ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงการคลัง ว่า ขณะที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังคงเผชิญวิกฤติทางการเมืองรอบด้านจนก่อให้เกิดสุญญากาศการเมืองนั้น ในส่วนของกลุ่มทุนทางการเมืองยังคงเดินเกมอย่างสุดลิ่มเพื่อหวังเร่งรัดการตักตวงผลประโยชน์ของตน โดยล่าสุด ผู้บริหารรถไฟฟ้าใต้ดินภายใต้สัมปทานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังหาทางเจรจากับฝ่ายการเมืองในรัฐบาลรักษาการผ่านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและ รมว.คลัง เพื่อให้ผลักดันแนวทางการให้สัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) แก่บริษัท โดยอ้างว่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนผู้ใช้บริการ และเพื่อให้เชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินเฉลิมรัชมงคลและรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ที่บริษัทรับสัมปทานอยู่
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้ารายดังกล่าวได้มีการเจรจาให้กระทรวงคมนาคมและ รฟม. อนุมัติสัมปทานการลงทุนให้แก่บริษัทโดยตรงโดยไม่ต้องประมูล แต่หลังจากรัฐบาลได้ยุบสภาไป จึงทำให้แนวโน้มการเจรจาเพื่อหาทางกินรวบสัมปทานโดยตรงทำได้ยากขึ้น จึงหันมาผลักดันให้ รฟม.เร่งรัดการเปิดการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินตามมติ ครม.เดิม แต่มีการล็อบบี้ให้ฝ่ายการเมืองกำหนดเงื่อนไขการประมูลในรูปแบบสัมปทานร่วมทุนในลักษณะที่เป็น PPP Gross Cost เช่นเดียวกับสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ที่บริษัทเพิ่งรับสัมปทานไป
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญระบบขนส่งตั้งข้อสังเกตว่า รูปแบบการให้สัมปทานรถไฟฟ้าไม่ว่าจะเลือกใช้รูปแบบใด ก็ล้วนเปิดช่องให้เอกชนบางรายผูกขาด อย่างกรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่มีการเซ็นสัญญาก่อนยุบสภานั้น เห็นได้ชัดเจนว่าแม้จะมีการประมูลตามโครงการ PPP แต่กลับเต็มไปด้วยความล่าช้าและมีราคาแพงกว่าราคาที่ รฟม. และเอดีบีศึกษาไว้ร่วม 27,000 ล้านบาท “ที่สำคัญหากทุกฝ่ายจะได้พิจารณาเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้ยึดทรัพย์นอดีตปลัดกระทรวงคมนาคมจำนวน 46 ล้านบาทข้อหาร่ำรวยผิดปกตินั้น ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงมาถึงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงนี้ด้วย เพราะเป็นการประมูลที่มีขึ้นในช่วงที่นายสุพจน์ดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด รฟม.โดยตรง”
ที่มา :
http://www.thairath.co.th/content/eco/404528
"บีเอ็มซีแอล" กินรวบรถไฟฟ้า สบช่องสุญญากาศรัฐบี้ รฟม.ปิดเกมประมูล
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้ารายดังกล่าวได้มีการเจรจาให้กระทรวงคมนาคมและ รฟม. อนุมัติสัมปทานการลงทุนให้แก่บริษัทโดยตรงโดยไม่ต้องประมูล แต่หลังจากรัฐบาลได้ยุบสภาไป จึงทำให้แนวโน้มการเจรจาเพื่อหาทางกินรวบสัมปทานโดยตรงทำได้ยากขึ้น จึงหันมาผลักดันให้ รฟม.เร่งรัดการเปิดการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินตามมติ ครม.เดิม แต่มีการล็อบบี้ให้ฝ่ายการเมืองกำหนดเงื่อนไขการประมูลในรูปแบบสัมปทานร่วมทุนในลักษณะที่เป็น PPP Gross Cost เช่นเดียวกับสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) ที่บริษัทเพิ่งรับสัมปทานไป
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญระบบขนส่งตั้งข้อสังเกตว่า รูปแบบการให้สัมปทานรถไฟฟ้าไม่ว่าจะเลือกใช้รูปแบบใด ก็ล้วนเปิดช่องให้เอกชนบางรายผูกขาด อย่างกรณีรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่มีการเซ็นสัญญาก่อนยุบสภานั้น เห็นได้ชัดเจนว่าแม้จะมีการประมูลตามโครงการ PPP แต่กลับเต็มไปด้วยความล่าช้าและมีราคาแพงกว่าราคาที่ รฟม. และเอดีบีศึกษาไว้ร่วม 27,000 ล้านบาท “ที่สำคัญหากทุกฝ่ายจะได้พิจารณาเรื่องที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้ยึดทรัพย์นอดีตปลัดกระทรวงคมนาคมจำนวน 46 ล้านบาทข้อหาร่ำรวยผิดปกตินั้น ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงมาถึงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงนี้ด้วย เพราะเป็นการประมูลที่มีขึ้นในช่วงที่นายสุพจน์ดำรงตำแหน่งประธานบอร์ด รฟม.โดยตรง”
ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/eco/404528