ไตรลักษณ์ หมายถึง ลักษณะ ๓ ประการของสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย (บางทีก็เรียกว่า สามัญญลักษณะ ที่หมายถึง ลักษณะธรรมดาหรือสามัญของสิ่งปรุงแต่งทั้งหลาย) คือเมื่อสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายได้ถูกกฎสูงสุดของธรรมชาติปรุงแต่งให้เกิดขึ้นมาแล้ว มันก็จะต้องมีลักษณะ ๓ ประการนี้อยู่ด้วยตลอดเวลา ซึ่งได้แก่
๑. อนิจจัง คือ ลักษณะไม่เที่ยง หรือ ไม่สามารถอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป
๒. ทุกขัง คือ ลักษณะต้องทน หรือ สภาวะที่ต้องทน
๓. อนัตตา คือ ลักษณะไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
ลักษณะ ๓ ประการของสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายนี้ เป็นสิ่งที่เราจะต้องใช้การคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุด้วยผลเป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นธรรมชาติที่มีความละเอียดและลึกซึ้งเป็นอย่างมาก เราจึงจะเกิดความเข้าใจและเห็นแจ้ง (หรือเห็นจริง) ในเรื่องลักษณะ ๓ ประการนี้ได้อย่างถูกต้องตามที่เป็นจริงของธรรมชาติ ซึ่งในการคิดวิเคราะห์นี้ เราอย่ายึดติดในตัวหนังสือที่อธิบาย เพราะถ้ายึดติดในตัวหนังสือ เราก็อาจจะไม่เข้าใจถึงสภาวะที่แท้จริงของธรรมชาติได้ เพราะข้อความในหนังสือนั้นอาจจะมีความหมายที่ไม่ตรงตามที่ผู้เขียนพยายามจะสื่อได้ เราจะต้องพิจารณาดูจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในร่างกายและจิตใจของเราเอง หรือจากสิ่งที่เรากำลังสัมผัสอยู่จริงๆในปัจจุบัน โดยไม่ให้ความเชื่อจากตำราหรือจากคำสอนของใครๆ (แม้จากพระพุทธเจ้าเองก็ตาม) มาครอบงำทำให้การพิจารณาของเราไม่เป็นอิสระ (คือความจริงของธรรมชาติเป็นอย่างนี้ แต่ตำราหรือคนสอนกลับบอกไม่ตรงกับความจริง) เราจึงจะเกิดความเข้าใจและเห็นแจ้งในลักษณะ ๓ ประการของสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายได้
กฎไตรลักษณ์
๑. อนิจจัง คือ ลักษณะไม่เที่ยง หรือ ไม่สามารถอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป
๒. ทุกขัง คือ ลักษณะต้องทน หรือ สภาวะที่ต้องทน
๓. อนัตตา คือ ลักษณะไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง
ลักษณะ ๓ ประการของสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายนี้ เป็นสิ่งที่เราจะต้องใช้การคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุด้วยผลเป็นอย่างมาก เพราะมันเป็นธรรมชาติที่มีความละเอียดและลึกซึ้งเป็นอย่างมาก เราจึงจะเกิดความเข้าใจและเห็นแจ้ง (หรือเห็นจริง) ในเรื่องลักษณะ ๓ ประการนี้ได้อย่างถูกต้องตามที่เป็นจริงของธรรมชาติ ซึ่งในการคิดวิเคราะห์นี้ เราอย่ายึดติดในตัวหนังสือที่อธิบาย เพราะถ้ายึดติดในตัวหนังสือ เราก็อาจจะไม่เข้าใจถึงสภาวะที่แท้จริงของธรรมชาติได้ เพราะข้อความในหนังสือนั้นอาจจะมีความหมายที่ไม่ตรงตามที่ผู้เขียนพยายามจะสื่อได้ เราจะต้องพิจารณาดูจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในร่างกายและจิตใจของเราเอง หรือจากสิ่งที่เรากำลังสัมผัสอยู่จริงๆในปัจจุบัน โดยไม่ให้ความเชื่อจากตำราหรือจากคำสอนของใครๆ (แม้จากพระพุทธเจ้าเองก็ตาม) มาครอบงำทำให้การพิจารณาของเราไม่เป็นอิสระ (คือความจริงของธรรมชาติเป็นอย่างนี้ แต่ตำราหรือคนสอนกลับบอกไม่ตรงกับความจริง) เราจึงจะเกิดความเข้าใจและเห็นแจ้งในลักษณะ ๓ ประการของสิ่งปรุงแต่งทั้งหลายได้