หลวงพ่อพุธ บอกให้คฤหัสถ์ ดื่มเหล้าได้ ถ้าจำเป็น ชาวพันทิพจะอธิบายอย่างไร

กระทู้สนทนา
กระทู้ในตำนาน ของลานธรรม.net กับการสู้กันทางความคิดของปรมาจารย์ด้านพุทธศาสนา กับกรณีนี้

(ผู้ถาม) คฤหัสถ์ที่มีความจำเป็นต้องดื่มสุราเพื่อเข้าสังคมควรทำอย่างไร
           
(หลวงพ่อพุธ) ถ้าหากเรามุ่งรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ เราก็หาทางหลีกเลี่ยงสังคมขี้เหล้าทั้งหลาย เพราะว่าในสังคมพวกขี้เหล้ามันไม่เกิดผลดี มีแต่ทำความเสียหาย แต่ในสังคมที่เป็นกิจลักษณะ เช่น งานเลี้ยงที่เกี่ยวกับการงานซึ่งเราจำเป็นต้องอนุโลมตามเพื่อไม่ให้ขัดสังคม เราก็นึกขอขมา พระรัตนตรัย แล้วก็ขอปลงศีล ๕ เอาไว้ก่อน เมื่อเสร็จธุระแล้ว ปกติถ้าไม่มีงานสังคมเราก็งดเว้น เด็ดขาด... เราก็ตั้งใจสมาทานศีลใหม่ แล้วก็เริ่มรักษาศีลต่อไป
           ถ้าหากว่าเราจำเป็นต้องดื่มก็ให้มีสติ จิบๆ พอเป็นกิริยา อย่าให้มันมากเกินไปถึงกับหัว ราน้ำ... เพราะเราเป็นผู้น้อยมีความเกรงอกเกรงใจผู้ใหญ่ เมื่อผู้ใหญ่ท่านทำ เราไม่เดินตามหลัง ท่านๆ ก็ตำหนิ แต่ถ้าเราเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เราจะไม่ดื่มเลย... ถ้าหากว่าในบรรดาเพื่อนฝูงที่รู้จัก เขาเคารพต่อพระธรรมวินัย พอเขารู้ว่าเราไม่ดื่มเขาก็ไม่รบกวนหรอก อย่างดีเขาก็พูดประชดประชันนิดหน่อย
----------------
ที่มา >> http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/008626.htm

