หลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ....วงเงิน 2 ล้านล้านบาท หรือที่เรียกกันติดปากว่า "พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน" ต้องพับไปเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินว่า ร่างกฎหมาย ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ
แต่ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็น 1 ในประเทศกลุ่มอาเซียน กลับเตรียมที่จะลงทุนด้านโครงการสร้างพื้นฐาน วงเงิน 4.68 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย 14 ล้านล้านบาท
ล่าสุด มติชนออนไลน์ เปิด พิมพ์เขียว การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของอินโดนีเซีย มูลค่า 14 ล้านล้าน วิสัยทัศน์ เพื่อต้องการก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจของโลก
ประเทศอินโดนีเซียมีประชากร 250 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก รองจากประเทศจีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา แต่เศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของโลก จึงได้รับสมญานามว่า “ยักษ์หลับของเอเชีย”
ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ความเชื่อมโยงที่เข้มแข็งกับจีน และสถานะการประเทศผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค อินโดนีเซียถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพการพัฒนาใน 20 ปีข้างหน้าที่เรียกว่า MINT ประกอบด้วย เม็กซิโก อินโดนิเซีย ไนจีเรีย และตุรกี ทั้งนี้ การไปสู่ศักยภาพดังกล่าวได้จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ เป็นอันมาก
กรุงจาการ์ตาของประเทศอินโดนีเซียเป็นเมืองที่มีความแตกต่างหลากหลายโดยมีทั้งรีสอร์ทริมชายหาดอันหรูหราและย่านพักอาศัยที่ยากจนการเดินทางในจาการ์ตาเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกเนื่องจากปัญหาการจราจรติดขัดตลอดทั้งวัน มลพิษทางอากาศและสภาพอากาศที่ร้อน ตลอดจนอันตรายในการเดินข้ามถนน จาการ์ตามีประชากร 26 ล้านคน และมีการเติบโตของชนชั้นกลางอย่างรวดเร็ว แต่ยังขาดระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ แม้ว่ามีโครงข่ายรถไฟชานเมืองที่กว้างขวาง แต่การเชื่อมต่อระบบและการเข้าถึงยังขาดประสิทธิภาพ รถโดยสารประจำทางบางเส้นทางมีช่องทางพิเศษแต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาจราจร ประชาชนจำนวนมากจึงต้องเดินทางด้วยความยากลำบากหากไม่มีรถจักรยานยนต์และรถยนต์ส่วนบุคคล
สถานการณ์การขนส่งในกรุงจาการ์ตาได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่เหลือของเกาะชวาซึ่งมีประชากรกว่า135 ล้านคน และมีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 60 ของประเทศ แต่โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งยังไม่เพียงพอกับความต้องการอย่างมาก เมืองใหญ่อื่นๆ ได้แก่ บันดุง เซมารัง และสุราบายา ล้วนประสบกับปัญหาการจราจรติดขัด ในขณะที่โครงข่ายรถไฟระหว่างเมืองยังมีข้อจำกัด โดยยังเป็นรถไฟทางเดี่ยว มีขบวนรถและระบบอาณัติสัญญาณที่ล้าสมัย มีเพียงถนนหลัก 2 สายที่เป็นเส้นทางขนส่งสำคัญของเกาะชวา การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานส่งผลให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพิ่มสูงเป็นร้อยละ 17 และส่งผลต่อราคาสินค้าภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วมีต้นทุนโลจิสติกส์เพียงร้อยละ 10
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศอินโดนีเซียอยู่ที่ร้อยละ 6-6.5 แต่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 7-9 หากโครงสร้างพื้นฐานได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ที่ผ่านมาเมื่อปี 2538-2539 รัฐบาลได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประมาณร้อยละ 8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) แต่หลังจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยของเอเชียในช่วงตั้งแต่ปี 2540 ทำให้การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานลดลง โดยเหลือเพียงร้อยละ 2.1 ในปี 2554
