การบริหารจัดการชุมนุมใหญ่ โดย วีรพงษ์ รามางกูร
บัดนี้การจัดชุมนุมหรือการจัดม็อบ เพื่อคัดค้านหรือเพื่อการสนับสนุนทางการเมือง
กลายเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองระบอบรัฐสภาของบ้านเราไปเสียแล้ว
การชุมนุมเพื่อการคัดค้านและการโค่นล้มรัฐบาล เริ่มก่อกำเนิดขึ้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2516
หลังจากนั้นการชุมนุมก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบอบ
รัฐสภาของไทยเรามาเรื่อยๆ
ถ้าสังเกตดู หลังจากกรณี 14 ตุลาคม 2516 แล้ว การชุมนุมใหญ่จะเกิดขึ้นก็ตอนที่การเลือกตั้ง
มีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ แต่จะไม่มีการชุมนุมโค่นล้มรัฐบาลที่มา
จากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร
เมื่อคณะรัฐประหารประกาศใช้รัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็มักจะสงบเงียบ ไม่ปรากฏว่ามีการจัดชุมนุม
ใหญ่คัดค้านหรือขับไล่รัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง สภานิติบัญญัติที่ได้รับการแต่งตั้งมาจาก
คณะรัฐประหาร แม้เมื่อคราวที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ทำการรัฐประหาร แล้วแต่งตั้งคุณอานันท์
ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งสภานิติบัญญัติ เหตุการณ์ก็เรียบร้อย จนมีการเลือกตั้ง
สภาผู้แทนราษฎร แล้วบรรดาหัวหน้าพรรคการเมืองเลือก พล.อ.สุจินดา คราประยูร ให้ดำรง
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงเกิดการชุมนุมใหญ่ขับไล่โค่นล้มรัฐบาล จนเกิดเหตุการณ์นองเลือด
ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าพฤษภาทมิฬในปี 2535
เหตุการณ์ก็สงบเงียบมาจนถึงปี 2549 จึงมีการจัดชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาลพรรคไทยรักไทย
จนมีการยุบสภาแล้วมาเกิดการชุมนุมใหญ่อีกเมื่อปี 2553 เรียกร้องให้รัฐบาลประชาธิปัตย์ยุบ
สภา จนเกิดกรณี "ขอคืนพื้นที่" หรือ "ขอกระชับพื้นที่" โดยกองทัพ เกิดเลือดตกยางออก มี
ผู้ชุมนุมเสียชีวิต 98 ศพ และบาดเจ็บกว่า 2,000 คน และการชุมนุมโดยพรรคประชาธิปัตย์
คัดค้านร่าง กม.นิรโทษกรรม ซึ่งผ่านสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 3 มาแล้ว แต่ถูกวุฒิสภาคว่ำ
ในวาระแรก
เป็นเรื่องที่น่าสนใจทางวิชาการของนักรัฐศาสตร์ นักจิตวิทยามวลชนและนักบริหารจัดการ
ซึ่งต้องทำการศึกษาร่วมพร้อมๆ กันไปคือ การชุมนุมใหญ่เกิดขึ้นได้อย่างไร มีการบริหาร
จัดการให้การชุมนุมยืดเยื้อได้อย่างไร เป็นเวลานานถึงเดือนหรือ 2 เดือน
