นิด้าโพล เผย คนโคราช หนุน ‘อิ๊งค์’ นั่งนายกฯ เลือกเพื่อไทย ทั้งส.ส.เขต-ปาร์ตี้ลิสต์
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7493024
นิด้าโพล เปิดผลสำรวจ คนโคราช หนุน อุ๊งอิ๊ง นั่งนายกรัฐมนตรี เลือกทั้งส.ส.เขต-ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทย ชี้ เปิดโอกาสผู้หญิงบริหารประเทศ-ชอบนโยบาย
เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “
นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนโคราชเลือกพรรคไหน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 ม.ค. – 3 ก.พ. จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งใน จ.นครราชสีมา กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ จำนวน 1,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบุคคลและพรรคการเมืองที่คนโคราชจะสนับสนุนในวันนี้
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนโคราชจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 37.80 ระบุว่าเป็น น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร พรรคเพื่อไทย เพราะต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงที่เป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคที่ผ่านมาสามารถทำได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า เชื่อมั่นว่าจะสามารถพัฒนาประเทศได้ และชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร
อันดับ 2 ร้อยละ 12.40 ระบุว่าเป็น นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล เพราะเป็นคนมีความรู้ความสามารถ มีแนวคิดและวิธีการทำงานแบบคนรุ่นใหม่ และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 11.73 ระบุว่าเป็น พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรครวมไทยสร้างชาติ เพราะเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา
อันดับ 4 ร้อยละ 9.27 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 5 ร้อยละ 6.60 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.
เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พรรคเสรีรวมไทย เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์สุจริต ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบวิธีการทำงาน
อันดับ 6 ร้อยละ 5.67 ระบุว่าเป็น คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยสร้างไทย เพราะมีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ ชื่นชอบนโยบายของพรรคไทยสร้างไทย และต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ
อันดับ 7 ร้อยละ 3.47 ระบุว่าเป็น นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย เพราะชื่นชอบนโยบายพรรคภูมิใจไทย และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา
อันดับ 8 ร้อยละ 2.67 ระบุว่าเป็น นาย
กรณ์ จาติกวณิช พรรคชาติพัฒนากล้า เพราะมีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า สามารถทำงานร่วมกับทุกพรรคการเมืองได้
อันดับ 9 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นาย
เทวัญ ลิปตพัลลภ พรรคชาติพัฒนากล้า เพราะชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา ชื่นชอบนโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้า ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นคนโคราชเหมือนกัน
อันดับ 10 ร้อยละ 2.33 ระบุว่าเป็น นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว พรรคเพื่อไทย เพราะชื่นชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทย ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และเป็นคนพูดจริงทำจริง
อันดับ 11 ร้อยละ 1.33 ระบุว่าเป็น นาย
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ พรรคประชาธิปัตย์ เพราะชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา อันดับ 12 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น นาย
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พรรคสร้างอนาคตไทย เพราะมีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และร้อยละ 3.33 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ พรรคพลังประชารัฐ น.ส.
กัญจนา ศิลปอาชา พรรคชาติไทยพัฒนา นาย
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ พรรคพลังประชารัฐ
นาย
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค พรรครวมไทยสร้างชาติ นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นาย
มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ พรรคไทยศรีวิไลย์ นพ.
