คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
อันดับแรกต้องให้ทายาทนาย ง จัดการรับโอนมรดกเสียก่อน(ไม่ต้องมีผู้จัดการมรดก
ก็ทำได้โดยไปยื่นคำขอที่สำนักงานที่ดินโดยตรงเลย)
หากทายาทนาย ง ทุกคนบรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ให้พวกเขาและ
เจ้าของที่มีชื่อในโฉนดอีกสามคน มายื่นคำขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
หากคนไหนมาไม่ได้ก็มอบอำนาจให้คนอื่นมาดำเนินการให้แทนได้
กรณีที่จะรับมรดกและมีทายาทที่ยังเป็นผู้เยาว์และต้องการแบ่งแยกทันที
กรณีอย่างนั้นก่อนแบ่งต้องได้รัลบอนุญาตจากศาลก่อน แต่ถ้าจะตั้งผู้จัดการ
มรดกและมาดำเนินการลงชื่อแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมกับเจ้าของอื่นก่อนก็ได้
เมื่อแบ่งแยกแล้วจึงโอนแปลงแยกส่วนที่ตกกับทายาทให้แก่ทายาทต่อไปก็ได้
มันเลือกทำได้สองทาง ถ้าอยากให้มีชื่อรับโอนมรดกก่อนก็รับโอนทั้ง ๆ ที่
เป็นผู้เยาว์ได้ เพียงแต่ตอนจะขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องขออนุญาตศาลก่อนเท่านั้นเอง
จำไว้อย่างหนึ่งว่าการรับโอนมรดกที่ดินนั้น ประมวลกฎหมายที่ดินกำหนดวิธีการไว้
โดยตรงไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกก่อนเลย เว้นแต่(เน้น)กรณีจำเป็นจริง ๆ
ถึงจะร้องศาลขอตั้งผู้จัดการมรดก แต่ปกติแล้วไม่ต้อง มีปัญหาอะไรให้ถามฃ
เจ้าหน้าที่ที่ดินเพราะเขาเป็นคนดำเนินการโดยตรง หากไม่มั่นใจให้ถามเจ้าหน้าคนอื่นอีก
หรือให้ถามที่อื่นดูก็ได้จะได้มั่นใจว่าไม่ใช่เพราะเจ้าหน้าที่ตอบผิดเอง
ก็ทำได้โดยไปยื่นคำขอที่สำนักงานที่ดินโดยตรงเลย)
หากทายาทนาย ง ทุกคนบรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ให้พวกเขาและ
เจ้าของที่มีชื่อในโฉนดอีกสามคน มายื่นคำขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
หากคนไหนมาไม่ได้ก็มอบอำนาจให้คนอื่นมาดำเนินการให้แทนได้
กรณีที่จะรับมรดกและมีทายาทที่ยังเป็นผู้เยาว์และต้องการแบ่งแยกทันที
กรณีอย่างนั้นก่อนแบ่งต้องได้รัลบอนุญาตจากศาลก่อน แต่ถ้าจะตั้งผู้จัดการ
มรดกและมาดำเนินการลงชื่อแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมกับเจ้าของอื่นก่อนก็ได้
เมื่อแบ่งแยกแล้วจึงโอนแปลงแยกส่วนที่ตกกับทายาทให้แก่ทายาทต่อไปก็ได้
มันเลือกทำได้สองทาง ถ้าอยากให้มีชื่อรับโอนมรดกก่อนก็รับโอนทั้ง ๆ ที่
เป็นผู้เยาว์ได้ เพียงแต่ตอนจะขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมต้องขออนุญาตศาลก่อนเท่านั้นเอง
จำไว้อย่างหนึ่งว่าการรับโอนมรดกที่ดินนั้น ประมวลกฎหมายที่ดินกำหนดวิธีการไว้
โดยตรงไม่จำเป็นต้องตั้งผู้จัดการมรดกก่อนเลย เว้นแต่(เน้น)กรณีจำเป็นจริง ๆ
ถึงจะร้องศาลขอตั้งผู้จัดการมรดก แต่ปกติแล้วไม่ต้อง มีปัญหาอะไรให้ถามฃ
เจ้าหน้าที่ที่ดินเพราะเขาเป็นคนดำเนินการโดยตรง หากไม่มั่นใจให้ถามเจ้าหน้าคนอื่นอีก
หรือให้ถามที่อื่นดูก็ได้จะได้มั่นใจว่าไม่ใช่เพราะเจ้าหน้าที่ตอบผิดเอง
แสดงความคิดเห็น
โฉนดที่ดิน แบบมีที่ดินหลายผืนอยู่ในโฉนดใบเดียวกัน จะทำการแยกออกจากกันอย่างไร?
