9 ข้อที่ควรทราบ เมื่อต้องการขอเอกสารรับรองจากกรมการกงสุล
ท่ามกลางความวุ่นวายของการติดต่อธุรกรรมที่กรมการกงสุลขณะนี้
นอกจากการขอ passport ที่ดูจะรุนแรงที่สุดแล้ว ผมก็ได้ผ่านขั้นตอนการขอ
รับรองเอกสารภาษาอังกฤษ ที่กรมการกงสุล ที่ทำการชั่วคราวที่เซ็นทรัลบางนา
เมื่อไม่มีวันมานี้ โดยผมต้องไป 2 รอบ (กลับมาแก้ 1 รอบ)
เลยอยากขอแบ่งปันประสบการณ์ สำหรับท่านที่ต้องการขอรับรองเอกสารอย่าง
ผมนะครับ เท่าที่พอจะรวบรวมได้มีดังนี้
1.กรมการกงสุลจะรับรองเอกสารที่เรา (คนที่จะขอ คือคุณนั่นเอง) ทำไปเอง ซึ่ง
แน่นอนต้องถูกต้องเป๊ะ ตามหลักการแปล และการใช้ภาษา รวมถึงผู้แปลก็ต้อง
เซ็นต์รับรองด้วย
2.ใน website เค้าเขียนว่า สามารถแปลเองก็ได้ ไม่ต้องไปจ้างแปล ฉบับละ
หลายร้อยบาท แต่กรุณาทราบไว้ว่า ถ้าคุณแปลเอง (โดยไม่มีประสบการณ์)
โอกาสน้อยมากที่คุณจะสำเร็จและผ่านภายในครั้งเดียว เพราะแบบฟอร์มที่
กรมการกงสุลให้ download มันผิด หรือไม่สมบูรณ์ ตั้งแต่แรก
ดังนั้นหมายความว่าต้องเป็นในทางใดทางหนึ่งคือ
2.1 แปลเองไปก่อน แล้วไปต่อคิวให้เค้าตรวจสอบ (ทุกคนต้องผ่านการ
ตรวจสอบจนกว่าจะผ่าน ถูกต้องหมด) ถ้าผิดก็รีบไปเสียตังค์ต่อคิวแก้ ซึ่ง
ถ้าอยากให้เสร็จในวันเดียวก็ต้องไปแต่เช้า (8.00 น.)
2.2 เสียเงิน จ้างแปลไปเลย ซึ่งราคาของศูนย์แปลฯ สวัสดิการกรมการ
กงสุล ก็มีตั้งแต่ 150-500 B ต่อฉบับ
3.การพยายามแปลเอง ก็อาจสำเร็จในครั้งเดียวได้?? โดยใช้วิธีดูต้นฉบับดัง link
ด้านล่าง (ตัวอย่างคำแปลแบบฟอร์มเอกสารราชการ และคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่
ควรทราบและใช้ในการแปลอยู่เสมอ) + google it (สำหรับคำแปลที่สงสัยเพิ่ม
เติม)
http://www.consular.go.th/main/th/form/1615
4.ถ้าเราจะขอเอกสาร 2 ชุด ก็ต้องมีต้นฉบับ (แปลแล้ว) พร้อมลายเซ็นต์ 2 ชุด
และบางกรณีที่ต้องขอรับรองภาษาไทย ก็ต้องมีเอกสาร (สำเนาภาษาไทย) ที่ไม่
ต้องเซ็นต์สำเนาถูกต้องเพิ่มตามจำนวนชุดที่เราต้องการด้วย เช่น ขอรับรอง
เอกสารภาษาอังกฤษ 2 ชุด ไทย 1 ชุด ก็ต้องมีเอกสารแปลอังกฤษ 2 ชุดและ
ไทย 1 ชุด
5.ผมได้แนบตัวอย่างแบบฟอร์มของผมที่ผ่านการตรวจสอบในครั้งที่ 2 และ
ข้อมูลบางประการสำหรับการแปล มาเผื่อเป็นแนวทางสำหรับ ท่านที่สนใจนะครับ
จะมีแค่ ช.5, คร.3, ทร.1 ดูได้ที่นี่
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=papabenz&month=02-03-2014&group=1&gblog=4
6.ขณะนี้ (วันศุกร์ที่ 28 กพ 57) ที่ทำการชั่วคราว สำหรับแปลเอกสาร
ของกรมการกงสุล คือที่ เซ็นทรัลบางนาน ช.5 เริ่มตั้งแต่ 8.00 น. ถึง 14.00 น.
แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะย้ายขึ้นไปชั้นบนในสัปดาห์หน้า (เนื้อที่กว้างขวางขึ้น จริงๆ
ก็เห็นใจเจ้าหน้าที่ทุกคน และผมก็แอบหวังว่า งานน่าจะเป็นระบบขึ้นนะครับ)
7.ส่วนหน้าของแผนกรับรองเอกสาร จะมีศูนย์แปลฯ สวัสดิการกรมการกงสุลเอง
ซึ่งก็เชื่อถือได้ มีราคาตามนี้ครับ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=papabenz&month=02-03-2014&group=1&gblog=4
8.เบอร์โทร ตามที่ระบุใน website ถ้าท่านโทรไปแล้วไม่ติด หรือไม่มีคนรับ ไม่
ต้องแปลกใจนะครับ เพราะไปถึงที่นั่น แล้วจะเข้าใจว่ามันยุ่งและวุ่นวายจริงๆ (แม้
ผู้มาใช้บริการจะน้อยกว่าทำ passport มาก) จนเจ้าหน้าที่อาจไม่สะดวกรับสาย
ของท่าน
9.เพิ่มเติม ภาษาอังกฤษ ที่ควรทราบ
ภาษาอังกฤษในการแปลเอกสารที่ควรทราบ
1. ผู้แจ้งการเกิด = Person Notifying Birth
2. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน = Performing Officer
3. นายทะเบียนผู้รับการแจ้งเกิด = Registrar Acknowledging
4. ทะเบียนบ้านกลาง = Central house Registration
5. แพทย์แผนปัจจุบัน = Physician
6. ผู้ช่วยนายทะเบียนลงนามแทนนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมือง..... = Assistant Registra of Mueang .... town Municipality
7. สำนักทะเบียนท้องถิ่น = Local Municipality
8.ปลัดอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ)รักษาราชการแทนนายอำเภอเมือง.... =Deputy District Chief(Governing Officer, Professional Level) Acting District Chief of Mueang ....... District
9.ปลัดอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครอง6)รักษาราชการแทนนายอำเภอเมือง..... = Geverning officer6 Acting Chief of Registration office For Director of Mueang ...... District
10. B.E ย่อมาจาก B.E. คือ Bhuddist Era คือ พุทธศักราช
A.D.ย่อมาจาก Anno Domini หรือ ค.ศ. จำนวนปีคริสต์ศักราชจะห่างจากพุทธศักราช 543 ปี
B.E. 255 4 (A.D.2011)
ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ
9 ข้อที่ควรทราบ เมื่อต้องการขอเอกสารรับรองจากกรมการกงสุล
ท่ามกลางความวุ่นวายของการติดต่อธุรกรรมที่กรมการกงสุลขณะนี้
นอกจากการขอ passport ที่ดูจะรุนแรงที่สุดแล้ว ผมก็ได้ผ่านขั้นตอนการขอ
รับรองเอกสารภาษาอังกฤษ ที่กรมการกงสุล ที่ทำการชั่วคราวที่เซ็นทรัลบางนา
เมื่อไม่มีวันมานี้ โดยผมต้องไป 2 รอบ (กลับมาแก้ 1 รอบ)
เลยอยากขอแบ่งปันประสบการณ์ สำหรับท่านที่ต้องการขอรับรองเอกสารอย่าง
ผมนะครับ เท่าที่พอจะรวบรวมได้มีดังนี้
1.กรมการกงสุลจะรับรองเอกสารที่เรา (คนที่จะขอ คือคุณนั่นเอง) ทำไปเอง ซึ่ง
แน่นอนต้องถูกต้องเป๊ะ ตามหลักการแปล และการใช้ภาษา รวมถึงผู้แปลก็ต้อง
เซ็นต์รับรองด้วย
2.ใน website เค้าเขียนว่า สามารถแปลเองก็ได้ ไม่ต้องไปจ้างแปล ฉบับละ
หลายร้อยบาท แต่กรุณาทราบไว้ว่า ถ้าคุณแปลเอง (โดยไม่มีประสบการณ์)
โอกาสน้อยมากที่คุณจะสำเร็จและผ่านภายในครั้งเดียว เพราะแบบฟอร์มที่
กรมการกงสุลให้ download มันผิด หรือไม่สมบูรณ์ ตั้งแต่แรก
ดังนั้นหมายความว่าต้องเป็นในทางใดทางหนึ่งคือ
2.1 แปลเองไปก่อน แล้วไปต่อคิวให้เค้าตรวจสอบ (ทุกคนต้องผ่านการ
ตรวจสอบจนกว่าจะผ่าน ถูกต้องหมด) ถ้าผิดก็รีบไปเสียตังค์ต่อคิวแก้ ซึ่ง
ถ้าอยากให้เสร็จในวันเดียวก็ต้องไปแต่เช้า (8.00 น.)
2.2 เสียเงิน จ้างแปลไปเลย ซึ่งราคาของศูนย์แปลฯ สวัสดิการกรมการ
กงสุล ก็มีตั้งแต่ 150-500 B ต่อฉบับ
3.การพยายามแปลเอง ก็อาจสำเร็จในครั้งเดียวได้?? โดยใช้วิธีดูต้นฉบับดัง link
ด้านล่าง (ตัวอย่างคำแปลแบบฟอร์มเอกสารราชการ และคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่
ควรทราบและใช้ในการแปลอยู่เสมอ) + google it (สำหรับคำแปลที่สงสัยเพิ่ม
เติม)
http://www.consular.go.th/main/th/form/1615
4.ถ้าเราจะขอเอกสาร 2 ชุด ก็ต้องมีต้นฉบับ (แปลแล้ว) พร้อมลายเซ็นต์ 2 ชุด
และบางกรณีที่ต้องขอรับรองภาษาไทย ก็ต้องมีเอกสาร (สำเนาภาษาไทย) ที่ไม่
ต้องเซ็นต์สำเนาถูกต้องเพิ่มตามจำนวนชุดที่เราต้องการด้วย เช่น ขอรับรอง
เอกสารภาษาอังกฤษ 2 ชุด ไทย 1 ชุด ก็ต้องมีเอกสารแปลอังกฤษ 2 ชุดและ
ไทย 1 ชุด
5.ผมได้แนบตัวอย่างแบบฟอร์มของผมที่ผ่านการตรวจสอบในครั้งที่ 2 และ
ข้อมูลบางประการสำหรับการแปล มาเผื่อเป็นแนวทางสำหรับ ท่านที่สนใจนะครับ
จะมีแค่ ช.5, คร.3, ทร.1 ดูได้ที่นี่
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=papabenz&month=02-03-2014&group=1&gblog=4
6.ขณะนี้ (วันศุกร์ที่ 28 กพ 57) ที่ทำการชั่วคราว สำหรับแปลเอกสาร
ของกรมการกงสุล คือที่ เซ็นทรัลบางนาน ช.5 เริ่มตั้งแต่ 8.00 น. ถึง 14.00 น.
แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าจะย้ายขึ้นไปชั้นบนในสัปดาห์หน้า (เนื้อที่กว้างขวางขึ้น จริงๆ
ก็เห็นใจเจ้าหน้าที่ทุกคน และผมก็แอบหวังว่า งานน่าจะเป็นระบบขึ้นนะครับ)
7.ส่วนหน้าของแผนกรับรองเอกสาร จะมีศูนย์แปลฯ สวัสดิการกรมการกงสุลเอง
ซึ่งก็เชื่อถือได้ มีราคาตามนี้ครับ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=papabenz&month=02-03-2014&group=1&gblog=4
8.เบอร์โทร ตามที่ระบุใน website ถ้าท่านโทรไปแล้วไม่ติด หรือไม่มีคนรับ ไม่
ต้องแปลกใจนะครับ เพราะไปถึงที่นั่น แล้วจะเข้าใจว่ามันยุ่งและวุ่นวายจริงๆ (แม้
ผู้มาใช้บริการจะน้อยกว่าทำ passport มาก) จนเจ้าหน้าที่อาจไม่สะดวกรับสาย
ของท่าน
9.เพิ่มเติม ภาษาอังกฤษ ที่ควรทราบ
ภาษาอังกฤษในการแปลเอกสารที่ควรทราบ
1. ผู้แจ้งการเกิด = Person Notifying Birth
2. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน = Performing Officer
3. นายทะเบียนผู้รับการแจ้งเกิด = Registrar Acknowledging
4. ทะเบียนบ้านกลาง = Central house Registration
5. แพทย์แผนปัจจุบัน = Physician
6. ผู้ช่วยนายทะเบียนลงนามแทนนายทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมือง..... = Assistant Registra of Mueang .... town Municipality
7. สำนักทะเบียนท้องถิ่น = Local Municipality
8.ปลัดอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ)รักษาราชการแทนนายอำเภอเมือง.... =Deputy District Chief(Governing Officer, Professional Level) Acting District Chief of Mueang ....... District
9.ปลัดอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครอง6)รักษาราชการแทนนายอำเภอเมือง..... = Geverning officer6 Acting Chief of Registration office For Director of Mueang ...... District
10. B.E ย่อมาจาก B.E. คือ Bhuddist Era คือ พุทธศักราช
A.D.ย่อมาจาก Anno Domini หรือ ค.ศ. จำนวนปีคริสต์ศักราชจะห่างจากพุทธศักราช 543 ปี
B.E. 255 4 (A.D.2011)
ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