“ทางสายกลาง” เป็นคำที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่ขณะเดียวกันก็ เป็นคำที่คนไทยเข้าใจผิดกันมาก
บางคนเข้าใจว่าทางสายกลางคือทางที่ อยู่ตรงกลางระหว่างดีกับชั่ว ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็กลายเป็นว่าทางสายกลาง
หมายถึงกึ่งดิบกึ่งดี หรือว่ากึ่งสุกกึ่งดิบ นั่นไม่ใช่ความหมายที่แท้ของทางสายกลาง แต่ผู้คนก็มักเข้าใจกันอย่างนั้น
เช่น ชอบพูดว่า “ให้อยู่ในทาง สายกลางหน่อย อย่าขยันมากไป อย่างเคร่งมากไป อย่าทำดีมากไป”
เดี๋ยวนี้ทางสายกลางเป็นข้ออ้างสำหรับคนที่ย่อหย่อนในการประพฤติปฏิบัติ นั่นไม่ใช่ทางสายกลางในพุทธศาสนา
ทางสายกลางในพุทธศาสนานั้น อยู่ตรงกลางระหว่างความไม่ดี ๒ ขั้ว หรือระหว่างความสุดโต่ง ๒ ทาง
ทางซ้ายก็ไม่น่าเอา ทางขวาก็ไม่น่าเอา มันแย่ทั้งคู่ ทางที่ถูกต้อง ไม่เอียงไปทางสุดโต่งทั้ง ๒ นั่นแหละเรียกว่า ทางสายกลาง
ทางสุดโต่ง ๒ ทางอย่างแรกที่พระพุทธองค์เตือนให้เราระวังก็คือ
อัตตกิลมถานุโยค และ
กามสุขัลลิกานุโยค
อัตตกิลมถานุโยค คือ การบีบคั้นทรมานตนเอง หรือการหมกมุ่น ในความทุกข์และในการทำตนให้ลำบาก
ส่วนกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ การหมกมุ่นในความสุขทางกาม กามในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องทางเพศ เท่านั้น
แต่หมายถึงสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนา ทั้ง ๒ ทางเป็นทางสุดโต่ง เพราะนอกจากจะไม่ทำให้พ้นทุกข์แล้ว ยังกลับทำให้
เป็นทุกข์มากขึ้น
มรรค์มีองค์ ๘ หรือข้อปฏิบัติที่เริ่มจากสัมมาทิฏฐิไปจนถึงสัมมาสติ พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นทางสายกลางก็เพราะ
เป็นทางที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง เป็นทางที่ถูกต้องตรงจุดมุ่งหมายหรือตรงเป้า ถ้าเบี่ยงเบนไปจากนั้นไม่ว่า
ไปทางซ้ายหรือขวาก็ไม่ถึงจุดหมาย เบี่ยงเบนไปจากเป้า เปรียบดังการยิงธนู จุดที่เป็นเป้านั้นคือทางสายกลางมีเพียงจุดเดียว
ถ้าผิดไปจากจุดนั้นก็ไม่ใช่ทางสายกลาง
ทางสายกลางจึงหมายถึง ทางที่ถูกต้อง ทางที่นำไปสู่จุดหมายตามที่ต้องการ ทำให้สำเร็จประโยชน์ได้ครบถ้วน
จะสังเกตว่าทางสายกลางนี้ เป็นคำที่มีนัยยะเกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมาย คือถ้าตรงกับจุดหมายก็เรียกว่า ทางสายกลาง
ถ้าพาเข้ารกเข้าพง ไม่ตรงจุดหมาย ก็ไม่เรียกว่าทางสายกลาง ทีนี้ถ้าเราต้องการพูดถึงการทำอะไรไม่ให้มากเกินไป
ไม่ให้น้อยเกินไป เช่น ทำงานอย่าให้ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินและไม่หย่อนเกินไป หรือเวลาเรียนหนังสืออย่าขี้เกียจ
แต่ก็อย่าหักโหม ในทางพุทธศาสนาเราไม่เรียกอย่างนี้ว่าทางสายกลาง แต่ใช้คำว่า
“วิริยสมตา” หมายถึงการมีความเพียร
อย่างพอเหมาะพอดี สรุปทางสายกลาง คือทางที่ถูกต้อง ถ้าอะไรไม่มากไม่น้อย ก็ต้องใช้คำอื่น เช่น ความพอดี หรือวิริยสมตา
ทางสายกลางและสมดุลแห่งชีวิต
บรรยายวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๕