วรงค์ เดชกิจวิกรม พรรคไทยภักดี นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา พรรคประชาชาติ นาย
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์ นาย
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ นาย
เศรษฐา ทวีสิน นาย
สุชาติ ภิญโญ และไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับพรรคการเมืองที่คนโคราชมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 48.40 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 13.80 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 8.53 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 7.07 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 5 ร้อยละ 4.73 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า อันดับ 6 ร้อยละ 4.13 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
อันดับ 7 ร้อยละ 3.20 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.93 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 9 ร้อยละ 2.47 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์อันดับ 10 ร้อยละ 2.27 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และร้อยละ 2.47 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคกล้า พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยศรีวิไลย์ และพรรคเศรษฐกิจไทย
ด้านพรรคการเมืองที่คนโคราชมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 47.60 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 14.00 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 8.67 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 8.14 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 5 ร้อยละ 4.14 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า อันดับ 6 ร้อยละ 3.73 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 7 ร้อยละ 3.33 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.93 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 9 ร้อยละ 2.73 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 10 ร้อยละ 2.33 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 11 ร้อยละ 1.13 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา และร้อยละ 1.27 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคกล้า พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ และพรรคเศรษฐกิจใหม่
ธำรงศักดิ์ ย้อนวิจัยเชิงลึก ปม ‘กปปส.’ ชี้คนกรุงเทพฯ 61.83 ไม่เห็นด้วย ฝ่ายหนุน-โนคอมเมนต์สูสี
https://www.matichon.co.th/politics/news_3807376
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รองศาสตราจารย์ ดร.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เปิดเผยผลวิจัยส่วนบุคคลโดยเก็บข้อมูลจากคนกรุงเทพฯ (อายุ 18 ปีขึ้นไป มี 4.48 ล้านคน ประชากรกรุงเทพฯ 5.52 ล้านคน) เก็บแบบสอบถามจำนวน 1,200 คน
ข้อคำถามว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ.2556-พฤษภาคม พ.ศ.2557”
ผลการวิจัย สรุปดังนี้
1.คนกรุงเทพฯ ไม่เห็นด้วยกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. จำนวน 742 คน คิดเป็นร้อยละ 61.83 คนกรุงเทพฯ เห็นด้วยกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. 239 คน คิดเป็นร้อยละ 19.92 ส่วนไม่แสดงความเห็น 219 คน คิดเป็นร้อยละ 18.25
2. คนกรุงเทพฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. คือคนที่จะไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร คสช. 22 พฤษภาคม 2557
3. จากการเก็บข้อมูลเชิงลึก คนกรุงเทพฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. นั้นมีคำอธิบายว่า เป็นการชุมนุมทางการเมืองเพื่อสร้างสถานการณ์ให้ทหารทำรัฐประหาร เป็นการชุมนุมทางการเมืองที่ได้รับความคุ้มครองจากรัฐทหารศักดินา เป็นการชุมนุมทางการเมืองที่วางแผนทำลายประชาธิปไตย เป็นการชุมนุมทางการเมืองที่ใช้ความรุนแรง เป็นการชุมนุมทางการเมืองที่ทำลายเศรษฐกิจของชาติ เป็นการชุมนุมทางการเมืองเพื่อรักษาระบอบเก่า
คนกรุงเทพฯ ที่เห็นด้วยกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. นั้นมีคำอธิบายว่า เป็นการกู้ชาติ เป็นการกำจัดระบอบทักษิณ เป็นการกำจัดตระกูลกินเมือง เป็นการต่อต้านประชาธิปไตยของทุนสามานย์ เป็นการต่อต้านเผด็จการรัฐสภา เป็นการชุมนุมเพื่อทำลายพวกธนกิจการเมือง เป็นการสร้างพลังประชาชนที่แข็งแกร่ง เป็นการต่อต้านนิรโทษกรรมสุดซอย เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เป็นการชุมนุมทางการเมืองเพื่อการสร้างระบอบการเมืองใหม่ที่มีความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นการชุมนุมทางการเมืองเพื่อให้มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
ข้อมูลพื้นฐาน
งานวิจัยทัศนคติของคนกรุงเทพต่อสังคมการเมืองไทยนี้ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 3-18 ธันวาคม 2565 รวม 1,200 คน โดยเก็บแบบสอบถามจาก กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ (เขตลาดพร้าว เขตหลักสี่ เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตสายไหม เขตบางเขน และเขตดอนเมือง) กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง (เขตสัมพันธวงศ์ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตดินแดง เขตวังทองหลาง และเขตห้วยขวาง) กลุ่มเขตกรุงธนใต้ (เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน และเขตบางบอน)