ในปี 2555 การลงทุนได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4 ของ GDP และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการริเริ่มแผนพัฒนาประเทศระยะกลาง พ.ศ. 2553-2557 (National Medium-Term Development Plan 2010-2014) วงเงิน 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพัฒนาตามแผนแม่บทการเร่งรัดและขยายการพัฒนาเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย (Masterplan for the Acceleration and Expansion of Indonesia’s Economic Development) วงเงิน 468,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีเป้าหมายเพิ่ม GDP เป็น 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 และอินโดนีเซียจะต้องติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจของโลก
ภายใต้แผนแม่บทดังกล่าวมีโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง จำนวน 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.32 ล้านล้านบาท) ซึ่งได้รวมโครงการพัฒนารถไฟในเกาะต่างๆ ภายในระยะเวลา 11ปี รวม 49 โครงการ วงเงิน 47,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.46 ล้านล้านบาท) ไว้ด้วย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของอินโดนีเซีย (Dr.Bambang Susantono) กล่าวว่า ในปี 2557 งบประมาณสำหรับรถไฟจะมีจำนวนสูงที่สุดในกระทรวงคมนาคม เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนมาเป็นระบบราง ที่ผ่านมานโยบายการขนส่งมุ่งเน้นการพัฒนาทางถนนส่งผลให้ปัจจุบันต้องประสบปัญหาจราจรติดขัดบนทางหลวงสายหลักของอินโดนีเซียแนวทางนี้จะเป็นการแก้ปัญหาทั้งการเดินทางของผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าวิสัยทัศน์ของอินโดนีเซีย คือ การมีโครงข่ายรถไฟเพื่อเป็นเส้นทางหลักสำหรับการขนส่งผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า
ขั้นตอนหลักในบรรลุตามเป้าหมายดังกล่าวเริ่มต้นจากการเปิดให้บริการรถไฟทางคู่ช่วงกรุงจาการ์ตา-สุราบายาระยะทาง 727 กิโลเมตร (ในเดือนมีนาคม 2557) รวมทั้งการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางใหม่ ระยะทาง 465.5 กิโลเมตร ให้แล้วเสร็จ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งระหว่าง 2 เมืองที่ใหญ่ที่สุดของเกาะชวาได้มากกว่าร้อยละ 300 โดยปัจจุบันการขนส่งทางถนนระหว่างกรุงจาการ์ตากับสุราบายา มีปริมาณ 2 ล้าน TEU ต่อปี อินโดนีเซียจึงต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาใช้ระบบราง โดยมีเป้าหมาย 1 ล้าน TEU ต่อปี
ปัจจุบันรถไฟอินโดนีเซียมีปริมาณการขนส่งสินค้าเพียง 200,000 TEU ต่อปี ในเดือนธันวาคม 2556 การรถไฟของอินโดนีเซีย (Indonesian Railway Directorate) ได้ดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเปกาลองกัน-เซมารัง แล้วเสร็จ และคาดการณ์ว่าโครงการนี้จะช่วยเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรถไฟจาก ร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 15 ของการขนส่งสินค้าทั้งหมดภายในปี 2573 การดึงดูดให้มีการขนส่งทางรถไฟเพิ่มขึ้นจะเกิดจากการเชื่อมต่อโครงข่ายเข้าท่าเรือในกรุงจาการ์ตา ซีเรบอน เซมารัง และสุราบายา
โครงการรถไฟเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่บรรจุในแผนแม่บทฯ การลงทุนดังกล่าวรัฐบาลอินโดนีเซียไม่ได้หวังผลตอบแทนทางการเงิน ในการลงทุนเกี่ยวกับรถไฟ นอกจากทางรถไฟ จะมีการปรับปรุงให้เป็นระบบรถไฟไฟฟ้าและปรับปรุงสถานี ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของอินโดนีเซียระบุว่า โครงการรถไฟมีความสำคัญในทุกพื้นที่แม้จะเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณจราจรไม่มากนัก เนื่องจากรัฐจำเป็นต้องเชื่อมโยงพื้นที่ดังกล่าวกับพื้นที่อื่นๆ ที่มีความเจริญมากกว่า
