ซื้อที่ดินจัดสรรในอดีตแต่กลายเป็นที่ตาบอดในปัจจุบันเพราะเจ้าหน้าที่รัฐไม่ทำงาน หรือ เพราะกฏหมายบังคับได้ไม่ดีใช้พอ ?

กระทู้คำถาม
อ้างความเดือดร้อนเทียบเคียง รายการโหนกระแส

วันที่  13 มค 2568 EP. 1184

ในเมื่อกฏหมายบังคับใช้  ปี 2515
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ 286

ที่ดินจัดสรร และ แบ่งที่ดินเข้าข่ายหลีกเลี่ยง
การจัดสรร คือ แบ่งที่ดินในนามนามเดียว
เกิน 10 แปลงขึ้นไป  ให้ถือว่าเป็นการจัดจรรที่ดิน
ทั้งหมดแม้จะไม่จดทะเบียนก็ตาม


มีคนหัวหมอเลยแบ่งที่ละ 9 แปลง บ้าง
หรือแบ่งโดยใส่ชื่อหลายคนคนละไม่เกิน 9 แปลง
หรือแบ่งเกิน 10 แต่ไม่จดจัดสรร

แค่ทำผังรังวัดไว้
ว่ามีทาง(ถนนสาธารณะประโยชน์)
เพื่อใช้เป็นทางสัญจร ตามกฏหมายกำหนด
ตบตาเจ้าหน้าที่รัฐ หรือ รู้เห็นเป็นใจกัน (เยอะมาก)

แต่พอขายที่ดินหมด ก็อมโฉนดที่เป็นถนนไว้บ้าง
ไม่ยกเป็นสาธารณะ ไม่จดภาระจำยอม

เพื่อใช้ช่องว่างทางกฏหมาย  หาผลประโยชน์
มาเรียกร้องค่าผ่านทางบ้าง ค่าจดรถบ้าง ฯลฯ

พบกรณีร้องเรียน แบะไม่ได้ร้องเรียนทั่วประเทศ

ทั้งที่ตามหนังสือ มท. 5017.2/ว 1881 ปี 2548

ประกาศให้ผู้ว่าฯ สำนักงานที่ดิน ตรวจสอบ
เพื่อบรรเทาความร้อน และลดภาระศาล
ในกรณีเกิดข้อพิพาท โดยผู้ว่ามีอำนาจสั่งการ
ในฐานะ ประธานจัดสรรที่ดินจังหวัด

สำนักงานที่ดินมีอำนาจ เรียกให่เจ้าของที่ดิน
มาจดจัดสรร และจดให้ที่ดินถนน ลานกว้าง ฯ
เป็นภาระจำยอมสาธารณูปโภคให้กับที่ดินทุกแปลง
หากพบการร้องเรียนหรือตรวจพบด้วยดุลพินิจ


แต่สุดท้าย หน่วยงานรัฐในพื้นที่กลับเพิกเฉย
หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง ดองเรื่องไม่ตรวจสอบบ้าง


จนปัญหาแก้ไม่จบ  หรือ เพราะกฏหมายไม่ชัดพอกันแน่

พรบ.จัดสรร ฉบับล่าสุด บังคับให้ที่ดิน
ส่วนที่เป็นสาธารณูปโภค ห้ามซื้อขาย
และเจ้าของที่ดินต้องรักษาคงสภาพเดิม


ซึ่งโครงการจัดสรรก่อน 2540
ส่วนใหญ่ไม่มีนิติ เจอเจ้าของดีก็ไม่มีปัญหา


แต่เจ้าของที่ดินเยอะมากที่
ไม่ยกยอมให้เป็นสาธารณะด้วย

แอบเก็บผลประโยชน์กัน จนปัจจุบัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่