จาก คห.นี้นะครับ
นี่คือคำให้การในชั้นศาลของอดีตนายก บรรหาร ศิลปะอาชา พรรคชาติไทย และ อดีตนายกชวน หลีกภัย พรรค ประชาธิปัตย์
โดย นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบว่าความ นำนายบรรหาร ศิลปอาชา
หัวหน้าพรรคชาติไทย และนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพยานขึ้นเบิกความ
โดย ศาล ได้สอบถามนายบรรหาร ว่าขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เคยเข้าไปดูแลกำกับ
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจทั้ง โดยตรงและโดยอ้อมหรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่า ระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2538-39 ไม่มี ซึ่งการดูแลกิจการรัฐวิสาหกิจจะมีรัฐมนตรี
ซึ่งได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแล
เมื่อโจทก์ถามว่าระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้เคยเข้าไปกำกับดูแล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่าไม่เคย
เมื่อ ถามต่อว่าในระหว่างที่เป็นนายกฯ เคยไปดูแลการแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่า ธปท.หรือไม่ ซึ่งช่วงปลายปี 2538
ได้มีการย้ายนายวิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าธปท.ขณะนั้น
นายบรรหาร ตอบว่า ในการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายเป็นไปตามที่นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.คลังขณะนั้นได้มีการเสนอต่อ ครม.
เมื่อถามย้ำว่าสมัยที่เป็นนายกฯเคยเกี่ยวข้องอนุมัติสนับสนุนเงินกองทุนฯหรือไม่
นายบรรหารตอบว่า ไม่เคย
ขณะ ที่นายอเนก คำชุ่ม ทนายความ จำเลยซักถามว่า ระหว่างที่เป็นนายกฯ ได้มีการรายงานเกี่ยวกับการบริหารงานของกองทุนฯ
เกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดิน ว่า ได้มาอย่างไรและมีมูลค่าเท่าใดหรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่า ไม่มี
เมื่อ ถามต่อว่า ที่เคยให้การกับคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
ว่าเป็นไปตาม พ.ร.บ.บริหารระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ม.11 ที่ระบุว่านายกฯมีอำนาจควบคุมดูแลกระทรวงทบวงกรมโดยทั่วไป
ความหมายดังกล่าวหมายความถึงการบริหารกองทุนฟื้นฟูหรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่า กองทุนถูกตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารและแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ชัดเจนว่าจะถือเป็นอำนาจหน้าที่ทั่วไปตามกฎหมายนั้นหรือไม่
แต่ส่วนตัวเห็นว่า น่าจะเป็นอำนาจโดยเฉพาะ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ธปท.ซึ่งมี รมว.คลัง ดูแลอยู่ด้วย
ต่อมาอัยการนำ นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเบิกความเป็นปากที่สอง
โดยได้ตอบคำถามเดียวกับที่ศาลถามนายบรรหาร สรุปว่า นายกฯจะใช้อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจผ่าน
รมว.คลังที่ได้รับมอบหมายดูแล ซึ่งในส่วนของกองทุนฯจะมีผู้ว่า ธปท.ดูแลและมี รมว.คลังกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง
ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุนกองทุนฯ โดยในช่วงปี 2541 เคยลงนามให้นำเงินไปสนับสนุนกองทุนฯ แต่จำรายละเอียดไม่ได้
เมื่อทนายจำเลยถามว่าในการบริหารกองทุนฯมีคณะกรรมการดูแลอิสระ นายกฯไม่มีอำนาจสั่งการใช่หรือไม่
นายชวน ตอบว่า กองทุนฯอยู่ภายใต้กำกับของ ธปท.มีผู้ว่า ธปท.เป็นผู้ดูแล และมี รมว.คลัง กำกับดูแล ธปท.อีกชั้น
เมื่อถามว่าขณะที่เป็นนายกฯ เคยสั่งการในการบริหารงานกองทุนฯหรือไม่
นายชวนตอบว่า ไม่มี ซึ่งนายกฯจะไม่ได้เป็นผู้สั่งการ ถ้าเรื่องนั้นไม่ได้ถูกเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม.