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในอินโดนีเซียจะดำเนินการโดยภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจแต่ก็มีการเปิดให้รัฐบาลท้องถิ่นร่วมลงทุนกับรัฐบาลกลางภาคเอกชนจะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการหรือให้บริการจากโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐพัฒนาขึ้น ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ ในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซียใช้ความระมัดระวังมากในการค้ำประกันเงินกู้สำหรับการดำเนินโครงการ การที่ภาครัฐไม่พิจารณาบริหารความเสี่ยงเป็นรายโครงการและการไม่ให้ความคุ้มครองหรือให้การสนับสนุนในทำนองเดียวกันกับที่รัฐบาลประเทศอื่นทำให้นักลงทุนภาคเอกชนปฏิเสธหรือชะลอการลงทุนออกไปดังนั้น ในการพัฒนาตามแผนแม่บทฯ
นอกจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ รัฐบาลอินโดนีเซียได้ริเริ่มการส่งเสริมเอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟ 3 วิธีการ ดังนี้
1. การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนในรูปแบบสัมปทาน เป็นรูปแบบที่ภาครัฐจัดให้มีทางรถไฟและเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาให้บริการเดินรถ โดยมีการให้สัมปทานการให้บริการขนส่งมวลชนซึ่งมีเงื่อนไขในการแข่งขันว่าผู้เสนอราคาที่ขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐน้อยที่สุดจะได้รับการคัดเลือกในรูปแบบนี้ภาครัฐจะให้การสนับสนุนทางการเงิน 2 ประเภท คือ
1.1 กระทรวงการคลังให้การสนับสนุนผ่านกองทุน Viability Gap Fund (VGF) โดยจะนำเงินในกองทุนมาชดเชยส่วนที่เอกชนต้องขาดทุนจากการควบคุมราคาค่าโดยสาร ทำให้การดำเนินการไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์
1.2 รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ผ่านกองทุนค้ำประกันโครงสร้างพื้นฐานของอินโดนีเซีย (Indonesia Infrastructure Guarantee Fund) สำหรับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งเงินทุนภาคเอกชนภายในประเทศและต่างประเทศ
2. การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) หรือเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone: FTZ) ซึ่งมีการจูงใจทางทางภาษีสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาคเอกชนในพื้นที่ที่กำหนด โดยมีการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่ผ่อนปรนมากกว่าพื้นที่อื่นๆ และการให้ความสะดวกเป็นกรณีพิเศษในการออกใบอนุญาตต่างๆ ผ่านหน่วยงานบริหาร SEZ/FTZ
3. การออกใบอนุญาตสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาคเอกชนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
บริษัทเอกชนจะได้รับอนุญาตให้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้งบประมาณของตัวเองโดยต้องดำเนินการตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านความมั่นคงที่รัฐกำหนดวิธีนี้จะดึงดูดบริษัทที่มีปริมาณการขนส่งสินค้าปริมาณมากระหว่างแหล่งผลิตและแหล่งบริโภค เช่น ในกิจการเหมืองแร่
การดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ จะเน้นการลงทุนซึ่งจะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น มีการระบุว่าร้อยละ 85 ของผลผลิตของโครงการก่อสร้างต้องใช้วัสดุภายในประเทศ (Local Content) หรือร้อยละ 90 ต้องจัดซื้อจัดจ้างจากบริษัทเอกชนภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ในบางโครงการก็ได้เปิดให้ใช้ความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศด้วย
แม้ว่าในปี 2557 นี้ อินโดนีเซียจะมีการเลือกตั้งใหม่ แต่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของอินโดนีเซียเชื่อมั่นว่ารัฐบาลใหม่ของอินโดนีเซียจะสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯอย่างต่อเนื่องโดยให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ประชาชนชาวอินโดนีเซียทุกคนมั่นใจในการดำเนินโครงการพัฒนาด้านรถไฟตามแผนแม่บทฯ และที่สำคัญการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง ทุกคนรู้ดีว่าในปัจจุบันการขนส่งทางถนนสร้างภาระให้ประเทศมากและจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาใช้ระบบรางหรือการขนส่งชายฝั่งให้มากยิ่งขึ้นรัฐบาลใหม่จะมองว่าการลงทุนเป็นโอกาสซึ่งไม่ใช่เฉพาะของรัฐบาลเอง แต่เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องการให้เกิดขึ้น
ข้อมูล : สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง(สนข.)
ข่าว : matichon.co.th
ประเทศไทยคว่ำ 2 ล้านล้าน แต่อินโดฯ เดินหน้า 14 ล้านล้าน ลงทุนด้านโครงการสร้างพื้นฐาน
หลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ....วงเงิน 2 ล้านล้านบาท หรือที่เรียกกันติดปากว่า "พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน" ต้องพับไปเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินว่า ร่างกฎหมาย ดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ
แต่ขณะที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็น 1 ในประเทศกลุ่มอาเซียน กลับเตรียมที่จะลงทุนด้านโครงการสร้างพื้นฐาน วงเงิน 4.68 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทย 14 ล้านล้านบาท
ล่าสุด มติชนออนไลน์ เปิด พิมพ์เขียว การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของอินโดนีเซีย มูลค่า 14 ล้านล้าน วิสัยทัศน์ เพื่อต้องการก้าวสู่การเป็นประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจของโลก
ประเทศอินโดนีเซียมีประชากร 250 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก รองจากประเทศจีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา แต่เศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของโลก จึงได้รับสมญานามว่า “ยักษ์หลับของเอเชีย”
ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ความเชื่อมโยงที่เข้มแข็งกับจีน และสถานะการประเทศผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค อินโดนีเซียถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพการพัฒนาใน 20 ปีข้างหน้าที่เรียกว่า MINT ประกอบด้วย เม็กซิโก อินโดนิเซีย ไนจีเรีย และตุรกี ทั้งนี้ การไปสู่ศักยภาพดังกล่าวได้จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ เป็นอันมาก
กรุงจาการ์ตาของประเทศอินโดนีเซียเป็นเมืองที่มีความแตกต่างหลากหลายโดยมีทั้งรีสอร์ทริมชายหาดอันหรูหราและย่านพักอาศัยที่ยากจนการเดินทางในจาการ์ตาเป็นเรื่องที่ไม่สะดวกเนื่องจากปัญหาการจราจรติดขัดตลอดทั้งวัน มลพิษทางอากาศและสภาพอากาศที่ร้อน ตลอดจนอันตรายในการเดินข้ามถนน จาการ์ตามีประชากร 26 ล้านคน และมีการเติบโตของชนชั้นกลางอย่างรวดเร็ว แต่ยังขาดระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ แม้ว่ามีโครงข่ายรถไฟชานเมืองที่กว้างขวาง แต่การเชื่อมต่อระบบและการเข้าถึงยังขาดประสิทธิภาพ รถโดยสารประจำทางบางเส้นทางมีช่องทางพิเศษแต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากปัญหาจราจร ประชาชนจำนวนมากจึงต้องเดินทางด้วยความยากลำบากหากไม่มีรถจักรยานยนต์และรถยนต์ส่วนบุคคล
สถานการณ์การขนส่งในกรุงจาการ์ตาได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่เหลือของเกาะชวาซึ่งมีประชากรกว่า135 ล้านคน และมีผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 60 ของประเทศ แต่โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งยังไม่เพียงพอกับความต้องการอย่างมาก เมืองใหญ่อื่นๆ ได้แก่ บันดุง เซมารัง และสุราบายา ล้วนประสบกับปัญหาการจราจรติดขัด ในขณะที่โครงข่ายรถไฟระหว่างเมืองยังมีข้อจำกัด โดยยังเป็นรถไฟทางเดี่ยว มีขบวนรถและระบบอาณัติสัญญาณที่ล้าสมัย มีเพียงถนนหลัก 2 สายที่เป็นเส้นทางขนส่งสำคัญของเกาะชวา การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานส่งผลให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพิ่มสูงเป็นร้อยละ 17 และส่งผลต่อราคาสินค้าภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วมีต้นทุนโลจิสติกส์เพียงร้อยละ 10
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของประเทศอินโดนีเซียอยู่ที่ร้อยละ 6-6.5 แต่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าสามารถเติบโตได้ถึงร้อยละ 7-9 หากโครงสร้างพื้นฐานได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ที่ผ่านมาเมื่อปี 2538-2539 รัฐบาลได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประมาณร้อยละ 8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) แต่หลังจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยของเอเชียในช่วงตั้งแต่ปี 2540 ทำให้การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานลดลง โดยเหลือเพียงร้อยละ 2.1 ในปี 2554
