ไปเจอมาเป็นหนังสือ e-book สามารถอ่านได้ฟรี ๆ เป็นหนังสือที่พิมพ์ในงานศพแต่เอาเนื้อหาจากหนังสือ 'ตำนานเรือรบไทย' ที่เขียนโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพมาใส่
เนื้อหาในหนังสือจะเขียนตั้งแต่ที่มาของเรือรบประเภทต่าง ๆ ในสมัยอยุธยา ซึ่งในสมัยนั้นมีเรือแซ, เรือไชย, เรือศีร์ษะสัตว์ และเรือกราบ แต่เดิมมีเรือแซก่อนแล้วปรับปรุงให้เรือบรรทุกคนได้เร็วขึ้น มีฝีพายมากขึ้นก็เป็นเรือไชย และก็มีแบบที่ปรับเรือให้มีหัวเรือกว้างสำหรับตั้งปืนใหญ่ เหนือช่องปืนก็มีทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ ลิง เพื่อเป็นเครื่องหมายในกระบวนทัพด้วยก็เป็นเรือศีร์ษะสัตว์ หลังจากนั้นก็มีทำเรืออย่างเรือไชยแต่แล่นเร็วกว่าก็เป็นเรือกราบ ส่วนเรือแซก็เป็นเรือลำเลียงเสบียงอาหารและอาวุธ
มีเขียนถึงที่มาที่ไปของประเพณีแห่เสด็จกฐินโดยกระบวนเรือ โดยในเวลาที่บ้านเมืองปราศจากศึกสงครามก็จะใช้เรือฝึกซ้อมกระบวนยุทธ โดยในฤดูน้ำ(น่าจะเป็นช่วงที่หลังจากฤดูฝนเพราะน้ำในสมัยก่อนจะไม่ท่วมเร็วเท่าปัจจุบันเพราะมีป่าไม้ช่วยชะลอน้ำ) ที่ชาวบ้านไม่ได้ทำไร่นาก็จะระดมพลมาซ้อมกระบวนทัพเรือและก็ประจวบกับมีการทอดกฐิน พระเจ้าแผ่นดินจึงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดกฐินโดยขบวนเรือรบแห่แหนให้ไพร่พลรื่นเริงในการกุศล ก็เลยเป็นที่มาของประเพณีนี้
เรือรบในสมัยอยุธยาโดนเผาเสียหายหมดตั้งแต่ตอนก่อนเสียกรุง พอถึงสมัยกรุงธนบุรีก็ต้องต่อเรือขึ้นใหม่หมด
มีเขียนรายชื่อเรือต่าง ๆ ในแต่ละรัชกาลจนถึง ร.6
ในสมัยร.3 คิดแบบอย่างเรือรบขึ้นใหม่ เรียกว่าเรือกำปั่นแปลง มีขนาดยาว 11 วา กว้าง 9 ศอกคืบ หัวเป็นเรือปากปลา ท้ายเป็นกำปั่น มีหลักแจวรายตลอดลำทั้งสองแคม สำหรับแจวในแม่น้ำลำคลอง และมีเสาใบสำหรับแล่นไปในทะเลด้วย มีต่อขึ้นมา 30 ลำ
และในสมัยร.3 ก็ได้มีการต่อเรือกำปั่นใบอย่างฝรั่งด้วยเหมือนกัน มีทั้งหมด 12 ลำ คราวที่ทำสงครามกับเวียดนามก็ได้เอาเรือพวกนี้เป็นเรือรบด้วยเหมือนกัน
ในสมัยร.4 ได้มีการลองต่อเรือกันโบตตามแบบฝรั่งมา 4 ลำ (เข้าใจว่าเป็นรูปเรือบตขนาดใหญ่ตีกรรเชียง) วางปืนใหญ่ที่หัวเรือลำละกระบอก และในสมัยร.4 ก็เริ่มมีเรือกลไฟเข้ามาแล้วทำให้เรือรบที่ต่อมาหลังจากนั้นก็จะเป็นเรือกลไฟ เรือกลไฟลำแรกเป็นเรือจักรช้าง ยาว 75 ฟุต พระราชทานชื่อว่า เรือสยามอรสุมพล เป็นการสั่งเครื่องจักรกลไฟจากอังกฤษ มาต่อตัวเรือนในกรุงเทพ
