ทางออกประเทศไทย : ความขัดแย้งกันของอำนาจทั้ง 3 และการเกิดขึ้นของอำนาจที่ 4

กระทู้คำถาม

รูปที่ 1 : ความขัดแย้งกันของ 3 อำนาจ และการเกิดขึ้นของอำนาจที่ 4 สภาพลเมือง


1.ปัญหาความไม่สมดุลกันของอำนาจอธิปไตยทั้ง 3

อำนาจทั้ง 3 อำนาจ ไม่สามารถตรวจสอบ และคานอำนาจกันได้จริง เพราะ อำนาจฝ่ายบริหาร(รัฐบาล) กับ ฝ่ายนิติบัญญัติ(สส.ฝั่งรัฐบาล) เป็นกลุ่มคนที่มาจากฐานอำนาจเดียวกัน และมีผลประโยชน์ร่วมกัน

และการจะให้อำนาจฝ่ายตุลาการเข้าตรวจสอบอีก 2 อำนาจนั้น ก็จะเกิดการต่อต้านทางการเมืองอย่างรุนแรง











2.ตัวอย่างเหตุการณ์

รูปที่ 2 : โครงการรับจำนำข้าว ทำให้รัฐบาลต้องเก็บสต๊อกข้าวไว้ในโกดังเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพข้าว และราคาในตลาดโลก


2.1 ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ 1 : รัฐบาลออก "นโยบายจำนำข้าว" แม้ว่าจะมีข้อมูลจากหลายฝ่ายบ่งชี้ว่า จะมีการขาดทุนปีละ 4 แสนล้านบาท อีกทั้งยังมีช่องว่างให้ทุจริตจำนวนมาก แต่รัฐบาลก็อ้างว่า "เป็นอำนาจฝ่ายบริหาร" ใครก็ห้ามเข้ามายุ่ง

ซึ่งในระบอบประชาธิปไตย อำนาจที่ถูกคาดหวังให้ตรวจสอบรัฐบาลคืออำนาจ "ฝ่ายนิติบัญญัติ" โดยการเปิดอภิปลายไม่ไว้วางใจรัฐบาล แต่ ทว่า สส.ในสภาเกินครึ่ง มาจากพรรคเพื่อไทย หมายความว่า ผู้ที่ชนะการเลือกตั้งจะทำอะไรก็ได้? แล้วเราจะสร้างอำนาจอะไรมาตรวจสอบ รัฐบาล?








รูปที่ 3 : ป้ายคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรม



2.2 ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ 2 : "รัฐสภา" ออกกฎหมาย พรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ซึ่งถูกผลักดันโดย สส.พรรคเพื่อไทย ซึ่งเมื่อดูเนื้อหาสาระของกฎหมาย ก็จะพบว่า คนที่ได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้มากที่สุด ก็คือ คนในรัฐบาล หมายความว่า หากใครมี สส.ในสภามากที่สุด ก็สามารถออกกฎหมายอะไรก็ได้? แล้วเราจะสร้างอำนาจอะไรมาตรวจสอบ รัฐสภา?









รูปที่ 4 : ค้อนและตาชั่ง


2.3 ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ 3 : เมื่ออำนาจ "ฝ่ายบริหาร" และ "ฝ่ายนิติบัญญัติ" มาจากกลุ่มก้อนทางการเมืองเดียวกัน ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มมีผลประโยชน์ร่วมกัน จึงทำให้อีกอำนาจ ซึ่งก็คือ "ฝ่ายตุลาการ" ถูกดึงเข้ามาอยู่ในวงล้อแห่งความขัดแย้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนในบางครั้งก็เกิดข้อครหาว่า "อำนาจล้นฟ้า" ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมากในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย


ซึ่งในระบอบประชาธิปไตย อำนาจที่ถูกคาดหวังให้ตรวจสอบอำนาจ "ฝ่ายตุลาการ" ก็คือ อำนาจ "ฝ่ายนิติบัญญัติ" แต่ทว่า ก็จะเกิดปรากฎการณ์ "สองลุมหนึ่ง" ฝ่ายนิติบัญญัติ จึงหมดความชอบธรรมในการตรวจสอบ อำนาจฝ่ายตุลาการ หากเป็นเช่นนี้ แล้วเราจะมีอำนาจอะไร มาตรวจสอบ หรือคานอำนาจฝ่ายตุลาการ?



