ตูวาลู หรือเดิม เป็นที่รู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะเอลลิซ (อังกฤษ: Ellice Islands) เป็นประเทศหมู่เกาะ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ชื่อประเทศแปลว่า "แปดยืนยง" (Eight Standing Together) ในภาษาตูวาลู นอกจากนครรัฐวาติกันแล้ว ตูวาลู เป็นประเทศอิสระ ที่มีประชากรน้อยที่สุดในโลก เนื่องจากมีความสูงต่ำ (สูงสุดคือ 5 เมตร) เกาะที่ประกอบเป็นประเทศนี้ อาจจะเกิดปัญหา ถ้าระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า ประชากร อาจจะอพยพไปที่ประเทศนิวซีแลนด์ หรือเกาะนีวเว ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ที่เป็นปกครองตนเอง แต่ขึ้นกับนิวซีแลนด์ ที่ไม่มีปัญหาจากการเพิ่มของระดับน้ำทะเล แต่มีประชากรน้อยลง
ชาวสเปนเป็นพวกแรก ที่เข้ามาพบหมู่เกาะแห่งนี้ ในระหว่างการเดินทาง เพื่อค้นหาดินแดนแห่งใหม่ ทางตอนใต้ แต่ก็ไม่ให้ความสนใจเท่าใด ต่อมามีชาวอังกฤษ เดินเรือเข้ามาพบ และได้ตั้งชื่อว่า หมู่เกาะเอลลิซ ตามชื่อของนักการเมืองอังกฤษ ที่เป็นเจ้าของเรือ ต่อมากลายเป็นชื่อเรียกหมู่เกาะ
ใน พ.ศ. 2435 หมู่เกาะเอลลิซ กลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ หลังจากนั้น ก็ถูกรวมเข้ากับหมู่เกาะกิลเบิร์ต (ปัจจุบันคือคิริบาส) เป็นอาณานิคมของอังกฤษ กองทัพสหรัฐอเมริกา เข้ายึดครองหมู่เกาะเอลลิซ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อเป็นที่มั่น สำหรับต่อต้านทหารญี่ปุ่น ที่ยึดครองหมู่เกาะกิลเบิร์ต หลังสงครามเกิดความตึงเครียด ระหว่างประชากรของหมู่เกาะกิลเบิร์ต กับประชากรของหมู่เกาะเอลลิซ หมู่เกาะเอลลิซ จึงได้แยกตัวออกมา และเป็นประเทศเอกราช ในเครือจักรภพอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2521
การเมือง ระบอบประชาธิปไตย แบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รวมกับประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Constitutional Monarchy with a parliamentary Democracy) ระบบสภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิก 15 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภา เป็นหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐบาล มีจำนวนไม่เกิน 5 คน แต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ จากคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
ตูวาลู แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เกาะ และหมู่เกาะมีอยู่ 5 แห่ง ที่เป็นอะทอลล์หรือเกาะปะการัง (atoll) โดยเขตการปกครองท้องถิ่น ที่ประกอบด้วยเกาะหนึ่งเกาะ ได้แก่
ฟูนาฟูตี (Funafuti)
นานูเมอา (Nanumea)
นูอี (Nui)
นูกูเฟตาอู (Nukufetau)
นูกูลาเอลาเอ (Nukulaelae)
วาอีตูปู (Vaitupu)
ส่วนเขตการปกครองท้องถิ่น ที่ประกอบด้วยเกาะมากกว่าหนึ่งเกาะ ได้แก่
นานูมากา (Nanumaga)
นีอูลากีตา (Niulakita)
นีอูตาโอ (Niutao)
ตูวาลูอยู่ในเขตลมค้า แต่บนขอบของตะวันตกภาคใต้เขต doldrum แปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตร แลกเปลี่ยนเป็นลมจากไตรมาสตะวันออกและเกิดขึ้นบ่อยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในปีที่สุดจากธันวาคม-มีนาคม, ลมระหว่างทิศตะวันตกและทิศเหนือจะเท่ากับหรือเกิน easterlies ในความถี่
สหประชาชาติ จัดให้ตูวาลู อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด เนื่องจากประเทศมีขนาดเล็ก ทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์ และมีข้อจำกัด ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ตูวาลู ยังประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง เพื่อการยังชีพ และสองในสามของการจ้างงานในประเทศ คือการจ้างงานของภาครัฐ รายได้หลักของประเทศ มาจากการให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหราชอาณาจักร ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย และรายได้จากแรงงาน ที่ไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ ตูวาลู ยังมีรายได้จากกองทุนตูวาลู และการให้เช่าอินเทอร์เน็ตโดเมนเนม .tv
