..........................
คนที่เข้าศึกษาและสนใจในธรรมะ ก็คงจะได้ยินคำนี้กันบ่อยๆ คือ โสดาบัน
ซึ่งหลายคนก็ตั้งความหวังจะเป็นโสดาบันให้ได้ในชาติปัจุบัน
แล้วก็ตั้งความเพียรในการปฏิบัติ
อย่างเอาจริงเอาจัง
เพื่อจะบรรลุธรรม เกิดดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน
ซึ่งมีแต่เจริญขึ้นในทางธรรม และแน่นอนที่จะบรรลุพระอรหันต์ ในอนาคต
พ้นจาการเกิด ตาย
นักปฏิบัติหลายคนวนอยู่รอบๆ และยังโฟกัสธรรมะกันผิดที่
ไปให้ความสำคัญกับสิ่งที่ยังไม่ต้องรู้ ในเวลานี้
การปฏิบัติต้องโฟกัสให้ถูกว่าสิ่งใดสำคัญ สิ่งใดต้องรู้ก่อน และปฏิบัติให้ได้ก่อน
แต่ผมก็มองมันเป็นเรื่องปกติ
อุปมา เหมือนคนโดยสารเครื่องบินมา เครื่องบินเกิดขัดข้อง ตกลงกลางมหาสมุทร
ผู้รอดชีวิตตระเกียดตระกายหาฝั่ง เพื่อเอาชีวิตรอด คนลอยคออยู่ในน้ำ
ย่อมไม่เห็นว่าตนเอง ต้องทำอย่างไร ว่ายน้ำท่าไหน ทิศทางที่ต้องไปถูกต้องหรือไม่
แต่เมื่อใดเค้าว่ายขึ้นเกาะได้
อันเป็นเกาะที่แรก
พอขึ้นเกาะได้ย่อมเห็นคนอื่นๆที่พยายามตระเกียดตระกายขึ้นสู่ฝั่ง
เห็นว่าหลายคนหันทิศทางที่ว่ายไปผิด ยิ่งว่ายน้ำยิ่งออกไปไกล
บางคนพยายามจัดท่าทางที่ตัวเองจะว่ายอยู่ แต่ยังไม่ออกแรงว่ายซะที
แต่มีบางคนคิดคาดการล่วงหน้าไปก่อน ว่าเราไม่สามารถว่ายไปถึงฝั่งได้ มันยากเกินไป
ยอมแพ้ตั้งแต่ยังไม่ออกแรงว่าย ลอยคออยู่อย่างนั้น ปล่อยไปตามบุญกรรม
แล้วหวังว่าสักวันนึง
ทะแลจะเหือดแห้งไป
แล้วเราจะรอดตาย
ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คนที่ยอมแพ้ตั้งแต่ยังไม่ออกแรงว่าย ก็เหมือน
คนที่ท้อใจที่จะเอาตัวรอดจากวัฏสงสาร ปล่อยไปตามยถากรรม
แล้วหวังว่าสักวันนึงจะมีสิ่งศักสิทธิ์ มาดลให้ถึงนิพพานได้
ถ้าจะถึงความเป็นโสดาบันก็ต้องโฟกัสให้ถูก
จะได้ไม่เสียเวลาไปอีกชาติหนึ่งๆ
อย่าเพิ่งคิดว่าไม่มีลำดับขั้นอะไร ความจริงพระพุทธองค์บัญญัติไว้แล้วถึง
สภาวะการเข้าถึงธรรมะในขั้นต่างๆ
และเป็นธรรมดาของมนุษย์ ที่ต้องมีความยินดี และความมุ่งหมาย
มนุษย์จึงออกแรงปฏิบัติกัน ต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นแรงขับดัน ขึ้นอยู่กับเค้าจะยอมรับจุดนี้กันหรือไม่
คราวนี้ก็จะมาดูกันว่า พระโสดาบันเห็นแจ้งอะไร?
คำตอบคือ
เห็นแจ้งถึงความเป็นไตรลักษณ์ ของรูปและนาม
ทั้งโลกทั้งจักวาลอยู่ภายใต้กฏนี้ รูป-นามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง
ไม่มีตัวตน
ที่นี้ก็จะมีคนบอกว่า
เอ๊!! เราก็รู้นี่ว่า รูป-นามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เกิดแล้วดับ
งั้นเราก็รู้แจ้งแล้วนี่ ...
