*************************************
ขอเท้าความก่อนเล็กน้อยว่าจขกท.เป็นนักศึกษาที่เรียนวิทยาศาสตร์เอกเคมีผู้ที่กำลังนั่งปั่นงานหัวระเบิดมาได้ประมาณสองเดือน
แล้วเกิดอารมณ์อยากเขียนอะไรบางอย่างที่ไม่ใช่รายงานการวิจัยบ้าง
พอดีมีโอกาสได้ไปรับรู้เรื่องของ Scientific Misconduct ทำให้ได้แรงบันดาลใจให้เขียนบทความนี้ขึ้น ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าจะแปลคำว่า Scientific Misconduct ออกมาเป็นไทยให้กระชับอย่างไรดี จึงขอเรียกคร่าวๆไปว่าเป็น “การละเมิดจริยธรรมการวิจัย”
จขกท.เองไม่ทราบว่าในพันทิปนี้มีบทความเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้มากน้อยแค่ไหน และ ไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่ามีคนเขียนเรื่องนี้ไปแล้วหรือยัง (เพิ่งมาสมัครพันทิปได้ไม่นาน) หากเขียนซ้ำหรือมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
*************************************
จขกท.ค่อนข้างมั่นใจว่าสำหรับคนที่เรียนด้านวิทยาศาสตร์เคมีและเคยค้นหาเปเปอร์มาก่อนน่าจะรู้จัก ACS หรือ American Chemical Society ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์วารสารวิชาการระดับสูงมากๆสำหรับสายนี้ (เจ้าของ JACS, Chemical Review, Nano Letters และ วารสาร High Impact Factor อีกมากมาย)
ท่านรู้หรือไม่ว่าในช่วงระหว่างปี 2002-2006 มีกรณีการตีพิมพ์งานวิจัยที่ผลการทดลองทั้งหมด “เมกขึ้นมาเอง” ลงในวารสารของ ACS โดยนักศึกษาคนหนึ่ง
และไม่ใช่เพียงแค่ชิ้นเดียว นักศึกษาคนนี้ตีพิมพ์งานวิจัยที่มีผลที่เป็นเท็จอย่างน้อย 6 ชิ้นด้วยกัน(นับตามจำนวนเปเปอร์ที่อาจารย์ที่ปรึกษาของเธอได้ขอ retract จากวารสารต่างๆ)
กรณีของนักศึกษาคนนี้เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่ทั้งน่าสนใจและน่าเศร้าในเวลาเดียวกันของการละเมิดจริยธรรมการวิจัยสำหรับสาขาวิชาเคมี
นักศึกษาคนนี้มีชื่อว่า Bengü Sezen ผู้ที่ได้เข้าไปศึกษาปริญญาเอกที่ Columbia University ภายใต้การดูแลของ Professor Dalibor Sames ในช่วงปี 2000 - 2005
งานวิจัยที่ Bengü Sezen ศึกษาเป็นหลักคือเรื่อง C-H bond activation ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อฮ็อตฮิตในสาขาเคมีอินทรีย์
ถ้าวัดกันด้วยปริมาณงานวิจัยที่ Bengü Sezen ตีพิมพ์ออกมาตลอดช่วงการศึกษา ก็ต้องบอกว่าเธอเป็นหนึ่งในนักเคมีที่โดดเด่นและดูมีอนาคตไกล เพราะในปี 2005 Bengü Sezen มีชื่อในงานวิจัยถึง 8 ชิ้น และ 6 ใน 8 ชิ้นนั้น เธอได้ตำแหน่งเป็น first author หรือคนเขียนงานหลักนั่นเอง
นอกจากนี้หากลองไปค้นหาชื่อของเธอในฐานข้อมูล ACS จะพบว่าเธอมีชื่อในงานวิจัยในปัจจุบันทั้งหมด 15 ชิ้น ซึ่งเป็นปริมาณที่เยอะสำหรับนักศึกษาปริญญาเอกคนหนึ่ง (อย่างน้อยถ้าจขกท.ตีได้ซัก 4-5 ชิ้นก็ดีใจจะตายแล้ว)
อย่างไรก็ตามปัญหาก็เกิดขึ้น