ท่าน (ฐานาฐานะ) ปารมจารณ์ด้านนี้ท่านตอบอย่างไร มาอ่านกัน

(ฐานาฐานะ)
                        ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖
                   ๖. สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑
                         เรื่องพระสาคตะ
      [๕๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จจาริกในเจติยชนบทได้ดำเนินทรง
ไปทางตำบลบ้านรั้วงาม คนเลี้ยงโค คนเลี้ยงปศุสัตว์ คนชาวนา คนเดินทาง ได้แลเห็น
พระผู้มีพระภาคกำลังทรงดำเนินมาแต่ไกลเที่ยว. ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอ-
*พระองค์อย่าได้เสด็จไปยังท่ามะม่วงเลย พระพุทธเจ้าข้า, เพราะที่ท่ามะม่วงมีนาคอาศัยอยู่ในอาศรม
ชฏิล เป็นสัตว์มีฤทธิ์เป็นอสรพิษร้าย มันจะได้ไม่ทำร้ายพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า.
      เมื่อเขากราบทูลเรื่องนั้นแล้ว พระองค์ได้ทรงดุษณี,
      แม้ครั้งที่สองแล ...  แม้ครั้งที่สามแล ...
      ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงตำบลบ้านรั้วงามแล้ว ทราบว่า พระองค์
ประทับอยู่ ณ ตำบลบ้านรั้วงามนั้น.
      ครั้งนั้นแล ท่านพระสาคตะเดินผ่านไปทางท่ามะม่วง อาศรมชฎิล. ครั้นถึงแล้วได้เข้า
ไปยังโรงบูชาไฟ ปูหญ้าเครื่องลาด นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. นาคนั้น
พอแลเห็นท่านพระสาคตะเดินผ่านเข้ามา ได้เป็นสัตว์ดุร้ายขุ่นเครือง, จึงบังหวนควันขึ้นในทันใด.
แม้ท่านพระสาคตะก็บังหวนควันขึ้น. มันทนความลบหลู่ไม่ได้ จึงพ่นไฟสู้ในทันที. แม้ท่าน
พระสาคตะก็เข้าเตโชธาตุกสิณสมาบัติ บันดาลไฟต้านทานไว้. ครั้นท่านครอบงำไฟของนาคนั้น
ด้วยเตโชสิณแล้ว เดินผ่านไปทางตำบลบ้านรั้วงาม.
      ส่วนพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลบ้านรั้วงาม ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จ
หลีกไปสู่จาริกทางพระนครโกสัมพี. พวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพีได้ทราบข่าวว่า พระคุณเจ้า
สาคตะได้ต่อสู้กับนาคผู้อยู่ ณ ตำบลท่ามะม่วง. พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับถึง
พระนครโกสัมพี. จึงพวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพีพากันรับเสด็จพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไป-
*หาท่านพระสาคตะ กราบไหว้แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง, แล้วถามท่านว่า ท่านขอรับ
อะไรเป็นของหายากและเป็นของชอบของพระคุณเจ้า พวกกระผมจะจัดของอะไรถวายดี?
      เมื่อเขาถามอย่างนั้นแล้ว, พระฉัพพัคคีย์ได้กล่าวตอบคำนี้กะพวกอุบาสกว่า มี ท่าน
ทั้งหลาย สุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบ เป็นของหายาก ทั้งเป็นของชอบของพวกพระ ท่านทั้งหลาย
จงแต่งสุรานั้นถวายเถิด.
      ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวพระนครโกสัมพี ได้จัดเตรียมสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบไว้
ทุกๆ ครัวเรือน, พอเห็นท่านพระสาคตะเดินมาบิณฑบาต จึงต่างพากันกล่าวเชื้อเชิญว่า นิมนต์
พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดงดังเท้านกพิราบเจ้าข้า, นิมนต์พระคุณเจ้าสาคตะดื่มสุราใสสีแดง
ดังเท้านกพิราบ เจ้าข้า.
      ครั้งนั้น ท่านพระสาคตะได้ดื่มสุราใสสีแดงดังเท้าดังนกพิราบทุกๆ ครัวเรือนแล้ว เมื่อจะ
เดินออกจากเมือง, ได้ล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง.
      พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากเมืองพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก, ได้ทอดพระเนตร
เห็นท่านพระสาคตะล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง, จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงช่วยกันหามสาคตะไป.
      ภิกษุเหล่านั้นรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว หามท่านพระสาคตะไปสู่อารามให้นอนหัน
ศีรษะไปทางพระผู้มีพระภาค. แต่ท่านพระสาคตะได้พลิกกลับนอนผันแปรเท้าทั้งสองไปทาง
พระผู้มีพระภาค.
      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาคตะมีความ
เคารพ มีความยำเกรงในตถาคตมิใช่หรือ?
      ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า.
      ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เออก็บัดนี้ สาคตะมีความเคารพ มีความยำเกรงในตถาคตอยู่หรือ?
      ภิ. ข้อนั้นไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า.
      ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สาคตะได้ต่อสู้กับนาคอยู่ที่ตำบลท่ามะม่วงมิใช่หรือ?
      ภิ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.
      ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เดี๋ยวนี้สาคตะสามารถจะต่อสู้แม้กับงูน้ำได้หรือ?
      ภิ. ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า.
      ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย น้ำที่ดื่มเข้าไปแล้วถึงวิสัญญีภาพนั้นควรดื่มหรือไม่?
      ภิ. ไม่ควรดื่ม พระพุทธเจ้าข้า.
      ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของสาคตะไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉน สาคตะจึงได้ดื่มน้ำที่ทำผู้ดื่มให้เมาเล่า? การกระทำของสาคตะนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่
เลื่อมใสแล้ว ...
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง อย่างนี้ ว่าดังนี้:-
                           พระบัญญัติ
      ๑๐๐. ๑. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะดื่มสุราและเมรัย.
                       เรื่องพระสาคตะ จบ.
                        ---------------
                          สิกขาบทวิภังค์
      [๕๗๖] ที่ชื่อว่า สุรา ได้แก่สุราที่ทำด้วยแป้ง สุราที่ทำด้วยขนม สุราที่ทำด้วยข้าวสุก
สุราที่หมักส่าเหล้า สุราที่ผสมด้วยเครื่องปรุง.
      ที่ชื่อ เมรัย ได้แก่น้ำดองดอกไม้ น้ำดองผลไม้ น้ำดองน้ำผึ้ง น้ำดองน้ำอ้อยงบ
น้ำดองที่ผสมด้วยเครื่องปรุง.
      คำว่า ดื่ม คือ ดื่ม โดยที่สุดแม้ด้วยปลายหญ้าคา, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                           บทภาชนีย์
                          ติกะปาจิตตีย์
      [๕๗๗] น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าน้ำเมา ดื่ม, ต้องอาบัติปาจิตตีย์. น้ำเมา ภิกษุสงสัย ดื่ม,
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
      น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่ามิใช่น้ำเมา ดื่ม, ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
                           ทุกะทุกกฏ
      ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าน้ำเมา ดื่ม, ต้องอาบัติทุกกฏ.
      ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสงสัย ดื่ม, ต้องอาบัติทุกกฏ.
                          ไม่ต้องอาบัติ
      ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่น้ำเมา ดื่ม, ไม่ต้องอาบัติ.
                          อนาปัตติวาร
      [๕๗๘] ภิกษุดื่มน้ำที่มีกลิ่นรสเหมือนน้ำเมา แต่ไม่ใช่น้ำเมา ๑; ภิกษุดื่มน้ำเมาที่เจือลง
ในแกง ๑,  ... ที่เจือลงในเนื้อ ๑,  ... ที่เจือลงในน้ำมัน ๑,  ...  น้ำเมาในน้ำอ้อยที่ดองมะขามป้อม ๑,
ภิกษุดื่มยาดองอริฏฐะซึ่งไม่ใช่ของเมา ๑, ภิกษุวิกลจริต ๑, ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑, ไม่ต้องอาบัติแล.
                   สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ.

