อินโดฯจุดพลุแผนลงทุนเวทีเอเปก ผุดโครงสร้างพื้นฐาน8ล้านล.เชื่อมเอเชีย-แปซิฟิก
11 ก.ค. 2556 เวลา 14:21:07 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อินโดนีเซีย เล่นบทนำยื่นไอเดียแผนการลงทุน-การเชื่อมโยงในเอเชีย-แปซิฟิก ดันความร่วมมือกรอบเอเปกเดินหน้าในการประชุมที่บาหลี ปลายปีนี้
จาการ์ตา โพสต์รายงานว่า อินโดนีเซียเสนอแผนการลงทุนการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค และกรอบการเชื่อมโยงระหว่างกัน (connectivity) ต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงเอเปกครั้งที่ 3 ในเมืองเมดาน เมืองหลวงใน จ.สุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีหลายฝ่ายเห็นร่วมเดินหน้าแผนการดังกล่าว
นายยูริ โอ. แธมริน ประธานการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสเอเปกครั้งที่ 3 ประกาศว่า แผนร่างการลงทุนและการเชื่อมโยงระหว่างกันในกรอบเอเปกของอินโดนีเซีย จะถูกยกขึ้นเป็นประเด็นในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก ซึ่งจะจัดขึ้นที่นูซาดูอา จ.บาหลี ในวันที่ 7-8 ตุลาคมปีนี้ โดยเส้นตายการปรับปรุงแผนดังกล่าวต้องสำเร็จช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
"นับแต่นี้ประเทศสมาชิกที่ได้รับมอบหมายงาน ซึ่งมีเอกสารข้อมูลต่าง ๆ จำนวนมากต้องจัดทำแผนให้เป็นรูปเป็นร่างชัดเจนขึ้น เพื่อสนับสนุนพื้นฐานความร่วมมือในกรอบเอเปกให้แข็งแรง ผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างกันและส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงปี 2573" นายยูริ โอ. แธมรินกล่าว
อินโดนีเซียในฐานะผู้นำกรอบความร่วมมือเอเปกปีนี้เห็นว่า สมาชิกเอเปกทั้ง 21 ประเทศกำลังมองหาวิธีในการปรับปรุงการเชื่อมโยง และแหล่งเงินทุนที่ขาดแคลนมาสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ นอกเหนือจาก 2 ประเด็นหลักคือ การเติบโตอย่างยั่งยืนโดยเท่าเทียม และเป้าหมายโบกอร์ ซึ่งกำหนดให้สมาชิกเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน โดยสมาชิกพัฒนาแล้วมีกำหนดดำเนินการภายในปี 2553 และสมาชิกกำลังพัฒนาภายในปี 2563
การลงทุนด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงระหว่างกัน เป็นประเด็นหลักที่ภาคธุรกิจในภูมิภาคมีความกังวล ขณะที่มีการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง และกระตุ้นการเติบโตในระหว่างชาติสมาชิกทั่วทั้งเอเชีย-แปซิฟิก
อย่างไรก็ตามการขาดแคลนเงินทุนสนับสนุนยังคงเป็นอุปสรรคหลักที่ขวางกั้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่บรรดานักลงทุนต่างกังวลถึงความเป็นไปได้ของโครงการและผลกำไรที่ตามมาจากการลงทุนโครงการใหญ่ที่อาจกินเวลานาน ทั้งยังมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมูลค่าของโครงการและความไม่แน่นอนของกฎระเบียบการควบคุมต่าง ๆ ด้วย
สภาที่ปรึกษาด้านธุรกิจเอเปก หรือ ABAC เห็นว่าการแทรกแซงด้วยรัฐบาลสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่นักลงทุนกังวลได้ นี่เป็นอีกปัจจัยที่ต้องคำนึงเพื่อรับประกันผู้เข้าดำเนินโครงการ มีรายงานประเมินว่า เงินลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าราว 8 ล้านล้านดอลลาร์ จะช่วยพัฒนาการเชื่อมโยงให้รับกับการเติบโตที่พุ่งขึ้นรวดเร็วได้ดีขึ้น