ตั้งแต่งานชิ้นแรกของเธอได้รับการตีพิมพ์ในปี 2002 ก็มีเสียงสะท้อนจากนักเคมีที่นำงานของเธอไปทดลองดูและพบว่ามันไม่เกิดอย่างที่ได้รายงานไว้ และโปรเจ็คท์ย่อยที่แตกออกมาจากงานของเธอนั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จซักเท่าไหร่
ที่ปรึกษา Professor Dalibor Sames ลองถาม Bengü Sezen ดูก็ได้คำตอบว่า ปฎิกิริยานี้มัน sensitive ต่อสภาพแวดล้อมมากๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะมาจากเทคนิคในการทดลองของคนอื่นที่ไม่ดีเพียงพอ เขาจึงให้ Sezen คอยช่วยคนในแล็บตั้งปฏิกิริยาต่างๆและให้คำปรึกษากับนักเคมีที่บอกว่ามีปัญหากับปฏิกิริยาของเธอ
และจากการสอบถามนักศึกษาในแล็บภายหลัง มีการบอกว่า Professor Dalibor Sames เคย”เชิญ”นักศึกษาที่ทำปฏิกิริยาของ Sezen แล้วไม่เกิดให้ออกจากแล็บไป (หรือเรียกง่ายๆว่าไล่ออกนั่นเอง)
ในที่สุดปัญหาก็มาถึงจุดสูงสุดในปี 2005 เมื่อ Bengü Sezen กำลังจะจบปริญญาเอก และจะไม่สามารถมาให้ความช่วยเหลือคนในแล็บในการทำปฏิกิริยาต่างๆได้อีก
ในช่วงนี้ก็มีคนในแล็บคนนึงที่สังเกตขึ้นมาว่า ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ Bengü Sezen มีโอกาสเข้าไปทำงานในแล็บคนเดียว จึงมีการตั้งข้อสงสัยว่าเธออาจจะเข้าไปยุ่งอะไรกับปฏิกิริยาที่ตั้งไว้
เขาจึงทดลองโดยการบอก Sezen ว่าจะตั้งปฏิกิริยากับสารตัวนึง (เพื่อความง่ายสมมุติว่าเป็นสาร A) ทั้งหมดสอง flask แต่จริงๆแล้วเขาใส่สาร A ลงไปใน flask ใบเดียว ส่วนอีกใบหนึ่งเขาใส่สาร B ลงไปแทน
ปรากฏว่าเมื่อวันรุ่งขึ้นเขามาเก็บผลิตภัณฑ์ที่ได้ ทั้งสอง flask กับมีเพียงผลิตภัณฑ์ของสาร A เหมือนกันทั้งคู่.... ส่วนสาร B นั้นอยู่ดีๆก็หายไปซะเฉยๆ
นี่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีใครบางคนเข้าไปยุ่งกับปฏิกิริยาที่ตั้งอยู่
เมื่อสมาชิกแล็บคนนี้บอก Sames จึงทำให้เริ่มมีการตรวจสอบภายในกลุ่มวิจัย ว่า Bengü Sezen นั้นทำผิดจริงหรือไม่
สิ่งที่ถูกค้นพบนั้นค่อนข้างน่าตกใจอยู่พอสมควร
การค้นพบประการแรก สมุดบันทึกรายละเอียดงานวิจัยของเธอนั้นมีรายละเอียดต่างๆอยู่น้อยมาก ขัดกับคำอ้างที่ว่าปฏิกิริยานี้ sensitive กับบรรยากาศสุดๆ อีกทั้งวันที่ครั้งสุดท้ายที่มีการบันทึกคือวันที่ 9 มิถุนา 2003 (ตอนนั้นปี 2005 แสดงว่าเธอไม่แตะสมุดมาสองปีเลยทีเดียว)
การค้นพบประการที่สอง สเปคตรัม NMR ซึ่งเป็นสเปคตรัมสำหรับระบุโครงสร้างของสาร อันเป็นหลักฐานหลักในการวิเคราะห์ผลการทดลองของ Sezen มีร่องรอยการถูกแก้ไขแต่งเติมด้วยน้ำยาลบคำผิด อีกทั้งสเปคตรัมที่ถูกแก้ไขนี้ยังไปปรากฏในงานตีพิมพ์ของเธอชิ้นหนึ่งด้วย
การค้นพบประการที่สาม (และสำหรับจขกท.รู้สึกว่าอันนี้แรงที่สุด) คือการค้นพบว่า Sezen ไม่มี account สำหรับใช้เครื่อง NMR ในมหาลัยด้วยซ้ำ ไม่เคยส่งสารเพื่อวิเคราะห์หาธาตุองค์ประกอบ (Elemental Analysis) แม้แต่ครั้งเดียว
พูดง่ายๆก็คือ เธอไม่เคยเอาสารของตัวเองไปวิเคราะห์อะไรเลย และไม่มีหลักฐานว่าเธอได้ทำการทดลองอะไรเลยตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แล้วผลการทดลองทั้งหมดของเธอมาจากไหนกัน????
หลังจากการตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่า สเปคตรัม NMR ของ Bengü Sezen นั้นเกิดจากการตัดแต่งด้วยโปรแกรมของเครื่อง NMR ผสมกับการใช้น้ำยาลบคำผิด โดยเธอเริ่มจาก NMR ของ dichloromethane (เป็นตัวทำละลายตัวนึง) ซึ่งคาดว่าน่าจะได้มาจากการส่งวิเคราะห์ด้วยชื่อของนักวิจัยคนอื่น จากนั้นก็ทำการก็อปปี้สัญญาณแล้วนำไปย่อขยาย เลื่อนไปมา วางซ้อนทับกัน และอื่นๆอีกมากมาย จนกระทั่งได้เป็นสเปคตรัม NMR ที่เธอใช้เป็นผลการทดลองของตัวเองในที่สุด
Bengü Sezen “เมค”ผลการทดลองทั้งหมดของเธอขึ้นมาเองตลอดการวิจัยในช่วงปริญญาเอกของเธอ
เมื่อการตรวจสอบสำเร็จ Professor Dalibor Sames จึงยื่นเรื่องไปที่มหาวิทยาลัยในเดือนสิงหาคม 2005 และมหาวิทยาลัยก็เริ่มสอบสวนอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับกรณีนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2005
ในที่สุด เมื่อผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2006 Professor Dalibor Sames จึงเริ่มต้นขอ retract หรือ ถอนงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารออกไปในเดือนมีนาคมของปีเดียวกัน
นี่ทำให้ Bengü Sezen ซึ่งในขณะนั้นได้จบปริญญาเอกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ออกมาให้สัมภาษณ์ประท้วงสิ่งที่เกิดขึ้น และหลังจากนั้นเธอก็ทำการโจมตีอดีตที่ปรึกษาของตนเองว่าสร้างเรื่องเพื่อจะขโมยผลงานของเธอบ้างล่ะ หรือว่าส่งหลักฐานว่ามีบริษัทนึงทำปฏิกิริยาของเธอสำเร็จบ้างล่ะ(แต่จากการตรวจสอบบริษัทนั้นไม่มีอยู่จริง) รวมทั้งส่ง spam mail โจมตี Columbia University ไปหาอาจารย์เคมีที่มหาลัยต่างๆ
แต่สุดท้ายทั้งหมดทั้งมวลที่เธอทำไปก็ไม่อาจกลับผิดเป็นถูกได้
ในปี 2010 หลังจากการสืบสวนสอบสวนทั้งหมดเสร็จสิ้น Office of Research Integrity ซึ่งเป็นองค์กรตรวจสอบงานวิจัยของสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกผลสรุปมาว่า Bengü Sezen นั้นผิดจริง และได้รับโทษเป็นการตัดสิทธิ์การได้รับเงินสนับสนุนจากอเมริกาเป็นเวลาห้าปี
และสุดท้ายในปี 2011 Columbia University ก็ได้ทำการถอนปริญญาเอกของ Bengü Sezen อย่างเป็นทางการ
ปัจจุบันงานวิจัยที่ Professor Dalibor Sames ถอนออกจากการตีพิมพ์มีทั้งหมด 8 ชิ้น ซึ่ง 6 ชิ้นเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ Bengü Sezen โดยตรง
สิ่งที่เป็นประเด็นน่าสนใจจากกรณีศึกษานี้ก็คือ
เหตุใดวารสารที่มีการ peer-review อย่างเช่น JACS หรือ Org. Lett. จึงยังปล่อยให้งานวิจัยที่กุขึ้นมาทั้งชิ้นผ่านไปได้อย่างน้อยๆก็ 6 ชิ้น ปัญหาอยู่ตรงไหน และจะแก้ไขได้อย่างไร เพราะหากไม่แก้ไข นี่อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสาขาเคมีเลยก็ได้
แล้ว Professor Dalibor Sames ล่ะ เขาต้องรับผิดชอบอะไรกับกรณีที่เกิดขึ้นบ้าง เขาเป็นถึงอาจารย์ที่ปรึกษาและเป็นผู้คุมแล็บวิจัยนี้ เขาควรที่จะมีระบบตรวจสอบและป้องกันไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้น นี่ไม่รวมถึงการที่เขาเคยไล่นักศึกษาออกจากแล็บเนื่องจากนักศึกษาคนนั้นไม่สามารถตั้งปฏิกิริยาของ Bengü Sezen ได้มาแล้ว นักศึกษาเหล่านั้นไม่ได้ผิดอะไรแต่กลับต้องถูกบังคับให้ย้ายกลุ่มวิจัยเนื่องจากผลการทดลองที่แต่งขึ้นมาเอง
นอกจากนี้หากดูในประวัติการตีพิมพ์ผลงานวิจัย ถึงแม้ว่า Professor Dalibor Sames จะรู้ว่า Bengü Sezen กุผลการทดลองขึ้นมาเองในปี 2005 เขาก็ยังตีพิมพ์ผลงานที่มีชื่อ Bengü Sezen อยู่เป็นผู้แต่งในปี 2006 ต่อไปราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
และนี่ยังเป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับวงการการวิจัยและวงการเคมีอย่างยิ่ง ที่ต้องมาเสียเครดิตเพราะความไร้จรรยาบรรณของนักวิจัยบางคน
แต่สิ่งที่น่าเศร้าที่สุดสำหรับจขกท.ไม่ใช่การที่ Bengü Sezen สามารถหลอกลวงสำนักพิมพ์จนกระทั่งสามารถตีพิมพ์งานวิจัยที่เธอกุขึ้นมาเองทั้งหมดได้
ไม่ใช่การที่มหาวิทยาลัยและองค์กรเกี่ยวกับงานวิจัยต้องเสียเวลาและเงินทองเพื่อมาตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้น
ไม่ใช่คำถามที่กระทบกับนักเคมีทุกคนว่า เราจะเชื่องานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ออกมาได้มากแค่ไหน
ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ว่างานวิจัยที่กุขึ้นมาเองของ Bengü Sezen ยังคงถูกอ้างอิงอยู่จนถึงทุกวันนี้ (จากการเว็บไซต์ของ JACS เปเปอร์ communication ของ Bengü Sezen ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2003 ได้รับการอ้างอิงจากงานวิจัยอื่นทั้งหมด 108 ชิ้น ชิ้นล่าสุดเมื่อปี 2012 และนี่เป็นแค่ 1 ใน 6 งานที่มีปัญหาของ Bengü Sezen เท่านั้น)
สิ่งที่ทำให้จขกท.เศร้าใจที่สุด คือข้อเท็จจริงที่ว่า
ปัจจุบัน Bengü Sezen ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้าน Bioengineering สอนอยู่ที่ Gebze Institute of Technology ณ ประเทศตุรกี บ้านเกิดของเธอเอง
แม้ว่าเธอจะถูกถอนปริญญาเอกด้านเคมีจาก Columbia University แต่เธอก็ไปเรียนปริญญาเอกอีกใบหนึ่งจาก University of Heidelberg ทางด้าน Molecular Biology และจบออกมาในปี 2009
Bengü Sezen ยังคงทำงานด้านวิชาการต่อไป ราวกับว่าเธอไม่เคยทำผิดอะไรมาก่อนเลยแม้แต่น้อย....
