เมื่อบอกว่าดับทุกข์ เราก็มักจะคิดว่า เรายังไม่มีทุกข์ ทำไมต้องมาดับ จึงทำให้ไม่มีใครสนใจมาศึกษาและปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ จะมีก็คนที่กำลังมีความทุกข์เท่านั้น ที่สนใจที่จะมาศึกษาและปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ (แต่ส่วนมากคนที่ปฏิบัติก็คิดว่าจะปฏิบัติเพื่อเป็นนิสัยเอาไว้ไปดับกันในอีกหมื่นชาติแสนชาติ)
แต่แท้จริงแล้ว ความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าสอนนี้มันมีสองอย่าง คือทุกข์เปิดเผย กับทุกข์ซ่อนเร้น
ทุกข์เปิดเผยนั้นเห็นได้ง่าย คือจากความเศร้าโศก ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความแห้งเหี่ยวใจ ที่เป็นความรู้สึกทรมานใจ ที่เกิดมาพร้อมกับความไม่พอใจในความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจทั้งหลาย ที่มาพร้อมกับเสียงร้องไห้ และน้ำตา
ส่วนทุกขซ่อนเร้นนั้นเห็นได้ยาก ต้องสังเกตุจึงจะพบ และคนส่วนมากไม่คิดว่านี่เป็นความทุกข์ ซึ่งความทุกข์ซ่อนเร้นนั้นก็คือความรู้สึก หนัก (ไม่เบา), เหนื่อย (ไม่สบาย), เร่าร้อน (ไม่เย็น) ,ไม่สงบ (ดิ้นรน), ไม่แจ่มใส (ขุ่นมัว) ที่เป็นความรู้สึกทรมานใจหรือความรู้สึกที่ทนได้ยากที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความพอใจหรือยินดีในความรู้สึกที่น่าพอใจ (เมื่อพอใจมากทุกข์ซ่อนเร้นนี้ก็มีมาก เมื่อพอใจน้อย ทุกข์ซ่อนเร้นนี้ก็มีน้อย) ที่มาพร้อมกับเสียงหัวเราะและรอยยิ้ม
คือทุกข์เปิดเผยนั้นมันมีความทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน จึงเห็นได้ง่าย แต่ทุกข์ซ่อนเร้นนั้นมันมีความทุกข์มากซ่อนอยู่ภายใน แต่มีความสุขเพียงเล็กน้อยมาเคลือบความทุกข์เอาไว้ คนโง่ทั้งหลายจึงเห็นแต่ความสุข ไม่เห็นความทุกข์
ทุกข์เปิดเผยก็เหมือนคนที่ถูกบังคับให้แบกของหนักเดินตากแดด ส่วนทุกข์ซ่อนเร้นนั้นเหมือนคนที่พอใจที่จะแบกของหนักเดินตากแดดเอง ซึ่งไม่ว่าจะพอใจหรือไม่พอใจ มันก็มีความหนักและร้อนเท่าๆกัน จะต่างกันก็ตรงที่คนหนึ่งพอใจ แต่อีกคนหนึ่งไม่พอใจเท่านั้น
สรุปได้ว่า ความทุกข์ซ่อนเร้นนี้คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนให้ดับมันด้วย เพราะมันเกิดมาจากกามตัณหา (ความอยากในกามารมณ์) และ ภวตัณหา (ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น) คือเมื่อเกิดกามตัณหาและภวตัณหาขึ้นมาเมื่อใด จิตของเราก็จะเกิดความรู้สึกทรมานใจหรือหนัก เหนื่อย เร่าร้อน ไม่สงบ ไม่แจ่มใส ขึ้นมาด้วยทันที แต่เรากลับไม่คิดว่านี่คือความทุกข์ จึงได้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของพระพุทธเจ้าก็คือการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์เปิดเผยเท่านั้น ดังนั้นเราจึงลุ่มหลงติดใจในความสุข และพยายามแสวงหาความสุขจากการทำความดี เพราะคิดว่าพระพุทธเจ้าสอนให้ทำความดีเพื่อให้ได้ขึ้นสวรรค์ที่มีแต่ความสุขอยู่นานเท่านาน หรือทำความดีแล้วเกิดมาร่ำรวยสุขสบายไปเรื่อยๆอย่างไม่รู้จักจบสิ้น และเมื่อมีแต่ความสุขก็จะทำให้ไม่มีความทุกข์อยู่แล้ว ซึ่งนี่คือความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง เพราะการลุ่มหลงติดใจหรือพอใจในความสุขนั่นเอง ที่ทั้งทำให้จิตเกิดความทุกข์ทรมานซ่อนอยู่ด้วย และความสุขก็ยังเป็นเหตุให้เกิดปัญหาทั้งแก่ร่างกาย ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และโลก อย่างที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน (พระพุทธเจ้าสอนให้อยู่เหนือกรรมทั้งปวง) จึงขอให้ชาวพุทธสนใจที่จะศึกษาให้รู้จักความทุกข์ทั้งเปิดเผยและซ่อนเร้น เพื่อที่จะได้เบื่อหน่ายในความทุกข์ทั้งหลายและมาปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายกันต่อไป
