ดูจากรูปครับ
จากประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ญี่ปุ่นเจอกับปัญหาการส่งกำลังบำรุง และปัญหาการป้อนวัตถุดิบมายังโรงงานเป็นอย่างมาก เพราะการยึดครองภูมิรัฐศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ดินแดนที่มีแหล่งวัตถุดิบกับดินแดนที่เป็นแหล่งผลิต ถูกกั้นด้วยผืนน้ำทะเลอันกว้างใหญ่ หนำซ้ำ ดินแดนที่ยึดครองกับดินแดนที่เป็นแหล่งส่งกำลังบำรุง ก็ยังถูกกั้นด้วยผืนน้ำทะเลอันกว้างใหญ่เหมือนกัน และปัจจัยการเชื่อมผืนแผ่นดินมันดันอยู่ที่ "กองทัพเรือ"
ในช่วงเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเรือญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สามของโลก รองจากกองทัพเรือสหราชอาณาจักร และ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา แต่การมีกองทัพเรือใหญ่เป็นที่สามแล้วต้องมาทะเลาะกับชาติที่มีกองเรือใหญ่เป็นที่หนึ่งและที่สอง เป็นอะไรที่ไม่ฟินเอาซะเลย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ กองทัพเรือของญี่ปุ่นต้านการรุมกินโต๊ะจากเบอร์หนึ่งกับเบอร์สองไม่ไหวหรอก และในเมื่อต้านทานไม่ไหว แล้วจะดูแลจักรวรรดิที่ถูกเชื่อมด้วยผืนน้ำทะเลได้ยังไง?
ส่วนตัวแล้วคิดว่ากองทัพบกญี่ปุ่นตอนนั้นเข้มแข็งมาก ถ้าเป็นผม ผมจะมีกลยุทธ์ดังนี้
1. ผมจะไม่ให้กองทัพเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกอย่างญี่ปุ่น ยึดครองดินแดนในท้องทะเลไปกว้างไกลแบบนั้น แต่จะยึดเฉพาะเกาะแก่งน้อยใหญ่ที่อยู่ใกล้ ๆ กับภาคพื้นทวีป แล้วสร้างสนามบินไว้บนเกาะแกะต่าง ๆ ที่มีพื้นที่กว้างขวางพอที่จะสร้างสนามบินได้ โดยมีจุดประสงค์ให้เกาะเหล่านั้นเป็น "เรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจม" แล้วให้กองทัพเรือที่มี แล่นวนเวียนลาดตระเวนคุมเชิงเอาไว้บริเวณใกล้ ๆ เกาะ ดังนั้น ด้วยเรือประจัญบาน เรือลาดตระเวณ เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ ที่มี ผนวกกับกำลังเครื่องบินรบของกองทัพอากาศที่ประจำอยู่บนเกาะของฝ่ายญี่ปุ่น ก็น่าจะสามารถต้านทานแสนยานุภาพของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาได้
2. เน้นรุกรบเพื่อยึดพื้นที่บริเวณชายฝั่งเพื่อเชื่อมดินแดนที่ยึดครองเข้าหากัน เพื่อเป็นหลักประกันว่าถึงแม้เส้นทางลำเลียงทางทะเลจะถูกตัดขาด แต่ก็ยังสามารถส่งกำลังบำรุงทางภาคพื้นดินได้ และหากต้องถอยกองทัพบกกลับ ก็ยังมีหนทางให้ถอยได้ ไม่ใช่ต้องพึ่งพากองทัพเรือเพื่อส่งเรือมารับกลับ
3. เน้นใช้เครื่องบินเพื่อรุกรบในสมรภูมิภาคพื้นทวีป ส่วนเครื่องบินในสมรภูมิทางทะเลให้เน้นตั้งรับแทน
พวกเราคิดเห็นว่าไงครับ?