แต่เดี๋ยวก่อน!! ตามความเข้าใจที่เรารู้กันว่า รูป-นามเป็นของไม่เที่ยงนั้น
เป็นเพียงปัญญาจากการฟังหรือคิดตามเท่านั้น
มันไม่ใช่การรู้แจ้ง ที่รู้เข้าไปถึงจิตถึงใจ
ถ้าจะสังเกตุว่าเป็นปัญญาจากการรู้แจ้งหรือไม่
ก็ลองสังเกตุจากคนที่เรารัก หรือสิ่งที่เราพอใจ...
ถ้าวันหนึ่ง
เราทำงานอยู่มีโทรศัพท์ โทรมาบอกข่าวร้ายว่า
แม่เราข้ามถนนถูกรถชน
เสียชีวิตแล้ว
ใจเรามันเป็นยังไง
มันเข้าใจว่ารูป-นามนี้ เกิดและดับไปตามเหตุปัจจัยหรือไม่
หรือ เข้าใจ ว่ารูป-นามเป็นของเกิดดับ ไม่เที่ยง แค่ในชั้นความคิด ..
ถ้าคนที่เห็นแจ้งก็มีทุกข์ตรงนี้น้อย
เห็นเป็นเรื่องธรรมดาของรูป-นาม ว่ามีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสลายไปในที่สุด
ที่นี้รู้แล้วว่าพระโสดาบันเห็นแจ้งอะไร
เราก็ต้องมองไปที่เหตุว่า
ทำอย่างไรจึงจะรู้แจ้งในสิ่งนั้น
ผมจะไล่จากผลไปหาเหตุจะได้ทำความเข้าใจได้ง่าย
และพิจารณาว่าสิ่งใดที่ต้องรู้ นอกเหนือจากนี้ยังไม่จำเป็นต้องรู้
แท้ที่จริงธรรมะทั้งหลาย เป็นของง่าย
ผู้ที่บรรลุธรรมแล้วทั้งหลายบอกตรงกันว่า “มันง่ายซะจนคนธรรมดารู้ไม่ได้เลย”
หรือมองข้ามช็อตกันไป ความจริงที่ว่าบรรลุธรรม ก็คือ
การเข้าใจตามความเป็นจริงของธรรมชาติ
ว่าของทุกสิ่งล้วนเกิด-ดับ ว่างจากตัวตน
และปล่อยวางความยึดถือ
จากสิ่งเหล่านั้น
ที่เราไปสร้างการปรุงแต่ขึ้นมาเอง แล้วยึดเองเสร็จสรรพ
ก็เพราะความไม่รู้
นั่นคือ อวิชชาที่มันบดบังสภาวะตามความเป็นจริงของธรรมชาติ
ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เกิด-ดับ บังคับไม่ได้
เมื่ออวิชชาบดบังไม่ให้เราเห็นความจริงของสิ่งเหล่านี้
ทำให้ไม่เข้าใจว่ามันมีสภาพทุกข์
อย่างกาย-ใจนี้
ที่อวิชชาบดบังความจริง
จนเข้าไปยึดว่าเป็นตัวกูขึ้นมา
ก็ตัวกูที่เข้าไปยึด ของมีสภาพทุกข์ ไม่คงที่
เมื่อมีจิตเข้าไปยึดด้วยความไม่รู้ ว่านี่เป็นตัวกู ของกู
อยากไม่ให้รางกายนี้ป่วย
ไม่ให้มันแก่ ไม่ให้หน้าเหี่ยว
ไม่ให้มันตาย
มันจะเป็นได้ซะที่ไหน
เมื่อร่างกายมีสภาพทุกข์ มีความเสื่อมอยู่ทุกขณะ
ถ้าลองเอากล้องจุลทรรศน์ส่องเข้าไปจะเห็นเซลส์ต่างๆในร่างกาย
มันพยายามต่อสู้ดิ้นรนกับเชื้อโรค
เพื่อความอยู่รอด
สภาพดิ้นรนนี้ก็เป็นสภาพทุกข์อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อจิตที่มีอวิชชาหรือ จิตโง่ เข้าไปยึดร่างกาย
ซึ่งมีสภาพทุกข์
จึงกลายเป็นทุกข์ซ้อนทุกข์เข้าไปอีก
ผู้บรรลุโสดาบัน คือ ผู้มีดวงตาเห็นธรรม
เข้าใจและเห็นธรรมชาติเหล่านี้
จะเห็นขันธ์ 5 ทำงานไปตามเหตุปัจจัยที่สะสมมา
บวกกับผัสสะที่มากระทบ
ทำงานไปเองของมัน
ไม่ได้มีเราอยู่ตรงไหน
มันว่างเปล่า
ว่างจากตัวตน
และจะถอนความเห็นผิดว่ามีตัวเราออกไป
คือ การละสักกายทิฐิ...
