๑. อุทานธรรมของ ศ.จ. ประดิษฐ์ เป็นภาษิตคำกลอนอักษรสาร
เทศนาไทยไทยไว้เป็นทาน แก้รำคาญฟังเล่นเย็นเย็นใจ
๒. ใครดีเราก็ดีอารีต่อ ให้สมข้อคำบุราณที่ขานไข
มิตตะจิตต่อติดกับมิตตะใจ ใครไม่ไยแล้วอย่าอยากให้ยากเย็น
๓. คำบุราณพาทีไว้ดีมาก โคไม่อยากกินหญ้าอย่าเคี่ยวเข็ญ
ฝืนน้ำใจของเขาเราลำเค็ญ ถึงคราวเป็นแล้วต้องปล่อยไปตามกาล
๔. ใครมีปากอยากปูดก็พูดไป เรื่องอะไรก็ช่างอย่าฟังขาน
เราอย่าต่อก่อก้าวให้ร้าวราน ความรำคาญก็จะหายสบายใจ
๕. ปิ้งปลาหมองอแล้วกลับนี่คำขำ เจ็บแล้วจำใส่กระบาลนี่ขานไข
ผิดแล้วแก้กลับตัวเปลี่ยนหัวใจ จะหาใครมาวอนไม่สอนตน
๖. โทษผู้อื่นแลเห็นเป็นภูเขา โทษของเราแลไม่เห็นเท่าเส้นขน
ตดคนอื่นเหม็นเบื่อเราเหลือทน ตดของตนถึงเหม็นไม่เป็นไร
๗. อันบ้านเรือนใหญ่โตรโหฐาน มีเสาทานหลายต้นจึงทนไหว
เกิดเป็นคนอยู่คนเดียวก็เปลี่ยวใจ ต้องอาศัยพวกพ้องพี่น้องนา
๘. จะหาใครเหมาะใจที่ไหนเล่า ตัวของเรายังไม่เหมาะใจหนา
อนิจจังทุกขังอนัตตา รู้ล่วงหน้าเสียก่อนไม่ร้อนใจ
๙. ทุกข์สุขอยู่ที่ใจมิใช่หรือ ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุกใส
ถ้าไม่ถือก็เป็นสุขไม่ทุกข์ใจ เราอยากได้ความทุกข์หรือสุขนา
๑๐. ยามมีมันก็มีมีเหลือล้น แล้วกลับจนมันก็จนจนจริงหนา
อนิจจังดั่งนี้ไม่ดีนา ต้องขอลาอนิจจังดั่งนี้แล
๑๑. ยามจนมันก็จนจนเต็มที่ แล้วกลับมีมันก็มีมีนักหนา
อนิจจังดั่งนี้ดีนักนา ไม่ขอลาอนิจจังดั่งนี้เลย
๑๒. ไม่รู้ไม่ชี้ดีนักรู้จักใช้ นึกอะไรแล้วทิ้งนิ่งนั่งเฉย
ไม่ต่อเรื่องเครื่องทุกข์สุขเสบย ใครไม่เคยลองดูจะรู้ดี
๑๓. รักษาตัวกลัวกรรมอย่าทำชั่ว จะหมองมัวหม่นไหม้ไปเมืองผี
จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีดี จะได้มีความสุขพ้นทุกข์ภัย
๑๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรัก ไม่ย้ายยักมั่นคงอย่าสงสัย
รีบรู้ตัวเสียก่อนไม่ร้อนใจ ถึงคราวไปแล้วก็ไปไปตามกาล
๑๕. ความไม่พอใจจนเป็นคนเข็ญ พอแล้วเป็นเศรษฐีมหาศาล
จนทั้งนอกทั้งในไม่ได้การ จงคิดอ่านแก้จนเป็นคนมี
๑๖. รู้ว่าไฟแล้วทำไมไปจับเล่น มันไม่เย็นเลยหนาน่าบัดสี
ครั้นถูกไฟไหม้เผาเศร้าโศกี น่าจะตีเสียให้ช้ำระกำทรวง