        อาบัติปาจิตตีย์  3 ข้อข้างล่าง :-
        1.1  น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่า เป็น น้ำเมา  แล้วดื่ม.
        1.2  น้ำเมา ภิกษุสงสัย  แล้วดื่ม.
        1.3  น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่า มิใช่น้ำเมา แล้วดื่ม.

        อาบัติทุกกฏ 2 ข้อข้างล่าง :-
        2.1  ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่า น้ำเมา แล้วดื่ม.
        2.2  ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสงสัย แล้วดื่ม.

        ไม่ใช่น้ำเมา ภิกษุสำคัญว่า ไม่ใช่น้ำเมา แล้วดื่ม  ไม่ต้องอาบัติ.

        ส่วนที่เป็นไม่อาบัติ :-
        3.1  ภิกษุดื่มน้ำที่มีกลิ่นรสเหมือนน้ำเมา แต่ไม่ใช่น้ำเมา ๑
        3.2  ภิกษุดื่มน้ำเมาที่เจือลงในแกง ๑,
        3.3  ภิกษุดื่มน้ำเมาที่เจือลงในเนื้อ ๑,
        3.4  ภิกษุดื่มน้ำเมาที่เจือลงในน้ำมัน ๑
        3.5  ภิกษุดื่มน้ำเมาในน้ำอ้อยที่ดองมะขามป้อม ๑
        3.6  ภิกษุดื่มยาดองอริฏฐะซึ่งไม่ใช่ของเมา ๑
        3.7  ภิกษุวิกลจริต ๑,
        3.8  ภิกษุอาทิกัมมิกะ  ( ภิกษุ ผู้เป็น ต้นบัญญัติ ) ๑
         ทั้ง 8 ข้อนี้ ไม่เป็นอาบัติ.