ที่น่าสนใจก็เพราะการชุมนุมใหญ่เมื่อครั้ง 14 ตุลาก็ดี เมื่อครั้งพฤษภาทมิฬก็ดี เมื่อคราว 2549
ก็ดี เมื่อคราว 2553 ก็ดี การชุมนุมดังกล่าวกลายเป็นต้นแบบให้การชุมนุมขับไล่รัฐบาล
ประธานาธิบดี ซู ฮาร์ โต ที่อินโดนีเซีย แม้แต่การชุมนุมที่อียิปต์และตุรกี สื่อมวลชนตะวันตกก็
ตั้งข้อสังเกตว่ามีการเลียนแบบการชุมนุมจากประเทศไทย
จากการสังเกตที่ไม่ได้มาจากการทำวิจัยอย่างเป็นระเบียบ เหตุเบื้องต้นเมื่อคราว 14 ตุลาคม
มาจากการอยู่ใต้อำนาจรัฐบาลทหารนานเกินไป ไม่ยอมลงจากอำนาจ หรือความพยายามสืบ
ต่ออำนาจในกรณี 2535 ในกรณี 2549 จุดเริ่มต้นคงจะมาจากการที่รัฐบาลไทยรักไทยมีเสียง
ในสภามากเกินไป จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียวถ้าต้องการจะทำ รวมทั้งผู้นำ
พรรคไทยรักไทยเป็นเจ้าของธุรกิจโทรคมนาคมขนาดใหญ่ ความหวาดระแวงสงสัยจึงเกิดขึ้น
สามารถปลุกระดมความรู้สึกระแวงสงสัยได้ง่าย เมื่อบริษัทของครอบครัวผู้นำรัฐบาลขายกิจการ
โทรคมนาคมได้เงินจำนวนมาก ความหวั่นไหวจึงเกิดขึ้นทันที การจุดไฟการชุมนุมจึงเกิดขึ้น
เพราะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำทางการเมืองมีฐานะความร่ำรวยขนาดนี้ เหตุการณ์อย่างเดียวกัน ธุรกิจ
อย่างเดียวกันของผู้นำก็เกิดขึ้นที่อิตาลีด้วย ธุรกิจอย่างเดียวกันขายให้ต่างประเทศเหมือนกัน
แต่เจ้าของไม่ได้อยู่ในวงการเมืองก็ไม่เป็นไร
ส่วนกรณีปี 2553 ก็เป็นการตอบกลับของพรรคเพื่อไทยจุดประเด็นว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ จัดตั้ง
ในกรมทหาร ทหารเข้าแทรกแซงทางการเมือง ก็เป็นชนวนจุดการชุมนุมใหญ่ฝ่ายเสื้อแดงได้
กรณีปัจจุบัน การแปรญัตติ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมก็กลายเป็นชนวนสามารถจุดไฟให้เกิดการชุมนุมใหญ่ได้
แต่เมื่อมูลเหตุหมดไปจากการหยุดยั้ง พ.ร.บ.ดังกล่าวโดยวุฒิสภา สถานการณ์ก็เริ่มเย็นลง แม้ฝ่าย
ชุมนุมจะเปลี่ยนประเด็นไปเป็นการโค่นล้มรัฐบาล แม้จะไม่พูดตรงๆ ก็ตามและคิดว่าเมื่อใกล้
วันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาก็คงเลิกราไป
สำหรับเงื่อนไขการก่อการชุมนุมใหญ่ คงพอเข้าใจได้ว่าต้องมีมูลเหตุ ปลุกระดมสร้างกระแสความ
หวั่นไหว ไม่ไว้วางใจรัฐบาล ความไม่พอใจต่างๆ ที่ฝังใจผู้คนที่แตกแยกทางความคิดเป็น 2 ฝ่าย
มาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งยังแก้ไม่ตกและคงจะดำรงอยู่ต่อไปอีกนานทั้ง 2 ฝ่าย
เมื่อจะจุดชนวนกลไกที่สำคัญ เบื้องต้นก่อนจะเรียกร้องดึงดูดผู้คนให้เข้ามาร่วมชุมนุม ก็ต้องอาศัยการ
จัดตั้ง ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