๑๗. อัปปมาทปราชญ์ชมนิยมนัก ว่าเป็นมรรคครรไลอันใหญ่หลวง
ให้ประชาสาธุชนคนทั้งปวง พ้นจากบ่วงตัณหาสิ้นราคี
๑๘. อโหโอโอ้น่าอนาถหนอ ความไม่พอพายุ่งทุกกรุงศรี
ต้องรบราฆ่ากันลั่นโลกีย์ ใครเสียทีแล้วก็ตายวายชีวัน
๑๙. ผู้ใดชั่วรู้ตัวแล้วกลับจิต ไม่ถือผิดงมโง่โดยโมหันต์
ควรจะชมว่าสมเป็นคนธรรม์ รู้ผ่อนผันกลับตนเป็นคนตรง
๒๐. สังขารา สัสสตา นัตถิ เป็นสติสำคัญป้องกันหลง
ตัดยินดียินร้ายให้คลายลง ไม่งมงงลืมตัวเพราะชั่วดี
๒๑. เวลาใดทำใจให้ผ่องแผ้ว เหมือนได้แก้วมีค่าเป็นราศี
เวลาใดทำใจให้ราคี เหมือนมณีแตกหมดลดราคา
๒๒. เขาทำดีทำชั่วตัวของเขา อย่าหาเหาใส่หัวของตัวหนา
มันจะยุ่งนุงนักหนักอุรา ตามยถากรรมเขาเราสบาย
๒๓. สมัยใดทำใจให้ผุดผ่อง จากหม่นหมองราคินสิ้นทั้งหลาย
จะพบสุขสดใสใจสบาย อภิปรายคงไม่ชัดปัจจัตตัง
๒๔. นึกนึกแล้วก็น่าอนาถหนา เพราะตัณหาพายุ่งออกนุงถัง
ต้องรบราฆ่ากันลั่นลือดัง ใครพลาดพลั้งแล้วก็ตายวายชีวา
๒๕. กายกับใจอาศัยซึ่งกันอยู่ เราต้องรู้ว่ามันต่างกันหนา
สุขทุกข์แต่ละอย่างก็ต่างนา ถ้าเอามาคลุกกันมันยุ่งใจ
๒๖. ปล่อยให้ยุ่งแล้วมันแย่แก้มันยาก ยิ่งยุ่งมากยิ่งแย่แก้ไม่ไหว
อย่าปล่อยให้ยุ่งนุงนักจะหนักใจ จงแก้ไขอย่าให้ยุ่งนุงนักนา
๒๗. พูดไปเขาไม่รู้กลับขู่เขา ว่าโง่เง่างมเงอะเซอะหนักหนา
ตัวของตัวทำไมไม่โกรธา ว่าพูดจาให้เขาไม่เข้าใจ
๒๘. โกรธเขาเราก็รู้อยู่ว่าร้อน จะนั่งนอนก็เป็นทุกข์ไม่สุกใส
แล้วยังดื้อด้านโกรธจะโทษใคร น่าแค้นใจจริงหนาไม่น่าชม
๒๙. จะเป็นสุขก็ต้องทุกข์ลงทุนก่อน จะเป็นก้อนทีละน้อยค่อยประสม
จะเป็นพระก็ต้องละกามารมณ์ จะเป็นพรหมก็ต้องเพียรเรียนทำฌาน
๓๐. มีกายอย่าได้หมายว่าเป็นสุข กลับมีทุกข์มากมายหลายสถาน
จะหาสุขที่กายจนวายปราณ คงไม่พบพานแท้เป็นแน่นอน
๓๑. สารพัดที่จะรู้เป็นครูเขา ตัวของเราแล้วทำไมไม่สั่งสอน
ปล่อยให้ยุ่งนุงนังไม่สังวร ควรผันผ่อนแก้ยุ่งนุงทั้งปวง
๓๒. โอโลโภโทโสโมโหนี้ เป็นราคีของใจอันใหญ่หลวง
เป็นมูลรากราคินสิ้นทั้งปวง คอยเหนี่ยวหน่วงให้นุงยุ่งหัวใจ
๓๓. โอ้ร่างกายของเรามันเน่าแน่ ไม่มีแปรเปลี่ยนผันหันไฉน
ต้องรู้ตัวอยู่เสมออย่าเผลอใจ สิ่งใดใดควรทำรีบจ้ำเลย
๓๔. กาลนี้มิได้รอเราหนอหนา อย่ามัวมามึนเมาเลยเราเอ๋ย