ประเทศตูวาลู มีประชากร 10,441 คน (ข้อมูลของพ.ศ. 2548) ประเทศตูวาลู มีประชากรหนาแน่นพอๆ กันกับประเทศนาอูรู แต่มีประชากรน้อยกว่า ประเทศนาอูรู
ตูวาลู (Tuvalu) ประเทศสุดสวยที่อาจหายไปตลอดกาล
ชาวสเปนเป็นพวกแรก ที่เข้ามาพบหมู่เกาะแห่งนี้ ในระหว่างการเดินทาง เพื่อค้นหาดินแดนแห่งใหม่ ทางตอนใต้ แต่ก็ไม่ให้ความสนใจเท่าใด ต่อมามีชาวอังกฤษ เดินเรือเข้ามาพบ และได้ตั้งชื่อว่า หมู่เกาะเอลลิซ ตามชื่อของนักการเมืองอังกฤษ ที่เป็นเจ้าของเรือ ต่อมากลายเป็นชื่อเรียกหมู่เกาะ
ใน พ.ศ. 2435 หมู่เกาะเอลลิซ กลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ หลังจากนั้น ก็ถูกรวมเข้ากับหมู่เกาะกิลเบิร์ต (ปัจจุบันคือคิริบาส) เป็นอาณานิคมของอังกฤษ กองทัพสหรัฐอเมริกา เข้ายึดครองหมู่เกาะเอลลิซ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อเป็นที่มั่น สำหรับต่อต้านทหารญี่ปุ่น ที่ยึดครองหมู่เกาะกิลเบิร์ต หลังสงครามเกิดความตึงเครียด ระหว่างประชากรของหมู่เกาะกิลเบิร์ต กับประชากรของหมู่เกาะเอลลิซ หมู่เกาะเอลลิซ จึงได้แยกตัวออกมา และเป็นประเทศเอกราช ในเครือจักรภพอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2521
การเมือง ระบอบประชาธิปไตย แบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รวมกับประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Constitutional Monarchy with a parliamentary Democracy) ระบบสภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิก 15 คน มาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 4 ปี มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภา เป็นหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐบาล มีจำนวนไม่เกิน 5 คน แต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ จากคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี
ตูวาลู แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 เกาะ และหมู่เกาะมีอยู่ 5 แห่ง ที่เป็นอะทอลล์หรือเกาะปะการัง (atoll) โดยเขตการปกครองท้องถิ่น ที่ประกอบด้วยเกาะหนึ่งเกาะ ได้แก่
ฟูนาฟูตี (Funafuti)
นานูเมอา (Nanumea)
นูอี (Nui)
นูกูเฟตาอู (Nukufetau)
นูกูลาเอลาเอ (Nukulaelae)
วาอีตูปู (Vaitupu)
นานูมากา (Nanumaga)
นีอูลากีตา (Niulakita)
นีอูตาโอ (Niutao)
ตูวาลูอยู่ในเขตลมค้า แต่บนขอบของตะวันตกภาคใต้เขต doldrum แปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตร แลกเปลี่ยนเป็นลมจากไตรมาสตะวันออกและเกิดขึ้นบ่อยระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม ในปีที่สุดจากธันวาคม-มีนาคม, ลมระหว่างทิศตะวันตกและทิศเหนือจะเท่ากับหรือเกิน easterlies ในความถี่
สหประชาชาติ จัดให้ตูวาลู อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด เนื่องจากประเทศมีขนาดเล็ก ทรัพยากรธรรมชาติไม่อุดมสมบูรณ์ และมีข้อจำกัด ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนั้น ตูวาลู ยังประสบปัญหาภัยธรรมชาติบ่อยครั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง เพื่อการยังชีพ และสองในสามของการจ้างงานในประเทศ คือการจ้างงานของภาครัฐ รายได้หลักของประเทศ มาจากการให้สัมปทานทำประมง เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสหราชอาณาจักร ประเทศนิวซีแลนด์ และประเทศออสเตรเลีย และรายได้จากแรงงาน ที่ไปทำงานในต่างประเทศ นอกจากนี้ ตูวาลู ยังมีรายได้จากกองทุนตูวาลู และการให้เช่าอินเทอร์เน็ตโดเมนเนม .tv
ประเทศตูวาลู มีประชากร 10,441 คน (ข้อมูลของพ.ศ. 2548) ประเทศตูวาลู มีประชากรหนาแน่นพอๆ กันกับประเทศนาอูรู แต่มีประชากรน้อยกว่า ประเทศนาอูรู