เข้าใจว่าเรือจักรช้างคงยังไม่ใช่เรือรบเพราะในรายชื่อเรือรบที่เป็นเรือกลไฟไม่มีชื่อเรือสยามอรสุมพล เรือกลไฟที่เป็นเรือรบมีดังนี้
1. เรือศรีอยุธยาเดช จักรท้าย ยาว 200 ฟุต กว้าง 27 ฟุต มีปืน 9 กระบอก ต่อเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2401 เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Ayudian Power
2. เรือมหาพิไชยเทพ จักรท้าย ยาว 120 ฟุต กว้าง 18 ฟุต มีปืน 7 กระบอก ต่อเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2401 เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Illustrious Conquerer
3. เรือราญรุกไพรี จักรท้าย ยาว 180 ฟุต กว้าง 29 ฟุต มีปืน 9 กระบอก ต่อเมื่อปีมะแม พ.ศ. 2402 เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Enemy Chaser
4. เรือสงครามครรชิต จักรท้าย ยาว 100 ฟุต กว้าง 21 ฟุต มีปืน 2 กระบอก ต่อเมื่อปีระกา พ.ศ. 2404 เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Warlike
5. เรือศักดิ์สิทธาวุธ ต่อคู่กับเรือสงครามครรชิต แต่กว้างกว่า 1 ฟุต เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Success in Arms
6. เรือยงยศอโยชฌยา เรือรบวังหน้า จักรท้าย ยาว 140 ฟุต กว้าง 29 ฟุต มีปืน 6 กระบอก ต่อเมื่อปีกุน พ.ศ. 2406 ภาษาอังกฤษว่า Impregnable
ช่วงปลายร.4 ก็ได้ต่อเรืออีกเรียกว่า เรือโคเวต ใหญ่กว่าเรือรบที่ได้ต่อมาแล้ว ตั้งชื่อว่า เรือสยามูประสดัมภ์
ในสมัยร. 5 ก็จะมีทั้งเรือกำปั่นรบที่ต่อขึ้นเองกับเรือเหล็กที่สั่งจากต่างประเทศ ซึ่งมีเรือที่ร.5 ใช้เสด็จประพาสไปยุโรปด้วยก็คือเรือพระที่นั่งมหาจักรี ต่อที่ประเทศอังกฤษ เป็นเรือชนิดครูเซอร ยาว 89.63 เมตร กว้าง 12.19 เมตร มีปืน 12 กระบอก ความเร็ว 12 น๊อต น้ำหนัก 2,600 ตัน ช่วงปลายร.5 มีการเอาเรืออย่างเรือ เดรสตรอยเออร์ เรียกในภาษาไทยว่า เรือพิฆาต มาใช้ และก็มีเรือตอร์ปิโดด้วย เพราะต้องการให้มีเรือรบตามสมัย
มีการเอาชื่อเรือเก่า ๆ อย่างเรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมืองมาใช้ซ้ำ ทั้งสองลำเป็นเรือปืน , มีเรือเสือทยานชล เรือพิฆาตรักษาฝั่ง
ในช่วง ร.6 ก็ยังมีสั่งต่อเรือรบเพิ่มอีก เช่น เรือเสือคำรณสินธุ์ เป็น เรือพิฆาตรักษาฝั่ง สั่งต่อในสมัยร.5 , เรือตอร์ปิโด, เรือพระร่วง เป็นเรือพิฆาตเดินสมุทร , เรือหาญหักศัตรู เป็นเรือยนตร์อย่างเรือยามฝั่ง
อันนี้ลิงค์หนังสือ
https://www.finearts.go.th/nlt-korat/view/20760
ส่วนนี้จะเป็นภาพเนื้อหาบางส่วน
แนะนำหนังสือเกี่ยวกับเรือรบไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงร.6
เนื้อหาในหนังสือจะเขียนตั้งแต่ที่มาของเรือรบประเภทต่าง ๆ ในสมัยอยุธยา ซึ่งในสมัยนั้นมีเรือแซ, เรือไชย, เรือศีร์ษะสัตว์ และเรือกราบ แต่เดิมมีเรือแซก่อนแล้วปรับปรุงให้เรือบรรทุกคนได้เร็วขึ้น มีฝีพายมากขึ้นก็เป็นเรือไชย และก็มีแบบที่ปรับเรือให้มีหัวเรือกว้างสำหรับตั้งปืนใหญ่ เหนือช่องปืนก็มีทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ ลิง เพื่อเป็นเครื่องหมายในกระบวนทัพด้วยก็เป็นเรือศีร์ษะสัตว์ หลังจากนั้นก็มีทำเรืออย่างเรือไชยแต่แล่นเร็วกว่าก็เป็นเรือกราบ ส่วนเรือแซก็เป็นเรือลำเลียงเสบียงอาหารและอาวุธ
มีเขียนถึงที่มาที่ไปของประเพณีแห่เสด็จกฐินโดยกระบวนเรือ โดยในเวลาที่บ้านเมืองปราศจากศึกสงครามก็จะใช้เรือฝึกซ้อมกระบวนยุทธ โดยในฤดูน้ำ(น่าจะเป็นช่วงที่หลังจากฤดูฝนเพราะน้ำในสมัยก่อนจะไม่ท่วมเร็วเท่าปัจจุบันเพราะมีป่าไม้ช่วยชะลอน้ำ) ที่ชาวบ้านไม่ได้ทำไร่นาก็จะระดมพลมาซ้อมกระบวนทัพเรือและก็ประจวบกับมีการทอดกฐิน พระเจ้าแผ่นดินจึงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดกฐินโดยขบวนเรือรบแห่แหนให้ไพร่พลรื่นเริงในการกุศล ก็เลยเป็นที่มาของประเพณีนี้
เรือรบในสมัยอยุธยาโดนเผาเสียหายหมดตั้งแต่ตอนก่อนเสียกรุง พอถึงสมัยกรุงธนบุรีก็ต้องต่อเรือขึ้นใหม่หมด
มีเขียนรายชื่อเรือต่าง ๆ ในแต่ละรัชกาลจนถึง ร.6
ในสมัยร.3 คิดแบบอย่างเรือรบขึ้นใหม่ เรียกว่าเรือกำปั่นแปลง มีขนาดยาว 11 วา กว้าง 9 ศอกคืบ หัวเป็นเรือปากปลา ท้ายเป็นกำปั่น มีหลักแจวรายตลอดลำทั้งสองแคม สำหรับแจวในแม่น้ำลำคลอง และมีเสาใบสำหรับแล่นไปในทะเลด้วย มีต่อขึ้นมา 30 ลำ
และในสมัยร.3 ก็ได้มีการต่อเรือกำปั่นใบอย่างฝรั่งด้วยเหมือนกัน มีทั้งหมด 12 ลำ คราวที่ทำสงครามกับเวียดนามก็ได้เอาเรือพวกนี้เป็นเรือรบด้วยเหมือนกัน
ในสมัยร.4 ได้มีการลองต่อเรือกันโบตตามแบบฝรั่งมา 4 ลำ (เข้าใจว่าเป็นรูปเรือบตขนาดใหญ่ตีกรรเชียง) วางปืนใหญ่ที่หัวเรือลำละกระบอก และในสมัยร.4 ก็เริ่มมีเรือกลไฟเข้ามาแล้วทำให้เรือรบที่ต่อมาหลังจากนั้นก็จะเป็นเรือกลไฟ เรือกลไฟลำแรกเป็นเรือจักรช้าง ยาว 75 ฟุต พระราชทานชื่อว่า เรือสยามอรสุมพล เป็นการสั่งเครื่องจักรกลไฟจากอังกฤษ มาต่อตัวเรือนในกรุงเทพ
เข้าใจว่าเรือจักรช้างคงยังไม่ใช่เรือรบเพราะในรายชื่อเรือรบที่เป็นเรือกลไฟไม่มีชื่อเรือสยามอรสุมพล เรือกลไฟที่เป็นเรือรบมีดังนี้
1. เรือศรีอยุธยาเดช จักรท้าย ยาว 200 ฟุต กว้าง 27 ฟุต มีปืน 9 กระบอก ต่อเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2401 เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Ayudian Power
2. เรือมหาพิไชยเทพ จักรท้าย ยาว 120 ฟุต กว้าง 18 ฟุต มีปืน 7 กระบอก ต่อเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2401 เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Illustrious Conquerer
3. เรือราญรุกไพรี จักรท้าย ยาว 180 ฟุต กว้าง 29 ฟุต มีปืน 9 กระบอก ต่อเมื่อปีมะแม พ.ศ. 2402 เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Enemy Chaser
4. เรือสงครามครรชิต จักรท้าย ยาว 100 ฟุต กว้าง 21 ฟุต มีปืน 2 กระบอก ต่อเมื่อปีระกา พ.ศ. 2404 เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Warlike
5. เรือศักดิ์สิทธาวุธ ต่อคู่กับเรือสงครามครรชิต แต่กว้างกว่า 1 ฟุต เรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า Success in Arms
6. เรือยงยศอโยชฌยา เรือรบวังหน้า จักรท้าย ยาว 140 ฟุต กว้าง 29 ฟุต มีปืน 6 กระบอก ต่อเมื่อปีกุน พ.ศ. 2406 ภาษาอังกฤษว่า Impregnable
ช่วงปลายร.4 ก็ได้ต่อเรืออีกเรียกว่า เรือโคเวต ใหญ่กว่าเรือรบที่ได้ต่อมาแล้ว ตั้งชื่อว่า เรือสยามูประสดัมภ์
ในสมัยร. 5 ก็จะมีทั้งเรือกำปั่นรบที่ต่อขึ้นเองกับเรือเหล็กที่สั่งจากต่างประเทศ ซึ่งมีเรือที่ร.5 ใช้เสด็จประพาสไปยุโรปด้วยก็คือเรือพระที่นั่งมหาจักรี ต่อที่ประเทศอังกฤษ เป็นเรือชนิดครูเซอร ยาว 89.63 เมตร กว้าง 12.19 เมตร มีปืน 12 กระบอก ความเร็ว 12 น๊อต น้ำหนัก 2,600 ตัน ช่วงปลายร.5 มีการเอาเรืออย่างเรือ เดรสตรอยเออร์ เรียกในภาษาไทยว่า เรือพิฆาต มาใช้ และก็มีเรือตอร์ปิโดด้วย เพราะต้องการให้มีเรือรบตามสมัย
มีการเอาชื่อเรือเก่า ๆ อย่างเรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมืองมาใช้ซ้ำ ทั้งสองลำเป็นเรือปืน , มีเรือเสือทยานชล เรือพิฆาตรักษาฝั่ง
ในช่วง ร.6 ก็ยังมีสั่งต่อเรือรบเพิ่มอีก เช่น เรือเสือคำรณสินธุ์ เป็น เรือพิฆาตรักษาฝั่ง สั่งต่อในสมัยร.5 , เรือตอร์ปิโด, เรือพระร่วง เป็นเรือพิฆาตเดินสมุทร , เรือหาญหักศัตรู เป็นเรือยนตร์อย่างเรือยามฝั่ง
อันนี้ลิงค์หนังสือ https://www.finearts.go.th/nlt-korat/view/20760
ส่วนนี้จะเป็นภาพเนื้อหาบางส่วน