[กลยุทธ์ทหาร] การยึดครองภูมิรัฐศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ญี่ปุ่นแพ้สงครามเร็วกว่าที่ควรจะเป็น
จากประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ญี่ปุ่นเจอกับปัญหาการส่งกำลังบำรุง และปัญหาการป้อนวัตถุดิบมายังโรงงานเป็นอย่างมาก เพราะการยึดครองภูมิรัฐศาสตร์ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ดินแดนที่มีแหล่งวัตถุดิบกับดินแดนที่เป็นแหล่งผลิต ถูกกั้นด้วยผืนน้ำทะเลอันกว้างใหญ่ หนำซ้ำ ดินแดนที่ยึดครองกับดินแดนที่เป็นแหล่งส่งกำลังบำรุง ก็ยังถูกกั้นด้วยผืนน้ำทะเลอันกว้างใหญ่เหมือนกัน และปัจจัยการเชื่อมผืนแผ่นดินมันดันอยู่ที่ "กองทัพเรือ"
ในช่วงเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเรือญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สามของโลก รองจากกองทัพเรือสหราชอาณาจักร และ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา แต่การมีกองทัพเรือใหญ่เป็นที่สามแล้วต้องมาทะเลาะกับชาติที่มีกองเรือใหญ่เป็นที่หนึ่งและที่สอง เป็นอะไรที่ไม่ฟินเอาซะเลย หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ กองทัพเรือของญี่ปุ่นต้านการรุมกินโต๊ะจากเบอร์หนึ่งกับเบอร์สองไม่ไหวหรอก และในเมื่อต้านทานไม่ไหว แล้วจะดูแลจักรวรรดิที่ถูกเชื่อมด้วยผืนน้ำทะเลได้ยังไง?
ส่วนตัวแล้วคิดว่ากองทัพบกญี่ปุ่นตอนนั้นเข้มแข็งมาก ถ้าเป็นผม ผมจะมีกลยุทธ์ดังนี้
1. ผมจะไม่ให้กองทัพเรือที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกอย่างญี่ปุ่น ยึดครองดินแดนในท้องทะเลไปกว้างไกลแบบนั้น แต่จะยึดเฉพาะเกาะแก่งน้อยใหญ่ที่อยู่ใกล้ ๆ กับภาคพื้นทวีป แล้วสร้างสนามบินไว้บนเกาะแกะต่าง ๆ ที่มีพื้นที่กว้างขวางพอที่จะสร้างสนามบินได้ โดยมีจุดประสงค์ให้เกาะเหล่านั้นเป็น "เรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจม" แล้วให้กองทัพเรือที่มี แล่นวนเวียนลาดตระเวนคุมเชิงเอาไว้บริเวณใกล้ ๆ เกาะ ดังนั้น ด้วยเรือประจัญบาน เรือลาดตระเวณ เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ ที่มี ผนวกกับกำลังเครื่องบินรบของกองทัพอากาศที่ประจำอยู่บนเกาะของฝ่ายญี่ปุ่น ก็น่าจะสามารถต้านทานแสนยานุภาพของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาได้
2. เน้นรุกรบเพื่อยึดพื้นที่บริเวณชายฝั่งเพื่อเชื่อมดินแดนที่ยึดครองเข้าหากัน เพื่อเป็นหลักประกันว่าถึงแม้เส้นทางลำเลียงทางทะเลจะถูกตัดขาด แต่ก็ยังสามารถส่งกำลังบำรุงทางภาคพื้นดินได้ และหากต้องถอยกองทัพบกกลับ ก็ยังมีหนทางให้ถอยได้ ไม่ใช่ต้องพึ่งพากองทัพเรือเพื่อส่งเรือมารับกลับ
3. เน้นใช้เครื่องบินเพื่อรุกรบในสมรภูมิภาคพื้นทวีป ส่วนเครื่องบินในสมรภูมิทางทะเลให้เน้นตั้งรับแทน
พวกเราคิดเห็นว่าไงครับ?