**************************************
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://blog.chembark.com/
http://retractionwatch.com/
http://cen.acs.org/articles/89/i28/Reports-Detail-Massive-Case-Fraud.html
https://ori.hhs.gov/content/case-summary-sezen-bengu
จขกท. เพิ่งเคยเขียนบทความเป็นครั้งแรก ถ้าอ่านไม่เข้าใจหรือผิดพลาดตรงไหนก็ต้องขออภัยอีกทีฮะ
ปล. ที่จริงมีเคสฮาๆอย่างกรณี Emma กับ NMR ที่หายไปด้วย แต่อันนั้นไม่ยาวพอมาเขียนบทความเป็นเรื่องเป็นราว
**************************************
Edit
ช่วงนี้ยุ่งมากๆ พอเข้ามาอีกทีเป็นกระทู้แนะนำไปแล้ว ต้องขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านมาด้วย ณ ที่นี้ที่มาแบ่งปันความคิดเห็นกันฮะ
การละเมิดจริยธรรมการวิจัย: กรณีศึกษา Bengü Sezen
ขอเท้าความก่อนเล็กน้อยว่าจขกท.เป็นนักศึกษาที่เรียนวิทยาศาสตร์เอกเคมีผู้ที่กำลังนั่งปั่นงานหัวระเบิดมาได้ประมาณสองเดือน
แล้วเกิดอารมณ์อยากเขียนอะไรบางอย่างที่ไม่ใช่รายงานการวิจัยบ้าง
พอดีมีโอกาสได้ไปรับรู้เรื่องของ Scientific Misconduct ทำให้ได้แรงบันดาลใจให้เขียนบทความนี้ขึ้น ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าจะแปลคำว่า Scientific Misconduct ออกมาเป็นไทยให้กระชับอย่างไรดี จึงขอเรียกคร่าวๆไปว่าเป็น “การละเมิดจริยธรรมการวิจัย”
จขกท.เองไม่ทราบว่าในพันทิปนี้มีบทความเกี่ยวกับเรื่องแบบนี้มากน้อยแค่ไหน และ ไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่ามีคนเขียนเรื่องนี้ไปแล้วหรือยัง (เพิ่งมาสมัครพันทิปได้ไม่นาน) หากเขียนซ้ำหรือมีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
*************************************
จขกท.ค่อนข้างมั่นใจว่าสำหรับคนที่เรียนด้านวิทยาศาสตร์เคมีและเคยค้นหาเปเปอร์มาก่อนน่าจะรู้จัก ACS หรือ American Chemical Society ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์วารสารวิชาการระดับสูงมากๆสำหรับสายนี้ (เจ้าของ JACS, Chemical Review, Nano Letters และ วารสาร High Impact Factor อีกมากมาย)
ท่านรู้หรือไม่ว่าในช่วงระหว่างปี 2002-2006 มีกรณีการตีพิมพ์งานวิจัยที่ผลการทดลองทั้งหมด “เมกขึ้นมาเอง” ลงในวารสารของ ACS โดยนักศึกษาคนหนึ่ง
และไม่ใช่เพียงแค่ชิ้นเดียว นักศึกษาคนนี้ตีพิมพ์งานวิจัยที่มีผลที่เป็นเท็จอย่างน้อย 6 ชิ้นด้วยกัน(นับตามจำนวนเปเปอร์ที่อาจารย์ที่ปรึกษาของเธอได้ขอ retract จากวารสารต่างๆ)
กรณีของนักศึกษาคนนี้เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่ทั้งน่าสนใจและน่าเศร้าในเวลาเดียวกันของการละเมิดจริยธรรมการวิจัยสำหรับสาขาวิชาเคมี
นักศึกษาคนนี้มีชื่อว่า Bengü Sezen ผู้ที่ได้เข้าไปศึกษาปริญญาเอกที่ Columbia University ภายใต้การดูแลของ Professor Dalibor Sames ในช่วงปี 2000 - 2005
งานวิจัยที่ Bengü Sezen ศึกษาเป็นหลักคือเรื่อง C-H bond activation ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อฮ็อตฮิตในสาขาเคมีอินทรีย์
ถ้าวัดกันด้วยปริมาณงานวิจัยที่ Bengü Sezen ตีพิมพ์ออกมาตลอดช่วงการศึกษา ก็ต้องบอกว่าเธอเป็นหนึ่งในนักเคมีที่โดดเด่นและดูมีอนาคตไกล เพราะในปี 2005 Bengü Sezen มีชื่อในงานวิจัยถึง 8 ชิ้น และ 6 ใน 8 ชิ้นนั้น เธอได้ตำแหน่งเป็น first author หรือคนเขียนงานหลักนั่นเอง