ละความเห็นว่าเป็นตัวกู
จากการเข้าไปเห็นกระบวนการเหล่านี้จนมันฟันธงเลยว่า “แท้ที่จริงไม่ตัวกู”
เมื่อไม่เห็นว่ามีตัวตนของเรา
ตัวตนของผู้อื่นก็ไม่มีด้วยเช่นกัน
เมื่อเข้าใจว่าผู้บรรลุโสดาบัน เห็นแจ้งอะไร เข้าใจอะไร ละอะไรได้ ต่อไปก็คือ
ทำอย่างไรจึงจะเห็นแจ้ง
ซึ่งการเห็นแจ้งได้นั้นไม่ใช่การคิดเอา
ต้องให้จิตเข้าไปเห็นธรรมชาตินี้
คือ เข้าไปเห็นขั้นธ์ทั้งหลาย เกิด-ดับจากภายใน... ด้วยจิตที่ตั้งมั่น
จิตที่ตั้งมั่นเท่านั้นจึง
จะเกิดการบรรลุธรรม
ซึ่งถ้าจิตไม่ตั้งมั่นก็อาจจะเห็นการเกิด-ดับของขันธ์ได้เหมือนกัน
แต่ไม่โผล่ง ไม่บรรลุ จิตไม่ฟันธง...
เมื่อจิตไม่ฟันธง
ก็จะเกิดแค่ปัญญาญาณที่เห็นการเกิด-ดับของขันธ์เท่านั้น
ไม่เข้าไปถอนความเห็น
ที่ฝังรากลึกว่าเป็นตัวเป็นตนที่อยู่ในอนุสัยของจิต
ที่นี้ถามว่าทำอย่างไรให้จิตตั้งมั่น
ต้องนั่งสมาธิเยอะๆใช่ไหม เดินจงกรมเยอะๆใช่ไหม จิตจึงตั้งมั่น
คำตอบคือ ไม่
การนั่งสมาธิสงบ นิ่งๆ เคลิ้มๆ แม้จะนั่งนานเป็นชั่วโมงหลายชั่วโมง
แล้วหวังว่าจะโผล่งบรรลุธรรมในสมาธิก็ไม่เกิด เพราะสมาธิขณะนั้นมักเกินความพอดี
ไปทางจะเสพสุขในสมาธิ
เมื่อเลยความพอดี
จิตก็ไม่ตั้งมั่น ไม่เกิดสัมมาสมาธิ
พระพุทธเจ้าให้อุบาย คือ สติปัฏฐาน4 ซึ่งสติปัฏฐาน4 ถ้าทำถูกวิธี
>> จะทำมรรคมีองค์ 8 ให้บริบูรณ์
>> เมื่อมรรคมีองค์ 8 บริบูรณ์
>> แล้วเหตปัจจัยพร้อมก็จะเกิดการเห็นแจ้ง ...
สติปัฏฐาน4 เป็นเพียงอุบายให้มรรคมีองค์ 8 ให้บริบูรณ์เท่านั้น
จะวิธีไหน จะกสิณ กรรมฐาน40 หรือวิธีใดก็ตาม
เป็นเพียงอุบาย
จึงไม่ต้องเถียงกันว่า วิธีนี้ดีกว่าวิธีนี้ สำนักนั้นดีกว่าสำนักนี้
ถ้าแทงตลอดในมรรคจะรู้ว่า
วิธีไหนก็ได้
ที่ทำให้มรรคมีองค์ 8 บริบูรณ์ วิธีนั้นได้หมด
จากนี้ผมจะกล่าวแค่มรรคข้อที่ 6-7-8 เท่านั้นเพื่อจะได้ไม่สับสน
ส่วนมรรคในข้อต้น คือ ข้อของศีล และสัมมาทิฐิ
สติปัฏฐาน และอานาปานสติทำมรรค 6-7-8 ให้บริบูรณ์ได้อย่างไร?