หลงนิยมชมทุกข์ว่าสุขเสบย ไม่ช้าเลยจะต้องลาโลกคลาไคล
๓๕. ชั่วหรือดีที่ทำกรรมทั้งหลาย ไม่หนีหายสูญสิ้นไปถิ่นไหน
ย่อมอยู่ดีกินดีไม่มีภัย รวมเก็บไว้ที่จิตติดตัวเรา
๓๖. อนิจจังทั้งนั้นไม่ทันคิด พอเห็นฤทธิ์อนิจจังลงนั่งเหงา
ว่าโอ้โอ๋อกเอ๋ยเอยเอ๋ยอกเรา มามัวเมาอนิจจังจีรังกาล
๓๗. ยังไม่เคยฟังใครที่ไหนหนา ว่าเกิดมาเป็นสุขสนุกสนาน
มีแต่บ่นเรื่องทุกข์ไม่สุขสราญ ทั้งชาวบ้านชาววัดซัดกันไป
๓๘. อนัตตาสังขารนี้ด้านดื้อ ไม่เชื่อถือถ้อยคำที่ร่ำไข
จะพูดจาว่าขานประการใด ไม่ตามใจข้องขัดอนัตตา
๓๙. ไตรลักษณ์ต้องเป็นหลักสำหรับจิต จงหมั่นคิดหมั่นนึกหมั่นศึกษา
เราต้องตายเป็นแท้แน่ละวา จะมัวมานอกครูอยู่ทำไม
๔๐. ประพฤติธรรมสำคัญอยู่ที่จิต ถ้าตั้งผิดมัวหมองไม่ผ่องใส
ถ้าตั้งถูกผุดผ่องไม่หมองใจ สติ...ไซร้ คุมจิตไม่ผิดนา
๔๑. อิฏฐารมณ์นิยมว่าเป็นสุข ที่แท้ทุกข์จริงเจียวทีเดียวหนา
สำคัญผิดติดทุกข์ว่าสุขนา เป็นสัญญาวิปลาสพลาดผิดธรรม์
๔๒. อย่าทะนงองอาจประมาทรัก มาชวนชักรวนเรให้เหหัน
ไม่กลัวเป็นกลัวตายวายชีวัน ถ้าแพ้มันแล้วต้องตายวายชีวี
๔๓. รามเกียรติ์มันยุ่งออกนุงขิง เพราะแย่งหญิงสีดามารศรี
ต้องรบราฆ่ากันลั่นโลกีย์ ใครเสียทีแล้วก็ตายวอดวายปราณ
๔๔. นิสัยควายแล้วไม่วายจะบดเอื้อง คนรื้อเรื่องอตีตังมาตั้งขาน
พิรี้พิไรไม่รู้จบงบประมาณ ก็เปรียบปานดังควายน่าอายนา
๔๕. เออไฉนใจเราฉะนี้นี่ ไม่กลัวผีมันเย้ยบ้างเลยหนา
ใจฉะนี้หน้าไฉนอย่างไรนา ดูเงาหน้าแล้วคงเห็นไม่เป็นเรา
๔๖. อวดฉลาดพูดออกบอกว่าโง่ ฟังเขาโอ้อวดอ้างอย่าขวางเขา
ขัดคอเขาก็โกรธพิโรธเรา เป็นเรื่องเร่าร้อนใจไม่เป็นการ
๔๗. ระลึกถึงความตายสบายนัก มันหักรักหักหลงในสงสาร
บรรเทามืดโมหันต์อันธการ ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ
๔๘. เราจะต้องรบรับกับมัจจุราช ไม่แคล้วคลาดมั่นคงอย่าสงสัย
รีบเตรียมตัวไว้ก่อนไม่ร้อนใจ มาเมื่อไรเราก็รบไม่หลบนา
๔๙. ถึงกายแพ้แต่ใจเราไม่แพ้ ใจไม่แก่เจ็บตายตามกายหนา
กายนี้มันจะเน่าเราก็ลา ไปสวรรค์ชั้นฟ้านิพพานเอย
เอวังดังที่ได้ แสดงมา สิ้นสุดเทศนา เท่านี้
ควรแล้วแก่เวลา หยุดยุ-ติเฮย ใดพลาดปราชญ์ช่วยชี้ ช่องให้ชนเห็น