คุณยายผม ตั้งใจจะยกที่ดิน 1 ผืน ให้คุณแม่ของผมครับ แต่ติดอยู่ที่ว่า ในโฉนดที่ดินนั้น มีที่ดินอยู่ 4 ผืน จึงมีเจ้าของอยู่ร่วมกัน 4 คน
คุณยายเล่าให้ฟังว่า ตอนที่ออกโฉนด เจ้าหน้าที่ที่ดินได้มาทำการรังวัด ก็ทำการวัดรวมกัน (ผมก็ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้ ก็เลยงง ๆ ว่า มันทำได้ด้วยเหรอ?) และตอนนี้คุณยายได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เก็บรักษาโฉนดฯ ฉบับนี้ไว้ ซึ่งตอนนี้ คือ ต้องการที่จะแยกโฉนดออกเป็นของใครของมัน
ทางเจ้าหน้าที่ฯ จึงบอกว่า ให้ทุกคนที่เป็นเจ้าของมาทำการธุรกรรมที่อำเภอ !!!
ผมจะสมมติตัวบุคคลเป็นตัวย่อนะครับ ให้เข้าใจ
1. นาง ก. (คุณยายผมเอง) ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งต้องการจะยกที่ดินให้แม่ผม
2. นาย ข. ยังมีชีวิตอยู่
3. นาย ค. ยังมีชีวิตอยู่
4. นาย ง. เสียชีวิตแล้ว
ปัญหาก็เกิดตรงที่ นาย ง. เนี่ยแหล่ะครับ เพราะเกิดเสียชีวิตลง จึงทำให้ที่ดิน 1 ผืน ในโฉนด ต้องตกเป็นของทายาท นาย ง. จำนวน 4 คน
มีตัวบุคคลเพิ่มขึ้นมา
1. นาง ก. - ยังมีชีวิตอยู่ (คุณยายผมเอง)
2. นาย ข. - ยังมีชีวิตอยู่
3. นาย ค. - ยังมีชีวิตอยู่
4. บุตรนาย ง. คนที่ 1 - ยังมีชีวิตอยู่ / อยู่ต่างจังหวัด
5. บุตรนาย ง. คนที่ 2 - ยังมีชีวิตอยู่ / อยู่ต่างจังหวัด
6. บุตรนาย ง. คนที่ 3 - ยังมีชีวิตอยู่
7. บุตรนาย ง. คนที่ 4 - ยังมีชีวิตอยู่
ปัญหาคือ ไม่สามารถเรียกตัว บุตรนาย ง. คนที่ 1 และ 2 มาทำธุรกรรมพร้อมกันได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ดิน เขายังยืนยันให้ผู้มีสิทธิ์ในที่ดินในโฉนดฉบับนี้ต้องมาให้ครบ
คือ ถ้ามีคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต มันก็จะอยากขึ้นมาอีก เพราะ นาย ข. และ นาย ค. รวมถึง คุณยายของผมเอง ก็อายุมากแล้วเช่นกัน
คำถาม คือ
1. สามารถทำเป็นหนังสือมอบอำนาจได้หรือเปล่าครับ?
2. แล้วต้องมอบอำนาจให้ใครเป็นผู้กระทำการแทนครับ?
ขอรบกวน และขอบคุณไว้ล่วงหน้า ครับ