มรรคข้อ6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ
เมื่อเราตั้งความเพียรที่จะเจริญสติปัฏฐาน คือการตั้งความเพียรไว้ชอบ
การเอาสติมาอยู่ลมหายใจเป็นการเพียรละอกุศล และเจริญกุศลในตัว
>> เมื่อจิตระลึกที่ลมหายใจจะเกิดสัมมาสติ มรรคข้อ7
>> จิตที่จดจ่ออยู่มี่ลมหายใจนี้ ก่อให้เกิดสัมมาสมาธิ มรรคข้อ8
เป็นสมาธิที่พอดีในขณะจิตนั้นๆ
เมื่อจิตไม่สร้างภพจิตก็ตั้งมั่น
เมื่อปฏิบัติจนเป็นอย่างนี้จนจิตเราตั้งมั่นเป็นขณะจะเห็น
รูปเกิด รูปดับ
เวทนาเกิด เวทนาดับ
สัญญาเกิด สัญญาดับ
สังขารเกิด สังขารดับ
วิญญาณเกิด วิญญาณดับ
เห็นสิ่งเหล่านี้ เป็นของเกิด-ดับ บังคับไม่ได้...
กล่าวให้ง่ายคือ เมื่อมีจิตรู้ที่ลมหายใจ จิตตั้งมั่นเป็นอุเบกขา
จะเห็นความคิดมันเกิดขึ้นมาทั้งๆที่เราตั้งใจอยู่ที่ลมอย่างเดียวแท้ๆ
เห็นความสุข ความทุกข์ที่มันเกิดขึ้นแล้วหายไป
การเอาสติมาเกาะที่ลมก็คือ อุบาย
อุบายให้จิตตั้งมั่นเป็นขณะๆ
เราไม่รู้ว่าขณะจิตไหนจะตั้งมั่นพอดีแล้วเห็นความจริงของขันธ์ 5
เราจึงต้องเพียรสร้างเหตุไว้ ให้จิตตั้งมั่น ...
เมื่อจิตตั้งมั่น แล้วเห็นขันธ์ 5 ตามความเป็นจริง
ไม่ต้องไปอยากให้ขันธ์ 5 มันเกิด-ดับ
เพราะธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว
เมื่อจิตตั้งมั้นแล้วเห็นซ้ำๆอยู่อย่างนี้
ถึงธรรมชาติของขันธ์..
จนกว่าจิตมันจะโผล่ง
ฟันธงเลยว่า ขันธ์ทั้ง5
ที่เคยยึดว่าเป็นตัวเรา
แท้ที่จริงเป็นของเกิด-ดับ บังคับไม่ได้
ไม่มีตัวเราอยู่ตรงไหน
อาศัยเหตุให้เกิด หมดเหตุปัจจัยก็ดับลง
พอเห็นแจ้งภายในขันธ์ทั้งหลายแล้ว
จะเกิดสังเวชใจ
ถึงความโง่ที่เคยยึดในตัวตน
แล้วจะเกิดปัญญาฟันธงเลยว่า
ทุกสรรพสิ่งในโลกจักวาล
มีแค่ รูปและนามที่อยู่ใต้กฏไตรลักษณ์ ว่างจากตัวตน
เห็นธรรมแจ้งเป็นพระโสดาบันเป็นอย่างนี้
ถ้าเราบรรลุธรรม ธรรมจะนำทางเราเองที่เหลือจะรู้เองว่าจะวางอุปปาทานอย่างไร
แต่สิ่งนั้นยกไว้ก่อน
กลับมาสิ่งที่เราต้องทำ.. ก็เพียงเท่านี้
ถ้ากระโดดไปปล่อยอุปปาทานขันธ์ หรือไปทำลายผู้รู้ เลยไม่มีทางทำได้
เราต้องทำสิ่งที่ทำก่อน
บางทีเราทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากกันไปเอง
คิดว่าเท่านี้ไม่พอต้องรู้ให้ได้เยอะๆ ทำแค่นี้ไม่ได้มันน้อยไป
แต่ที่จริงกว่าจะเจอทางตรงๆ ลองผิดลองถูกมาเยอะปาไปครึ่งค่อนชีวิตแล้ว เหลือเวลาอีกไม่มาก
เมื่อเห็นทางที่พอจะไปได้ก็เอามันไปตรงๆ
เปลือก กระพี้จะศึกษาไว้ก็ไม่เป็นไร แต่ต้องไม่ลืมแกนหลักของเรา
ว่าเราต้องทำอะไร เพื่อรู้อะไรก่อน
เราเมื่อฟังธรรมของพระพุทธเจ้า จนเกิดศรัทธา
>> ใคร่ครวญ่ในเนื้อธรรม
>> ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพิสูจน์
>> จนเกิดฉันทะความพอใจในธรรม
>> เกิดความเพียรพิสูจน์ธรรมนั้น
>> จะเกิดเห็นแจ้งในธรรมนั้นด้วยปัญญาของตน
....................................................
