ในช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบหรือความรุนแรง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการชุมนุมของกลุ่มก้อนทางการเมืองต่างๆ หรือจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบก็ดี
เครื่องมือชิ้นหนึ่งที่รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารมักหยิบมาใช้ก็คือ "การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน" ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเชิงรุกแก่เจ้าหน้าที่รัฐ งดเว้นขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาควาอาญา เช่น การจับกุม ขัง ค้น สอบสวน ฯลฯ
รวมทั้งยังเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิบางประการด้วย
คำถามที่ตามมาก็คือ รัฐบาลมีอำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือไม่ เพียงใด และศาล จะเข้ามาควบคุม หรือ "ยุ่ง" กับเรื่องที่รัฐบาลทำในเรื่องดังกล่าวนี้ได้หรือไม่
ย้อนกลับไปในปี 2553 ที่คนเสื้อแดงถูกกล่าวหาว่าเป็นคน "เผาบ้านเผาเมือง" รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวเช่นกัน
โดยเริ่มจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามลำดับ
หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้มีบุคคลไปร้องต่อศาลยุติธรรม เพื่อให้พิจารณาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ซึ่งศาลก็ได้รับฟ้องไว้ และได้มีคำสั่ง
ตามที่ปรากฏในข่าวดังนี้
"ศาลยกฟ้อง คดีพร้อมพงษ์ ฟ้อง อภิสิทธิ์ ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน"
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 19 เมษายน 2553 18:35:57 น.
เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลแพ่งมีคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ 1389/2553 ให้ยกฟ้องคดีที่นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยพิเคราะห์แล้วเห็นว่าตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีเจตนารมณ์ที่จะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตท้องที่ได้ตามความจำเป็นในสถานการณ์ ซึ่งตามมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ความหมายของ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ว่าสถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวมหรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง ดังนั้นการที่คณะรัฐมนตรี (จำเลยที่1) ให้การเห็นชอบแก่นายกรัฐมนตรี (จำเลยที่2) ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553
ย่อมเป็นการใช้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ศาลมิอาจก้าวล่วงไปพิจารณาหรือทบทวนการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารเช่นว่านั้นได้ และรวมถึงการที่จำเลยที่ 2 ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ 1/2553 ให้นายสุเทพ จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ โดยอาศัยอำนาจตาม ม.7 วรรคสาม วรรคห้า และวรรคหก ม.8 — 9 ,11 และ 15 แห่ง พ.ร.ก.ดังกล่าว"
จากคำสั่งในคดีดังกล่าว น่าจะพอทำความเข้าใจได้ว่า อำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น เป็น "อำนาจโดยแท้ของฝ่ายบริหาร" ซึ่งศาลจะไม่ก้าวล่วงเข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจในการประกาศดังกล่าว รัฐบาลสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ อย่างไร และควรจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่
กลับมาสู่ปัจจุบัน ก็ได้มีการฟ้องคณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีต่อศาลยุติธรรมเพื่อขอให้เพิกถอนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเหมือนกัน ถ้าเรายึดตามบรรทัดฐานเดิม ศาลก็ไม่ควรก้าวล่วงเข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจดังกล่าว ดังที่ศาลเองได้เคยวางหลักไว้ในปี 2553
ถ้าศาลเข้ามาตรวจสอบ และถึงขนาดเพิกถอนการประกาศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ก็คงไม่มีทางคิดเป็นอื่นไปได้ นอกจาก
"ความยุติธรรมมีได้เฉพาะประชาธิปัตย์" เท่านั้น หรือ "ความยุติธรรมแบบสองมาตรฐาน" นั่นเอง
"ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน" การกระทำทางรัฐบาล : อำนาจโดยแท้ของฝ่ายบริหาร
เครื่องมือชิ้นหนึ่งที่รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารมักหยิบมาใช้ก็คือ "การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน" ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจเชิงรุกแก่เจ้าหน้าที่รัฐ งดเว้นขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาควาอาญา เช่น การจับกุม ขัง ค้น สอบสวน ฯลฯ
รวมทั้งยังเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติที่จำกัดสิทธิบางประการด้วย
คำถามที่ตามมาก็คือ รัฐบาลมีอำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือไม่ เพียงใด และศาล จะเข้ามาควบคุม หรือ "ยุ่ง" กับเรื่องที่รัฐบาลทำในเรื่องดังกล่าวนี้ได้หรือไม่
ย้อนกลับไปในปี 2553 ที่คนเสื้อแดงถูกกล่าวหาว่าเป็นคน "เผาบ้านเผาเมือง" รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ได้ใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวเช่นกัน
โดยเริ่มจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงตามลำดับ
หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้มีบุคคลไปร้องต่อศาลยุติธรรม เพื่อให้พิจารณาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ซึ่งศาลก็ได้รับฟ้องไว้ และได้มีคำสั่ง
ตามที่ปรากฏในข่าวดังนี้
"ศาลยกฟ้อง คดีพร้อมพงษ์ ฟ้อง อภิสิทธิ์ ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน"
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- จันทร์ที่ 19 เมษายน 2553 18:35:57 น.
เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลแพ่งมีคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ 1389/2553 ให้ยกฟ้องคดีที่นายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ยื่นฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กรณีประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยพิเคราะห์แล้วเห็นว่าตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มีเจตนารมณ์ที่จะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักรหรือในบางเขตท้องที่ได้ตามความจำเป็นในสถานการณ์ ซึ่งตามมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ความหมายของ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ว่าสถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวมหรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง ดังนั้นการที่คณะรัฐมนตรี (จำเลยที่1) ให้การเห็นชอบแก่นายกรัฐมนตรี (จำเลยที่2) ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553 ย่อมเป็นการใช้อำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ ศาลมิอาจก้าวล่วงไปพิจารณาหรือทบทวนการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารเช่นว่านั้นได้ และรวมถึงการที่จำเลยที่ 2 ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ พิเศษ 1/2553 ให้นายสุเทพ จำเลยที่ 3 เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ โดยอาศัยอำนาจตาม ม.7 วรรคสาม วรรคห้า และวรรคหก ม.8 — 9 ,11 และ 15 แห่ง พ.ร.ก.ดังกล่าว"
จากคำสั่งในคดีดังกล่าว น่าจะพอทำความเข้าใจได้ว่า อำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น เป็น "อำนาจโดยแท้ของฝ่ายบริหาร" ซึ่งศาลจะไม่ก้าวล่วงเข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจในการประกาศดังกล่าว รัฐบาลสามารถใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ อย่างไร และควรจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่
กลับมาสู่ปัจจุบัน ก็ได้มีการฟ้องคณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีต่อศาลยุติธรรมเพื่อขอให้เพิกถอนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวเหมือนกัน ถ้าเรายึดตามบรรทัดฐานเดิม ศาลก็ไม่ควรก้าวล่วงเข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจดังกล่าว ดังที่ศาลเองได้เคยวางหลักไว้ในปี 2553
ถ้าศาลเข้ามาตรวจสอบ และถึงขนาดเพิกถอนการประกาศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ก็คงไม่มีทางคิดเป็นอื่นไปได้ นอกจาก
"ความยุติธรรมมีได้เฉพาะประชาธิปัตย์" เท่านั้น หรือ "ความยุติธรรมแบบสองมาตรฐาน" นั่นเอง