ดูเพิ่มเติม
1.  พระไตรปิฎกเล่มที่ 2 พระวินัยปิฎก  เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์  ภาค ๒
         ๖. สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๑  
http://dharma.school.net.th/cgi-bin/stshow.pl?book=02&lstart=11915&lend=11995
2. พระไตรปิฎกเล่มที่ 2 พระวินัยปิฎก  เล่มที่ ๒  สารบัญ
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/vinai02.html
3. ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ
http://84000.org/tipitaka/book/bookpn02.html
จากคุณ : ฐานาฐานะ [ 25 เม.ย. 2546 / 14:59:23 น. ]
ประเด็นของกระทู้นี้  พอจะสามารถอธิบายได้โดย ธรรมะหมวด 3  ข้อว่า
        อธิปไตย 3 ( ความเป็นใหญ่, ภาวะที่ถือเอาเป็นใหญ่ )
        1. อัตตาธิปไตย ( ความมีตนเป็นใหญ่ ,  ยึดตนเป็นใหญ่ ,  กระทำการด้วยปรารภตนเป็นประมาณ )
        2. โลกาธิปไตย ( ความมีโลกเป็นใหญ่, ถือโลกเป็นใหญ่, กระทำการค้าด้วยปรารภ )
        3. ธัมมาธิปไตย ( ความมีธรรมเป็นใหญ่, ถือธรรมเป็นใหญ่, กระทำการด้วยปรารภความถูกต้อง เป็นจริง สมควรตามธรรม เป็นประมาณ )
        ผู้เป็นอัตตาธิปก พึงใช้สติให้มาก; ผู้เป็นโลกาธิปก พึงมีปัญญาครองตนและรู้พินิจ; ผู้เป็นธรรมาธิปก พึงประพฤติให้ถูกต้องธรรม; ผู้เป็นหัวหน้าหมู่ เป็นนักปกครอง พึงถือธรรมาธิปไตย.

        ทั้งนี้ขอแสดง ความเห็นโดยไม่กระทบบุคคล  ดังนี้คือ
        การที่ ภิกษุรูปหนึ่ง สอนบุคคลอื่นๆ ให้ล่วงศีล โดยคำนึงถึงสังคม ให้คล้อยตามสังคม จัดเข้าหมวด โลกาธิปไตย.
        ซึ่งการคล้อยตามนี้ หากพิจารณาให้ละเอียดสักนิด จะเห็นว่า ไม่พ้นไปจากกามคุณ 5 เลย คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสทางกาย  เพียงแต่จะมาในรูปแบบใด  เช่น การยอมรับของสังคม,  การเข้าพวกเข้าหมู่,  การเลื่อนตำแหน่ง,  การได้รับความนิยม คำชมเชยว่า เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี , ศักยภาพในหน้าที่การงาน ฯลฯ. หรืออะไรก็แล้วแต่  แต่ไม่พ้นจาก กามคุณ.

        การที่ภิกษุรูปหนึ่งสอนอย่างนี้ คงเป็นเพราะ ภิกษุรูปนั้นก็มีความเห็น ความประพฤติอย่างนั้น และเป็นประเภทโลกาธิปไตยด้วยเช่นกัน จึงได้สอนอย่างนั้น มีวาทะอย่างนั้น.
        จะเห็นว่า การที่ได้รับฟังธรรมะจาก ผู้มีธรรมะอันไม่ใช่ของพระอริยะ มิใช่ของพระพุทธเจ้า จะได้รับผลแตกต่างกันอย่างมาก.  ทั้งนี้ เพราะหากเป็น ธรรมอันเป็นของอริยะ เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า ย่อมทำให้ผู้ฟังนั้น สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา
        สมาทาน  อาจหาญ  ร่าเริง อย่างไร?  คือ
        สมาทาน  คือให้รับเอากุศลธรรม
        อาจหาญ  คือทำให้มีความอุตสาหะในกุศลธรรมตามที่ตนสมาทานแล้วนั้น
        ร่าเริง  คือร่าเริงด้วยความเป็นผู้มีอุตสาหะนั้น  และด้วยคุณธรรมที่มีอยู่อย่างอื่น
        ไม่ใช่ถอยกลับจาก กุศลธรรม อย่างนี้

        อันที่จริง  คำถามนี้ มีวิธีตอบได้หลายอย่าง เช่น

        “  ชีวิตของเราน้อยนัก อีกไม่เกิน 100 ปี ก็ตาย
        ต้องละทิ้งทรัพย์สิน  ญาติพี่น้อง เพื่อนพ้องไป
        แม้แต่ร่างกายตน ซึ่งคอยดูแลทุกวัน ยังต้องละทิ้งไป
        เอาไปด้วยไม่ได้สักอย่าง  ยกเว้นกุศลกรรม และอกุศลกรรม
        ดังนั้น การสมาทานกุศลธรรมทั้งปวง เป็นสิ่งที่ควร ที่พึงกระทำ
        หากแม้ว่า การสมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น  อาจจะต้องเสื่อมลาภบ้าง เสื่อมยศบ้าง เสื่อมสรรเสริญบ้าง
        ก็ไม่ควรย่อท้อ  ควรสมาทานกุศลธรรมให้มั่นคง  เป็นการฝึกฝนตนด้วย
        เพราะ บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโล
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่