"เราต้องเพียรทำอะไร" จึงจะ "มีดวงตาเห็นธรรม"
คนที่เข้าศึกษาและสนใจในธรรมะ ก็คงจะได้ยินคำนี้กันบ่อยๆ คือ โสดาบัน
ซึ่งหลายคนก็ตั้งความหวังจะเป็นโสดาบันให้ได้ในชาติปัจุบัน
แล้วก็ตั้งความเพียรในการปฏิบัติ
อย่างเอาจริงเอาจัง
เพื่อจะบรรลุธรรม เกิดดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน
ซึ่งมีแต่เจริญขึ้นในทางธรรม และแน่นอนที่จะบรรลุพระอรหันต์ ในอนาคต
พ้นจาการเกิด ตาย
นักปฏิบัติหลายคนวนอยู่รอบๆ และยังโฟกัสธรรมะกันผิดที่
ไปให้ความสำคัญกับสิ่งที่ยังไม่ต้องรู้ ในเวลานี้
การปฏิบัติต้องโฟกัสให้ถูกว่าสิ่งใดสำคัญ สิ่งใดต้องรู้ก่อน และปฏิบัติให้ได้ก่อน
แต่ผมก็มองมันเป็นเรื่องปกติ
อุปมา เหมือนคนโดยสารเครื่องบินมา เครื่องบินเกิดขัดข้อง ตกลงกลางมหาสมุทร
ผู้รอดชีวิตตระเกียดตระกายหาฝั่ง เพื่อเอาชีวิตรอด คนลอยคออยู่ในน้ำ
ย่อมไม่เห็นว่าตนเอง ต้องทำอย่างไร ว่ายน้ำท่าไหน ทิศทางที่ต้องไปถูกต้องหรือไม่
แต่เมื่อใดเค้าว่ายขึ้นเกาะได้
อันเป็นเกาะที่แรก
พอขึ้นเกาะได้ย่อมเห็นคนอื่นๆที่พยายามตระเกียดตระกายขึ้นสู่ฝั่ง
เห็นว่าหลายคนหันทิศทางที่ว่ายไปผิด ยิ่งว่ายน้ำยิ่งออกไปไกล
บางคนพยายามจัดท่าทางที่ตัวเองจะว่ายอยู่ แต่ยังไม่ออกแรงว่ายซะที
แต่มีบางคนคิดคาดการล่วงหน้าไปก่อน ว่าเราไม่สามารถว่ายไปถึงฝั่งได้ มันยากเกินไป
ยอมแพ้ตั้งแต่ยังไม่ออกแรงว่าย ลอยคออยู่อย่างนั้น ปล่อยไปตามบุญกรรม
แล้วหวังว่าสักวันนึง
ทะแลจะเหือดแห้งไป
แล้วเราจะรอดตาย
ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คนที่ยอมแพ้ตั้งแต่ยังไม่ออกแรงว่าย ก็เหมือน
คนที่ท้อใจที่จะเอาตัวรอดจากวัฏสงสาร ปล่อยไปตามยถากรรม
แล้วหวังว่าสักวันนึงจะมีสิ่งศักสิทธิ์ มาดลให้ถึงนิพพานได้
ถ้าจะถึงความเป็นโสดาบันก็ต้องโฟกัสให้ถูก
จะได้ไม่เสียเวลาไปอีกชาติหนึ่งๆ
อย่าเพิ่งคิดว่าไม่มีลำดับขั้นอะไร ความจริงพระพุทธองค์บัญญัติไว้แล้วถึง
สภาวะการเข้าถึงธรรมะในขั้นต่างๆ
และเป็นธรรมดาของมนุษย์ ที่ต้องมีความยินดี และความมุ่งหมาย
มนุษย์จึงออกแรงปฏิบัติกัน ต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นแรงขับดัน ขึ้นอยู่กับเค้าจะยอมรับจุดนี้กันหรือไม่
คราวนี้ก็จะมาดูกันว่า พระโสดาบันเห็นแจ้งอะไร?
คำตอบคือ
เห็นแจ้งถึงความเป็นไตรลักษณ์ ของรูปและนาม
ทั้งโลกทั้งจักวาลอยู่ภายใต้กฏนี้ รูป-นามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง
ไม่มีตัวตน
ที่นี้ก็จะมีคนบอกว่า
เอ๊!! เราก็รู้นี่ว่า รูป-นามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เกิดแล้วดับ
งั้นเราก็รู้แจ้งแล้วนี่ ...