นอกจากนี้หากลองไปค้นหาชื่อของเธอในฐานข้อมูล ACS จะพบว่าเธอมีชื่อในงานวิจัยในปัจจุบันทั้งหมด 15 ชิ้น ซึ่งเป็นปริมาณที่เยอะสำหรับนักศึกษาปริญญาเอกคนหนึ่ง (อย่างน้อยถ้าจขกท.ตีได้ซัก 4-5 ชิ้นก็ดีใจจะตายแล้ว)
อย่างไรก็ตามปัญหาก็เกิดขึ้น
ตั้งแต่งานชิ้นแรกของเธอได้รับการตีพิมพ์ในปี 2002 ก็มีเสียงสะท้อนจากนักเคมีที่นำงานของเธอไปทดลองดูและพบว่ามันไม่เกิดอย่างที่ได้รายงานไว้ และโปรเจ็คท์ย่อยที่แตกออกมาจากงานของเธอนั้นก็ไม่ประสบความสำเร็จซักเท่าไหร่
ที่ปรึกษา Professor Dalibor Sames ลองถาม Bengü Sezen ดูก็ได้คำตอบว่า ปฎิกิริยานี้มัน sensitive ต่อสภาพแวดล้อมมากๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะมาจากเทคนิคในการทดลองของคนอื่นที่ไม่ดีเพียงพอ เขาจึงให้ Sezen คอยช่วยคนในแล็บตั้งปฏิกิริยาต่างๆและให้คำปรึกษากับนักเคมีที่บอกว่ามีปัญหากับปฏิกิริยาของเธอ
และจากการสอบถามนักศึกษาในแล็บภายหลัง มีการบอกว่า Professor Dalibor Sames เคย”เชิญ”นักศึกษาที่ทำปฏิกิริยาของ Sezen แล้วไม่เกิดให้ออกจากแล็บไป (หรือเรียกง่ายๆว่าไล่ออกนั่นเอง)
ในที่สุดปัญหาก็มาถึงจุดสูงสุดในปี 2005 เมื่อ Bengü Sezen กำลังจะจบปริญญาเอก และจะไม่สามารถมาให้ความช่วยเหลือคนในแล็บในการทำปฏิกิริยาต่างๆได้อีก
ในช่วงนี้ก็มีคนในแล็บคนนึงที่สังเกตขึ้นมาว่า ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ Bengü Sezen มีโอกาสเข้าไปทำงานในแล็บคนเดียว จึงมีการตั้งข้อสงสัยว่าเธออาจจะเข้าไปยุ่งอะไรกับปฏิกิริยาที่ตั้งไว้
เขาจึงทดลองโดยการบอก Sezen ว่าจะตั้งปฏิกิริยากับสารตัวนึง (เพื่อความง่ายสมมุติว่าเป็นสาร A) ทั้งหมดสอง flask แต่จริงๆแล้วเขาใส่สาร A ลงไปใน flask ใบเดียว ส่วนอีกใบหนึ่งเขาใส่สาร B ลงไปแทน
ปรากฏว่าเมื่อวันรุ่งขึ้นเขามาเก็บผลิตภัณฑ์ที่ได้ ทั้งสอง flask กับมีเพียงผลิตภัณฑ์ของสาร A เหมือนกันทั้งคู่.... ส่วนสาร B นั้นอยู่ดีๆก็หายไปซะเฉยๆ
นี่เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่ามีใครบางคนเข้าไปยุ่งกับปฏิกิริยาที่ตั้งอยู่
เมื่อสมาชิกแล็บคนนี้บอก Sames จึงทำให้เริ่มมีการตรวจสอบภายในกลุ่มวิจัย ว่า Bengü Sezen นั้นทำผิดจริงหรือไม่
สิ่งที่ถูกค้นพบนั้นค่อนข้างน่าตกใจอยู่พอสมควร
การค้นพบประการแรก สมุดบันทึกรายละเอียดงานวิจัยของเธอนั้นมีรายละเอียดต่างๆอยู่น้อยมาก ขัดกับคำอ้างที่ว่าปฏิกิริยานี้ sensitive กับบรรยากาศสุดๆ อีกทั้งวันที่ครั้งสุดท้ายที่มีการบันทึกคือวันที่ 9 มิถุนา 2003 (ตอนนั้นปี 2005 แสดงว่าเธอไม่แตะสมุดมาสองปีเลยทีเดียว)
การค้นพบประการที่สอง สเปคตรัม NMR ซึ่งเป็นสเปคตรัมสำหรับระบุโครงสร้างของสาร อันเป็นหลักฐานหลักในการวิเคราะห์ผลการทดลองของ Sezen มีร่องรอยการถูกแก้ไขแต่งเติมด้วยน้ำยาลบคำผิด อีกทั้งสเปคตรัมที่ถูกแก้ไขนี้ยังไปปรากฏในงานตีพิมพ์ของเธอชิ้นหนึ่งด้วย
การค้นพบประการที่สาม (และสำหรับจขกท.รู้สึกว่าอันนี้แรงที่สุด) คือการค้นพบว่า Sezen ไม่มี account สำหรับใช้เครื่อง NMR ในมหาลัยด้วยซ้ำ ไม่เคยส่งสารเพื่อวิเคราะห์หาธาตุองค์ประกอบ (Elemental Analysis) แม้แต่ครั้งเดียว
พูดง่ายๆก็คือ เธอไม่เคยเอาสารของตัวเองไปวิเคราะห์อะไรเลย และไม่มีหลักฐานว่าเธอได้ทำการทดลองอะไรเลยตลอด 2 ปีที่ผ่านมา แล้วผลการทดลองทั้งหมดของเธอมาจากไหนกัน????