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 483 คน (40.25%) ชาย 546 คน (45.50%) เพศหลากหลาย 171 คน (14.25%)
อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม: Gen Z (18-25 ปี) 377 คน (31.42%), Gen Y (26-42 ปี) 549 คน (45.75%), Gen X (43-57 ปี) 167 คน (13.93%), Gen Baby boomer (58 ปีขึ้นไป) 107 คน (8.92%)
อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม: นักเรียนนักศึกษา 193 คน (16.08%) พนักงานเอกชน 461 คน (38.42%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 143 คน (11.92%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 186 คน (15.50%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 115 คน (9.58%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 93 คน (7.75%) อื่นๆ 9 คน (0.75%)
รายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม: ไม่มีรายได้ 109 คน (9.08%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 128 คน (10.67%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 262 คน (21.83%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 403 คน (33.58%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 198 คน (16.51%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 100 คน (8.33%)
ทีมผู้ช่วยวิจัย : นายสหรัฐ เวียงอินทร์ นายชนวีย์ กฤตเมธาวี นายศุภกาญจน์ เป็งเมืองมูล นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต
ก้าวไกลมั่นใจวันอภิปรายม.152สภาไม่ล่ม
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_494409/
ก้าวไกลเชื่อวันอภิปรายทั่วไปสภาไม่ล่ม 2ฝ่ายจะไม่เล่นเกมนับองค์ประชุม วางตัวผู้อภิปรายครบแล้ว
นาย
ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล เปิดเผยกับสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงปัญหาสภาล่มว่า ส่วนตัวเชื่อว่าแม้ขณะนี้จะเกิดปัญหาสภาล่มบ่อยครั้งแต่การอภิปรายทั่วไป มาตรา 152 ในวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์นี้จะยังเดินหน้าต่อไปได้ เพราะทางวิป 2 ได้มีการหารือเตรียมความพร้อมกันแล้ว
อีกทั้งตอนนี้รัฐบาลไม่สามารถที่จะยุบสภาหนีได้เพราะยังไม่มีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้ง และเชื่อว่า ในการอภิปรายสมาชิกสภาจะไม่เล่นเกมการนับองค์ประชุมเพื่อให้เกิดปัญหาสภาล่มอย่างแน่นอนพร้อมทั้งมองว่าก่อนการอภิปราย อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของทางพรรคฝ่ายรัฐบาลเกิดขึ้น
ทั้งนี้เมื่อถามถึงการเตรียมความพร้อมอภิปรายของพรรคก้าวไกล นายณัฐชา กล่าวว่า พรรคก้าวไกลได้เตรียมพร้อมการอภิปรายไว้หมดแล้วทั้งตัวผู้อภิปราย และประเด็นที่จะอภิปราย แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ และแม้ว่าการอภิปรายแม้จะไม่ได้มีการลงมติในสภา แต่การอภิปรายในครั้งนี้จะเป็นการเปิดเผยข้อมูลการทำงานของรัฐบาลตลอด 8 ปี เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินผ่านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่จะถึง
JJNY : นิด้าโพลเผยคนโคราชหนุน‘อิ๊งค์’│ธำรงศักดิ์ ย้อนวิจัยเชิงลึก ปม‘กปปส.’│ก้าวไกลมั่นใจวันอภิปราย│เยอรมนีบอกยูเครน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7493024
นิด้าโพล เปิดผลสำรวจ คนโคราช หนุน อุ๊งอิ๊ง นั่งนายกรัฐมนตรี เลือกทั้งส.ส.เขต-ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทย ชี้ เปิดโอกาสผู้หญิงบริหารประเทศ-ชอบนโยบาย
เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนโคราชเลือกพรรคไหน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 ม.ค. – 3 ก.พ. จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งใน จ.นครราชสีมา กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ จำนวน 1,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบุคคลและพรรคการเมืองที่คนโคราชจะสนับสนุนในวันนี้
จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนโคราชจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 37.80 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร ชินวัตร พรรคเพื่อไทย เพราะต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงที่เป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคที่ผ่านมาสามารถทำได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า เชื่อมั่นว่าจะสามารถพัฒนาประเทศได้ และชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร
อันดับ 2 ร้อยละ 12.40 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พรรคก้าวไกล เพราะเป็นคนมีความรู้ความสามารถ มีแนวคิดและวิธีการทำงานแบบคนรุ่นใหม่ และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล
อันดับ 3 ร้อยละ 11.73 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรครวมไทยสร้างชาติ เพราะเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ ขณะที่บางส่วนระบุว่า จะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา
อันดับ 4 ร้อยละ 9.27 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
อันดับ 5 ร้อยละ 6.60 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส พรรคเสรีรวมไทย เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความซื่อสัตย์สุจริต ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบวิธีการทำงาน
อันดับ 6 ร้อยละ 5.67 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ พรรคไทยสร้างไทย เพราะมีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ ชื่นชอบนโยบายของพรรคไทยสร้างไทย และต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ
อันดับ 7 ร้อยละ 3.47 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล พรรคภูมิใจไทย เพราะชื่นชอบนโยบายพรรคภูมิใจไทย และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา
อันดับ 8 ร้อยละ 2.67 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช พรรคชาติพัฒนากล้า เพราะมีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ขณะที่บางส่วนระบุว่า สามารถทำงานร่วมกับทุกพรรคการเมืองได้
อันดับ 9 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นายเทวัญ ลิปตพัลลภ พรรคชาติพัฒนากล้า เพราะชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา ชื่นชอบนโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้า ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นคนโคราชเหมือนกัน
อันดับ 10 ร้อยละ 2.33 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว พรรคเพื่อไทย เพราะชื่นชอบนโยบายของพรรคเพื่อไทย ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และเป็นคนพูดจริงทำจริง
อันดับ 11 ร้อยละ 1.33 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ พรรคประชาธิปัตย์ เพราะชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา อันดับ 12 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พรรคสร้างอนาคตไทย เพราะมีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และร้อยละ 3.33 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พรรคพลังประชารัฐ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา พรรคชาติไทยพัฒนา นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ พรรคพลังประชารัฐ
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค พรรครวมไทยสร้างชาติ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ พรรคไทยศรีวิไลย์ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม พรรคไทยภักดี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พรรคประชาชาติ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายเศรษฐา ทวีสิน นายสุชาติ ภิญโญ และไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับพรรคการเมืองที่คนโคราชมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 48.40 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 13.80 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 8.53 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 7.07 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 5 ร้อยละ 4.73 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า อันดับ 6 ร้อยละ 4.13 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
อันดับ 7 ร้อยละ 3.20 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.93 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 9 ร้อยละ 2.47 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์อันดับ 10 ร้อยละ 2.27 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และร้อยละ 2.47 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคกล้า พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยศรีวิไลย์ และพรรคเศรษฐกิจไทย
ด้านพรรคการเมืองที่คนโคราชมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 47.60 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 14.00 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 8.67 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 8.14 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 5 ร้อยละ 4.14 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า อันดับ 6 ร้อยละ 3.73 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 7 ร้อยละ 3.33 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.93 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 9 ร้อยละ 2.73 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 10 ร้อยละ 2.33 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 11 ร้อยละ 1.13 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา และร้อยละ 1.27 ระบุว่าอื่นๆ ได้แก่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคกล้า พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ และพรรคเศรษฐกิจใหม่
ธำรงศักดิ์ ย้อนวิจัยเชิงลึก ปม ‘กปปส.’ ชี้คนกรุงเทพฯ 61.83 ไม่เห็นด้วย ฝ่ายหนุน-โนคอมเมนต์สูสี
https://www.matichon.co.th/politics/news_3807376
เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เปิดเผยผลวิจัยส่วนบุคคลโดยเก็บข้อมูลจากคนกรุงเทพฯ (อายุ 18 ปีขึ้นไป มี 4.48 ล้านคน ประชากรกรุงเทพฯ 5.52 ล้านคน) เก็บแบบสอบถามจำนวน 1,200 คน
ข้อคำถามว่า “ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. เมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ.2556-พฤษภาคม พ.ศ.2557”
ผลการวิจัย สรุปดังนี้