อุทานธรรม ของพระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล)
เทศนาไทยไทยไว้เป็นทาน แก้รำคาญฟังเล่นเย็นเย็นใจ
๒. ใครดีเราก็ดีอารีต่อ ให้สมข้อคำบุราณที่ขานไข
มิตตะจิตต่อติดกับมิตตะใจ ใครไม่ไยแล้วอย่าอยากให้ยากเย็น
๓. คำบุราณพาทีไว้ดีมาก โคไม่อยากกินหญ้าอย่าเคี่ยวเข็ญ
ฝืนน้ำใจของเขาเราลำเค็ญ ถึงคราวเป็นแล้วต้องปล่อยไปตามกาล
๔. ใครมีปากอยากปูดก็พูดไป เรื่องอะไรก็ช่างอย่าฟังขาน
เราอย่าต่อก่อก้าวให้ร้าวราน ความรำคาญก็จะหายสบายใจ
๕. ปิ้งปลาหมองอแล้วกลับนี่คำขำ เจ็บแล้วจำใส่กระบาลนี่ขานไข
ผิดแล้วแก้กลับตัวเปลี่ยนหัวใจ จะหาใครมาวอนไม่สอนตน
๖. โทษผู้อื่นแลเห็นเป็นภูเขา โทษของเราแลไม่เห็นเท่าเส้นขน
ตดคนอื่นเหม็นเบื่อเราเหลือทน ตดของตนถึงเหม็นไม่เป็นไร
๗. อันบ้านเรือนใหญ่โตรโหฐาน มีเสาทานหลายต้นจึงทนไหว
เกิดเป็นคนอยู่คนเดียวก็เปลี่ยวใจ ต้องอาศัยพวกพ้องพี่น้องนา
๘. จะหาใครเหมาะใจที่ไหนเล่า ตัวของเรายังไม่เหมาะใจหนา
อนิจจังทุกขังอนัตตา รู้ล่วงหน้าเสียก่อนไม่ร้อนใจ
๙. ทุกข์สุขอยู่ที่ใจมิใช่หรือ ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุกใส
ถ้าไม่ถือก็เป็นสุขไม่ทุกข์ใจ เราอยากได้ความทุกข์หรือสุขนา
๑๐. ยามมีมันก็มีมีเหลือล้น แล้วกลับจนมันก็จนจนจริงหนา
อนิจจังดั่งนี้ไม่ดีนา ต้องขอลาอนิจจังดั่งนี้แล
๑๑. ยามจนมันก็จนจนเต็มที่ แล้วกลับมีมันก็มีมีนักหนา
อนิจจังดั่งนี้ดีนักนา ไม่ขอลาอนิจจังดั่งนี้เลย
๑๒. ไม่รู้ไม่ชี้ดีนักรู้จักใช้ นึกอะไรแล้วทิ้งนิ่งนั่งเฉย
ไม่ต่อเรื่องเครื่องทุกข์สุขเสบย ใครไม่เคยลองดูจะรู้ดี
๑๓. รักษาตัวกลัวกรรมอย่าทำชั่ว จะหมองมัวหม่นไหม้ไปเมืองผี
จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีดี จะได้มีความสุขพ้นทุกข์ภัย
๑๔. เราจะต้องพลัดพรากจากของรัก ไม่ย้ายยักมั่นคงอย่าสงสัย
รีบรู้ตัวเสียก่อนไม่ร้อนใจ ถึงคราวไปแล้วก็ไปไปตามกาล
๑๕. ความไม่พอใจจนเป็นคนเข็ญ พอแล้วเป็นเศรษฐีมหาศาล
จนทั้งนอกทั้งในไม่ได้การ จงคิดอ่านแก้จนเป็นคนมี
๑๖. รู้ว่าไฟแล้วทำไมไปจับเล่น มันไม่เย็นเลยหนาน่าบัดสี
ครั้นถูกไฟไหม้เผาเศร้าโศกี น่าจะตีเสียให้ช้ำระกำทรวง
๑๗. อัปปมาทปราชญ์ชมนิยมนัก ว่าเป็นมรรคครรไลอันใหญ่หลวง
ให้ประชาสาธุชนคนทั้งปวง พ้นจากบ่วงตัณหาสิ้นราคี
๑๘. อโหโอโอ้น่าอนาถหนอ ความไม่พอพายุ่งทุกกรุงศรี
ต้องรบราฆ่ากันลั่นโลกีย์ ใครเสียทีแล้วก็ตายวายชีวัน
๑๙. ผู้ใดชั่วรู้ตัวแล้วกลับจิต ไม่ถือผิดงมโง่โดยโมหันต์
ควรจะชมว่าสมเป็นคนธรรม์ รู้ผ่อนผันกลับตนเป็นคนตรง
๒๐. สังขารา สัสสตา นัตถิ เป็นสติสำคัญป้องกันหลง
ตัดยินดียินร้ายให้คลายลง ไม่งมงงลืมตัวเพราะชั่วดี
๒๑. เวลาใดทำใจให้ผ่องแผ้ว เหมือนได้แก้วมีค่าเป็นราศี
เวลาใดทำใจให้ราคี เหมือนมณีแตกหมดลดราคา
๒๒. เขาทำดีทำชั่วตัวของเขา อย่าหาเหาใส่หัวของตัวหนา
มันจะยุ่งนุงนักหนักอุรา ตามยถากรรมเขาเราสบาย
๒๓. สมัยใดทำใจให้ผุดผ่อง จากหม่นหมองราคินสิ้นทั้งหลาย
จะพบสุขสดใสใจสบาย อภิปรายคงไม่ชัดปัจจัตตัง
๒๔. นึกนึกแล้วก็น่าอนาถหนา เพราะตัณหาพายุ่งออกนุงถัง
ต้องรบราฆ่ากันลั่นลือดัง ใครพลาดพลั้งแล้วก็ตายวายชีวา
๒๕. กายกับใจอาศัยซึ่งกันอยู่ เราต้องรู้ว่ามันต่างกันหนา
สุขทุกข์แต่ละอย่างก็ต่างนา ถ้าเอามาคลุกกันมันยุ่งใจ
๒๖. ปล่อยให้ยุ่งแล้วมันแย่แก้มันยาก ยิ่งยุ่งมากยิ่งแย่แก้ไม่ไหว
อย่าปล่อยให้ยุ่งนุงนักจะหนักใจ จงแก้ไขอย่าให้ยุ่งนุงนักนา
๒๗. พูดไปเขาไม่รู้กลับขู่เขา ว่าโง่เง่างมเงอะเซอะหนักหนา
ตัวของตัวทำไมไม่โกรธา ว่าพูดจาให้เขาไม่เข้าใจ
๒๘. โกรธเขาเราก็รู้อยู่ว่าร้อน จะนั่งนอนก็เป็นทุกข์ไม่สุกใส
แล้วยังดื้อด้านโกรธจะโทษใคร น่าแค้นใจจริงหนาไม่น่าชม
๒๙. จะเป็นสุขก็ต้องทุกข์ลงทุนก่อน จะเป็นก้อนทีละน้อยค่อยประสม
จะเป็นพระก็ต้องละกามารมณ์ จะเป็นพรหมก็ต้องเพียรเรียนทำฌาน
๓๐. มีกายอย่าได้หมายว่าเป็นสุข กลับมีทุกข์มากมายหลายสถาน
จะหาสุขที่กายจนวายปราณ คงไม่พบพานแท้เป็นแน่นอน
๓๑. สารพัดที่จะรู้เป็นครูเขา ตัวของเราแล้วทำไมไม่สั่งสอน
ปล่อยให้ยุ่งนุงนังไม่สังวร ควรผันผ่อนแก้ยุ่งนุงทั้งปวง
๓๒. โอโลโภโทโสโมโหนี้ เป็นราคีของใจอันใหญ่หลวง
เป็นมูลรากราคินสิ้นทั้งปวง คอยเหนี่ยวหน่วงให้นุงยุ่งหัวใจ
๓๓. โอ้ร่างกายของเรามันเน่าแน่ ไม่มีแปรเปลี่ยนผันหันไฉน
ต้องรู้ตัวอยู่เสมออย่าเผลอใจ สิ่งใดใดควรทำรีบจ้ำเลย
๓๔. กาลนี้มิได้รอเราหนอหนา อย่ามัวมามึนเมาเลยเราเอ๋ย