แต่เดี๋ยวก่อน!! ตามความเข้าใจที่เรารู้กันว่า รูป-นามเป็นของไม่เที่ยงนั้น
เป็นเพียงปัญญาจากการฟังหรือคิดตามเท่านั้น
มันไม่ใช่การรู้แจ้ง ที่รู้เข้าไปถึงจิตถึงใจ
ถ้าจะสังเกตุว่าเป็นปัญญาจากการรู้แจ้งหรือไม่
ก็ลองสังเกตุจากคนที่เรารัก หรือสิ่งที่เราพอใจ...
ถ้าวันหนึ่ง
เราทำงานอยู่มีโทรศัพท์ โทรมาบอกข่าวร้ายว่า
แม่เราข้ามถนนถูกรถชน
เสียชีวิตแล้ว
ใจเรามันเป็นยังไง
มันเข้าใจว่ารูป-นามนี้ เกิดและดับไปตามเหตุปัจจัยหรือไม่
หรือ เข้าใจ ว่ารูป-นามเป็นของเกิดดับ ไม่เที่ยง แค่ในชั้นความคิด ..
ถ้าคนที่เห็นแจ้งก็มีทุกข์ตรงนี้น้อย
เห็นเป็นเรื่องธรรมดาของรูป-นาม ว่ามีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสลายไปในที่สุด
ที่นี้รู้แล้วว่าพระโสดาบันเห็นแจ้งอะไร
เราก็ต้องมองไปที่เหตุว่า
ทำอย่างไรจึงจะรู้แจ้งในสิ่งนั้น
ผมจะไล่จากผลไปหาเหตุจะได้ทำความเข้าใจได้ง่าย
และพิจารณาว่าสิ่งใดที่ต้องรู้ นอกเหนือจากนี้ยังไม่จำเป็นต้องรู้
แท้ที่จริงธรรมะทั้งหลาย เป็นของง่าย
ผู้ที่บรรลุธรรมแล้วทั้งหลายบอกตรงกันว่า “มันง่ายซะจนคนธรรมดารู้ไม่ได้เลย”
หรือมองข้ามช็อตกันไป ความจริงที่ว่าบรรลุธรรม ก็คือ
การเข้าใจตามความเป็นจริงของธรรมชาติ
ว่าของทุกสิ่งล้วนเกิด-ดับ ว่างจากตัวตน
และปล่อยวางความยึดถือ
จากสิ่งเหล่านั้น
ที่เราไปสร้างการปรุงแต่ขึ้นมาเอง แล้วยึดเองเสร็จสรรพ
ก็เพราะความไม่รู้
นั่นคือ อวิชชาที่มันบดบังสภาวะตามความเป็นจริงของธรรมชาติ
ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เกิด-ดับ บังคับไม่ได้
เมื่ออวิชชาบดบังไม่ให้เราเห็นความจริงของสิ่งเหล่านี้
ทำให้ไม่เข้าใจว่ามันมีสภาพทุกข์
อย่างกาย-ใจนี้
ที่อวิชชาบดบังความจริง
จนเข้าไปยึดว่าเป็นตัวกูขึ้นมา
ก็ตัวกูที่เข้าไปยึด ของมีสภาพทุกข์ ไม่คงที่
เมื่อมีจิตเข้าไปยึดด้วยความไม่รู้ ว่านี่เป็นตัวกู ของกู
อยากไม่ให้รางกายนี้ป่วย
ไม่ให้มันแก่ ไม่ให้หน้าเหี่ยว
ไม่ให้มันตาย
มันจะเป็นได้ซะที่ไหน
เมื่อร่างกายมีสภาพทุกข์ มีความเสื่อมอยู่ทุกขณะ
ถ้าลองเอากล้องจุลทรรศน์ส่องเข้าไปจะเห็นเซลส์ต่างๆในร่างกาย
มันพยายามต่อสู้ดิ้นรนกับเชื้อโรค
เพื่อความอยู่รอด
สภาพดิ้นรนนี้ก็เป็นสภาพทุกข์อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อจิตที่มีอวิชชาหรือ จิตโง่ เข้าไปยึดร่างกาย
ซึ่งมีสภาพทุกข์
จึงกลายเป็นทุกข์ซ้อนทุกข์เข้าไปอีก
ผู้บรรลุโสดาบัน คือ ผู้มีดวงตาเห็นธรรม
เข้าใจและเห็นธรรมชาติเหล่านี้
จะเห็นขันธ์ 5 ทำงานไปตามเหตุปัจจัยที่สะสมมา
บวกกับผัสสะที่มากระทบ
ทำงานไปเองของมัน
ไม่ได้มีเราอยู่ตรงไหน
มันว่างเปล่า
ว่างจากตัวตน
และจะถอนความเห็นผิดว่ามีตัวเราออกไป
คือ การละสักกายทิฐิ...
