จมปรักอยู่กับวาทกรรมที่เขาครอบงำจูงจมูก
ในบางตอนผมอ่านแล้วเห็นว่า ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เหมือนจะสงสัย ว่า "คนพวกนี้จบการศึกษามาได้อยางไร" เพราะคนที่มาชุมนุมมีความคิดแปลกๆ ตรรกะแปลกๆ และไม่สนอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าหลักการไหนที่สังคมโลกเขาใช้กัน วิชาการไหนที่คนส่วนใหญ่ยอมรับและใช้กัน หรือแม้แต่กฏหมายมาตราไหนที่บังคับใช้อยู่ ขอแค่ให้ได้ดั่งใจที่ม็อบพวกนี้ต้องการ
อ่านจบก็นึกถึงตอนที่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร พูดออกรายการทีวีเมื่อประมาณต้นเดือนทางช่อง9 ว่า (คน กทม. เป็นพวกตามกระแสง่าย) คือใครจุดอะไรขึ้นมาหน่อยก็คล้อยตามเชื่อเขาง่าย ผมฟังดูแล้วเหมือน ดร.วีรพงษ์ รามางกูร กำลังจะบอกว่าคนพวกนี้ "โง่" (ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เขาไม่ได้พูดนะผมตีความเอง)
ก็ตามกระแสง่าย คล้อยตามง่าย มันก็ชัดว่าหูเบา ถ้าคนหูหนัก เขาจะไม่ตามกระแสอะไรง่ายๆ เขาจะคิดไต่ตรองและหาข้อมูลให้ชัดก่อน นี่สิปัญญาชนคนมีกึ๋นของจริง...แล้วจะโดนหลอกได้ยาก ถ้าใช้หลักนี้ ไม่ว่าเรื่องไกลตัว ใกล้ตัว ในหรือนอกชีวิตจริง ก็จะโดนหลอกยาก และถ้าใช้หลักคิดที่ไม่เชืออะไรง่ายๆก็ทำให้เราฝึกฝนภูมิต้านทานในการรับข้อมูลข่าวสารไปด้วยจะได้ไม่โดนหลอกอะไรง่ายๆ เช่นไม่โดนหลอกให้โอนเงินซื้อ ไอโฟน หรือตุ๊กตาเฟอบี้ ไปก่อน สุดท้ายไม่ได้ของ (นี่แหละหูเบา เลยโดนหลอกเต็มๆเสียเงินฟรี คนรวยคนมีกะตังมีการศึกษาทั้งนั้นที่โดนหลอก)
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393224114
คณะรัฐบุคคล โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
เมื่อ วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ หลังจากวันเลือกตั้งทั่วไปเพียงวันเดียว มีการเปิดตัวคณะรัฐบุคคลโดยตั้งชื่อว่า "Man of The State" เป็นข่าวใหญ่ไปในหนังสือพิมพ์หลักทุกฉบับ โทรทัศน์พื้นฐานทุกช่อง
ที่เป็นที่ฮือฮาก็เพราะบุคคลที่เข้าไปร่วมชุมนุมนั้นล้วนแต่เป็นผู้สูงวัย นัยว่ามีอายุอยู่ระหว่าง 70-90 ปีโดยเฉลี่ย ทุกคน
เคย ทำงานในตำแหน่งระดับสูง ทั้งในกองทัพ กระทรวงทบวงกรม มหาวิทยาลัย เป็น ดร. เป็นศาสตราจารย์ทั้งจริงและปลอม เคยรู้จักมักคุ้นกันมาก็หลายคน
ขอชมเชยที่ทุกคนมีจิตใจที่เห็นปัญหาของบ้านเมือง อยากจะมีส่วนคิดอ่านหาทางให้มีการแก้ไข ก่อนที่ประเทศชาติจะล่มสลายในสายตาของพวกท่าน
ความจริงมิได้มีแต่กลุ่มคณะรัฐบุคคล หรือ Man of The State ชุดนี้ชุดเดียวที่มีความกังวล แต่มีกลุ่มอื่น ๆ หลายกลุ่ม
ที่ มีความกังวลในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่กลุ่มอื่นไม่ได้ตั้งกล้องถ่าย ไม่ได้ตั้งไมโครโฟนอัดเสียง การเผยแพร่ความเห็นนี้จะมีเจตนาอย่างไรไม่ควรจะไปค้นหา ควรจะสนใจเฉพาะสิ่งที่ท่าน "ผู้เฒ่า" เหล่านี้ต้องการจะสื่อสารว่ามีอะไรบ้าง ดีหรือไม่ดี ทำได้หรือไม่ได้อย่างไร
ที่จริงก็คุ้นหน้ากันเป็นส่วนใหญ่ข้อสนทนาที่จับความได้ก็คือ บัดนี้ปัญหาของชาตินั้นรุนแรงหนักหนามาก ต้องหาคนมาแก้ไขเพื่อ การจัดการปฏิรูปประเทศในเวลาประมาณปีครึ่งถึง 2 ปี เพื่อร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ แก้กฎหมายเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง เพื่อจะได้คนดีเข้ามาบริหารประเทศในระยะยาว