หลงนิยมชมทุกข์ว่าสุขเสบย ไม่ช้าเลยจะต้องลาโลกคลาไคล
๓๕. ชั่วหรือดีที่ทำกรรมทั้งหลาย ไม่หนีหายสูญสิ้นไปถิ่นไหน
ย่อมอยู่ดีกินดีไม่มีภัย รวมเก็บไว้ที่จิตติดตัวเรา
๓๖. อนิจจังทั้งนั้นไม่ทันคิด พอเห็นฤทธิ์อนิจจังลงนั่งเหงา
ว่าโอ้โอ๋อกเอ๋ยเอยเอ๋ยอกเรา มามัวเมาอนิจจังจีรังกาล
๓๗. ยังไม่เคยฟังใครที่ไหนหนา ว่าเกิดมาเป็นสุขสนุกสนาน
มีแต่บ่นเรื่องทุกข์ไม่สุขสราญ ทั้งชาวบ้านชาววัดซัดกันไป
๓๘. อนัตตาสังขารนี้ด้านดื้อ ไม่เชื่อถือถ้อยคำที่ร่ำไข
จะพูดจาว่าขานประการใด ไม่ตามใจข้องขัดอนัตตา
๓๙. ไตรลักษณ์ต้องเป็นหลักสำหรับจิต จงหมั่นคิดหมั่นนึกหมั่นศึกษา
เราต้องตายเป็นแท้แน่ละวา จะมัวมานอกครูอยู่ทำไม
๔๐. ประพฤติธรรมสำคัญอยู่ที่จิต ถ้าตั้งผิดมัวหมองไม่ผ่องใส
ถ้าตั้งถูกผุดผ่องไม่หมองใจ สติ...ไซร้ คุมจิตไม่ผิดนา
๔๑. อิฏฐารมณ์นิยมว่าเป็นสุข ที่แท้ทุกข์จริงเจียวทีเดียวหนา
สำคัญผิดติดทุกข์ว่าสุขนา เป็นสัญญาวิปลาสพลาดผิดธรรม์
๔๒. อย่าทะนงองอาจประมาทรัก มาชวนชักรวนเรให้เหหัน
ไม่กลัวเป็นกลัวตายวายชีวัน ถ้าแพ้มันแล้วต้องตายวายชีวี
๔๓. รามเกียรติ์มันยุ่งออกนุงขิง เพราะแย่งหญิงสีดามารศรี
ต้องรบราฆ่ากันลั่นโลกีย์ ใครเสียทีแล้วก็ตายวอดวายปราณ
๔๔. นิสัยควายแล้วไม่วายจะบดเอื้อง คนรื้อเรื่องอตีตังมาตั้งขาน
พิรี้พิไรไม่รู้จบงบประมาณ ก็เปรียบปานดังควายน่าอายนา
๔๕. เออไฉนใจเราฉะนี้นี่ ไม่กลัวผีมันเย้ยบ้างเลยหนา
ใจฉะนี้หน้าไฉนอย่างไรนา ดูเงาหน้าแล้วคงเห็นไม่เป็นเรา
๔๖. อวดฉลาดพูดออกบอกว่าโง่ ฟังเขาโอ้อวดอ้างอย่าขวางเขา
ขัดคอเขาก็โกรธพิโรธเรา เป็นเรื่องเร่าร้อนใจไม่เป็นการ
๔๗. ระลึกถึงความตายสบายนัก มันหักรักหักหลงในสงสาร
บรรเทามืดโมหันต์อันธการ ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ
๔๘. เราจะต้องรบรับกับมัจจุราช ไม่แคล้วคลาดมั่นคงอย่าสงสัย
รีบเตรียมตัวไว้ก่อนไม่ร้อนใจ มาเมื่อไรเราก็รบไม่หลบนา
๔๙. ถึงกายแพ้แต่ใจเราไม่แพ้ ใจไม่แก่เจ็บตายตามกายหนา
กายนี้มันจะเน่าเราก็ลา ไปสวรรค์ชั้นฟ้านิพพานเอย
เอวังดังที่ได้ แสดงมา สิ้นสุดเทศนา เท่านี้
ควรแล้วแก่เวลา หยุดยุ-ติเฮย ใดพลาดปราชญ์ช่วยชี้ ช่องให้ชนเห็น