ที่ ยูเครน
นักศึกษาไม่พอใจรัฐบาลที่ชะลอความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับชาติตะวันตก
และหันไปยกระดับความสัมพันธ์กับรัสเซีย
จึงจุดชนวนประท้วงส่งผลให้ลุกลามจนเกิดความเปลี่ยนแปลง
ที่ เวเนซูเอล่า
นักศึกษาไม่พอใจประสิทธิภาพของรัฐบาลต่อการบริหารประเทศด้านเศรษฐกิจ
จึงจุดชนวนประท้วง ส่งผลให้เกิดแนวร่วมจากหลายภาคส่วน
กดดันรัฐบาลที่เคยแข็งกร้าว ให้ต้องตัดสินใจเปลี่ยนแปลง
ที่ ประเทศไทย
บทบาทนักศึกษาที่เคยโดดเด่น
เป็นที่พึ่งในการตรวจสอบภาครัฐในยุค 2516 และ 2519
ชี้นำชาวนาชาวไร่ ให้เห็นถึงความอยุติธรรมของสังคมชนชั้น
จนนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย
กลับถูกกลืนหายไปในกระแสโลกาภิวัฒน์
ด้วยความตื้นเขินทางความคิด และอุดมการณ์
ที่เห็นเคลื่อนไหวอยู่ ก็เป็นได้แค่เพียงเครื่องมือให้กลุ่มการเมืองใช้กล่าวอ้าง
ไม่สามารถจุดชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้นได้
บทบาทการชี้นำทางการเมือง
จึงกลับไปตกอยู่กับสถาบันเก่าแก่
ที่ผูกขาดอำนาจการชี้นำสังคมมาโดยตลอด
นั่นคือนักการเมือง ข้าราชการ ทหาร และสื่อมวลชน
ส่วนกลุ่มอื่น ๆ อย่างดารา นักร้อง ครูบาอาจารย์ หมอ และนักกฏหมาย
ที่พยายามใช้สถานการณ์สร้างโอกาสและสร้างสถานภาพ
เป็นสีสันทางการเมืองอยู่ในขณะนี้
เวลาเท่านั้นที่จะพิสูจน์ว่า
กลุ่มอ้างอิงเหล่านี้ จะยืนระยะรักษาบทบาทอยู่ได้นานแค่ไหน
หรืออาจตกชั้นเป็นแค่ไม้ประดับ รอวันตายตกตามกลุ่มนักศึกษาไปในที่สุด
เวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์
บทบาทที่หายไปของนักศึกษา กับการเมืองไทย
นักศึกษาไม่พอใจรัฐบาลที่ชะลอความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับชาติตะวันตก
และหันไปยกระดับความสัมพันธ์กับรัสเซีย
จึงจุดชนวนประท้วงส่งผลให้ลุกลามจนเกิดความเปลี่ยนแปลง
ที่ เวเนซูเอล่า
นักศึกษาไม่พอใจประสิทธิภาพของรัฐบาลต่อการบริหารประเทศด้านเศรษฐกิจ
จึงจุดชนวนประท้วง ส่งผลให้เกิดแนวร่วมจากหลายภาคส่วน
กดดันรัฐบาลที่เคยแข็งกร้าว ให้ต้องตัดสินใจเปลี่ยนแปลง
ที่ ประเทศไทย
บทบาทนักศึกษาที่เคยโดดเด่น
เป็นที่พึ่งในการตรวจสอบภาครัฐในยุค 2516 และ 2519
ชี้นำชาวนาชาวไร่ ให้เห็นถึงความอยุติธรรมของสังคมชนชั้น
จนนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย
กลับถูกกลืนหายไปในกระแสโลกาภิวัฒน์
ด้วยความตื้นเขินทางความคิด และอุดมการณ์
ที่เห็นเคลื่อนไหวอยู่ ก็เป็นได้แค่เพียงเครื่องมือให้กลุ่มการเมืองใช้กล่าวอ้าง
ไม่สามารถจุดชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้นได้
บทบาทการชี้นำทางการเมือง
จึงกลับไปตกอยู่กับสถาบันเก่าแก่
ที่ผูกขาดอำนาจการชี้นำสังคมมาโดยตลอด
นั่นคือนักการเมือง ข้าราชการ ทหาร และสื่อมวลชน
ส่วนกลุ่มอื่น ๆ อย่างดารา นักร้อง ครูบาอาจารย์ หมอ และนักกฏหมาย
ที่พยายามใช้สถานการณ์สร้างโอกาสและสร้างสถานภาพ
เป็นสีสันทางการเมืองอยู่ในขณะนี้
เวลาเท่านั้นที่จะพิสูจน์ว่า
กลุ่มอ้างอิงเหล่านี้ จะยืนระยะรักษาบทบาทอยู่ได้นานแค่ไหน
หรืออาจตกชั้นเป็นแค่ไม้ประดับ รอวันตายตกตามกลุ่มนักศึกษาไปในที่สุด
เวลาเท่านั้นจะเป็นเครื่องพิสูจน์