวิพากษ์วิจารณ์มากว่ามีปัญหาเรื่องความยุติธรรมหลายคดีวินิจฉัยก้าวล่วงการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรอื่น โดยไม่มีอำนาจขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ และขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขณะที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคหก บัญญัติว่าวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย  วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญประกอบมาตรา 300 วรรคห้า  ที่บัญญัติว่าในระหว่างที่ยังมิได้มีการตราพ.ร.บ.ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้แต่ทั้งนี้ต้องตรา พ.ร.บ.ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 7 ปีแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังละเลยที่จะดำเนินการเพื่อให้มีกฎหมายดังกล่าว

นายอุกฤษระบุ  ด้วยว่า  นอกจากนี้ยังนำเอาข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญ  ว่าด้วย  วิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยพ.ศ.2550  ที่ศาลรัฐธรรมนูญ  เป็นผู้กำหนดขึ้นเองแต่เพียงฝ่ายเดียวมาใช้ในการพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยเรื่อยมา  ประเด็นที่หยิบยกขึ้นมานี้มีความสำคัญยิ่งกับประเทศที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญต่อหลักนิติรัฐและนิติธรรมซึ่ง นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยคดีโดยไม่มีกฎหมายรองรับไปแล้วกว่า 350 เรื่อง แยกเป็น ทำในรูปคำวินิจฉัย 92 เรื่อง และที่ทำเป็นคำสั่งอีก 258 เรื่องการละเลยต่อหลักการดังกล่าวข้างต้นของศาลรัฐธรรมนูญส่งผลให้การพิจารณาวินิจฉัยคดีบิดเบี้ยว ขาดความชัดเจนในกระบวนการพิจารณาเพราะไม่มีกรอบแห่งการใช้อำนาจ คือ1.ไม่มีกำหนดระยะเวลาการพิจารณาในแต่ละประเภทคดีไว้ให้ชัดเจนส่งผลให้กระบวนการพิจารณาและการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในบางคดีกระทำไปด้วยความรีบเร่งผิดปกติ

นายอุกฤษระบุอีกว่า  2.การทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมายังไม่มีความชัดเจนว่า  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนได้ทำคำวินิจฉัยส่วนตนพร้อมแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคสอง กำหนดไว้หรือไม่ เพียงใด และ 3.ไม่มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนในการเผยแพร่คำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนในราชกิจจานุเบกษาส่งผลทำให้บางคดีมีการอ่านคำวินิจฉัยไปแล้วหลายเดือนแต่คำวินิจฉัยกลางยังไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคสามกำหนดไว้      ดังนั้นการที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือการพิจารณาวินิจฉัยคดีโดยไม่มีกฎหมายรองรับรวมทั้งการละเลยต่อกระบวนการหรือวิธีพิจารณาคดีที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ดังกล่าวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาย่อมมีปัญหาความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมเสียเองและอาจทำให้คำวินิจฉัยดังกล่าวตกไปทั้งฉบับได้.

อ่านต่อได้ที่นี่    อ่านเดลินิวส์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

งานเข้าเรื่องๆแล้วครับกับการตัดสินของ "สานนูน" ขยายอำนาจไปก้าวก่ายทั้งอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ทั้งอำนาจตุลาการของศาลอื่น จะทำอะไรได้ตามใจชอบไม่ได้อีกแล้ว คนดูเริ่มทนไม่ได้แล้วครับ

อยากให้สานนูนกล้าที่จะตัดสินแบบ"ตั้งธง"โดยหาเหตุผลมั่วๆมาประกอบในคดีท่านนายกฯเลยครับ   ผมจะคอยดูปฎิกิริยาตอบโต้  ผมว่าครั้งนี้ Game Over ชัวร์

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่