ในกรุงเทพฯก็มีกลุ่มจัดตั้งถาวรอยู่บางกลุ่ม เช่น กลุ่มของสันติอโศก กลุ่มจัดตั้งของประชาธิปัตย์
กลุ่มจัดตั้งของพรรคเพื่อไทย และกลุ่มอื่นซึ่งคงมีไม่มากนัก กลุ่มที่จัดตั้งส่วนมากมักจะเป็นผู้คน
ที่อยู่บ้าน "ไม่มีรั้ว" ส่วนผู้คนบ้านมีรั้วมักเป็นอิสระแต่มีความโน้มเอียงไปในทาง "อนุรักษนิยม" และ
มีความรู้สึกทางชนชั้นอยู่ด้วย
ส่วนในต่างจังหวัดก็มีการจัดตั้งถาวรอยู่เหมือนกัน โดยพรรคการเมืองใหญ่ และมีฐานะมั่นคงอยู่ตาม
ภาคทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสานฝ่ายหนึ่ง ภาคใต้ฝ่ายหนึ่ง ส่วนภาคกลาง การจัดตั้ง
ของพรรคชาติไทยพัฒนาค่อนข้างเข้มแข็ง สำหรับภาคตะวันออกก็แบ่งกันระหว่าง 2 พรรคใหญ่
กลไกที่สำคัญในการดูแลควบคุมการจัดตั้ง จะเป็นกลไกของรัฐที่ผู้ดำรงตำแหน่งมาจากการเลือกตั้ง
อันได้แก่ ส.ส. นายก อบต. นายก อบจ. หัวคะแนน รวมไปถึง "ผู้มีบารมี" ในท้องถิ่น องค์กรจัดตั้งนี้
เป็นองค์กรถาวร และจะต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งได้มาจากการให้อภิสิทธิ์หรือผลประโยชน์ทางการค้าใน
ท้องถิ่น หรือมาจากงบประมาณของส่วนกลาง
ดังนั้น เมื่อมีการตัดสินใจจัดชุมนุม กลไกเหล่านี้อันได้แก่ ผู้ว่าการ ส.ก. ส.ข. ในกรณีกรุงเทพมหานคร
ต้องรับผิดชอบพาผู้คนในจัดตั้งของตนมาชุมนุม โดยคนของกลไกที่มีตำแหน่งจะแบ่งกันรับหน้าที่หาคน
และดูแล คนประมาณ 100 คนต่อหัวหน้า 1 คน การดูแลต้องมีบัญชีรายชื่อ จะมีการตรวจสอบว่ายังอยู่
ในที่ชุมนุมหรือไม่ มีการแจกอาหารกล่อง และมีซุ้มอาหาร-เครื่องดื่มไว้บริการผู้ชุมนุมที่มาเองโดยไม่ได้
จัดตั้งด้วย
ปกติจะทำเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะอยู่ประมาณ 3 วัน หลังจาก 3 วันจะมีกลุ่มใหม่มาผลัด ถ้าจะมาใหม่ก็
เริ่มขบวนการเดียวกัน วนเวียนอยู่อย่างนั้น ส่วนภาระพาหนะที่จะพาคนมา ผู้รับผิดชอบกลุ่มต้องจัดหา
ยานพาหนะมารับ-ส่งให้ หรือไม่ก็มีการเช่ารถเป็นขบวน ในกรณีมาจากต่างจังหวัด
สำหรับเสื้อยืดสี ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน สีดำ ส่วนกลางจะเป็นผู้ออกแบบ แต่ส่วนต่างๆ ที่
ดูแลการจัดตั้งจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย สำหรับน้ำประปา ไฟฟ้า ก็จะมีการขอไฟขอน้ำชั่วคราว มีการติดตั้ง
มิเตอร์ และมีการชำระค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาตามปกติ นอกจากนั้นท้องถิ่นก็จะจัดบริการสุขาให้
ที่น่าสนใจก็คือการจัดหน่วยรักษาความปลอดภัย ก็จะมีการจัดตั้งโดยการคัดเลือกและลงชื่อเอาไว้พร้อม
ที่จะให้บริการ โดยมีผู้รับจัดบริการหน่วยรักษาความปลอดภัย คอยตรวจสอบผู้เข้าร่วมชุมนุม ไม่ให้พกพา
อาวุธร้ายแรง สุรา ยาเสพติดและสิ่งมึนเมาอื่นๆ คอยตรวจตราอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันผู้แปลกปลอม
โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและหรือฝ่ายตรงกันข้ามที่จะเข้ามาก่อกวน ผู้ที่รับหน้าที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัย
นี้จะรับให้บริการทั้งสองฝ่าย ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ถ้าไม่พอก็จะขนมาจากภาคของตนที่ได้
จัดตั้งไว้แล้ว โดยมีการคิดค่าบริการล่วงหน้า ส่วนมากหน่วยรักษาความปลอดภัยทั้ง 2 ฝ่ายที่มาจากกรุงเทพฯ
จะรู้จักกัน ถ้าบังเอิญชุมนุมวันเดียวกัน ถ้าเป็นคนละวันก็ไปทำหน้าที่ให้ทั้งสองฝ่าย
สำหรับการถ่ายทอดสด ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีช่องสัญญาณดาวเทียมเป็นของตน และอาจจะมีช่องดาวเทียม
อื่นที่เป็นพันธมิตรมาร่วมด้วย แต่ต้องมีการจ่ายค่าบริการตามที่ตกลงกัน ถ้ามีการเบี้ยวกันก็จะมีการถอนออก
ไป แล้วเจรจากันใหม่ ถ้าตกลงกันได้ก็กลับมาให้บริการถ่ายทอดสัญญาณกันใหม่ เมื่อฝ่ายเสื้อแดงมีปัญหา
กับพรรคเพื่อไทย ก็มีการถอดผังรายการออกจนเมื่อเจรจากันได้ก็กลับมาใช้บริการใหม่ ขบวนการเหมือนๆ
กันทั้ง 2 ฝ่าย
การชุมนุมที่ยืดเยื้อ ตอนดึกหลัง 24.00 น. ไปแล้วจนถึงเช้าจะเหลือแต่มวลชนจัดตั้งเท่านั้น ต่อเมื่อบ่ายมากๆ
หลัง 16.00-17.00 น. ไปแล้วจึงจะมีประชาชนมาร่วม และมวลชนจำนวนสูงสุดจะเป็นช่วง 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม
ดังนั้น ดาราที่จะขึ้นพูดปลุกเร้าอารมณ์คนก็จะต้องเป็นช่วงทุ่มหนึ่งถึง 3 ทุ่ม ประจวบกับเป็นช่วงที่มีคนทางบ้าน
ดูทีวีมากที่สุด
สำหรับดาราที่ขึ้นพูดบนเวทีนั้นสำคัญมาก เพราะจะเป็นคนที่จะตรึงมวลชนไว้กับที่ให้เห็นคล้อยตาม
ที่น่าสังเกตดาราคนดังๆ ทั้ง 2 ฝ่ายมักจะเป็นชาวภาคใต้ รองลงมาคนกรุงเทพฯ ส่วนคนภาคเหนือ
ภาคอีสาน สู้ไม่ได้ พูดไม่เก่ง แถมพูดภาษากลางมีสำเนียง แต่คนใต้มีสำเนียง "ทองแดง" บ้างก็ไม่เป็นไร
ต่อไปนี้คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า การชุมนุมหรือม็อบได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองภาคประชาชนไปแล้ว
เพราะเหตุผลที่ว่าประชาชนไทยเราได้แบ่งค่ายไปแล้ว คำว่า "ปรองดอง" เป็นคำของ "ยี่เก" ไปแล้ว ไม่มี
ประโยชน์ที่จะเอามาพูด
ข้อสำคัญรัฐสภาจะต้องสะท้อนเสียงเหล่านี้ให้ได้ จะได้ไม่ยุ่ง
(ที่มา:มติชนรายวัน 21พ.ย.2556)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1385029224&grpid=01&catid=&subcatid=
ติดตามดูพฤติกรรมม็อบ ที่ยังชุมนุมกันอยู่ เป็นอย่างที่ ว่าหรือเปล่า
@@@@ ม็อบ ม็อบ ม็อบ @@@@ ...... เขาบริหารจัดการกันแบบไหน มาเรียนรู้กันหน่อย ..... ดร.โกร่ง มติชนออนไลน์
บัดนี้การจัดชุมนุมหรือการจัดม็อบ เพื่อคัดค้านหรือเพื่อการสนับสนุนทางการเมือง
กลายเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองระบอบรัฐสภาของบ้านเราไปเสียแล้ว
การชุมนุมเพื่อการคัดค้านและการโค่นล้มรัฐบาล เริ่มก่อกำเนิดขึ้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2516
หลังจากนั้นการชุมนุมก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบอบ
รัฐสภาของไทยเรามาเรื่อยๆ
ถ้าสังเกตดู หลังจากกรณี 14 ตุลาคม 2516 แล้ว การชุมนุมใหญ่จะเกิดขึ้นก็ตอนที่การเลือกตั้ง
มีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ แต่จะไม่มีการชุมนุมโค่นล้มรัฐบาลที่มา
จากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร
เมื่อคณะรัฐประหารประกาศใช้รัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็มักจะสงบเงียบ ไม่ปรากฏว่ามีการจัดชุมนุม
ใหญ่คัดค้านหรือขับไล่รัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง สภานิติบัญญัติที่ได้รับการแต่งตั้งมาจาก
คณะรัฐประหาร แม้เมื่อคราวที่ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ทำการรัฐประหาร แล้วแต่งตั้งคุณอานันท์
ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งสภานิติบัญญัติ เหตุการณ์ก็เรียบร้อย จนมีการเลือกตั้ง
สภาผู้แทนราษฎร แล้วบรรดาหัวหน้าพรรคการเมืองเลือก พล.อ.สุจินดา คราประยูร ให้ดำรง
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงเกิดการชุมนุมใหญ่ขับไล่โค่นล้มรัฐบาล จนเกิดเหตุการณ์นองเลือด
ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าพฤษภาทมิฬในปี 2535
เหตุการณ์ก็สงบเงียบมาจนถึงปี 2549 จึงมีการจัดชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาลพรรคไทยรักไทย
จนมีการยุบสภาแล้วมาเกิดการชุมนุมใหญ่อีกเมื่อปี 2553 เรียกร้องให้รัฐบาลประชาธิปัตย์ยุบ
สภา จนเกิดกรณี "ขอคืนพื้นที่" หรือ "ขอกระชับพื้นที่" โดยกองทัพ เกิดเลือดตกยางออก มี
ผู้ชุมนุมเสียชีวิต 98 ศพ และบาดเจ็บกว่า 2,000 คน และการชุมนุมโดยพรรคประชาธิปัตย์
คัดค้านร่าง กม.นิรโทษกรรม ซึ่งผ่านสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 3 มาแล้ว แต่ถูกวุฒิสภาคว่ำ
ในวาระแรก
เป็นเรื่องที่น่าสนใจทางวิชาการของนักรัฐศาสตร์ นักจิตวิทยามวลชนและนักบริหารจัดการ
ซึ่งต้องทำการศึกษาร่วมพร้อมๆ กันไปคือ การชุมนุมใหญ่เกิดขึ้นได้อย่างไร มีการบริหาร
จัดการให้การชุมนุมยืดเยื้อได้อย่างไร เป็นเวลานานถึงเดือนหรือ 2 เดือน
ที่น่าสนใจก็เพราะการชุมนุมใหญ่เมื่อครั้ง 14 ตุลาก็ดี เมื่อครั้งพฤษภาทมิฬก็ดี เมื่อคราว 2549
ก็ดี เมื่อคราว 2553 ก็ดี การชุมนุมดังกล่าวกลายเป็นต้นแบบให้การชุมนุมขับไล่รัฐบาล
ประธานาธิบดี ซู ฮาร์ โต ที่อินโดนีเซีย แม้แต่การชุมนุมที่อียิปต์และตุรกี สื่อมวลชนตะวันตกก็
ตั้งข้อสังเกตว่ามีการเลียนแบบการชุมนุมจากประเทศไทย
จากการสังเกตที่ไม่ได้มาจากการทำวิจัยอย่างเป็นระเบียบ เหตุเบื้องต้นเมื่อคราว 14 ตุลาคม
มาจากการอยู่ใต้อำนาจรัฐบาลทหารนานเกินไป ไม่ยอมลงจากอำนาจ หรือความพยายามสืบ
ต่ออำนาจในกรณี 2535 ในกรณี 2549 จุดเริ่มต้นคงจะมาจากการที่รัฐบาลไทยรักไทยมีเสียง
ในสภามากเกินไป จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียวถ้าต้องการจะทำ รวมทั้งผู้นำ
พรรคไทยรักไทยเป็นเจ้าของธุรกิจโทรคมนาคมขนาดใหญ่ ความหวาดระแวงสงสัยจึงเกิดขึ้น
สามารถปลุกระดมความรู้สึกระแวงสงสัยได้ง่าย เมื่อบริษัทของครอบครัวผู้นำรัฐบาลขายกิจการ
โทรคมนาคมได้เงินจำนวนมาก ความหวั่นไหวจึงเกิดขึ้นทันที การจุดไฟการชุมนุมจึงเกิดขึ้น
เพราะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำทางการเมืองมีฐานะความร่ำรวยขนาดนี้ เหตุการณ์อย่างเดียวกัน ธุรกิจ
อย่างเดียวกันของผู้นำก็เกิดขึ้นที่อิตาลีด้วย ธุรกิจอย่างเดียวกันขายให้ต่างประเทศเหมือนกัน
แต่เจ้าของไม่ได้อยู่ในวงการเมืองก็ไม่เป็นไร
ส่วนกรณีปี 2553 ก็เป็นการตอบกลับของพรรคเพื่อไทยจุดประเด็นว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ จัดตั้ง
ในกรมทหาร ทหารเข้าแทรกแซงทางการเมือง ก็เป็นชนวนจุดการชุมนุมใหญ่ฝ่ายเสื้อแดงได้
กรณีปัจจุบัน การแปรญัตติ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมก็กลายเป็นชนวนสามารถจุดไฟให้เกิดการชุมนุมใหญ่ได้
แต่เมื่อมูลเหตุหมดไปจากการหยุดยั้ง พ.ร.บ.ดังกล่าวโดยวุฒิสภา สถานการณ์ก็เริ่มเย็นลง แม้ฝ่าย
ชุมนุมจะเปลี่ยนประเด็นไปเป็นการโค่นล้มรัฐบาล แม้จะไม่พูดตรงๆ ก็ตามและคิดว่าเมื่อใกล้
วันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาก็คงเลิกราไป
สำหรับเงื่อนไขการก่อการชุมนุมใหญ่ คงพอเข้าใจได้ว่าต้องมีมูลเหตุ ปลุกระดมสร้างกระแสความ
หวั่นไหว ไม่ไว้วางใจรัฐบาล ความไม่พอใจต่างๆ ที่ฝังใจผู้คนที่แตกแยกทางความคิดเป็น 2 ฝ่าย
มาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งยังแก้ไม่ตกและคงจะดำรงอยู่ต่อไปอีกนานทั้ง 2 ฝ่าย
เมื่อจะจุดชนวนกลไกที่สำคัญ เบื้องต้นก่อนจะเรียกร้องดึงดูดผู้คนให้เข้ามาร่วมชุมนุม ก็ต้องอาศัยการ
จัดตั้ง ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
ในกรุงเทพฯก็มีกลุ่มจัดตั้งถาวรอยู่บางกลุ่ม เช่น กลุ่มของสันติอโศก กลุ่มจัดตั้งของประชาธิปัตย์
กลุ่มจัดตั้งของพรรคเพื่อไทย และกลุ่มอื่นซึ่งคงมีไม่มากนัก กลุ่มที่จัดตั้งส่วนมากมักจะเป็นผู้คน
ที่อยู่บ้าน "ไม่มีรั้ว" ส่วนผู้คนบ้านมีรั้วมักเป็นอิสระแต่มีความโน้มเอียงไปในทาง "อนุรักษนิยม" และ
มีความรู้สึกทางชนชั้นอยู่ด้วย
ส่วนในต่างจังหวัดก็มีการจัดตั้งถาวรอยู่เหมือนกัน โดยพรรคการเมืองใหญ่ และมีฐานะมั่นคงอยู่ตาม
ภาคทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสานฝ่ายหนึ่ง ภาคใต้ฝ่ายหนึ่ง ส่วนภาคกลาง การจัดตั้ง
ของพรรคชาติไทยพัฒนาค่อนข้างเข้มแข็ง สำหรับภาคตะวันออกก็แบ่งกันระหว่าง 2 พรรคใหญ่
กลไกที่สำคัญในการดูแลควบคุมการจัดตั้ง จะเป็นกลไกของรัฐที่ผู้ดำรงตำแหน่งมาจากการเลือกตั้ง
อันได้แก่ ส.ส. นายก อบต. นายก อบจ. หัวคะแนน รวมไปถึง "ผู้มีบารมี" ในท้องถิ่น องค์กรจัดตั้งนี้
เป็นองค์กรถาวร และจะต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งได้มาจากการให้อภิสิทธิ์หรือผลประโยชน์ทางการค้าใน
ท้องถิ่น หรือมาจากงบประมาณของส่วนกลาง
ดังนั้น เมื่อมีการตัดสินใจจัดชุมนุม กลไกเหล่านี้อันได้แก่ ผู้ว่าการ ส.ก. ส.ข. ในกรณีกรุงเทพมหานคร
ต้องรับผิดชอบพาผู้คนในจัดตั้งของตนมาชุมนุม โดยคนของกลไกที่มีตำแหน่งจะแบ่งกันรับหน้าที่หาคน
และดูแล คนประมาณ 100 คนต่อหัวหน้า 1 คน การดูแลต้องมีบัญชีรายชื่อ จะมีการตรวจสอบว่ายังอยู่
ในที่ชุมนุมหรือไม่ มีการแจกอาหารกล่อง และมีซุ้มอาหาร-เครื่องดื่มไว้บริการผู้ชุมนุมที่มาเองโดยไม่ได้
จัดตั้งด้วย
ปกติจะทำเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะอยู่ประมาณ 3 วัน หลังจาก 3 วันจะมีกลุ่มใหม่มาผลัด ถ้าจะมาใหม่ก็
เริ่มขบวนการเดียวกัน วนเวียนอยู่อย่างนั้น ส่วนภาระพาหนะที่จะพาคนมา ผู้รับผิดชอบกลุ่มต้องจัดหา
ยานพาหนะมารับ-ส่งให้ หรือไม่ก็มีการเช่ารถเป็นขบวน ในกรณีมาจากต่างจังหวัด
สำหรับเสื้อยืดสี ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน สีดำ ส่วนกลางจะเป็นผู้ออกแบบ แต่ส่วนต่างๆ ที่
ดูแลการจัดตั้งจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย สำหรับน้ำประปา ไฟฟ้า ก็จะมีการขอไฟขอน้ำชั่วคราว มีการติดตั้ง
มิเตอร์ และมีการชำระค่าไฟฟ้าค่าน้ำประปาตามปกติ นอกจากนั้นท้องถิ่นก็จะจัดบริการสุขาให้
ที่น่าสนใจก็คือการจัดหน่วยรักษาความปลอดภัย ก็จะมีการจัดตั้งโดยการคัดเลือกและลงชื่อเอาไว้พร้อม
ที่จะให้บริการ โดยมีผู้รับจัดบริการหน่วยรักษาความปลอดภัย คอยตรวจสอบผู้เข้าร่วมชุมนุม ไม่ให้พกพา
อาวุธร้ายแรง สุรา ยาเสพติดและสิ่งมึนเมาอื่นๆ คอยตรวจตราอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันผู้แปลกปลอม
โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและหรือฝ่ายตรงกันข้ามที่จะเข้ามาก่อกวน ผู้ที่รับหน้าที่เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัย
นี้จะรับให้บริการทั้งสองฝ่าย ถ้าอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ถ้าไม่พอก็จะขนมาจากภาคของตนที่ได้
จัดตั้งไว้แล้ว โดยมีการคิดค่าบริการล่วงหน้า ส่วนมากหน่วยรักษาความปลอดภัยทั้ง 2 ฝ่ายที่มาจากกรุงเทพฯ
จะรู้จักกัน ถ้าบังเอิญชุมนุมวันเดียวกัน ถ้าเป็นคนละวันก็ไปทำหน้าที่ให้ทั้งสองฝ่าย
สำหรับการถ่ายทอดสด ทั้งสองฝ่ายต่างก็มีช่องสัญญาณดาวเทียมเป็นของตน และอาจจะมีช่องดาวเทียม
อื่นที่เป็นพันธมิตรมาร่วมด้วย แต่ต้องมีการจ่ายค่าบริการตามที่ตกลงกัน ถ้ามีการเบี้ยวกันก็จะมีการถอนออก
ไป แล้วเจรจากันใหม่ ถ้าตกลงกันได้ก็กลับมาให้บริการถ่ายทอดสัญญาณกันใหม่ เมื่อฝ่ายเสื้อแดงมีปัญหา
กับพรรคเพื่อไทย ก็มีการถอดผังรายการออกจนเมื่อเจรจากันได้ก็กลับมาใช้บริการใหม่ ขบวนการเหมือนๆ
กันทั้ง 2 ฝ่าย
การชุมนุมที่ยืดเยื้อ ตอนดึกหลัง 24.00 น. ไปแล้วจนถึงเช้าจะเหลือแต่มวลชนจัดตั้งเท่านั้น ต่อเมื่อบ่ายมากๆ
หลัง 16.00-17.00 น. ไปแล้วจึงจะมีประชาชนมาร่วม และมวลชนจำนวนสูงสุดจะเป็นช่วง 6 โมงเย็นถึง 3 ทุ่ม
ดังนั้น ดาราที่จะขึ้นพูดปลุกเร้าอารมณ์คนก็จะต้องเป็นช่วงทุ่มหนึ่งถึง 3 ทุ่ม ประจวบกับเป็นช่วงที่มีคนทางบ้าน
ดูทีวีมากที่สุด
สำหรับดาราที่ขึ้นพูดบนเวทีนั้นสำคัญมาก เพราะจะเป็นคนที่จะตรึงมวลชนไว้กับที่ให้เห็นคล้อยตาม
ที่น่าสังเกตดาราคนดังๆ ทั้ง 2 ฝ่ายมักจะเป็นชาวภาคใต้ รองลงมาคนกรุงเทพฯ ส่วนคนภาคเหนือ
ภาคอีสาน สู้ไม่ได้ พูดไม่เก่ง แถมพูดภาษากลางมีสำเนียง แต่คนใต้มีสำเนียง "ทองแดง" บ้างก็ไม่เป็นไร
ต่อไปนี้คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า การชุมนุมหรือม็อบได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการเมืองภาคประชาชนไปแล้ว
เพราะเหตุผลที่ว่าประชาชนไทยเราได้แบ่งค่ายไปแล้ว คำว่า "ปรองดอง" เป็นคำของ "ยี่เก" ไปแล้ว ไม่มี
ประโยชน์ที่จะเอามาพูด
ข้อสำคัญรัฐสภาจะต้องสะท้อนเสียงเหล่านี้ให้ได้ จะได้ไม่ยุ่ง
(ที่มา:มติชนรายวัน 21พ.ย.2556)
ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1385029224&grpid=01&catid=&subcatid=
ติดตามดูพฤติกรรมม็อบ ที่ยังชุมนุมกันอยู่ เป็นอย่างที่ ว่าหรือเปล่า