นายยูริ โอ. แธมริน เพิ่มเติมว่า นอกจากประเด็นด้านเงินทุนยังมีความกังวลเรื่องช่องว่างที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และเล็ก ขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเริ่มมีการผ่อนปรนอุปสรรคทางการค้า การลงทุน และการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างกัน
ความร่วมมือเอเปกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีประชากรมากเป็นสัดส่วน 40% ของโลก และมีรายได้คิดเป็น 54% ของโลก และยังมีมูลค่าการค้าเป็นสัดส่วน 44% ของโลก
เอเปกมีจุดมุ่งหมายในการเปิดเสรีทางการค้า โดยชาติสมาชิกสามารถลดภาษีนำเข้าระหว่างกันจากอยู่ที่ 17% ในปี 2545 มาอยู่ที่ 5.8% ในปี 2553 นอกจากนี้ในช่วงปี 2550-2553 ยังสามารถลดต้นทุนการทำธุรกรรมระหว่างกันได้ 5% คิดเป็นมูลค่า 58,700 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้การค้าระหว่างอินโดนีเซียกับเอเปกโตขึ้นเกือบ 10 เท่า จากปีก่อตั้ง 2532 ซึ่งอยู่ที่ 29,900 ล้านดอลลาร์ ขึ้นมาเป็น 289,300 ล้านดอลลาร์ ในปี 2554 นอกจากนี้ รายชื่อบริษัทขนาดใหญ่สุด 20 อันดับแรกของอินโดนีเซีย ต่างเป็นบริษัทในประเทศสมาชิกกลุ่มเอเปกเกือบครึ่งหนึ่ง ในปี 2553 การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ หรือ FDI จากประเทศสมาชิกเอเปกมายังอินโดนีเซีย อยู่ที่ 9,260 ล้านดอลลาร์ เพิ่มสูงขึ้น 15.55% มาอยู่ที่มูลค่า 10,700 ล้านดอลลาร์ ในปี 2554
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1373523714
อินโดฯ ผุดโครงสร้างพื้นฐาน8ล้านล.เชื่อมเอเชีย-แปซิฟิก
11 ก.ค. 2556 เวลา 14:21:07 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อินโดนีเซีย เล่นบทนำยื่นไอเดียแผนการลงทุน-การเชื่อมโยงในเอเชีย-แปซิฟิก ดันความร่วมมือกรอบเอเปกเดินหน้าในการประชุมที่บาหลี ปลายปีนี้
จาการ์ตา โพสต์รายงานว่า อินโดนีเซียเสนอแผนการลงทุนการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค และกรอบการเชื่อมโยงระหว่างกัน (connectivity) ต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงเอเปกครั้งที่ 3 ในเมืองเมดาน เมืองหลวงใน จ.สุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีหลายฝ่ายเห็นร่วมเดินหน้าแผนการดังกล่าว
นายยูริ โอ. แธมริน ประธานการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสเอเปกครั้งที่ 3 ประกาศว่า แผนร่างการลงทุนและการเชื่อมโยงระหว่างกันในกรอบเอเปกของอินโดนีเซีย จะถูกยกขึ้นเป็นประเด็นในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก ซึ่งจะจัดขึ้นที่นูซาดูอา จ.บาหลี ในวันที่ 7-8 ตุลาคมปีนี้ โดยเส้นตายการปรับปรุงแผนดังกล่าวต้องสำเร็จช่วงสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
"นับแต่นี้ประเทศสมาชิกที่ได้รับมอบหมายงาน ซึ่งมีเอกสารข้อมูลต่าง ๆ จำนวนมากต้องจัดทำแผนให้เป็นรูปเป็นร่างชัดเจนขึ้น เพื่อสนับสนุนพื้นฐานความร่วมมือในกรอบเอเปกให้แข็งแรง ผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างกันและส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงปี 2573" นายยูริ โอ. แธมรินกล่าว