หลังจากการตรวจสอบอย่างละเอียดพบว่า สเปคตรัม NMR ของ Bengü Sezen นั้นเกิดจากการตัดแต่งด้วยโปรแกรมของเครื่อง NMR ผสมกับการใช้น้ำยาลบคำผิด โดยเธอเริ่มจาก NMR ของ dichloromethane (เป็นตัวทำละลายตัวนึง) ซึ่งคาดว่าน่าจะได้มาจากการส่งวิเคราะห์ด้วยชื่อของนักวิจัยคนอื่น จากนั้นก็ทำการก็อปปี้สัญญาณแล้วนำไปย่อขยาย เลื่อนไปมา วางซ้อนทับกัน และอื่นๆอีกมากมาย จนกระทั่งได้เป็นสเปคตรัม NMR ที่เธอใช้เป็นผลการทดลองของตัวเองในที่สุด
Bengü Sezen “เมค”ผลการทดลองทั้งหมดของเธอขึ้นมาเองตลอดการวิจัยในช่วงปริญญาเอกของเธอ
เมื่อการตรวจสอบสำเร็จ Professor Dalibor Sames จึงยื่นเรื่องไปที่มหาวิทยาลัยในเดือนสิงหาคม 2005 และมหาวิทยาลัยก็เริ่มสอบสวนอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับกรณีนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2005
ในที่สุด เมื่อผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2006 Professor Dalibor Sames จึงเริ่มต้นขอ retract หรือ ถอนงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารออกไปในเดือนมีนาคมของปีเดียวกัน
นี่ทำให้ Bengü Sezen ซึ่งในขณะนั้นได้จบปริญญาเอกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ออกมาให้สัมภาษณ์ประท้วงสิ่งที่เกิดขึ้น และหลังจากนั้นเธอก็ทำการโจมตีอดีตที่ปรึกษาของตนเองว่าสร้างเรื่องเพื่อจะขโมยผลงานของเธอบ้างล่ะ หรือว่าส่งหลักฐานว่ามีบริษัทนึงทำปฏิกิริยาของเธอสำเร็จบ้างล่ะ(แต่จากการตรวจสอบบริษัทนั้นไม่มีอยู่จริง) รวมทั้งส่ง spam mail โจมตี Columbia University ไปหาอาจารย์เคมีที่มหาลัยต่างๆ
แต่สุดท้ายทั้งหมดทั้งมวลที่เธอทำไปก็ไม่อาจกลับผิดเป็นถูกได้
ในปี 2010 หลังจากการสืบสวนสอบสวนทั้งหมดเสร็จสิ้น Office of Research Integrity ซึ่งเป็นองค์กรตรวจสอบงานวิจัยของสหรัฐอเมริกาก็ได้ออกผลสรุปมาว่า Bengü Sezen นั้นผิดจริง และได้รับโทษเป็นการตัดสิทธิ์การได้รับเงินสนับสนุนจากอเมริกาเป็นเวลาห้าปี
และสุดท้ายในปี 2011 Columbia University ก็ได้ทำการถอนปริญญาเอกของ Bengü Sezen อย่างเป็นทางการ
ปัจจุบันงานวิจัยที่ Professor Dalibor Sames ถอนออกจากการตีพิมพ์มีทั้งหมด 8 ชิ้น ซึ่ง 6 ชิ้นเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ Bengü Sezen โดยตรง
สิ่งที่เป็นประเด็นน่าสนใจจากกรณีศึกษานี้ก็คือ
เหตุใดวารสารที่มีการ peer-review อย่างเช่น JACS หรือ Org. Lett. จึงยังปล่อยให้งานวิจัยที่กุขึ้นมาทั้งชิ้นผ่านไปได้อย่างน้อยๆก็ 6 ชิ้น ปัญหาอยู่ตรงไหน และจะแก้ไขได้อย่างไร เพราะหากไม่แก้ไข นี่อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสาขาเคมีเลยก็ได้
แล้ว Professor Dalibor Sames ล่ะ เขาต้องรับผิดชอบอะไรกับกรณีที่เกิดขึ้นบ้าง เขาเป็นถึงอาจารย์ที่ปรึกษาและเป็นผู้คุมแล็บวิจัยนี้ เขาควรที่จะมีระบบตรวจสอบและป้องกันไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้น นี่ไม่รวมถึงการที่เขาเคยไล่นักศึกษาออกจากแล็บเนื่องจากนักศึกษาคนนั้นไม่สามารถตั้งปฏิกิริยาของ Bengü Sezen ได้มาแล้ว นักศึกษาเหล่านั้นไม่ได้ผิดอะไรแต่กลับต้องถูกบังคับให้ย้ายกลุ่มวิจัยเนื่องจากผลการทดลองที่แต่งขึ้นมาเอง