จากหนังสือ รุ่งอรุณที่สุคะโต
ดาวน์โหลดฟรีได้ที่ http://www.visalo.org/book/rungAroonKYD.html
“ทางสายกลาง” เป็นคำที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่ขณะเดียวกันก็ เป็นคำที่คนไทยเข้าใจผิดกันมาก
บางคนเข้าใจว่าทางสายกลางคือทางที่ อยู่ตรงกลางระหว่างดีกับชั่ว ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็กลายเป็นว่าทางสายกลาง
หมายถึงกึ่งดิบกึ่งดี หรือว่ากึ่งสุกกึ่งดิบ นั่นไม่ใช่ความหมายที่แท้ของทางสายกลาง แต่ผู้คนก็มักเข้าใจกันอย่างนั้น
เช่น ชอบพูดว่า “ให้อยู่ในทาง สายกลางหน่อย อย่าขยันมากไป อย่างเคร่งมากไป อย่าทำดีมากไป”
เดี๋ยวนี้ทางสายกลางเป็นข้ออ้างสำหรับคนที่ย่อหย่อนในการประพฤติปฏิบัติ นั่นไม่ใช่ทางสายกลางในพุทธศาสนา
ทางสายกลางในพุทธศาสนานั้น อยู่ตรงกลางระหว่างความไม่ดี ๒ ขั้ว หรือระหว่างความสุดโต่ง ๒ ทาง
ทางซ้ายก็ไม่น่าเอา ทางขวาก็ไม่น่าเอา มันแย่ทั้งคู่ ทางที่ถูกต้อง ไม่เอียงไปทางสุดโต่งทั้ง ๒ นั่นแหละเรียกว่า ทางสายกลาง
ทางสุดโต่ง ๒ ทางอย่างแรกที่พระพุทธองค์เตือนให้เราระวังก็คือ อัตตกิลมถานุโยค และ กามสุขัลลิกานุโยค
อัตตกิลมถานุโยค คือ การบีบคั้นทรมานตนเอง หรือการหมกมุ่น ในความทุกข์และในการทำตนให้ลำบาก
ส่วนกามสุขัลลิกานุโยค ได้แก่ การหมกมุ่นในความสุขทางกาม กามในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องทางเพศ เท่านั้น
แต่หมายถึงสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนา ทั้ง ๒ ทางเป็นทางสุดโต่ง เพราะนอกจากจะไม่ทำให้พ้นทุกข์แล้ว ยังกลับทำให้
เป็นทุกข์มากขึ้น
มรรค์มีองค์ ๘ หรือข้อปฏิบัติที่เริ่มจากสัมมาทิฏฐิไปจนถึงสัมมาสติ พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นทางสายกลางก็เพราะ
เป็นทางที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์อย่างแท้จริง เป็นทางที่ถูกต้องตรงจุดมุ่งหมายหรือตรงเป้า ถ้าเบี่ยงเบนไปจากนั้นไม่ว่า
ไปทางซ้ายหรือขวาก็ไม่ถึงจุดหมาย เบี่ยงเบนไปจากเป้า เปรียบดังการยิงธนู จุดที่เป็นเป้านั้นคือทางสายกลางมีเพียงจุดเดียว
ถ้าผิดไปจากจุดนั้นก็ไม่ใช่ทางสายกลาง
ทางสายกลางจึงหมายถึง ทางที่ถูกต้อง ทางที่นำไปสู่จุดหมายตามที่ต้องการ ทำให้สำเร็จประโยชน์ได้ครบถ้วน
จะสังเกตว่าทางสายกลางนี้ เป็นคำที่มีนัยยะเกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมาย คือถ้าตรงกับจุดหมายก็เรียกว่า ทางสายกลาง
ถ้าพาเข้ารกเข้าพง ไม่ตรงจุดหมาย ก็ไม่เรียกว่าทางสายกลาง ทีนี้ถ้าเราต้องการพูดถึงการทำอะไรไม่ให้มากเกินไป
ไม่ให้น้อยเกินไป เช่น ทำงานอย่าให้ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินและไม่หย่อนเกินไป หรือเวลาเรียนหนังสืออย่าขี้เกียจ
แต่ก็อย่าหักโหม ในทางพุทธศาสนาเราไม่เรียกอย่างนี้ว่าทางสายกลาง แต่ใช้คำว่า “วิริยสมตา” หมายถึงการมีความเพียร
อย่างพอเหมาะพอดี สรุปทางสายกลาง คือทางที่ถูกต้อง ถ้าอะไรไม่มากไม่น้อย ก็ต้องใช้คำอื่น เช่น ความพอดี หรือวิริยสมตา