ส่วนในระยะสั้นนี้ก็สรรหา "คนดี" มีฝีมือหา "คนกลาง" ที่ประชาชนยอมรับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีจัดกวาดบ้านเรือน ทำการปฏิรูปเสียให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วก็จัดให้มีการเลือกตั้ง เราก็จะได้รัฐบาล "คนดี" มาปกครองบ้านเมือง แต่วงสนทนาก็พบกับปัญหาข้อแรกว่าถ้า จะได้รัฐบาลคนกลางที่เป็นคนดีมาเป็นนายกรัฐมนตรี การมีสภาคนดีมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ และทำหน้าที่บัญญัติก็จะต้องได้อำนาจ "รัฐ" มาเสียก่อน ปัญหาก็คือจะได้ "อำนาจรัฐ" มาได้อย่างไร นักกฎหมายใหญ่และนักรัฐศาสตร์คนหนึ่ง
เสนอว่า ไม่มีทางอย่างอื่นในการได้ "อำนาจรัฐ" มาเพื่อทำการปฏิรูป นอกจากทำการ "ปฏิวัติ" หรือรัฐประหาร จะใช้เครือข่ายองค์กรอิสระต่าง ๆ เช่น ป.ป.ช. กกต. ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้เพียงส่วนหนึ่ง เพราะยังมีรัฐธรรมนูญฉบับ คมช.ขวางอยู่ แต่อย่างไรความเห็นของอดีตข้าราชการพลเรือน และ "นักวิชาการสมัครเล่น"
ก็ถูกติติงโดย พล.อ.วิมล วงศ์วานิช จำได้ว่าท่านเป็น จปร.รุ่น 5
ฟังดูแล้วก็เหมือนความคิดคนรุ่นเก่าที่คิดถึงความรุ่งโรจน์ของกลุ่มตัวในสมัย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ กับ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ร่วมกันทำปฏิวัติในปี 2519 และปี 2520 จัดระบบการปกครองโดยเอากองทัพมาคานกับสภาผู้แทนราษฎร โดยมีวุฒิสภาที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งเป็นตัวแทนของกองทัพ มีอำนาจเท่ากับสภาผู้แทนราษฎร โดยให้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วก็เปลี่ยนมาเป็น พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงอยู่ได้ถึง 8 ปีครึ่ง บวกกับช่วงที่ พล.อ.เกรียงศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีก็ 10 ปีกว่า ๆ
ต่อมาเมื่อมีรัฐประหาร รัฐบาล พล.อ.ชาติ ชาย ชุณหะวัณ คณะรัฐประหารก็ไปเชิญ "คนดี" คุณอานันท์ ปันยารชุน คนกลางมาเป็นนายกฯเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี หลังเลือกตั้งสภาผู้แทนฯเสนอชื่อ พล.อ.สุจินดาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ไปไม่รอด เกิดการชุมนุมใหญ่ประท้วงคัดค้าน ในยุคนั้นเป็นม็อบของคนกรุงเทพฯที่อ้างว่าเป็น "ม็อบมือถือ"
เพราะสมัยนั้นคนชั้นกลางและคนรวยเท่านั้นที่มีมือถือ พล.อ.สุจินดาต้องการจัดระบบการปกครองให้เหมือนสมัย พล.อ.เปรมเป็นนายกฯ คือเอากองทัพมาคานกับสภาผู้แทนราษฎร แล้วตั้งพรรคคนกลางมาเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างที่เคยทำมาสมัยพล.อ.