นิทานชาวสวน
ปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหม
ผู้คนที่เดินผ่านหน้ากระทรวงกลาโหม ตามถนนสนามไชยไม่ว่าจะผ่านเข้าออกวัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทางประตูสวัสดิโสภา หรือจะไปกระทรวงการต่างประเทศ(เก่า) หรือไปนมัสการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองก็ตาม จะต้องเห็นปืนใหญ่ที่เรียงรายอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย หน้ากระทรวงกลาโหม ชินตากันมานานหนักหนา จนหลายคนแทบจะไม่เห็นความสำคัญ เพราะเห็นมานานมากจนเป็นธรรมดาไปเสียแล้ว
แต่เพิ่งจะมีผู้สนใจปืนใหญ่เหล่านี้ขึ้นมา เมื่อกระทรวงกลาโหมเจ้าของปืนใหญ่ได้มีอายุยืนมาถึง ๑๑๗ ปี เนื่องจากทางราชการได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์หน้ากระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะการจัดวางปืนใหญ่เสียใหม่ นัยว่าให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมาในบริเวณนี้ มากยิ่งขึ้น ส่วนที่ว่าเมื่อจัดเสร็จแล้วจะช่วยให้ผู้คนทั้งนักท่องเที่ยว และประชาชนคนเดินเท้า สนใจมากขึ้นหรือไม่นั้น ต้องรอให้เวลาล่วงไปอีกสักหน่อย
จากหลักฐานในบทความเรื่อง การจัดวางปืนใหญ่หน้าศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งเรียบเรียงโดย พันเอก สิทธิศักดิ์ พรหมวิจิตร กับ เรือเอก พรหมเมธ อติแพทย์ ซึ่งได้ลงพิมพ์ใน วารสารหลักเมือง เมื่อเดือน เมษายน ๒๕๓๘ อันเป็นวันครบรอบ ๑๐๘ ปี กระทรวงกลาโหม นั้น ได้บันทึกไว้ว่า
เท่าที่มีหลักฐานจากภาพถ่าย ทราบว่าการจัดวางหมู่ปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมนี้ มีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๐
จากข้อมูลประวัติปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหม ของกองประวัติศาสตร์ กรมยุทธการทหารบก กระบอกแรกจะเริ่มจากด้านตรงข้ามกระทรวงต่างประเทศ ปืนอัคนิรุท สร้างในปี พ.ศ.๒๑๖๗ ซึ่งถือเป็นปืนที่อยู่ในยุคที่เก่าที่สุด และเรียงลำดับตามยุคสมัย ตามเข็มนาฬิกา ในลักษณะกลุ่มปืนที่มีเป็นหลักและปืนสนับสนุน มาจนถึงปืนใหญ่ชื่อ ลมประไลยกัลป์ ซึ่งหล่อปืนในปี พ.ศ.๒๓๔๑ ถัดจากนั้นเป็นปืนใหญ่ที่ไม่สามารถตรวจสอบประวัติได้ว่าสร้างในสมัยใด
และสรุปว่า ปืนใหญ่นับเป็นอาวุธสำคัญ ที่ใช้ป้องกันการคุกคามจากอริราชศัตรู เพื่อรักษามาตุภูมิ ให้อนุชนรุ่นหลัง ทั้งเป็นสื่อให้ระลึกถึงวีรกรรมของบรรพชน การปรับปรุงหมู่ปืนใหญ่ในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งปืนใหญ่นี้ อาจถือเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสการฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี และเป็นอนุสรณ์ในโอกาสครบ ๑๐๘ ปี แห่งการสถาปนากระทรวงกลาโหม