ละความเห็นว่าเป็นตัวกู
จากการเข้าไปเห็นกระบวนการเหล่านี้จนมันฟันธงเลยว่า “แท้ที่จริงไม่ตัวกู”
เมื่อไม่เห็นว่ามีตัวตนของเรา
ตัวตนของผู้อื่นก็ไม่มีด้วยเช่นกัน
เมื่อเข้าใจว่าผู้บรรลุโสดาบัน เห็นแจ้งอะไร เข้าใจอะไร ละอะไรได้ ต่อไปก็คือ
ทำอย่างไรจึงจะเห็นแจ้ง
ซึ่งการเห็นแจ้งได้นั้นไม่ใช่การคิดเอา
ต้องให้จิตเข้าไปเห็นธรรมชาตินี้
คือ เข้าไปเห็นขั้นธ์ทั้งหลาย เกิด-ดับจากภายใน... ด้วยจิตที่ตั้งมั่น
จิตที่ตั้งมั่นเท่านั้นจึง
จะเกิดการบรรลุธรรม
ซึ่งถ้าจิตไม่ตั้งมั่นก็อาจจะเห็นการเกิด-ดับของขันธ์ได้เหมือนกัน
แต่ไม่โผล่ง ไม่บรรลุ จิตไม่ฟันธง...
เมื่อจิตไม่ฟันธง
ก็จะเกิดแค่ปัญญาญาณที่เห็นการเกิด-ดับของขันธ์เท่านั้น
ไม่เข้าไปถอนความเห็น
ที่ฝังรากลึกว่าเป็นตัวเป็นตนที่อยู่ในอนุสัยของจิต
ที่นี้ถามว่าทำอย่างไรให้จิตตั้งมั่น
ต้องนั่งสมาธิเยอะๆใช่ไหม เดินจงกรมเยอะๆใช่ไหม จิตจึงตั้งมั่น
คำตอบคือ ไม่
การนั่งสมาธิสงบ นิ่งๆ เคลิ้มๆ แม้จะนั่งนานเป็นชั่วโมงหลายชั่วโมง
แล้วหวังว่าจะโผล่งบรรลุธรรมในสมาธิก็ไม่เกิด เพราะสมาธิขณะนั้นมักเกินความพอดี
ไปทางจะเสพสุขในสมาธิ
เมื่อเลยความพอดี
จิตก็ไม่ตั้งมั่น ไม่เกิดสัมมาสมาธิ
พระพุทธเจ้าให้อุบาย คือ สติปัฏฐาน4 ซึ่งสติปัฏฐาน4 ถ้าทำถูกวิธี
>> จะทำมรรคมีองค์ 8 ให้บริบูรณ์
>> เมื่อมรรคมีองค์ 8 บริบูรณ์
>> แล้วเหตปัจจัยพร้อมก็จะเกิดการเห็นแจ้ง ...
สติปัฏฐาน4 เป็นเพียงอุบายให้มรรคมีองค์ 8 ให้บริบูรณ์เท่านั้น
จะวิธีไหน จะกสิณ กรรมฐาน40 หรือวิธีใดก็ตาม
เป็นเพียงอุบาย
จึงไม่ต้องเถียงกันว่า วิธีนี้ดีกว่าวิธีนี้ สำนักนั้นดีกว่าสำนักนี้
ถ้าแทงตลอดในมรรคจะรู้ว่า
วิธีไหนก็ได้
ที่ทำให้มรรคมีองค์ 8 บริบูรณ์ วิธีนั้นได้หมด
จากนี้ผมจะกล่าวแค่มรรคข้อที่ 6-7-8 เท่านั้นเพื่อจะได้ไม่สับสน
ส่วนมรรคในข้อต้น คือ ข้อของศีล และสัมมาทิฐิ
สติปัฏฐาน และอานาปานสติทำมรรค 6-7-8 ให้บริบูรณ์ได้อย่างไร?
