อนุศาสน์ ๘ อย่าง นิสสัย ๔ อกรณียกิจ ๔
ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต เรียกนิสสัย มี ๔ อย่าง คือ เที่ยวบิณฑบาต ๑ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๑ อยู่โคนไม้ ๑ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑.
กิจที่ไม่ควรทำ เรียกอกรณียกิจ มี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ๑ ลักของเขา ๑ ฆ่าสัตว์ ๑ พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ๑ กิจ ๔ อย่างนี้ บรรพชิตทำไม่ได้.
สิกขาของภิกษุมี ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา.
ความสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย ชื่อว่า ศีล. ความรักษาใจมั่น ชื่อว่าสมาธิ. ความรอบรู้ในกองสังขาร ชื่อว่าปัญญา.
โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม เรียกว่าอาบัติ.
อาบัตินั้นว่าโดยชื่อ มี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฏ ๑ ทุพภาสิต ๑
ปาราชิกนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากภิกษุ. สังฆาทิเสสนั้น ต้องเข้าแล้ว ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้. อาบัติอีก ๕ อย่างนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้ว ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจึงพ้นได้.
อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติเหล่านี้ ๖ อย่าง คือ ต้องด้วยไม่ละอาย ๑ ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ ๑ ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง ๑ ต้อง ด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ๑ ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ๑ ต้องด้วยลืมสติ ๑.
ข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ซึ่งยกขึ้นเป็นสิกขาบท ที่มาในพระปาติโมกข์ ๑ ไม่ได้มาในพระปาติโมกข์ ๑.
สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์นั้น คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ รวมเป็น ๒๒๐ นับทั้งอธิกรณสมถะด้วยเป็น ๒๒๗.
นวโกวาท คือกฏหมายของสงฆ์
ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต เรียกนิสสัย มี ๔ อย่าง คือ เที่ยวบิณฑบาต ๑ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ๑ อยู่โคนไม้ ๑ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ๑.
กิจที่ไม่ควรทำ เรียกอกรณียกิจ มี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ๑ ลักของเขา ๑ ฆ่าสัตว์ ๑ พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน ๑ กิจ ๔ อย่างนี้ บรรพชิตทำไม่ได้.
สิกขาของภิกษุมี ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา.
ความสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย ชื่อว่า ศีล. ความรักษาใจมั่น ชื่อว่าสมาธิ. ความรอบรู้ในกองสังขาร ชื่อว่าปัญญา.
โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม เรียกว่าอาบัติ.
อาบัตินั้นว่าโดยชื่อ มี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฏ ๑ ทุพภาสิต ๑
ปาราชิกนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากภิกษุ. สังฆาทิเสสนั้น ต้องเข้าแล้ว ต้องอยู่กรรมจึงพ้นได้. อาบัติอีก ๕ อย่างนั้น ภิกษุต้องเข้าแล้ว ต้องแสดงต่อหน้าสงฆ์หรือคณะหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่งจึงพ้นได้.
อาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติเหล่านี้ ๖ อย่าง คือ ต้องด้วยไม่ละอาย ๑ ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ ๑ ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง ๑ ต้อง ด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร ๑ ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร ๑ ต้องด้วยลืมสติ ๑.
ข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ซึ่งยกขึ้นเป็นสิกขาบท ที่มาในพระปาติโมกข์ ๑ ไม่ได้มาในพระปาติโมกข์ ๑.
สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์นั้น คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ รวมเป็น ๒๒๐ นับทั้งอธิกรณสมถะด้วยเป็น ๒๒๗.