ในหนังสือที่ระลึก วันตรงกับเสด็จสวรรคต ในพระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๗ มกราคม ๒๕๓๕ ได้กล่าวว่าในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้นามปืนทั้งเก่าและใหม่ที่มีอยู่ในขณะนั้น จำนวน ๒๗๗ กระบอก ไว้อย่างคล้องจองกัน เมื่อ จ.ศ.๑๑๘๗ หรือ พ.ศ.๒๓๖๘ เช่น
พระพิรุณแสนห่า พลิกพระสุธาหงาย อะสุระกายจับฟาด กวาดพระสุธา ฟ้าฟาดสาย นาคะราชปรายพิศม์ พระอาทิตย์เจ็ดดวง ราหูทลวงคว่างจักร และ หักเมืองมาร บาดาลถล่ม ล่มไกรลาศ มะจุราชสังหาร อะวะตานผลานราพ ปราบพระนะคร ถอนพระสุเมร เป็นต้น
แต่การปรับปรุงใน พ.ศ.๒๕๓๘ นั้น ได้จัดวางปืนใหญ่ไว้เพียง ๔๐ กระบอก ตั้งแต่ด้านศาลหลักเมืองไปจนถึงด้านกระทรวงการต่างประเทศ(เก่า) โดยมีปืนใหญ่ที่มีปากลำกล้องกว้างเกิน๒๐๐ ม.ม.หรือ ๘ นิ้ว เพียง ๕ กระบอกเท่านั้นคือ พระพิรุณแสนห่า สมัยกรุงธนบุรี นารายณ์สังหาร พลิกพสุธาหงาย และ พญาตานี กับ ถอนพระสุเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เท่านั้น
ปืนพระพิรุณแสนห่า นั้นเดิมบันทึกไว้ว่า ยาวสี่ศอกคืบสามนิ้ว กระสุนสิบเก้านิ้วดินปืนหนัก ๒๐ ชั่ง ซึ่งในปัจจุบันบันทึกไว้ว่า สร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๐ ความยาว ๓.๕๔ เมตรขนาดลำกล้อง ๔๐๐ มิลลิเมตร หรือประมาณ ๑๖ นิ้ว
ปืนนารายณ์สังหาร ยาวแปดศอกคืบหกนิ้ว กระสุนสามสิบนิ้ว ดินปืนหนัก ๑๗ ชั่งแต่ปัจจุบันบันทึกไว้ว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ ความยาว ๔.๕๐ ม. ขนาดลำกล้อง ๒๙๐ ม.ม. หรือประมาณ ๑๑ นิ้วเศษ ซึ่งแตกต่างกับที่บันทึกไว้ในสมัย ร.๓ มาก
ปืนพลิกพสุธาหงาย ยาวหกศอกคืบสามนิ้ว กระสุนสิบเก้านิ้ว ดินปืนหนัก ๒๐ ชั่งสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ ความยาว ๓.๕๑ ม. ขนาดลำกล้อง ๔๐๐ ม.ม.หรือประมาณ ๑๖ นิ้ว เท่ากับปืนพระพิรุณแสนห่า
ปืนถอนพระสุเมรุ ยาวห้าศอกสิบเอ็ดนิ้ว กระสุนสิบสองนิ้ว ดินปืนหนัก ๖ ชั่ง ไม่ปรากฏปีที่สร้าง ความยาว ๒.๘๐ ม. ขนาดลำกล้อง ๒๕๕ ม.ม. หรือประมาณ ๑๐ นิ้ว เศษ
ปืนพญาตานี ยาวสามวาศอกคืบสองนิ้ว กระสุนสิบเอ็ดนิ้ว ดินปืนหนัก ๑๕ ชั่งสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๙ ความยาว ๖.๘๒ ม. ขนาดลำกล้อง ๒๔๐ ม.ม.หรือประมาณ ๙ นิ้วเศษ
ซึ่งเมื่อเทียบกับอีกสี่กระบอกข้างต้น จะมีความยาวมากที่สุด ส่วนกว้างปากลำกล้องใกล้เคียงกับปืนถอนพระสุเมรุ แต่เมื่อเทียบกับดินปืนที่ใช้บรรจุแล้ว จึงน่าจะยิงได้ไกลกว่ามาก
ปืนใหญ่โบราณเหล่านี้ได้จัดวางไว้หน้ากระทรวงกลาโหมมาแล้ว ไม่น้อยกว่าแปดสิบปี และเมื่อได้ปรับปรุงการจัดวางเสียใหม่ใน พ.ศ.๒๕๔๗ นี้แล้ว ก็พร้อมที่จะตั้งแสดงในฐานะวัตถุพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ของพิพิธภัณฑ์ทหารไทยในอนาคต
ส่วนผู้ใดจะวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับการย้ายทิศทางของปืนใหญ่โบราณเหล่านี้อย่างไร ก็ปล่อยให้เป็นไปตามความคิดเห็นของบุคคลเหล่านั้น ตามสิทธิเสรีภาพในการพูดการเขียนและน่าจะรวมถึงการคิดด้วย ตามระบอบประชาธิปไตย แบบที่กำลังเบ่งบานอยู่ในปัจจุบันนี้ ตามสบาย