มรรคข้อ6 สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ
เมื่อเราตั้งความเพียรที่จะเจริญสติปัฏฐาน คือการตั้งความเพียรไว้ชอบ
การเอาสติมาอยู่ลมหายใจเป็นการเพียรละอกุศล และเจริญกุศลในตัว
>> เมื่อจิตระลึกที่ลมหายใจจะเกิดสัมมาสติ มรรคข้อ7
>> จิตที่จดจ่ออยู่มี่ลมหายใจนี้ ก่อให้เกิดสัมมาสมาธิ มรรคข้อ8
เป็นสมาธิที่พอดีในขณะจิตนั้นๆ
เมื่อจิตไม่สร้างภพจิตก็ตั้งมั่น
เมื่อปฏิบัติจนเป็นอย่างนี้จนจิตเราตั้งมั่นเป็นขณะจะเห็น
รูปเกิด รูปดับ
เวทนาเกิด เวทนาดับ
สัญญาเกิด สัญญาดับ
สังขารเกิด สังขารดับ
วิญญาณเกิด วิญญาณดับ
เห็นสิ่งเหล่านี้ เป็นของเกิด-ดับ บังคับไม่ได้...
กล่าวให้ง่ายคือ เมื่อมีจิตรู้ที่ลมหายใจ จิตตั้งมั่นเป็นอุเบกขา
จะเห็นความคิดมันเกิดขึ้นมาทั้งๆที่เราตั้งใจอยู่ที่ลมอย่างเดียวแท้ๆ
เห็นความสุข ความทุกข์ที่มันเกิดขึ้นแล้วหายไป
การเอาสติมาเกาะที่ลมก็คือ อุบาย
อุบายให้จิตตั้งมั่นเป็นขณะๆ
เราไม่รู้ว่าขณะจิตไหนจะตั้งมั่นพอดีแล้วเห็นความจริงของขันธ์ 5
เราจึงต้องเพียรสร้างเหตุไว้ ให้จิตตั้งมั่น ...
เมื่อจิตตั้งมั่น แล้วเห็นขันธ์ 5 ตามความเป็นจริง
ไม่ต้องไปอยากให้ขันธ์ 5 มันเกิด-ดับ
เพราะธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว
เมื่อจิตตั้งมั้นแล้วเห็นซ้ำๆอยู่อย่างนี้
ถึงธรรมชาติของขันธ์..
จนกว่าจิตมันจะโผล่ง
ฟันธงเลยว่า ขันธ์ทั้ง5
ที่เคยยึดว่าเป็นตัวเรา
แท้ที่จริงเป็นของเกิด-ดับ บังคับไม่ได้
ไม่มีตัวเราอยู่ตรงไหน
อาศัยเหตุให้เกิด หมดเหตุปัจจัยก็ดับลง
พอเห็นแจ้งภายในขันธ์ทั้งหลายแล้ว
จะเกิดสังเวชใจ
ถึงความโง่ที่เคยยึดในตัวตน
แล้วจะเกิดปัญญาฟันธงเลยว่า
ทุกสรรพสิ่งในโลกจักวาล
มีแค่ รูปและนามที่อยู่ใต้กฏไตรลักษณ์ ว่างจากตัวตน
เห็นธรรมแจ้งเป็นพระโสดาบันเป็นอย่างนี้
ถ้าเราบรรลุธรรม ธรรมจะนำทางเราเองที่เหลือจะรู้เองว่าจะวางอุปปาทานอย่างไร
แต่สิ่งนั้นยกไว้ก่อน
กลับมาสิ่งที่เราต้องทำ.. ก็เพียงเท่านี้
ถ้ากระโดดไปปล่อยอุปปาทานขันธ์ หรือไปทำลายผู้รู้ เลยไม่มีทางทำได้
เราต้องทำสิ่งที่ทำก่อน
บางทีเราทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากกันไปเอง
คิดว่าเท่านี้ไม่พอต้องรู้ให้ได้เยอะๆ ทำแค่นี้ไม่ได้มันน้อยไป
แต่ที่จริงกว่าจะเจอทางตรงๆ ลองผิดลองถูกมาเยอะปาไปครึ่งค่อนชีวิตแล้ว เหลือเวลาอีกไม่มาก
เมื่อเห็นทางที่พอจะไปได้ก็เอามันไปตรงๆ
เปลือก กระพี้จะศึกษาไว้ก็ไม่เป็นไร แต่ต้องไม่ลืมแกนหลักของเรา
ว่าเราต้องทำอะไร เพื่อรู้อะไรก่อน
เราเมื่อฟังธรรมของพระพุทธเจ้า จนเกิดศรัทธา
>> ใคร่ครวญ่ในเนื้อธรรม
>> ธรรมทั้งหลายทนต่อการเพ่งพิสูจน์
>> จนเกิดฉันทะความพอใจในธรรม
>> เกิดความเพียรพิสูจน์ธรรมนั้น
>> จะเกิดเห็นแจ้งในธรรมนั้นด้วยปัญญาของตน
....................................................