ทรงตรัสพระคาถานี้เนืองๆ (ชื่อราหุลสูตร) เป็นสัมมาปฏิบัติ เพื่อทำที่สุดทุกข์
หากเราๆท่านๆ สมาทาน นำไปปฏิบัติปรับใช้ ให้เหมาะกับตนตามความสามารถแล้ว
ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก
ทรงตรัสสอนว่า
"เธอละกามคุณ ๕ มีรูปเป็นที่รักเป็นที่รื่นรมย์ใจ ออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว
จงทำที่สุดทุกข์เถิด
เธอจงคบกัลยาณมิตร
๑ จงนอนนั่งในที่อันสงัด ปราศจากเสียงกึกก้อง
จงรู้ประมาณในโภชนะ
๒ เธออย่าได้กระทำความอยากในวัตถุอันเป็นที่เกิดตัณหา
เหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
๓ และคิลานเภสัช
๓
เธออย่ากลับมาสู่โลกนี้อีก จงเป็นผู้สำรวมในปาฏิโมกข์
๔และในอินทรีย์ ๕
๕
จงมีสติไปแล้วในกายบ้าง
๖ ในอาหาเรปฏิกูลสัญญาบ้าง (กำหนดหมายให้เห็นว่า
อาหารเป็นของน่าเกลียด สกปรก โสโครก) จงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย
๗
จงเว้นศุภนิมิต
๘ (การกำหนดหมายว่าสวยงาม) อันก่อให้เกิดความกำหนัด
จงอบรมจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ให้ตั้งมั่นดีแล้วในอสุภภาวนา
๙ จงอบรมวิปัสสนา
๐
จงละมานานุสัย แต่นั้นเธอจะเป็นผู้สงบเพราะละมานะ (ความถือตัว) เที่ยวไป"
๑ - คบมิตรดี
๒ - รู้จักประมาณในการฉันอาหาร
๓ - ที่นั่งที่นอน ยารักษาโรค (จีวร บิณฑบาตฯ เทียบได้กับปัจจัย ๔)
๔ - คือ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาติ
๕ - สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๖ - ได้แก่ การนึกถึงร่างกายเป็นอารมณ์ โดยกำหนดธาตุ ๔, กายคตสติ, อานาปานสติ
คือ สติที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออก
๗ - เบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิด
๘ - นิมิตที่สวยงาม
๙ - การทำในใจในความไม่สวยไม่งาม
๐ - เห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงฯ
เอกสารอ้างอิง :
๑. ๘๐ พระอรหันต์ ฉบับสมบูรณ์ : พระอรหันต์องค์ที่ ๕๙ พระราหุลเถระ : ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านใคร่ศึกษา
รวบรวมและเรียบเรียงโดย อ. ปัญญา ใช้บางยาง
๒. ชีวประวัติสามเถร : ราหุลสามเณร ผู้เป็นเอตทัคคะทาง "ใคร่ต่อการศึกษา"
รวบรวมและเรียบเรียงโดย อ. จำเนียร ทรงฤกษ์
ศึกษา ค้นคว้า ในพระไตรปิฎก (ดู ขุ.สุ. ข้อ ๓๒๘)
พระโอวาทที่ตรัสสอนพระราหุลบ่อยๆ
หากเราๆท่านๆ สมาทาน นำไปปฏิบัติปรับใช้ ให้เหมาะกับตนตามความสามารถแล้ว
ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก
ทรงตรัสสอนว่า
"เธอละกามคุณ ๕ มีรูปเป็นที่รักเป็นที่รื่นรมย์ใจ ออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว
จงทำที่สุดทุกข์เถิด
เธอจงคบกัลยาณมิตร๑ จงนอนนั่งในที่อันสงัด ปราศจากเสียงกึกก้อง
จงรู้ประมาณในโภชนะ๒ เธออย่าได้กระทำความอยากในวัตถุอันเป็นที่เกิดตัณหา
เหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ๓ และคิลานเภสัช๓
เธออย่ากลับมาสู่โลกนี้อีก จงเป็นผู้สำรวมในปาฏิโมกข์๔และในอินทรีย์ ๕๕
จงมีสติไปแล้วในกายบ้าง๖ ในอาหาเรปฏิกูลสัญญาบ้าง (กำหนดหมายให้เห็นว่า
อาหารเป็นของน่าเกลียด สกปรก โสโครก) จงเป็นผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย๗
จงเว้นศุภนิมิต๘ (การกำหนดหมายว่าสวยงาม) อันก่อให้เกิดความกำหนัด
จงอบรมจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ให้ตั้งมั่นดีแล้วในอสุภภาวนา๙ จงอบรมวิปัสสนา๐
จงละมานานุสัย แต่นั้นเธอจะเป็นผู้สงบเพราะละมานะ (ความถือตัว) เที่ยวไป"
๑ - คบมิตรดี
๒ - รู้จักประมาณในการฉันอาหาร
๓ - ที่นั่งที่นอน ยารักษาโรค (จีวร บิณฑบาตฯ เทียบได้กับปัจจัย ๔)
๔ - คือ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาติ
๕ - สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๖ - ได้แก่ การนึกถึงร่างกายเป็นอารมณ์ โดยกำหนดธาตุ ๔, กายคตสติ, อานาปานสติ
คือ สติที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออก
๗ - เบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิด
๘ - นิมิตที่สวยงาม
๙ - การทำในใจในความไม่สวยไม่งาม
๐ - เห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงฯ
เอกสารอ้างอิง :
๑. ๘๐ พระอรหันต์ ฉบับสมบูรณ์ : พระอรหันต์องค์ที่ ๕๙ พระราหุลเถระ : ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านใคร่ศึกษา
รวบรวมและเรียบเรียงโดย อ. ปัญญา ใช้บางยาง
๒. ชีวประวัติสามเถร : ราหุลสามเณร ผู้เป็นเอตทัคคะทาง "ใคร่ต่อการศึกษา"
รวบรวมและเรียบเรียงโดย อ. จำเนียร ทรงฤกษ์
ศึกษา ค้นคว้า ในพระไตรปิฎก (ดู ขุ.สุ. ข้อ ๓๒๘)