ขณะที่บันทึกเรื่องนี้ กระทรวงกลาโหมก็เป็นแต่เพียงอาคารเก่าแก่ ที่มีอายุมากกว่า ๑๒๐ ปีแล้วเท่านั้น เพราะหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการทหารสูงสุด และกองทัพบกส่วนใหญ่ ได้แยกย้ายกันออกไปตั้งอยู่ในสถานที่ใหม่เกือบหมดสิ้นแล้ว คงเหลืออยู่แต่ส่วนหนึ่งของ กองเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ กรมการเงิน กระทรวงกลาโหม ที่อำนวยความสะดวกให้แก่นายทหารนอกราชการ ได้มาติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล กับค่าเล่าเรียนบุตรอยู่ด้านหลัง ตรงข้ามกับศาลหลักเมืองเท่านั้น
และกระทรวงกลาโหมมีนโยบายที่จะใช้อาคารประวัติศาสตร์ของทหารหลังนี้ เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ทหารต่อไป
แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการก่อการร้ายอยู่ทั่วไปในทุกดินแดนของโลกนี้ อาคารกระทรวงกลาโหมซึ่งแม้จะไม่มีความสำคัญทางการทหารของประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของทหารไทย เทียบเท่าอาคารเพนตากอนของสหรัฐอเมริกาเช่นกัน
ดังนั้นทางราชการจึงน่าจะระวังรักษาทั้งตัวอาคาร และปืนใหญ่เหล่านี้ไว้เป็นอย่างดี ให้คงอยู่คู่แผ่นดินต่อไปชั่วกาลนาน.
#########
เจียวต้าย
ชุมชนสวนอ้อย
ปืนใหญ่หน้ากรพทรวงกลาโหม ๒๐ มี.ค.๕๗
ปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหม
ผู้คนที่เดินผ่านหน้ากระทรวงกลาโหม ตามถนนสนามไชยไม่ว่าจะผ่านเข้าออกวัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทางประตูสวัสดิโสภา หรือจะไปกระทรวงการต่างประเทศ(เก่า) หรือไปนมัสการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองก็ตาม จะต้องเห็นปืนใหญ่ที่เรียงรายอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย หน้ากระทรวงกลาโหม ชินตากันมานานหนักหนา จนหลายคนแทบจะไม่เห็นความสำคัญ เพราะเห็นมานานมากจนเป็นธรรมดาไปเสียแล้ว
แต่เพิ่งจะมีผู้สนใจปืนใหญ่เหล่านี้ขึ้นมา เมื่อกระทรวงกลาโหมเจ้าของปืนใหญ่ได้มีอายุยืนมาถึง ๑๑๗ ปี เนื่องจากทางราชการได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์หน้ากระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะการจัดวางปืนใหญ่เสียใหม่ นัยว่าให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมาในบริเวณนี้ มากยิ่งขึ้น ส่วนที่ว่าเมื่อจัดเสร็จแล้วจะช่วยให้ผู้คนทั้งนักท่องเที่ยว และประชาชนคนเดินเท้า สนใจมากขึ้นหรือไม่นั้น ต้องรอให้เวลาล่วงไปอีกสักหน่อย
จากหลักฐานในบทความเรื่อง การจัดวางปืนใหญ่หน้าศาลาว่าการกลาโหม ซึ่งเรียบเรียงโดย พันเอก สิทธิศักดิ์ พรหมวิจิตร กับ เรือเอก พรหมเมธ อติแพทย์ ซึ่งได้ลงพิมพ์ใน วารสารหลักเมือง เมื่อเดือน เมษายน ๒๕๓๘ อันเป็นวันครบรอบ ๑๐๘ ปี กระทรวงกลาโหม นั้น ได้บันทึกไว้ว่า