ในปี 2555 การลงทุนได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4 ของ GDP และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการริเริ่มแผนพัฒนาประเทศระยะกลาง พ.ศ. 2553-2557 (National Medium-Term Development Plan 2010-2014) วงเงิน 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพัฒนาตามแผนแม่บทการเร่งรัดและขยายการพัฒนาเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย (Masterplan for the Acceleration and Expansion of Indonesia’s Economic Development) วงเงิน 468,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีเป้าหมายเพิ่ม GDP เป็น 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 และอินโดนีเซียจะต้องติดอันดับ 1 ใน 10 ประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจของโลก
ภายใต้แผนแม่บทดังกล่าวมีโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง จำนวน 75,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.32 ล้านล้านบาท) ซึ่งได้รวมโครงการพัฒนารถไฟในเกาะต่างๆ ภายในระยะเวลา 11ปี รวม 49 โครงการ วงเงิน 47,200 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.46 ล้านล้านบาท) ไว้ด้วย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของอินโดนีเซีย (Dr.Bambang Susantono) กล่าวว่า ในปี 2557 งบประมาณสำหรับรถไฟจะมีจำนวนสูงที่สุดในกระทรวงคมนาคม เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนมาเป็นระบบราง ที่ผ่านมานโยบายการขนส่งมุ่งเน้นการพัฒนาทางถนนส่งผลให้ปัจจุบันต้องประสบปัญหาจราจรติดขัดบนทางหลวงสายหลักของอินโดนีเซียแนวทางนี้จะเป็นการแก้ปัญหาทั้งการเดินทางของผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าวิสัยทัศน์ของอินโดนีเซีย คือ การมีโครงข่ายรถไฟเพื่อเป็นเส้นทางหลักสำหรับการขนส่งผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า
ขั้นตอนหลักในบรรลุตามเป้าหมายดังกล่าวเริ่มต้นจากการเปิดให้บริการรถไฟทางคู่ช่วงกรุงจาการ์ตา-สุราบายาระยะทาง 727 กิโลเมตร (ในเดือนมีนาคม 2557) รวมทั้งการก่อสร้างรถไฟทางคู่เส้นทางใหม่ ระยะทาง 465.5 กิโลเมตร ให้แล้วเสร็จ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งระหว่าง 2 เมืองที่ใหญ่ที่สุดของเกาะชวาได้มากกว่าร้อยละ 300 โดยปัจจุบันการขนส่งทางถนนระหว่างกรุงจาการ์ตากับสุราบายา มีปริมาณ 2 ล้าน TEU ต่อปี อินโดนีเซียจึงต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาใช้ระบบราง โดยมีเป้าหมาย 1 ล้าน TEU ต่อปี
ปัจจุบันรถไฟอินโดนีเซียมีปริมาณการขนส่งสินค้าเพียง 200,000 TEU ต่อปี ในเดือนธันวาคม 2556 การรถไฟของอินโดนีเซีย (Indonesian Railway Directorate) ได้ดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเปกาลองกัน-เซมารัง แล้วเสร็จ และคาดการณ์ว่าโครงการนี้จะช่วยเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรถไฟจาก ร้อยละ 1 เป็นร้อยละ 15 ของการขนส่งสินค้าทั้งหมดภายในปี 2573 การดึงดูดให้มีการขนส่งทางรถไฟเพิ่มขึ้นจะเกิดจากการเชื่อมต่อโครงข่ายเข้าท่าเรือในกรุงจาการ์ตา ซีเรบอน เซมารัง และสุราบายา
โครงการรถไฟเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่บรรจุในแผนแม่บทฯ การลงทุนดังกล่าวรัฐบาลอินโดนีเซียไม่ได้หวังผลตอบแทนทางการเงิน ในการลงทุนเกี่ยวกับรถไฟ นอกจากทางรถไฟ จะมีการปรับปรุงให้เป็นระบบรถไฟไฟฟ้าและปรับปรุงสถานี ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของอินโดนีเซียระบุว่า โครงการรถไฟมีความสำคัญในทุกพื้นที่แม้จะเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณจราจรไม่มากนัก เนื่องจากรัฐจำเป็นต้องเชื่อมโยงพื้นที่ดังกล่าวกับพื้นที่อื่นๆ ที่มีความเจริญมากกว่า
การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในอินโดนีเซียจะดำเนินการโดยภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจแต่ก็มีการเปิดให้รัฐบาลท้องถิ่นร่วมลงทุนกับรัฐบาลกลางภาคเอกชนจะเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการหรือให้บริการจากโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐพัฒนาขึ้น ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ ในอดีตที่ผ่านมารัฐบาลอินโดนีเซียใช้ความระมัดระวังมากในการค้ำประกันเงินกู้สำหรับการดำเนินโครงการ การที่ภาครัฐไม่พิจารณาบริหารความเสี่ยงเป็นรายโครงการและการไม่ให้ความคุ้มครองหรือให้การสนับสนุนในทำนองเดียวกันกับที่รัฐบาลประเทศอื่นทำให้นักลงทุนภาคเอกชนปฏิเสธหรือชะลอการลงทุนออกไปดังนั้น ในการพัฒนาตามแผนแม่บทฯ
นอกจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ รัฐบาลอินโดนีเซียได้ริเริ่มการส่งเสริมเอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟ 3 วิธีการ ดังนี้
1. การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนในรูปแบบสัมปทาน เป็นรูปแบบที่ภาครัฐจัดให้มีทางรถไฟและเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาให้บริการเดินรถ โดยมีการให้สัมปทานการให้บริการขนส่งมวลชนซึ่งมีเงื่อนไขในการแข่งขันว่าผู้เสนอราคาที่ขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐน้อยที่สุดจะได้รับการคัดเลือกในรูปแบบนี้ภาครัฐจะให้การสนับสนุนทางการเงิน 2 ประเภท คือ
1.1 กระทรวงการคลังให้การสนับสนุนผ่านกองทุน Viability Gap Fund (VGF) โดยจะนำเงินในกองทุนมาชดเชยส่วนที่เอกชนต้องขาดทุนจากการควบคุมราคาค่าโดยสาร ทำให้การดำเนินการไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์
1.2 รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ผ่านกองทุนค้ำประกันโครงสร้างพื้นฐานของอินโดนีเซีย (Indonesia Infrastructure Guarantee Fund) สำหรับโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งเงินทุนภาคเอกชนภายในประเทศและต่างประเทศ
2. การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) หรือเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone: FTZ) ซึ่งมีการจูงใจทางทางภาษีสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาคเอกชนในพื้นที่ที่กำหนด โดยมีการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่ผ่อนปรนมากกว่าพื้นที่อื่นๆ และการให้ความสะดวกเป็นกรณีพิเศษในการออกใบอนุญาตต่างๆ ผ่านหน่วยงานบริหาร SEZ/FTZ
3. การออกใบอนุญาตสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาคเอกชนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
บริษัทเอกชนจะได้รับอนุญาตให้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้งบประมาณของตัวเองโดยต้องดำเนินการตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยและด้านความมั่นคงที่รัฐกำหนดวิธีนี้จะดึงดูดบริษัทที่มีปริมาณการขนส่งสินค้าปริมาณมากระหว่างแหล่งผลิตและแหล่งบริโภค เช่น ในกิจการเหมืองแร่
การดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ จะเน้นการลงทุนซึ่งจะส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ ตัวอย่างเช่น มีการระบุว่าร้อยละ 85 ของผลผลิตของโครงการก่อสร้างต้องใช้วัสดุภายในประเทศ (Local Content) หรือร้อยละ 90 ต้องจัดซื้อจัดจ้างจากบริษัทเอกชนภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ในบางโครงการก็ได้เปิดให้ใช้ความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศด้วย
แม้ว่าในปี 2557 นี้ อินโดนีเซียจะมีการเลือกตั้งใหม่ แต่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของอินโดนีเซียเชื่อมั่นว่ารัฐบาลใหม่ของอินโดนีเซียจะสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯอย่างต่อเนื่องโดยให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ประชาชนชาวอินโดนีเซียทุกคนมั่นใจในการดำเนินโครงการพัฒนาด้านรถไฟตามแผนแม่บทฯ และที่สำคัญการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง ทุกคนรู้ดีว่าในปัจจุบันการขนส่งทางถนนสร้างภาระให้ประเทศมากและจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งมาใช้ระบบรางหรือการขนส่งชายฝั่งให้มากยิ่งขึ้นรัฐบาลใหม่จะมองว่าการลงทุนเป็นโอกาสซึ่งไม่ใช่เฉพาะของรัฐบาลเอง แต่เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องการให้เกิดขึ้น
ข้อมูล : สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง(สนข.)
ข่าว : matichon.co.th