จริงๆแล้วนี้เป็นข้อเสียของระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ที่ก่อนจะเลือกตั้ง นักการเมืองก็เอาใจประชาชนสารพัด แต่พอได้เป็นรัฐบาล นึกจะทำอะไรก็ทำ นึกจะออกกฎหมายอะไรก็ออก โดยเฉพาะกฎหมาย พรบ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ซึ่งระบอบประชาธิปไตย "แบบตัวแทน" ที่ผู้ชนะกินรวบทุกอย่าง และไม่สามารถตรวจสอบได้โดยระบบที่คาดหวังเอาไว้ดังกล่าว ทำให้มีผู้เสนอ อำนาจที่ 4 นั้นก็คือ "อำนาจประชาธิปไตยทางตรง" จึงก่อให้เกิดแนวคิด "สภาพลเมือง" ขึ้นมา เพื่อตรวจสอบ และคอยควบคุมอำนาจทั้ง 3 อำนาจดังกล่าว






3.อำนาจที่ 4 "อำนาจประชาธิปไตยทางตรง" หรือเรียกอีกชื่อว่า "สภาพลเมือง"

รูปที่ 5 : รูปแบบทั่วไปของการประชุมสภาพลเมือง คล้ายการสัมนา


3.1 สภาพลเมืองคืออะไร

สภาพลเมืองก็คือ สภาที่มีจำนวน สส. ทั้งหมด 47 ล้านคน ซึ่ง สส.ในที่นี้ก็คือ ประชาชนทุกคนที่มีสิทธืเลือกตั้ง ทำหน้าที่ ออกกฎหมาย ตรวจสอบรัฐบาล ตรวจสอบฝ่ายตุลาการ สนับสนุนหรือคัดค้านโครงการภาครัฐ ฯลฯ สรุปก็คือ ทำหน้าที่เหมือนฝ่ายนิติบัญญัติแบบตัวแทนในปัจจุบันทุกอย่าง แต่มีอำนาจมากกว่า


อธิบายเพิ่มเติม สภาในปัจจุบัน มี สส. 500 คน เรียกว่า "ประชาธิปไตยตัวแทน" แต่สภาพลเมือง จะมี สส. 47 ล้านคน เรียกว่า "ประชาธิปไตยทางตรง"

จริงๆแล้ว สภาพลเมือง (47 ล้านคน) กับสภาผู้แทนราษฎร (500 คน)จะทำงานควบคู่กัน แต่สภาพลเมืองจะมีอำนาจมากกว่า
















3.2 สภาพลเมือง กับ สภาผู้แทนราษฎรแบบตัวแทน แบ่งการทำงานกันอย่างไร

รูปที่ 6 : บทบาทและหน้าที่ของ สภาพลเมือง และสภาผู้แทนราษฎร


อนึง ถ้ากฎหมายไม่สำคัญมาก หรือกฎหมายที่ไม่เป็นที่ขัดแย้งในสังคม ก็ให้ สภาผู้แทนราษฎรแบบตัวแทน (สส.500 คน)ออกกฎหมายไป แต่ถ้ากฎหมายทำมีความขัดแย้งสูง เช่น พรบ.นิรโทษกรรม ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วย ก็ให้ ประธานสภาพลเมืองกลาง เปิดประชุมคัดค้าน หรือสนับสนุน


จากนั้นก็ปล่อยเวลา สัก 1-2 อาทิตย์ เพื่อให้ประชาชนถกเถียงกัน โดยเฉพาะในโลกโซเชียมีเดีย จากก็นั้นเปิดลงคะแนน 3 วัน ใครที่สนับสนุน หรือคัดค้าน ก็แค่ เดินไปที่ สภาพลเมืองจังหวัดในแต่ละจังหวัด แล้วเอาบัตรประชาชนออกมา แล้วก็ไปลงคะแนน หาประชาชนท่านใดไม่ยอมไปใช้สิทธิ ก็จะถือว่าเสียสิทธินั้น และกฎหมาย หรือญัตติใดๆ จะสามารถตราออกมาบังคับใช้ได้นั้น ต้องมีผู้ใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่ง หรือ 23 ล้านคน จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม (จะว่าไปแล้วก็คล้ายๆระบบประชามติในปัจจุบัน)







3.3 สภาพลเมืองจังหวัด กับ สภาพลเมืองกลาง

การจะสร้างสภาพลเมือง ไม่ใช้งานง่ายๆ จึงต้องพัฒนาจาก "ล่างขึ้นบน" กล่าวคือ ต้องพัฒนา "สภาพลเมืองจังหวัด" ในจังหวัดที่พร้อมก่อน โดยสภาดังกล่าวจะทำหน้าที่ในเขตจังหวัดนั้นๆ เช่น การทำประชาพิจารณ์โครงการต่างๆของภาครัฐในเขตจังหวัด การตรวจสอบนายก อบจ. การออกกฎหมายเทศบัญญัติต่างๆในเขตจังหวัด ฯลฯ เมื่อพัฒนาจนถึงขั้นมี สภาพลเมืองครบทั้ง 77 จังหวัด ก็จะสามารถตั้งสภาพลเมืองกลางได้ เพื่อตรวจสอบ ถ่วงดุล กับอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้








3.4 สภาพลเมือง คือคำตอบของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

จริงๆแล้วระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน เราต่างก็เรียกร้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ซึ่งในทัศนะของผู้เขียนเล่งเห็นว่า การตั้ง "สภาพลเมือง" อาจจะเป็นทางออกที่ดี เพราะสภาพลเมือง มีผลทางกฎหมาย และนักการเมืองตัวดีในปัจจุบัน ได้สร้างความเกลียดชังให้กับประชาชนจนถึงระบบฐานรากของสังคมไปแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่เลวร้ายมาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่