เท่าที่มีหลักฐานจากภาพถ่าย ทราบว่าการจัดวางหมู่ปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหมนี้ มีมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๐
จากข้อมูลประวัติปืนใหญ่หน้ากระทรวงกลาโหม ของกองประวัติศาสตร์ กรมยุทธการทหารบก กระบอกแรกจะเริ่มจากด้านตรงข้ามกระทรวงต่างประเทศ ปืนอัคนิรุท สร้างในปี พ.ศ.๒๑๖๗ ซึ่งถือเป็นปืนที่อยู่ในยุคที่เก่าที่สุด และเรียงลำดับตามยุคสมัย ตามเข็มนาฬิกา ในลักษณะกลุ่มปืนที่มีเป็นหลักและปืนสนับสนุน มาจนถึงปืนใหญ่ชื่อ ลมประไลยกัลป์ ซึ่งหล่อปืนในปี พ.ศ.๒๓๔๑ ถัดจากนั้นเป็นปืนใหญ่ที่ไม่สามารถตรวจสอบประวัติได้ว่าสร้างในสมัยใด
และสรุปว่า ปืนใหญ่นับเป็นอาวุธสำคัญ ที่ใช้ป้องกันการคุกคามจากอริราชศัตรู เพื่อรักษามาตุภูมิ ให้อนุชนรุ่นหลัง ทั้งเป็นสื่อให้ระลึกถึงวีรกรรมของบรรพชน การปรับปรุงหมู่ปืนใหญ่ในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งปืนใหญ่นี้ อาจถือเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสการฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี และเป็นอนุสรณ์ในโอกาสครบ ๑๐๘ ปี แห่งการสถาปนากระทรวงกลาโหม
ในหนังสือที่ระลึก วันตรงกับเสด็จสวรรคต ในพระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๗ มกราคม ๒๕๓๕ ได้กล่าวว่าในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้นามปืนทั้งเก่าและใหม่ที่มีอยู่ในขณะนั้น จำนวน ๒๗๗ กระบอก ไว้อย่างคล้องจองกัน เมื่อ จ.ศ.๑๑๘๗ หรือ พ.ศ.๒๓๖๘ เช่น
พระพิรุณแสนห่า พลิกพระสุธาหงาย อะสุระกายจับฟาด กวาดพระสุธา ฟ้าฟาดสาย นาคะราชปรายพิศม์ พระอาทิตย์เจ็ดดวง ราหูทลวงคว่างจักร และ หักเมืองมาร บาดาลถล่ม ล่มไกรลาศ มะจุราชสังหาร อะวะตานผลานราพ ปราบพระนะคร ถอนพระสุเมร เป็นต้น
แต่การปรับปรุงใน พ.ศ.๒๕๓๘ นั้น ได้จัดวางปืนใหญ่ไว้เพียง ๔๐ กระบอก ตั้งแต่ด้านศาลหลักเมืองไปจนถึงด้านกระทรวงการต่างประเทศ(เก่า) โดยมีปืนใหญ่ที่มีปากลำกล้องกว้างเกิน๒๐๐ ม.ม.หรือ ๘ นิ้ว เพียง ๕ กระบอกเท่านั้นคือ พระพิรุณแสนห่า สมัยกรุงธนบุรี นารายณ์สังหาร พลิกพสุธาหงาย และ พญาตานี กับ ถอนพระสุเมรุ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เท่านั้น
ปืนพระพิรุณแสนห่า นั้นเดิมบันทึกไว้ว่า ยาวสี่ศอกคืบสามนิ้ว กระสุนสิบเก้านิ้วดินปืนหนัก ๒๐ ชั่ง ซึ่งในปัจจุบันบันทึกไว้ว่า สร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๐ ความยาว ๓.๕๔ เมตรขนาดลำกล้อง ๔๐๐ มิลลิเมตร หรือประมาณ ๑๖ นิ้ว
ปืนนารายณ์สังหาร ยาวแปดศอกคืบหกนิ้ว กระสุนสามสิบนิ้ว ดินปืนหนัก ๑๗ ชั่งแต่ปัจจุบันบันทึกไว้ว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ ความยาว ๔.๕๐ ม. ขนาดลำกล้อง ๒๙๐ ม.ม. หรือประมาณ ๑๑ นิ้วเศษ ซึ่งแตกต่างกับที่บันทึกไว้ในสมัย ร.๓ มาก