สาเหตุที่ทำให้มนุษย์ไม่เข้าใจอริยสัจ ๔ ของพระพุทธเจ้าก็เพราะ ไม่เห็นทุกข์ซ่อนเร้น
แต่แท้จริงแล้ว ความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าสอนนี้มันมีสองอย่าง คือทุกข์เปิดเผย กับทุกข์ซ่อนเร้น
ทุกข์เปิดเผยนั้นเห็นได้ง่าย คือจากความเศร้าโศก ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความแห้งเหี่ยวใจ ที่เป็นความรู้สึกทรมานใจ ที่เกิดมาพร้อมกับความไม่พอใจในความรู้สึกที่ไม่น่าพอใจทั้งหลาย ที่มาพร้อมกับเสียงร้องไห้ และน้ำตา
ส่วนทุกขซ่อนเร้นนั้นเห็นได้ยาก ต้องสังเกตุจึงจะพบ และคนส่วนมากไม่คิดว่านี่เป็นความทุกข์ ซึ่งความทุกข์ซ่อนเร้นนั้นก็คือความรู้สึก หนัก (ไม่เบา), เหนื่อย (ไม่สบาย), เร่าร้อน (ไม่เย็น) ,ไม่สงบ (ดิ้นรน), ไม่แจ่มใส (ขุ่นมัว) ที่เป็นความรู้สึกทรมานใจหรือความรู้สึกที่ทนได้ยากที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับความพอใจหรือยินดีในความรู้สึกที่น่าพอใจ (เมื่อพอใจมากทุกข์ซ่อนเร้นนี้ก็มีมาก เมื่อพอใจน้อย ทุกข์ซ่อนเร้นนี้ก็มีน้อย) ที่มาพร้อมกับเสียงหัวเราะและรอยยิ้ม
คือทุกข์เปิดเผยนั้นมันมีความทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน จึงเห็นได้ง่าย แต่ทุกข์ซ่อนเร้นนั้นมันมีความทุกข์มากซ่อนอยู่ภายใน แต่มีความสุขเพียงเล็กน้อยมาเคลือบความทุกข์เอาไว้ คนโง่ทั้งหลายจึงเห็นแต่ความสุข ไม่เห็นความทุกข์
ทุกข์เปิดเผยก็เหมือนคนที่ถูกบังคับให้แบกของหนักเดินตากแดด ส่วนทุกข์ซ่อนเร้นนั้นเหมือนคนที่พอใจที่จะแบกของหนักเดินตากแดดเอง ซึ่งไม่ว่าจะพอใจหรือไม่พอใจ มันก็มีความหนักและร้อนเท่าๆกัน จะต่างกันก็ตรงที่คนหนึ่งพอใจ แต่อีกคนหนึ่งไม่พอใจเท่านั้น
สรุปได้ว่า ความทุกข์ซ่อนเร้นนี้คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนให้ดับมันด้วย เพราะมันเกิดมาจากกามตัณหา (ความอยากในกามารมณ์) และ ภวตัณหา (ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น) คือเมื่อเกิดกามตัณหาและภวตัณหาขึ้นมาเมื่อใด จิตของเราก็จะเกิดความรู้สึกทรมานใจหรือหนัก เหนื่อย เร่าร้อน ไม่สงบ ไม่แจ่มใส ขึ้นมาด้วยทันที แต่เรากลับไม่คิดว่านี่คือความทุกข์ จึงได้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของพระพุทธเจ้าก็คือการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์เปิดเผยเท่านั้น ดังนั้นเราจึงลุ่มหลงติดใจในความสุข และพยายามแสวงหาความสุขจากการทำความดี เพราะคิดว่าพระพุทธเจ้าสอนให้ทำความดีเพื่อให้ได้ขึ้นสวรรค์ที่มีแต่ความสุขอยู่นานเท่านาน หรือทำความดีแล้วเกิดมาร่ำรวยสุขสบายไปเรื่อยๆอย่างไม่รู้จักจบสิ้น และเมื่อมีแต่ความสุขก็จะทำให้ไม่มีความทุกข์อยู่แล้ว ซึ่งนี่คือความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง เพราะการลุ่มหลงติดใจหรือพอใจในความสุขนั่นเอง ที่ทั้งทำให้จิตเกิดความทุกข์ทรมานซ่อนอยู่ด้วย และความสุขก็ยังเป็นเหตุให้เกิดปัญหาทั้งแก่ร่างกาย ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และโลก อย่างที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน (พระพุทธเจ้าสอนให้อยู่เหนือกรรมทั้งปวง) จึงขอให้ชาวพุทธสนใจที่จะศึกษาให้รู้จักความทุกข์ทั้งเปิดเผยและซ่อนเร้น เพื่อที่จะได้เบื่อหน่ายในความทุกข์ทั้งหลายและมาปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายกันต่อไป