อินโดนีเซียในฐานะผู้นำกรอบความร่วมมือเอเปกปีนี้เห็นว่า สมาชิกเอเปกทั้ง 21 ประเทศกำลังมองหาวิธีในการปรับปรุงการเชื่อมโยง และแหล่งเงินทุนที่ขาดแคลนมาสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ นอกเหนือจาก 2 ประเด็นหลักคือ การเติบโตอย่างยั่งยืนโดยเท่าเทียม และเป้าหมายโบกอร์ ซึ่งกำหนดให้สมาชิกเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน โดยสมาชิกพัฒนาแล้วมีกำหนดดำเนินการภายในปี 2553 และสมาชิกกำลังพัฒนาภายในปี 2563
การลงทุนด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงระหว่างกัน เป็นประเด็นหลักที่ภาคธุรกิจในภูมิภาคมีความกังวล ขณะที่มีการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง และกระตุ้นการเติบโตในระหว่างชาติสมาชิกทั่วทั้งเอเชีย-แปซิฟิก
อย่างไรก็ตามการขาดแคลนเงินทุนสนับสนุนยังคงเป็นอุปสรรคหลักที่ขวางกั้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่บรรดานักลงทุนต่างกังวลถึงความเป็นไปได้ของโครงการและผลกำไรที่ตามมาจากการลงทุนโครงการใหญ่ที่อาจกินเวลานาน ทั้งยังมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมูลค่าของโครงการและความไม่แน่นอนของกฎระเบียบการควบคุมต่าง ๆ ด้วย
สภาที่ปรึกษาด้านธุรกิจเอเปก หรือ ABAC เห็นว่าการแทรกแซงด้วยรัฐบาลสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่นักลงทุนกังวลได้ นี่เป็นอีกปัจจัยที่ต้องคำนึงเพื่อรับประกันผู้เข้าดำเนินโครงการ มีรายงานประเมินว่า เงินลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าราว 8 ล้านล้านดอลลาร์ จะช่วยพัฒนาการเชื่อมโยงให้รับกับการเติบโตที่พุ่งขึ้นรวดเร็วได้ดีขึ้น
นายยูริ โอ. แธมริน เพิ่มเติมว่า นอกจากประเด็นด้านเงินทุนยังมีความกังวลเรื่องช่องว่างที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และเล็ก ขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเริ่มมีการผ่อนปรนอุปสรรคทางการค้า การลงทุน และการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างกัน
ความร่วมมือเอเปกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 มีประชากรมากเป็นสัดส่วน 40% ของโลก และมีรายได้คิดเป็น 54% ของโลก และยังมีมูลค่าการค้าเป็นสัดส่วน 44% ของโลก
เอเปกมีจุดมุ่งหมายในการเปิดเสรีทางการค้า โดยชาติสมาชิกสามารถลดภาษีนำเข้าระหว่างกันจากอยู่ที่ 17% ในปี 2545 มาอยู่ที่ 5.8% ในปี 2553 นอกจากนี้ในช่วงปี 2550-2553 ยังสามารถลดต้นทุนการทำธุรกรรมระหว่างกันได้ 5% คิดเป็นมูลค่า 58,700 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้การค้าระหว่างอินโดนีเซียกับเอเปกโตขึ้นเกือบ 10 เท่า จากปีก่อตั้ง 2532 ซึ่งอยู่ที่ 29,900 ล้านดอลลาร์ ขึ้นมาเป็น 289,300 ล้านดอลลาร์ ในปี 2554 นอกจากนี้ รายชื่อบริษัทขนาดใหญ่สุด 20 อันดับแรกของอินโดนีเซีย ต่างเป็นบริษัทในประเทศสมาชิกกลุ่มเอเปกเกือบครึ่งหนึ่ง ในปี 2553 การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ หรือ FDI จากประเทศสมาชิกเอเปกมายังอินโดนีเซีย อยู่ที่ 9,260 ล้านดอลลาร์ เพิ่มสูงขึ้น 15.55% มาอยู่ที่มูลค่า 10,700 ล้านดอลลาร์ ในปี 2554
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1373523714