ปืนพลิกพสุธาหงาย ยาวหกศอกคืบสามนิ้ว กระสุนสิบเก้านิ้ว ดินปืนหนัก ๒๐ ชั่งสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐ ความยาว ๓.๕๑ ม. ขนาดลำกล้อง ๔๐๐ ม.ม.หรือประมาณ ๑๖ นิ้ว เท่ากับปืนพระพิรุณแสนห่า
ปืนถอนพระสุเมรุ ยาวห้าศอกสิบเอ็ดนิ้ว กระสุนสิบสองนิ้ว ดินปืนหนัก ๖ ชั่ง ไม่ปรากฏปีที่สร้าง ความยาว ๒.๘๐ ม. ขนาดลำกล้อง ๒๕๕ ม.ม. หรือประมาณ ๑๐ นิ้ว เศษ
ปืนพญาตานี ยาวสามวาศอกคืบสองนิ้ว กระสุนสิบเอ็ดนิ้ว ดินปืนหนัก ๑๕ ชั่งสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๙ ความยาว ๖.๘๒ ม. ขนาดลำกล้อง ๒๔๐ ม.ม.หรือประมาณ ๙ นิ้วเศษ
ซึ่งเมื่อเทียบกับอีกสี่กระบอกข้างต้น จะมีความยาวมากที่สุด ส่วนกว้างปากลำกล้องใกล้เคียงกับปืนถอนพระสุเมรุ แต่เมื่อเทียบกับดินปืนที่ใช้บรรจุแล้ว จึงน่าจะยิงได้ไกลกว่ามาก
ปืนใหญ่โบราณเหล่านี้ได้จัดวางไว้หน้ากระทรวงกลาโหมมาแล้ว ไม่น้อยกว่าแปดสิบปี และเมื่อได้ปรับปรุงการจัดวางเสียใหม่ใน พ.ศ.๒๕๔๗ นี้แล้ว ก็พร้อมที่จะตั้งแสดงในฐานะวัตถุพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ของพิพิธภัณฑ์ทหารไทยในอนาคต
ส่วนผู้ใดจะวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับการย้ายทิศทางของปืนใหญ่โบราณเหล่านี้อย่างไร ก็ปล่อยให้เป็นไปตามความคิดเห็นของบุคคลเหล่านั้น ตามสิทธิเสรีภาพในการพูดการเขียนและน่าจะรวมถึงการคิดด้วย ตามระบอบประชาธิปไตย แบบที่กำลังเบ่งบานอยู่ในปัจจุบันนี้ ตามสบาย
ขณะที่บันทึกเรื่องนี้ กระทรวงกลาโหมก็เป็นแต่เพียงอาคารเก่าแก่ ที่มีอายุมากกว่า ๑๒๐ ปีแล้วเท่านั้น เพราะหน่วยงานของกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการทหารสูงสุด และกองทัพบกส่วนใหญ่ ได้แยกย้ายกันออกไปตั้งอยู่ในสถานที่ใหม่เกือบหมดสิ้นแล้ว คงเหลืออยู่แต่ส่วนหนึ่งของ กองเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ กรมการเงิน กระทรวงกลาโหม ที่อำนวยความสะดวกให้แก่นายทหารนอกราชการ ได้มาติดต่อขอรับเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล กับค่าเล่าเรียนบุตรอยู่ด้านหลัง ตรงข้ามกับศาลหลักเมืองเท่านั้น
และกระทรวงกลาโหมมีนโยบายที่จะใช้อาคารประวัติศาสตร์ของทหารหลังนี้ เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ทหารต่อไป
แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีการก่อการร้ายอยู่ทั่วไปในทุกดินแดนของโลกนี้ อาคารกระทรวงกลาโหมซึ่งแม้จะไม่มีความสำคัญทางการทหารของประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่ยังคงเป็นสัญลักษณ์ของทหารไทย เทียบเท่าอาคารเพนตากอนของสหรัฐอเมริกาเช่นกัน
ดังนั้นทางราชการจึงน่าจะระวังรักษาทั้งตัวอาคาร และปืนใหญ่เหล่านี้ไว้เป็นอย่างดี ให้คงอยู่คู่แผ่นดินต่อไปชั่วกาลนาน.
#########
เจียวต้าย
ชุมชนสวนอ้อย