กลุ่มประชาชนจากแฟนเพจ MC democracy group จัดกิจกรรมหน้าศาลแพ่ง รัชดา กรณีคำพิพากษา มีข้อห้าม 9 ข้อสำหรับรัฐบาลและ ศรส. ในการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
กลุ่มประชาชนที่นัดรวมตัว ผ่านทางเฟซบุ๊ก แฟนเพจ MC democracy group รวมกันด้านหน้าศาลแพ่ง รัชดา เพื่อแสดงจุดยืนเห็นต่างจากคำพิพากษาของศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ในคดี ที่นายถาวร เสนเนียม แกนนำผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง ในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ หรือ ศรส. และ พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นจำเลยที่ 1-3
ข้อหา ละเมิด จากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล และออกข้อกำหนดตาม พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมิชอบและยังไม่มีเหตุจำเป็น ซึ่งผู้ฟ้องขอให้ศาล สั่งเพิกถอนการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และห้ามใช้กำลังสลายการชุมนุม
ซึ่ง ศาลพิเคราะห์ แล้วเห็นว่า กฎหมายให้อำนาจฝ่ายบริหาร ในการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์คับขัน แต่การออก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จะต้องมีผลบังคับใช้กับคนทุกกลุ่ม แต่ศาลเห็นว่า การออกประกาศของจำเลย เป็นการบังคับใช้กับผู้ชุมนุม ที่มาชุมนุมตามสิทธิของรัฐธรรมนูญ ศาลจึงสั่งห้าม จำเลย 9 ข้อ ส่วนการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาล ศาลแพ่ง ไม่ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนแต่อย่างใด
ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ พวกเขาบอกว่าต้องการแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ต่อสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้
การจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 แล้ว โดยเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ นางดารณี กฤตบุญญาลัย พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์สุดสงวน สุธีสร อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยผู้สนับสนุนจำนวนหนึ่ง ก็จัดกิจกรรมลักษณะนี้เช่นกัน
ทีมา :
http://www.youtube.com/watch?v=wc3PFeIqiYU
22 กุมภาพันธ์ 2557
ประชาชนแสดงจุดยืนเห็นต่างคำพิพากษาศาลแพ่ง
กลุ่มประชาชนจากแฟนเพจ MC democracy group จัดกิจกรรมหน้าศาลแพ่ง รัชดา กรณีคำพิพากษา มีข้อห้าม 9 ข้อสำหรับรัฐบาลและ ศรส. ในการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
กลุ่มประชาชนที่นัดรวมตัว ผ่านทางเฟซบุ๊ก แฟนเพจ MC democracy group รวมกันด้านหน้าศาลแพ่ง รัชดา เพื่อแสดงจุดยืนเห็นต่างจากคำพิพากษาของศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ในคดี ที่นายถาวร เสนเนียม แกนนำผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง ในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์รักษาความสงบ หรือ ศรส. และ พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นจำเลยที่ 1-3
ข้อหา ละเมิด จากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล และออกข้อกำหนดตาม พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมิชอบและยังไม่มีเหตุจำเป็น ซึ่งผู้ฟ้องขอให้ศาล สั่งเพิกถอนการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และห้ามใช้กำลังสลายการชุมนุม
ซึ่ง ศาลพิเคราะห์ แล้วเห็นว่า กฎหมายให้อำนาจฝ่ายบริหาร ในการออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์คับขัน แต่การออก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จะต้องมีผลบังคับใช้กับคนทุกกลุ่ม แต่ศาลเห็นว่า การออกประกาศของจำเลย เป็นการบังคับใช้กับผู้ชุมนุม ที่มาชุมนุมตามสิทธิของรัฐธรรมนูญ ศาลจึงสั่งห้าม จำเลย 9 ข้อ ส่วนการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินของรัฐบาล ศาลแพ่ง ไม่ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนแต่อย่างใด
ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ พวกเขาบอกว่าต้องการแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ต่อสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้
การจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 แล้ว โดยเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ นางดารณี กฤตบุญญาลัย พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์สุดสงวน สุธีสร อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยผู้สนับสนุนจำนวนหนึ่ง ก็จัดกิจกรรมลักษณะนี้เช่นกัน
ทีมา : http://www.youtube.com/watch?v=wc3PFeIqiYU
22 กุมภาพันธ์ 2557