เปรม สังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่มีพลวัตสูงมากไม่เคยหยุดนิ่ง ไม่เคยมีใครหยุดยั้งได้ ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาเมื่อพรรคไทยรักไทยโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาในวงการเมืองและชนะการเลือกตั้ง รัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้ปลุกสำนึกของคนรากหญ้าทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดให้ตื่นตัวทางการเมืองอย่างมาก โดยการเปลี่ยนจากรัฐที่ทำการปกครองให้เป็นรัฐบริการ ซึ่งไม่เคยมีพรรคใดทำมาก่อน การปลุกกระแสตื่นตัวทางการเมืองของคนระดับรากหญ้าในต่างจังหวัด ในภาคอีสานและภาคเหนือนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และคงจะเป็นของที่ย้อนกลับไปอย่างเดิมไม่ได้อีกแล้ว
การเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกนึกคิดของคนในต่างจังหวัดนั้น ปรากฏว่าคนชั้นกลางและคนชั้นสูงในกรุงเทพฯ และอาจจะรวมถึงคนภาคใต้ด้วยไม่ยอมรับรู้หรือรู้แต่ยอมรับไม่ได้ ยังมีความคิดแบบเดิม ๆ ที่รังเกียจนักการเมือง รับผู้แทนราษฎรไม่ได้เพราะมีแต่ทุจริตคอร์รัปชั่น ไร้การศึกษา
มีรายงานของมูลนิธิเอเชีย ซึ่งได้ทำวิจัยโดยส่งคนไปทำการสำรวจเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ชุมนุม เป็นข้อมูลที่เก็บจากการ
ไปสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคมศกนี้เอง จากผู้เข้าร่วมชุมนุม 350 คน จากเวทีประท้วง 3 แห่ง ซึ่งคุณฐากูร บุนปานนำมารายงานในมติชนรายสัปดาห์ฉบับวันที่ 14-20 กุมภาพันธ์
รายงาน การสำรวจนี้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นคนในกรุงเทพฯถึงกว่าครึ่ง คือร้อยละ 54 ส่วนร้อยละ 46 มาจากต่างจังหวัด สำหรับผู้ที่มาจากต่างจังหวัดนั้นส่วนใหญ่มาจากภาคใต้และภาคกลางประมาณร้อย ละ 75 ส่วนคนภาคเหนือและภาคอีสานมีเพียงร้อยละ 25 ซึ่งตรงกับความรู้สึกของพวกเรามาก่อนแล้ว
คนที่มาชุมนุมเป็นผู้หญิง มากกว่าผู้ชายคือร้อยละ 53 ผู้ชายร้อยละ 47 เป็นคนมีอายุตั้งแต่กลางคนขึ้นไปถึงร้อยละ 60 อายุระหว่าง 45-54 มากที่สุดถึงร้อยละ 25 และที่สำคัญผู้ชุมนุมเป็นผู้มีการศึกษาสูงกล่าวคือร้อยละ 54 จบปริญญาตรี ร้อยละ19 จบปริญญาโท กล่าวคือกว่าร้อยละ 73 หรือประมาณ 3 ใน 4 ของผู้มาชุมนุมนั้นมีการศึกษาระดับปริญญาตรี
จากองค์ประกอบของผู้ชุมนุมที่กล่าวมานี้ เห็นได้ชัดว่าผู้ที่มาชุมนุมประท้วงเป็นคนชั้นสูงของสังคมไทยที่มาจากกรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคใต้ เป็นคนที่มีฐานะทางสังคม มีอายุวัยกลางคนขึ้นไป และกว่าครึ่งหนึ่งมีรายได้ค่อนข้างสูงคือเดือนละ 50,000-60,000 บาทขึ้นไป และกว่าครึ่งเคยบริจาคเงินให้กับแกนนำผู้ชุมนุม
เราจึงไม่แปลกใจว่าวาทกรรมที่ปลุกเร้าเข้าถึงใจคนชั้นกลางระดับสูง ทั้งในแง่พื้นที่ ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษาวิธี คิดและทัศนคติของคนที่เป็นเป้าหมายนั้น ไม่ได้เกรงใจ ไม่ได้สนใจความรู้สึกนึกคิดของคนชั้นล่างระดับรากหญ้าที่อยู่ในต่างจังหวัด เลยกว่าร้อยละ 55 ให้เหตุผลของการมาชุมนุมก็เพื่อโค่นล้มระบอบทักษิณ ปกป้องสถาบัน ให้มีการปฏิรูปก่อนจะมีการเลือกตั้ง กว่า 42 เปอร์เซ็นต์ของผู้มา ร่วมชุมนุมตอบว่าระบอบทักษิณไม่มีอะไรดีเลย ร้อยละ 72 เห็นว่าข้อเสียของระบอบทักษิณคือการทุจริต ข้อเสียของประชาธิปัตย์ร้อยละ 55 ตอบว่าทำงานช้า เช้าชามเย็นชามไม่มีผลงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่เราก็เคยได้ยินบ่อย ๆ ในการโจมตีรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ แต่เรื่องทุจริตกับเรื่องความจงรักภักดีเป็นเรื่องที่คนกรุงเทพฯและคนชั้นกลางขึ้นไปให้น้ำหนักมากที่สุด หากผู้ใดถูกโจมตีด้วยข้อหาทั้งสองข้อนี้ก็มักจะอยู่ในฐานะที่ลำบาก
สำหรับ ความรู้ ความเข้าใจทางการเมืองของคนชั้นสูงในกรุงเทพฯนั้นค่อนข้างแปลก เพราะมีถึงร้อยละ 84 เห็นด้วยกับข้อเสนอในการจัดตั้งสภาประชาชน และมีถึงร้อยละ 81 เห็นว่าการปฏิเสธการลงเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอ ร้อยละ 72 ไม่ต้องการให้เกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร หรือให้ทหารเข้ามาแทรกแซง และกว่าร้อยละ 62 เห็นว่าไม่ต้องใช้วิธีการรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองอย่างที่คณะรัฐบุคคลเสนอ คนกรุงเทพฯยังสับสนและไม่เข้าใจหลักการของระบอบประชาธิปไตย
ในเรื่องทัศนคติของคนในกรุง เรื่องความเท่าเทียมกันทางการเมืองแล้วก็เห็นได้ชัด คนในกรุงยังยอมรับไม่ได้ ยังสับสน
แต่ไม่กล้าพูดออกมาตรง ๆ เพราะจำนวนคนประมาณเท่า ๆ กันตอบว่าถูกต้องและไม่ขัดกับหลักประชาธิปไตย แม้จะคิดว่าหนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากันไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ก็ต้องยอมรับ หรือถูกหลักประชาธิปไตยแต่คนนำไปใช้ผิด ๆหรือตีความผิด ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกมากสำหรับกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงสุดของประเทศไทย
เมื่ออ่านรายงานผลสำรวจผู้ชุมนุมในวันที่ 13-14 มกราคมศกนี้ ซึ่งเป็นวัน "ปิด กรุงเทพฯ" ซึ่งรัฐบาลเป็นฝ่ายประโคมข่าวนี้อย่างมาก คงจะหวังให้คนกรุงเทพฯอึดอัด คัดค้าน แต่ปรากฏว่าคนกรุงเทพฯรับได้ และยอมรับได้กับการดำเนินการปฏิรูป ซึ่งยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าหัวข้อหรือกรอบของการปฏิรูปคืออะไร
เป็นการ ย้ำให้เห็นว่าที่คนกรุงเทพฯออกมาร่วมชุมนุมนั้นเพราะไม่ชอบระบอบทักษิณ ซึ่งก็คงจะหมายถึงพรรคเพื่อไทย หรือพรรคอะไรก็แล้วแต่ที่สืบเนื่องมาจากพรรคไทยรักไทย
หลักการ ประชาธิปไตย ที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ ภราดรภาพ สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมกัน รวมทั้งหลักนิติรัฐ ไม่มีความสำคัญ ไม่สนใจเหตุผลอะไรทั้งสิ้น ขอแค่นายกฯยิ่งลักษณ์ออกไป แล้วเอานายกฯคนกลางกับสภาประชาชนมาทำการปกครองแทน ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ไม่รู้ ไม่สนใจเห็นได้ชัดว่าวิธีคิด ทัศนคติของคน กรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อการพัฒนาการเมืองของไทย ถ้าคนต่างจังหวัดยังไม่ตื่นตัวทางการเมืองก็คงไม่เป็นไร แต่บัดนี้ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯเริ่มตื่นตัวแล้ว ความขัดแย้งจะดำรงอยู่ไปอีกนาน และคงจะปะทุขึ้นเป็นระยะเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งระเบิดขึ้น วนเวียนเป็นวัฏจักรเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ
บทความ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อ่านแล้วเห็นว่าคน กทม.กว่าครึ่งโง่ ไม่มีหลักการ หลักคิด ไม่สนถูกผิด มีแต่ความเชื่อและ
ในบางตอนผมอ่านแล้วเห็นว่า ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เหมือนจะสงสัย ว่า "คนพวกนี้จบการศึกษามาได้อยางไร" เพราะคนที่มาชุมนุมมีความคิดแปลกๆ ตรรกะแปลกๆ และไม่สนอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าหลักการไหนที่สังคมโลกเขาใช้กัน วิชาการไหนที่คนส่วนใหญ่ยอมรับและใช้กัน หรือแม้แต่กฏหมายมาตราไหนที่บังคับใช้อยู่ ขอแค่ให้ได้ดั่งใจที่ม็อบพวกนี้ต้องการ
อ่านจบก็นึกถึงตอนที่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร พูดออกรายการทีวีเมื่อประมาณต้นเดือนทางช่อง9 ว่า (คน กทม. เป็นพวกตามกระแสง่าย) คือใครจุดอะไรขึ้นมาหน่อยก็คล้อยตามเชื่อเขาง่าย ผมฟังดูแล้วเหมือน ดร.วีรพงษ์ รามางกูร กำลังจะบอกว่าคนพวกนี้ "โง่" (ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เขาไม่ได้พูดนะผมตีความเอง)
ก็ตามกระแสง่าย คล้อยตามง่าย มันก็ชัดว่าหูเบา ถ้าคนหูหนัก เขาจะไม่ตามกระแสอะไรง่ายๆ เขาจะคิดไต่ตรองและหาข้อมูลให้ชัดก่อน นี่สิปัญญาชนคนมีกึ๋นของจริง...แล้วจะโดนหลอกได้ยาก ถ้าใช้หลักนี้ ไม่ว่าเรื่องไกลตัว ใกล้ตัว ในหรือนอกชีวิตจริง ก็จะโดนหลอกยาก และถ้าใช้หลักคิดที่ไม่เชืออะไรง่ายๆก็ทำให้เราฝึกฝนภูมิต้านทานในการรับข้อมูลข่าวสารไปด้วยจะได้ไม่โดนหลอกอะไรง่ายๆ เช่นไม่โดนหลอกให้โอนเงินซื้อ ไอโฟน หรือตุ๊กตาเฟอบี้ ไปก่อน สุดท้ายไม่ได้ของ (นี่แหละหูเบา เลยโดนหลอกเต็มๆเสียเงินฟรี คนรวยคนมีกะตังมีการศึกษาทั้งนั้นที่โดนหลอก)
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1393224114
คณะรัฐบุคคล โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร
เมื่อ วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ หลังจากวันเลือกตั้งทั่วไปเพียงวันเดียว มีการเปิดตัวคณะรัฐบุคคลโดยตั้งชื่อว่า "Man of The State" เป็นข่าวใหญ่ไปในหนังสือพิมพ์หลักทุกฉบับ โทรทัศน์พื้นฐานทุกช่อง
ที่เป็นที่ฮือฮาก็เพราะบุคคลที่เข้าไปร่วมชุมนุมนั้นล้วนแต่เป็นผู้สูงวัย นัยว่ามีอายุอยู่ระหว่าง 70-90 ปีโดยเฉลี่ย ทุกคน
เคย ทำงานในตำแหน่งระดับสูง ทั้งในกองทัพ กระทรวงทบวงกรม มหาวิทยาลัย เป็น ดร. เป็นศาสตราจารย์ทั้งจริงและปลอม เคยรู้จักมักคุ้นกันมาก็หลายคน
ขอชมเชยที่ทุกคนมีจิตใจที่เห็นปัญหาของบ้านเมือง อยากจะมีส่วนคิดอ่านหาทางให้มีการแก้ไข ก่อนที่ประเทศชาติจะล่มสลายในสายตาของพวกท่าน
ความจริงมิได้มีแต่กลุ่มคณะรัฐบุคคล หรือ Man of The State ชุดนี้ชุดเดียวที่มีความกังวล แต่มีกลุ่มอื่น ๆ หลายกลุ่ม
ที่ มีความกังวลในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่กลุ่มอื่นไม่ได้ตั้งกล้องถ่าย ไม่ได้ตั้งไมโครโฟนอัดเสียง การเผยแพร่ความเห็นนี้จะมีเจตนาอย่างไรไม่ควรจะไปค้นหา ควรจะสนใจเฉพาะสิ่งที่ท่าน "ผู้เฒ่า" เหล่านี้ต้องการจะสื่อสารว่ามีอะไรบ้าง ดีหรือไม่ดี ทำได้หรือไม่ได้อย่างไร
ที่จริงก็คุ้นหน้ากันเป็นส่วนใหญ่ข้อสนทนาที่จับความได้ก็คือ บัดนี้ปัญหาของชาตินั้นรุนแรงหนักหนามาก ต้องหาคนมาแก้ไขเพื่อ การจัดการปฏิรูปประเทศในเวลาประมาณปีครึ่งถึง 2 ปี เพื่อร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ แก้กฎหมายเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียง เพื่อจะได้คนดีเข้ามาบริหารประเทศในระยะยาว
ส่วนในระยะสั้นนี้ก็สรรหา "คนดี" มีฝีมือหา "คนกลาง" ที่ประชาชนยอมรับเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีจัดกวาดบ้านเรือน ทำการปฏิรูปเสียให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วก็จัดให้มีการเลือกตั้ง เราก็จะได้รัฐบาล "คนดี" มาปกครองบ้านเมือง แต่วงสนทนาก็พบกับปัญหาข้อแรกว่าถ้า จะได้รัฐบาลคนกลางที่เป็นคนดีมาเป็นนายกรัฐมนตรี การมีสภาคนดีมาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ และทำหน้าที่บัญญัติก็จะต้องได้อำนาจ "รัฐ" มาเสียก่อน ปัญหาก็คือจะได้ "อำนาจรัฐ" มาได้อย่างไร นักกฎหมายใหญ่และนักรัฐศาสตร์คนหนึ่ง
เสนอว่า ไม่มีทางอย่างอื่นในการได้ "อำนาจรัฐ" มาเพื่อทำการปฏิรูป นอกจากทำการ "ปฏิวัติ" หรือรัฐประหาร จะใช้เครือข่ายองค์กรอิสระต่าง ๆ เช่น ป.ป.ช. กกต. ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้เพียงส่วนหนึ่ง เพราะยังมีรัฐธรรมนูญฉบับ คมช.ขวางอยู่ แต่อย่างไรความเห็นของอดีตข้าราชการพลเรือน และ "นักวิชาการสมัครเล่น"
ก็ถูกติติงโดย พล.อ.วิมล วงศ์วานิช จำได้ว่าท่านเป็น จปร.รุ่น 5
ฟังดูแล้วก็เหมือนความคิดคนรุ่นเก่าที่คิดถึงความรุ่งโรจน์ของกลุ่มตัวในสมัย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ กับ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ร่วมกันทำปฏิวัติในปี 2519 และปี 2520 จัดระบบการปกครองโดยเอากองทัพมาคานกับสภาผู้แทนราษฎร โดยมีวุฒิสภาที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งเป็นตัวแทนของกองทัพ มีอำนาจเท่ากับสภาผู้แทนราษฎร โดยให้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วก็เปลี่ยนมาเป็น พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงอยู่ได้ถึง 8 ปีครึ่ง บวกกับช่วงที่ พล.อ.เกรียงศักดิ์เป็นนายกรัฐมนตรีก็ 10 ปีกว่า ๆ
ต่อมาเมื่อมีรัฐประหาร รัฐบาล พล.อ.ชาติ ชาย ชุณหะวัณ คณะรัฐประหารก็ไปเชิญ "คนดี" คุณอานันท์ ปันยารชุน คนกลางมาเป็นนายกฯเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี หลังเลือกตั้งสภาผู้แทนฯเสนอชื่อ พล.อ.สุจินดาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ไปไม่รอด เกิดการชุมนุมใหญ่ประท้วงคัดค้าน ในยุคนั้นเป็นม็อบของคนกรุงเทพฯที่อ้างว่าเป็น "ม็อบมือถือ"
เพราะสมัยนั้นคนชั้นกลางและคนรวยเท่านั้นที่มีมือถือ พล.อ.สุจินดาต้องการจัดระบบการปกครองให้เหมือนสมัย พล.อ.เปรมเป็นนายกฯ คือเอากองทัพมาคานกับสภาผู้แทนราษฎร แล้วตั้งพรรคคนกลางมาเป็นนายกรัฐมนตรีอย่างที่เคยทำมาสมัยพล.อ.เปรม สังคมไทยนั้นเป็นสังคมที่มีพลวัตสูงมากไม่เคยหยุดนิ่ง ไม่เคยมีใครหยุดยั้งได้ ตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมาเมื่อพรรคไทยรักไทยโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาในวงการเมืองและชนะการเลือกตั้ง รัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้ปลุกสำนึกของคนรากหญ้าทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดให้ตื่นตัวทางการเมืองอย่างมาก โดยการเปลี่ยนจากรัฐที่ทำการปกครองให้เป็นรัฐบริการ ซึ่งไม่เคยมีพรรคใดทำมาก่อน การปลุกกระแสตื่นตัวทางการเมืองของคนระดับรากหญ้าในต่างจังหวัด ในภาคอีสานและภาคเหนือนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และคงจะเป็นของที่ย้อนกลับไปอย่างเดิมไม่ได้อีกแล้ว
การเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกนึกคิดของคนในต่างจังหวัดนั้น ปรากฏว่าคนชั้นกลางและคนชั้นสูงในกรุงเทพฯ และอาจจะรวมถึงคนภาคใต้ด้วยไม่ยอมรับรู้หรือรู้แต่ยอมรับไม่ได้ ยังมีความคิดแบบเดิม ๆ ที่รังเกียจนักการเมือง รับผู้แทนราษฎรไม่ได้เพราะมีแต่ทุจริตคอร์รัปชั่น ไร้การศึกษา
มีรายงานของมูลนิธิเอเชีย ซึ่งได้ทำวิจัยโดยส่งคนไปทำการสำรวจเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ชุมนุม เป็นข้อมูลที่เก็บจากการ
ไปสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคมศกนี้เอง จากผู้เข้าร่วมชุมนุม 350 คน จากเวทีประท้วง 3 แห่ง ซึ่งคุณฐากูร บุนปานนำมารายงานในมติชนรายสัปดาห์ฉบับวันที่ 14-20 กุมภาพันธ์
รายงาน การสำรวจนี้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นคนในกรุงเทพฯถึงกว่าครึ่ง คือร้อยละ 54 ส่วนร้อยละ 46 มาจากต่างจังหวัด สำหรับผู้ที่มาจากต่างจังหวัดนั้นส่วนใหญ่มาจากภาคใต้และภาคกลางประมาณร้อย ละ 75 ส่วนคนภาคเหนือและภาคอีสานมีเพียงร้อยละ 25 ซึ่งตรงกับความรู้สึกของพวกเรามาก่อนแล้ว
คนที่มาชุมนุมเป็นผู้หญิง มากกว่าผู้ชายคือร้อยละ 53 ผู้ชายร้อยละ 47 เป็นคนมีอายุตั้งแต่กลางคนขึ้นไปถึงร้อยละ 60 อายุระหว่าง 45-54 มากที่สุดถึงร้อยละ 25 และที่สำคัญผู้ชุมนุมเป็นผู้มีการศึกษาสูงกล่าวคือร้อยละ 54 จบปริญญาตรี ร้อยละ19 จบปริญญาโท กล่าวคือกว่าร้อยละ 73 หรือประมาณ 3 ใน 4 ของผู้มาชุมนุมนั้นมีการศึกษาระดับปริญญาตรี
จากองค์ประกอบของผู้ชุมนุมที่กล่าวมานี้ เห็นได้ชัดว่าผู้ที่มาชุมนุมประท้วงเป็นคนชั้นสูงของสังคมไทยที่มาจากกรุงเทพฯ ภาคกลาง และภาคใต้ เป็นคนที่มีฐานะทางสังคม มีอายุวัยกลางคนขึ้นไป และกว่าครึ่งหนึ่งมีรายได้ค่อนข้างสูงคือเดือนละ 50,000-60,000 บาทขึ้นไป และกว่าครึ่งเคยบริจาคเงินให้กับแกนนำผู้ชุมนุม
เราจึงไม่แปลกใจว่าวาทกรรมที่ปลุกเร้าเข้าถึงใจคนชั้นกลางระดับสูง ทั้งในแง่พื้นที่ ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษาวิธี คิดและทัศนคติของคนที่เป็นเป้าหมายนั้น ไม่ได้เกรงใจ ไม่ได้สนใจความรู้สึกนึกคิดของคนชั้นล่างระดับรากหญ้าที่อยู่ในต่างจังหวัด เลยกว่าร้อยละ 55 ให้เหตุผลของการมาชุมนุมก็เพื่อโค่นล้มระบอบทักษิณ ปกป้องสถาบัน ให้มีการปฏิรูปก่อนจะมีการเลือกตั้ง กว่า 42 เปอร์เซ็นต์ของผู้มา ร่วมชุมนุมตอบว่าระบอบทักษิณไม่มีอะไรดีเลย ร้อยละ 72 เห็นว่าข้อเสียของระบอบทักษิณคือการทุจริต ข้อเสียของประชาธิปัตย์ร้อยละ 55 ตอบว่าทำงานช้า เช้าชามเย็นชามไม่มีผลงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่เราก็เคยได้ยินบ่อย ๆ ในการโจมตีรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ แต่เรื่องทุจริตกับเรื่องความจงรักภักดีเป็นเรื่องที่คนกรุงเทพฯและคนชั้นกลางขึ้นไปให้น้ำหนักมากที่สุด หากผู้ใดถูกโจมตีด้วยข้อหาทั้งสองข้อนี้ก็มักจะอยู่ในฐานะที่ลำบาก