1.คนกรุงเทพฯ ไม่เห็นด้วยกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. จำนวน 742 คน คิดเป็นร้อยละ 61.83 คนกรุงเทพฯ เห็นด้วยกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. 239 คน คิดเป็นร้อยละ 19.92 ส่วนไม่แสดงความเห็น 219 คน คิดเป็นร้อยละ 18.25
2. คนกรุงเทพฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. คือคนที่จะไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร คสช. 22 พฤษภาคม 2557
3. จากการเก็บข้อมูลเชิงลึก คนกรุงเทพฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. นั้นมีคำอธิบายว่า เป็นการชุมนุมทางการเมืองเพื่อสร้างสถานการณ์ให้ทหารทำรัฐประหาร เป็นการชุมนุมทางการเมืองที่ได้รับความคุ้มครองจากรัฐทหารศักดินา เป็นการชุมนุมทางการเมืองที่วางแผนทำลายประชาธิปไตย เป็นการชุมนุมทางการเมืองที่ใช้ความรุนแรง เป็นการชุมนุมทางการเมืองที่ทำลายเศรษฐกิจของชาติ เป็นการชุมนุมทางการเมืองเพื่อรักษาระบอบเก่า
คนกรุงเทพฯ ที่เห็นด้วยกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. นั้นมีคำอธิบายว่า เป็นการกู้ชาติ เป็นการกำจัดระบอบทักษิณ เป็นการกำจัดตระกูลกินเมือง เป็นการต่อต้านประชาธิปไตยของทุนสามานย์ เป็นการต่อต้านเผด็จการรัฐสภา เป็นการชุมนุมเพื่อทำลายพวกธนกิจการเมือง เป็นการสร้างพลังประชาชนที่แข็งแกร่ง เป็นการต่อต้านนิรโทษกรรมสุดซอย เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน เป็นการชุมนุมทางการเมืองเพื่อการสร้างระบอบการเมืองใหม่ที่มีความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นการชุมนุมทางการเมืองเพื่อให้มีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
ข้อมูลพื้นฐาน
งานวิจัยทัศนคติของคนกรุงเทพต่อสังคมการเมืองไทยนี้ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 3-18 ธันวาคม 2565 รวม 1,200 คน โดยเก็บแบบสอบถามจาก กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ (เขตลาดพร้าว เขตหลักสี่ เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตสายไหม เขตบางเขน และเขตดอนเมือง) กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง (เขตสัมพันธวงศ์ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตดินแดง เขตวังทองหลาง และเขตห้วยขวาง) กลุ่มเขตกรุงธนใต้ (เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน และเขตบางบอน)
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 483 คน (40.25%) ชาย 546 คน (45.50%) เพศหลากหลาย 171 คน (14.25%)
อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม: Gen Z (18-25 ปี) 377 คน (31.42%), Gen Y (26-42 ปี) 549 คน (45.75%), Gen X (43-57 ปี) 167 คน (13.93%), Gen Baby boomer (58 ปีขึ้นไป) 107 คน (8.92%)
อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม: นักเรียนนักศึกษา 193 คน (16.08%) พนักงานเอกชน 461 คน (38.42%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 143 คน (11.92%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 186 คน (15.50%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 115 คน (9.58%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 93 คน (7.75%) อื่นๆ 9 คน (0.75%)
รายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม: ไม่มีรายได้ 109 คน (9.08%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 128 คน (10.67%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 262 คน (21.83%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 403 คน (33.58%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 198 คน (16.51%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 100 คน (8.33%)
ทีมผู้ช่วยวิจัย : นายสหรัฐ เวียงอินทร์ นายชนวีย์ กฤตเมธาวี นายศุภกาญจน์ เป็งเมืองมูล นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต
ก้าวไกลมั่นใจวันอภิปรายม.152สภาไม่ล่ม
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_494409/
ก้าวไกลเชื่อวันอภิปรายทั่วไปสภาไม่ล่ม 2ฝ่ายจะไม่เล่นเกมนับองค์ประชุม วางตัวผู้อภิปรายครบแล้ว
นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ รองเลขาธิการพรรคก้าวไกล เปิดเผยกับสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงปัญหาสภาล่มว่า ส่วนตัวเชื่อว่าแม้ขณะนี้จะเกิดปัญหาสภาล่มบ่อยครั้งแต่การอภิปรายทั่วไป มาตรา 152 ในวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์นี้จะยังเดินหน้าต่อไปได้ เพราะทางวิป 2 ได้มีการหารือเตรียมความพร้อมกันแล้ว
อีกทั้งตอนนี้รัฐบาลไม่สามารถที่จะยุบสภาหนีได้เพราะยังไม่มีความพร้อมในการจัดการเลือกตั้ง และเชื่อว่า ในการอภิปรายสมาชิกสภาจะไม่เล่นเกมการนับองค์ประชุมเพื่อให้เกิดปัญหาสภาล่มอย่างแน่นอนพร้อมทั้งมองว่าก่อนการอภิปราย อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของทางพรรคฝ่ายรัฐบาลเกิดขึ้น
ทั้งนี้เมื่อถามถึงการเตรียมความพร้อมอภิปรายของพรรคก้าวไกล นายณัฐชา กล่าวว่า พรรคก้าวไกลได้เตรียมพร้อมการอภิปรายไว้หมดแล้วทั้งตัวผู้อภิปราย และประเด็นที่จะอภิปราย แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ และแม้ว่าการอภิปรายแม้จะไม่ได้มีการลงมติในสภา แต่การอภิปรายในครั้งนี้จะเป็นการเปิดเผยข้อมูลการทำงานของรัฐบาลตลอด 8 ปี เพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินผ่านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่จะถึง