นอกจากนี้หากดูในประวัติการตีพิมพ์ผลงานวิจัย ถึงแม้ว่า Professor Dalibor Sames จะรู้ว่า Bengü Sezen กุผลการทดลองขึ้นมาเองในปี 2005 เขาก็ยังตีพิมพ์ผลงานที่มีชื่อ Bengü Sezen อยู่เป็นผู้แต่งในปี 2006 ต่อไปราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
และนี่ยังเป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับวงการการวิจัยและวงการเคมีอย่างยิ่ง ที่ต้องมาเสียเครดิตเพราะความไร้จรรยาบรรณของนักวิจัยบางคน
แต่สิ่งที่น่าเศร้าที่สุดสำหรับจขกท.ไม่ใช่การที่ Bengü Sezen สามารถหลอกลวงสำนักพิมพ์จนกระทั่งสามารถตีพิมพ์งานวิจัยที่เธอกุขึ้นมาเองทั้งหมดได้
ไม่ใช่การที่มหาวิทยาลัยและองค์กรเกี่ยวกับงานวิจัยต้องเสียเวลาและเงินทองเพื่อมาตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้น
ไม่ใช่คำถามที่กระทบกับนักเคมีทุกคนว่า เราจะเชื่องานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ออกมาได้มากแค่ไหน
ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ว่างานวิจัยที่กุขึ้นมาเองของ Bengü Sezen ยังคงถูกอ้างอิงอยู่จนถึงทุกวันนี้ (จากการเว็บไซต์ของ JACS เปเปอร์ communication ของ Bengü Sezen ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2003 ได้รับการอ้างอิงจากงานวิจัยอื่นทั้งหมด 108 ชิ้น ชิ้นล่าสุดเมื่อปี 2012 และนี่เป็นแค่ 1 ใน 6 งานที่มีปัญหาของ Bengü Sezen เท่านั้น)
สิ่งที่ทำให้จขกท.เศร้าใจที่สุด คือข้อเท็จจริงที่ว่า
ปัจจุบัน Bengü Sezen ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้าน Bioengineering สอนอยู่ที่ Gebze Institute of Technology ณ ประเทศตุรกี บ้านเกิดของเธอเอง
แม้ว่าเธอจะถูกถอนปริญญาเอกด้านเคมีจาก Columbia University แต่เธอก็ไปเรียนปริญญาเอกอีกใบหนึ่งจาก University of Heidelberg ทางด้าน Molecular Biology และจบออกมาในปี 2009
Bengü Sezen ยังคงทำงานด้านวิชาการต่อไป ราวกับว่าเธอไม่เคยทำผิดอะไรมาก่อนเลยแม้แต่น้อย....
**************************************
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://blog.chembark.com/
http://retractionwatch.com/
http://cen.acs.org/articles/89/i28/Reports-Detail-Massive-Case-Fraud.html
https://ori.hhs.gov/content/case-summary-sezen-bengu
จขกท. เพิ่งเคยเขียนบทความเป็นครั้งแรก ถ้าอ่านไม่เข้าใจหรือผิดพลาดตรงไหนก็ต้องขออภัยอีกทีฮะ
ปล. ที่จริงมีเคสฮาๆอย่างกรณี Emma กับ NMR ที่หายไปด้วย แต่อันนั้นไม่ยาวพอมาเขียนบทความเป็นเรื่องเป็นราว
**************************************
Edit
ช่วงนี้ยุ่งมากๆ พอเข้ามาอีกทีเป็นกระทู้แนะนำไปแล้ว ต้องขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านมาด้วย ณ ที่นี้ที่มาแบ่งปันความคิดเห็นกันฮะ