----------------------------------
ยาวหน่อย แต่ขอให้อ่านหน่อยครับ จะได้ปรับความเข้าใจให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง
กระทู้นี้ ตอบคำถาม User ทวนแห่งไฟ ครับ จากกระทู้ล่าง
นี่คือคำให้การในชั้นศาลของอดีตนายก บรรหาร ศิลปะอาชา พรรคชาติไทย และ อดีตนายกชวน หลีกภัย พรรค ประชาธิปัตย์
โดย นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ หัวหน้าคณะทำงานรับผิดชอบว่าความ นำนายบรรหาร ศิลปอาชา
หัวหน้าพรรคชาติไทย และนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพยานขึ้นเบิกความ
โดย ศาล ได้สอบถามนายบรรหาร ว่าขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เคยเข้าไปดูแลกำกับ
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินและหน่วยงานที่เป็นรัฐวิสาหกิจทั้ง โดยตรงและโดยอ้อมหรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่า ระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2538-39 ไม่มี ซึ่งการดูแลกิจการรัฐวิสาหกิจจะมีรัฐมนตรี
ซึ่งได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแล
เมื่อโจทก์ถามว่าระหว่างที่เป็นนายกรัฐมนตรีได้เคยเข้าไปกำกับดูแล ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่าไม่เคย
เมื่อ ถามต่อว่าในระหว่างที่เป็นนายกฯ เคยไปดูแลการแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่า ธปท.หรือไม่ ซึ่งช่วงปลายปี 2538
ได้มีการย้ายนายวิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าธปท.ขณะนั้น
นายบรรหาร ตอบว่า ในการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายเป็นไปตามที่นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.คลังขณะนั้นได้มีการเสนอต่อ ครม.
เมื่อถามย้ำว่าสมัยที่เป็นนายกฯเคยเกี่ยวข้องอนุมัติสนับสนุนเงินกองทุนฯหรือไม่
นายบรรหารตอบว่า ไม่เคย
ขณะ ที่นายอเนก คำชุ่ม ทนายความ จำเลยซักถามว่า ระหว่างที่เป็นนายกฯ ได้มีการรายงานเกี่ยวกับการบริหารงานของกองทุนฯ
เกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดิน ว่า ได้มาอย่างไรและมีมูลค่าเท่าใดหรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่า ไม่มี
เมื่อ ถามต่อว่า ที่เคยให้การกับคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)
ว่าเป็นไปตาม พ.ร.บ.บริหารระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ม.11 ที่ระบุว่านายกฯมีอำนาจควบคุมดูแลกระทรวงทบวงกรมโดยทั่วไป
ความหมายดังกล่าวหมายความถึงการบริหารกองทุนฟื้นฟูหรือไม่
นายบรรหาร ตอบว่า กองทุนถูกตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารและแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งไม่ชัดเจนว่าจะถือเป็นอำนาจหน้าที่ทั่วไปตามกฎหมายนั้นหรือไม่
แต่ส่วนตัวเห็นว่า น่าจะเป็นอำนาจโดยเฉพาะ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ธปท.ซึ่งมี รมว.คลัง ดูแลอยู่ด้วย
ต่อมาอัยการนำ นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นเบิกความเป็นปากที่สอง
โดยได้ตอบคำถามเดียวกับที่ศาลถามนายบรรหาร สรุปว่า นายกฯจะใช้อำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจผ่าน
รมว.คลังที่ได้รับมอบหมายดูแล ซึ่งในส่วนของกองทุนฯจะมีผู้ว่า ธปท.ดูแลและมี รมว.คลังกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง
ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ให้เงินสนับสนุนกองทุนฯ โดยในช่วงปี 2541 เคยลงนามให้นำเงินไปสนับสนุนกองทุนฯ แต่จำรายละเอียดไม่ได้
เมื่อทนายจำเลยถามว่าในการบริหารกองทุนฯมีคณะกรรมการดูแลอิสระ นายกฯไม่มีอำนาจสั่งการใช่หรือไม่
นายชวน ตอบว่า กองทุนฯอยู่ภายใต้กำกับของ ธปท.มีผู้ว่า ธปท.เป็นผู้ดูแล และมี รมว.คลัง กำกับดูแล ธปท.อีกชั้น
เมื่อถามว่าขณะที่เป็นนายกฯ เคยสั่งการในการบริหารงานกองทุนฯหรือไม่
นายชวนตอบว่า ไม่มี ซึ่งนายกฯจะไม่ได้เป็นผู้สั่งการ ถ้าเรื่องนั้นไม่ได้ถูกเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม.
----------------------------------
ยาวหน่อย แต่ขอให้อ่านหน่อยครับ จะได้ปรับความเข้าใจให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง