คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
การที่สภาคัดค้านอย่างสุจริตแม้แต่กับพวกเดียวกันเองนั้นมันเคยเกิดขึ้นกับสภาของพวกฝรั่งตะวันตกเท่านั้นครับ อย่างเช่นสภาคองเกรสที่พรรคเดียวกันก็เคยค้านนโยบายของประธานาธิบดี แต่กรณีการค้านอย่างสุจริตแบบนี้ไม่เคยเห็นในสภาประเทศอื่นๆเลย อย่างประเทศไทยเองรัฐบาลแพ้โหวตก็เกิดขึ้นน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่แพ้เพราะฝ่ายเดียวกันคัดค้านด้วย
ระบบสภาที่ขาดการถ่วงดุลแบบนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้เช่นกันด้วยการตั้งรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ เพราะยิ่งเสียงข้างมากใกล้เคียงกับฝ่ายค้านแล้วการโหวตอะไรก็จะมีโอกาสแพ้โหวตสูง เพียงแต่ในความคิดของทุกคนมักจะคิดและมองแค่ว่าอยากให้ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงเยอะๆเพื่อความมั่นคง ไม่มีใครอยากจะให้การบริหารประเทศสะดุดจากการแพ้โหวต
แต่กระนั้นก็ไม่เคยเห็นประเทศไหนที่เลือกตั้งฝ่ายบริหารแบบเต็มตัวเลย เต็มที่ก็มีแค่เลือกตั้งประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดีมาเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารเท่านั้น
ระบบสภาที่ขาดการถ่วงดุลแบบนี้ก็สามารถที่จะแก้ไขได้เช่นกันด้วยการตั้งรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ เพราะยิ่งเสียงข้างมากใกล้เคียงกับฝ่ายค้านแล้วการโหวตอะไรก็จะมีโอกาสแพ้โหวตสูง เพียงแต่ในความคิดของทุกคนมักจะคิดและมองแค่ว่าอยากให้ฝ่ายรัฐบาลมีเสียงเยอะๆเพื่อความมั่นคง ไม่มีใครอยากจะให้การบริหารประเทศสะดุดจากการแพ้โหวต
แต่กระนั้นก็ไม่เคยเห็นประเทศไหนที่เลือกตั้งฝ่ายบริหารแบบเต็มตัวเลย เต็มที่ก็มีแค่เลือกตั้งประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดีมาเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารเท่านั้น
แสดงความคิดเห็น
ทำไมประเทศไทยจึงไม่เลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรงแยกจากนิติบัญญัติ
คือตามปรัชญาการเมืองที่เราใช้กันเขาแบ่งเป็น 3 อำนาจ คือ
-นิติบัญญัติ เป็นตัวแทนประชาชน ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ให้ฝ่ายบริหารและ ตุลาการใช้ มีหน้าที่ตรวจสอบ ฝ่ายบริหารโดยการอภิปรายในสภา
-บริหาร หน้าที่บริหารรัฐ ใช้งบประมาณ ใช้อำนาจตามกฎหมายที่สภาออกให้ คานอำนาจกับสภา คือยุบสภาได้
-ตุลาการ ตัดสินคดีความ ตามกฎหมายที่ออกจากสภา
จะเห็นว่าตามทฤษฎีมันต้องคานอำนาจกัน ดังนั้นมันไม่น่าจะเป็นพวกเดียวกันหรือเนื้อเดียวกันจนเกินไป ถ้าจะมาจากเลือกตั้งก็น่าจะเลือกตั้งกันคนละครั้ง แต่ของไทยเราไม่ว่าจะรัฐธรรมนูญปีไหนมันก็ไม่สามารถแยกนิติบัญญัติออกจากรัฐบาลได้เลยคือมันเป็นคนกลุ่มเดียวกันเลย แล้วมันจะคานอำนาจกันได้อย่างไร? ผมสงสัยมานานว่า ทำไมประเทศไทยจึงไม่เลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรงแยกจากนิติบัญญัติ? เพราะ การที่ต้องมาผูกติดกับนิติบัญญัติทำให้มีปัญหาหลายอย่าง
1.กรณีพรรคแกนนำรัฐบาลได้เสียงข้างมาก มากกว่าพรรคร่วมรัฐบาล และฝ่ายค้านเยอะๆ จะทำให้กลไกตรวจสอบในสภาทำไม่ได้เลย อภิปรายไป แม้มีหลักฐานแน่นอย่างไรก็ไม่มีผล เหมือนได้ดูการโต้ฝีปากกันเล่นๆเฉยๆ เกิดทุจริตคอรัปชั่นได้ง่าย ไร้การตรวจสอบอย่างเป็นมรรคเป็นผล
2.กรณีไม่มีพรรคใดพรรคหนึ่งได้เสียงข้างมากแบบเด็ดขาด ก็แบบที่เห็นกันอยู่แบบปัจจุบัน คือพรรคขนาดกลางและขนาดเล็กมีอำนาจต่อรองมาก รัฐบาลผสมไม่เป็นอันบริหารงานเพราะต้องคอยบริหารพรรคร่วมรัฐบาลซะมากกว่า (ปัจจุบันยังไม่ได้ตั้งรัฐบาล ก็ต่อรองจนแกนนำหน้าเขียวซะแล้ว)
3.ปัญหาตามข้อสอง เคยมีปัญหามากจนรัฐธรรมนูญปี 40 ออกแบบให้เป็น Strong Party, Strong Priminister เพื่อหวังให้พรรคเล็กไม่สามารถต่อรองพรรคใหญ่ได้มากนัก และนายกรัฐมนตรีมีอำนาจมาก ล้มยาก หวังว่าจะทำให้รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายต่อเนื่องไม่สะดุดจากปัญหาการเมือง แต่เมื่อใช้ไปแล้วก็จะเกิดปัญหาข้อ1. คือหากได้คนดีมาบริหารก็คงไปโลด แต่ได้คนทุจริตมาบริหารก็ทุจริตแบบมโหฬาร แล้วเอาลงตามระบบไม่ได้ด้วย ต้องไปเรียกร้อง ชุมนุมกัน ประชาชนแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เพราะการตรวจสอบ การเปลี่ยนรัฐบาล การคานอำนาจจากรัฐสภามันไม่มี
เพื่อนๆมีความเห็นกันอย่างไรบ้างครับ มีตัวอย่างประเทศไหนที่ระบบ 3 อำนาจนี้เขาคานอำนาจกันได้ดีมีไหมครับ และแต่ละอำนาจนี้ของประเทศนั้นๆมีที่มาอย่างไร