สำหรับ ความรู้ ความเข้าใจทางการเมืองของคนชั้นสูงในกรุงเทพฯนั้นค่อนข้างแปลก เพราะมีถึงร้อยละ 84 เห็นด้วยกับข้อเสนอในการจัดตั้งสภาประชาชน และมีถึงร้อยละ 81 เห็นว่าการปฏิเสธการลงเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอ ร้อยละ 72 ไม่ต้องการให้เกิดการปฏิวัติ รัฐประหาร หรือให้ทหารเข้ามาแทรกแซง และกว่าร้อยละ 62 เห็นว่าไม่ต้องใช้วิธีการรุนแรงเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองอย่างที่คณะรัฐบุคคลเสนอ คนกรุงเทพฯยังสับสนและไม่เข้าใจหลักการของระบอบประชาธิปไตย
ในเรื่องทัศนคติของคนในกรุง เรื่องความเท่าเทียมกันทางการเมืองแล้วก็เห็นได้ชัด คนในกรุงยังยอมรับไม่ได้ ยังสับสน
แต่ไม่กล้าพูดออกมาตรง ๆ เพราะจำนวนคนประมาณเท่า ๆ กันตอบว่าถูกต้องและไม่ขัดกับหลักประชาธิปไตย แม้จะคิดว่าหนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากันไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ก็ต้องยอมรับ หรือถูกหลักประชาธิปไตยแต่คนนำไปใช้ผิด ๆหรือตีความผิด ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกมากสำหรับกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงสุดของประเทศไทย
เมื่ออ่านรายงานผลสำรวจผู้ชุมนุมในวันที่ 13-14 มกราคมศกนี้ ซึ่งเป็นวัน "ปิด กรุงเทพฯ" ซึ่งรัฐบาลเป็นฝ่ายประโคมข่าวนี้อย่างมาก คงจะหวังให้คนกรุงเทพฯอึดอัด คัดค้าน แต่ปรากฏว่าคนกรุงเทพฯรับได้ และยอมรับได้กับการดำเนินการปฏิรูป ซึ่งยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าหัวข้อหรือกรอบของการปฏิรูปคืออะไร
เป็นการ ย้ำให้เห็นว่าที่คนกรุงเทพฯออกมาร่วมชุมนุมนั้นเพราะไม่ชอบระบอบทักษิณ ซึ่งก็คงจะหมายถึงพรรคเพื่อไทย หรือพรรคอะไรก็แล้วแต่ที่สืบเนื่องมาจากพรรคไทยรักไทย
หลักการ ประชาธิปไตย ที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ ภราดรภาพ สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมกัน รวมทั้งหลักนิติรัฐ ไม่มีความสำคัญ ไม่สนใจเหตุผลอะไรทั้งสิ้น ขอแค่นายกฯยิ่งลักษณ์ออกไป แล้วเอานายกฯคนกลางกับสภาประชาชนมาทำการปกครองแทน ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ไม่รู้ ไม่สนใจเห็นได้ชัดว่าวิธีคิด ทัศนคติของคน กรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงต่อการพัฒนาการเมืองของไทย ถ้าคนต่างจังหวัดยังไม่ตื่นตัวทางการเมืองก็คงไม่เป็นไร แต่บัดนี้ประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯเริ่มตื่นตัวแล้ว ความขัดแย้งจะดำรงอยู่ไปอีกนาน และคงจะปะทุขึ้นเป็นระยะเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งระเบิดขึ้น วนเวียนเป็นวัฏจักรเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจ