สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ (เป็นเครื่องมือทางการเงิน)
- พันธบัตร เป็นตราสาร (การลงทุนอย่างหนึ่ง) ซึ่งมีลักษณะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล
- หุ้นกู้ มีลักษณะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทผู้ออก (ให้สิทธิเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นสามัญ)
การลงทุน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. แบบเจ้าของ คือ หุ้นสามัญ (ซื้อหุ้นสามัญ)
2. แบบเจ้าหนี้ คือ ฝากเงิน หุ้นกู้ หรือพันธบัตร
Note : หุ้นกู้แปลงสภาพ อยู่ตรงกลางระหว่างแบบเจ้าของและแบบเจ้าหนี้
การที่ประชาชนนำเงินไปฝากธนาคาร จะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคาร ธนาคารจะรวบรวมเงินฝาก และปล่อยกู้ให้กับบริษัทต่างๆในอัตราดอกเบี้ยต่างๆ ดังนั้นการที่มีการออกพันธบัตร พุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ นั้นเป็นการลดบทบาทของธนาคารลง เป็นการดำเนินการระหว่างบริษัทกับประชาชน โดยประชาชนจะได้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากธนาคาร และบริษัทก็มีภาระดอกเบี้ยจ่ายที่ต่ำกว่ากู้เงินจากธนาคาร
ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการลงทุนพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ
1. ผู้ออกตราสาร เป็นใคร จะได้รับข้อมูลข่าวสารจากที่ปรึกษาทางการเงิน หรือหนังสือชี้ชวนต่างๆ
2. ระดับความน่าเชื่อถือ กลต.กำหนดให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เป็นผู้กำหนด ซึ่งมี 2 แห่ง
ระดับความน่าเชื่อถือ
ระดับเพื่อการลงทุน
AAA
AA
A
BBB
BB
B
ระดับเพื่อการเก็งกำไร
CCC
CC
C
D
ในแต่ละระดับอาจจะมีประจุ บวก ลบได้ด้วย เช่น BBB+ เป็นต้น
ระดับความน่าเชื่อถือ อาจพิจารณาในส่วนของสินทรัพย์ค้ำประกันด้วยว่ามีหรือไม่
3. อายุ
4. ดอกเบี้ยหน้าตั๋ว แบ่งเป็น คงที่หรือลอยตัว (แปรเปลี่ยนตามตลาด)
5. อัตราผลตอบแทนที่ได้รับ จะควบคู่กับราคาหุ้นกู้ โดยพิจารณาว่าราคาที่ซื้อได้ผลตอบแทนเท่าไหร่
ผลตอบแทนจากการลงทุน เมือถือจนครบกำหนด
ประกอบด้วย
1. ดอกเบี้ยที่ได้รับทุก 6 เดือน
2. เงินต้น เมือถือจนครบกำหนด
ผลตอบแทนจากการลงทุน เมือถือไม่ครบกำหนด
เช่น พันธบัตร 7 ปี ถือไป 3 ปีแล้วขาย
1. ดอกเบี้ยที่ได้รับทุก 6 เดือน
2. ส่วนต่างจากราคาเมื่อขาย
3. ดอกเบี้ยของดอกเบี้ย คือนำไปลงทุนต่อ
ความเสี่ยงจากการลงทุน แบ่งออกเป็น
1. ความเสี่ยงทางด้านราคา (Price risk) เกิดขึ้น เมื่อต้องขายในตลาดรองเมื่อยามที่ดอกเบี้ยสูงขึ้น
2. ความเสี่ยงด้านการลงทุนต่อ (Reinvestment risk)เกิดขึ้น เมื่อ มีกระแสเงินให้ลงทุนยามดอกเบี้ยต่ำ
3. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit risk) เกิดขึ้น เมื่อ ผู้ออกผิดชำระดอกเบี้ยและเิงินต้น
การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านเครดิต แบ่งออกเป็น
- วิเคราะห์งบการเงิน ดึความสามารถในการทำกำไร
- วิเคราะห์บริษัท ดูว่าตัวธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันได้หรือไม่
- วิเคราะห์อุตสาหกรรม ดูแนวโน้มการเดิบโต และการแข่งขันของคู่แข่งขันรายใหม่ว่าเป็นอย่างไร
4. ความเสี่ยงในสภาพคล่อง (Liquidity risk) เกิดขึ้น เมื่อต้องขายตราสารตอนยังไม่ครบกำหนด โดยปกติตราสารสามารถเปลี่ยนมือได้โดยการขายในตลาดรอง โดยจะขายง่ายหรือยาก ดูจากสภาพคล่องในตลาดรอง
5. ความเสี่ยงจากการถูกไถ่ถอนก่อนครบกำหนด (Call risk) เฉพาะกรณีมีการกำหนดสิทธิไว้ ยามดอกเบี้ยต่ำ ผู้ออกอาจมีการไถ่ถอนคืนตามสิทธิ
นักลงทุน แบ่งออกเป็น
1.นักลงทุนเชิงรุก
เช่น ถ้ารู้ว่าอัตรดอกเบี้ยจะลดลง ..ก็ถือตราสารให้ระยะเวลายาวหน่อย เพื่อจะได้ถือครองอัตราดอกเบี้ยสูงๆไว้นานๆ อย่างไรก็ตามก็มีความเสี่ยงจากการถือไว้ระยะเวลายาวนาน
อายุยาว --> ราคาเคลื่อนไหวมาก
อายุสั้น --> ราคาเคลื่อนไหวน้อย
2. นักลงทุนเชิงรับ (Passive) เช่นเราจะลงทุน 5 ปี ก็ควรถือพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่มีระยะเวลาใกล้เคียง 5 ปี และถือไว้ให้ครบกำหนด จะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับการไปขายในตลาดรอง
ประเภทความเสี่ยง จัดการโดย
1. Price risk เลือกลงทุนในตราสารอายุใกล้เคียงกับระยะเวลาลงทุน
2. Reinvestment risk เลือกลงทุนในตราสารอายุใกล้เคียงกับระยะเวลาลงทุน
3. Credit risk ศึกษาอันดับความน่าเชื้อถือ
4. Liquidity risk ทำความเข้าใจส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อ เสนอขายแต่ต้น
5. Call risk ศึกษาเงื้อนไข/ประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
การลงทุน จะต้องแบ่งการลงทุน เป็น Assets allocation โดยมีเงินฝาก ตราสารหนี้ และตราสารทุน โดยตราสารหนี้นั้น อยู่ตรงกลางระหว่างเงินฝาก และตราสารทุน เนื่องจากมีความเสี่ยงกลางๆ ต่ำกว่าหุ้นสามัญ ควบคุมและจัดการได้ ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก และให้สภาพคล่องกับผู้ถือได้ นอกจากนี้ยังมีทางเลือกที่สามารถลงทุนให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่จะใช้เงินได้อีกด้วย
หุ้นกู้แปลงสภาพ อยู่ระหว่าง ส่วนของเจ้าของ และส่วนที่เป็นเจ้าหนี้ .. ถ้าถือจนครบกำหนดโดยไม่มีการแปลงภาพ จะได้รับดอกเบี้ยและเงินต้น แต่ถ้ามีการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ก็จะได้รับเงินปันผลตอบแทน อย่างไรก็ตามถ้าเห็นว่าแนวโน้มบริษัทดีก็เปลี่ยนเป็นหุ้น .. แต่ถ้าแนวโน้มไม่ดีก็ถือไปให้ครบกำหนด เพื่อให้ได้รับเงินต้นคืน เนื่องจากถ้าบริษัทล้ม priority ของเจ้าหนี้ ย่อมดีดว่าส่วนของเจ้าของอยู่แล้ว
กองทุนรวม คืออะไร????
กองทุนรวมคือ การนำเงินของผู้ลงทุนหลายๆ คนมารวมกัน แล้วนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ตามนโยบายของกองทุน ภายใต้การบริหารของผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุน สินทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนนั้นมีหลายประเภทเช่น หุ้นสามัญ พันธบัตร หุ้นกู้ ทองคำ เป็นต้น แม้ว่า กองทุนรวมได้รับการบริหารโดยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ แต่ผู้ลงทุนก็มีโอกาสขาดทุนจากการลงทุนในกองทุนรวมได้ เช่น ในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง การลงทุนในกองทุนหุ้นระยะสั้นมีโอกาสได้ผลตอบแทนติดลบหรือขาดทุนได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรทำความเข้าใจถึงสินทรัพย์ที่กองทุนลงทุนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เพื่อให้สามารถรับมือกับความผันผวนจากการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นได้
พูดง่ายๆก็คือฝากเค้าไปลงทุนหรือเล่นหุ้นให้เรารวมกับคนอื่นๆที่เค้าไปฝากเล่นเหมือนกัน เหมือนเราเป็นลูกทัวร์ที่มารวมๆกันแล้วเลือกว่าจะให้ไกด์คนไหนพาไปเที่ยว ทีนี้เราจะเลือกตัวไหน กองไหน ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรารับได้ High risk high return เสี่ยงมากๆโอกาสได้ก็มากเช่นกัน แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่เราจะขาดทุนได้ค่ะ
อ้างอิงข้อมูลจากตำราเรียน และเว็บ
http://k-expert.askkbank.com/Article/Pages/A2_086.aspx
http://www.start-to-invest.com/webedu/content.html;jsessionid=6C5FA5160573CA643A8BE735F07303BA?menu_id=449
ผิดพลาดประการใด ใครพอชี้แนะได้ น้อมรับค่ะ
แก้ไขคำผิดค่ะ
- พันธบัตร เป็นตราสาร (การลงทุนอย่างหนึ่ง) ซึ่งมีลักษณะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล
- หุ้นกู้ มีลักษณะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทผู้ออก (ให้สิทธิเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นสามัญ)
การลงทุน แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. แบบเจ้าของ คือ หุ้นสามัญ (ซื้อหุ้นสามัญ)
2. แบบเจ้าหนี้ คือ ฝากเงิน หุ้นกู้ หรือพันธบัตร
Note : หุ้นกู้แปลงสภาพ อยู่ตรงกลางระหว่างแบบเจ้าของและแบบเจ้าหนี้
การที่ประชาชนนำเงินไปฝากธนาคาร จะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากจากธนาคาร ธนาคารจะรวบรวมเงินฝาก และปล่อยกู้ให้กับบริษัทต่างๆในอัตราดอกเบี้ยต่างๆ ดังนั้นการที่มีการออกพันธบัตร พุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ นั้นเป็นการลดบทบาทของธนาคารลง เป็นการดำเนินการระหว่างบริษัทกับประชาชน โดยประชาชนจะได้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าเงินฝากธนาคาร และบริษัทก็มีภาระดอกเบี้ยจ่ายที่ต่ำกว่ากู้เงินจากธนาคาร
ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการลงทุนพันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ
1. ผู้ออกตราสาร เป็นใคร จะได้รับข้อมูลข่าวสารจากที่ปรึกษาทางการเงิน หรือหนังสือชี้ชวนต่างๆ
2. ระดับความน่าเชื่อถือ กลต.กำหนดให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เป็นผู้กำหนด ซึ่งมี 2 แห่ง
ระดับความน่าเชื่อถือ
ระดับเพื่อการลงทุน
AAA
AA
A
BBB
BB
B
ระดับเพื่อการเก็งกำไร
CCC
CC
C
D
ในแต่ละระดับอาจจะมีประจุ บวก ลบได้ด้วย เช่น BBB+ เป็นต้น
ระดับความน่าเชื่อถือ อาจพิจารณาในส่วนของสินทรัพย์ค้ำประกันด้วยว่ามีหรือไม่
3. อายุ
4. ดอกเบี้ยหน้าตั๋ว แบ่งเป็น คงที่หรือลอยตัว (แปรเปลี่ยนตามตลาด)
5. อัตราผลตอบแทนที่ได้รับ จะควบคู่กับราคาหุ้นกู้ โดยพิจารณาว่าราคาที่ซื้อได้ผลตอบแทนเท่าไหร่
ผลตอบแทนจากการลงทุน เมือถือจนครบกำหนด
ประกอบด้วย
1. ดอกเบี้ยที่ได้รับทุก 6 เดือน
2. เงินต้น เมือถือจนครบกำหนด
ผลตอบแทนจากการลงทุน เมือถือไม่ครบกำหนด
เช่น พันธบัตร 7 ปี ถือไป 3 ปีแล้วขาย
1. ดอกเบี้ยที่ได้รับทุก 6 เดือน
2. ส่วนต่างจากราคาเมื่อขาย
3. ดอกเบี้ยของดอกเบี้ย คือนำไปลงทุนต่อ
ความเสี่ยงจากการลงทุน แบ่งออกเป็น
1. ความเสี่ยงทางด้านราคา (Price risk) เกิดขึ้น เมื่อต้องขายในตลาดรองเมื่อยามที่ดอกเบี้ยสูงขึ้น
2. ความเสี่ยงด้านการลงทุนต่อ (Reinvestment risk)เกิดขึ้น เมื่อ มีกระแสเงินให้ลงทุนยามดอกเบี้ยต่ำ
3. ความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit risk) เกิดขึ้น เมื่อ ผู้ออกผิดชำระดอกเบี้ยและเิงินต้น
การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านเครดิต แบ่งออกเป็น
- วิเคราะห์งบการเงิน ดึความสามารถในการทำกำไร
- วิเคราะห์บริษัท ดูว่าตัวธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันได้หรือไม่
- วิเคราะห์อุตสาหกรรม ดูแนวโน้มการเดิบโต และการแข่งขันของคู่แข่งขันรายใหม่ว่าเป็นอย่างไร
4. ความเสี่ยงในสภาพคล่อง (Liquidity risk) เกิดขึ้น เมื่อต้องขายตราสารตอนยังไม่ครบกำหนด โดยปกติตราสารสามารถเปลี่ยนมือได้โดยการขายในตลาดรอง โดยจะขายง่ายหรือยาก ดูจากสภาพคล่องในตลาดรอง
5. ความเสี่ยงจากการถูกไถ่ถอนก่อนครบกำหนด (Call risk) เฉพาะกรณีมีการกำหนดสิทธิไว้ ยามดอกเบี้ยต่ำ ผู้ออกอาจมีการไถ่ถอนคืนตามสิทธิ
นักลงทุน แบ่งออกเป็น
1.นักลงทุนเชิงรุก
เช่น ถ้ารู้ว่าอัตรดอกเบี้ยจะลดลง ..ก็ถือตราสารให้ระยะเวลายาวหน่อย เพื่อจะได้ถือครองอัตราดอกเบี้ยสูงๆไว้นานๆ อย่างไรก็ตามก็มีความเสี่ยงจากการถือไว้ระยะเวลายาวนาน
อายุยาว --> ราคาเคลื่อนไหวมาก
อายุสั้น --> ราคาเคลื่อนไหวน้อย
2. นักลงทุนเชิงรับ (Passive) เช่นเราจะลงทุน 5 ปี ก็ควรถือพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่มีระยะเวลาใกล้เคียง 5 ปี และถือไว้ให้ครบกำหนด จะได้ไม่ต้องเสี่ยงกับการไปขายในตลาดรอง
ประเภทความเสี่ยง จัดการโดย
1. Price risk เลือกลงทุนในตราสารอายุใกล้เคียงกับระยะเวลาลงทุน
2. Reinvestment risk เลือกลงทุนในตราสารอายุใกล้เคียงกับระยะเวลาลงทุน
3. Credit risk ศึกษาอันดับความน่าเชื้อถือ
4. Liquidity risk ทำความเข้าใจส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อ เสนอขายแต่ต้น
5. Call risk ศึกษาเงื้อนไข/ประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย
การลงทุน จะต้องแบ่งการลงทุน เป็น Assets allocation โดยมีเงินฝาก ตราสารหนี้ และตราสารทุน โดยตราสารหนี้นั้น อยู่ตรงกลางระหว่างเงินฝาก และตราสารทุน เนื่องจากมีความเสี่ยงกลางๆ ต่ำกว่าหุ้นสามัญ ควบคุมและจัดการได้ ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก และให้สภาพคล่องกับผู้ถือได้ นอกจากนี้ยังมีทางเลือกที่สามารถลงทุนให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่จะใช้เงินได้อีกด้วย
หุ้นกู้แปลงสภาพ อยู่ระหว่าง ส่วนของเจ้าของ และส่วนที่เป็นเจ้าหนี้ .. ถ้าถือจนครบกำหนดโดยไม่มีการแปลงภาพ จะได้รับดอกเบี้ยและเงินต้น แต่ถ้ามีการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ก็จะได้รับเงินปันผลตอบแทน อย่างไรก็ตามถ้าเห็นว่าแนวโน้มบริษัทดีก็เปลี่ยนเป็นหุ้น .. แต่ถ้าแนวโน้มไม่ดีก็ถือไปให้ครบกำหนด เพื่อให้ได้รับเงินต้นคืน เนื่องจากถ้าบริษัทล้ม priority ของเจ้าหนี้ ย่อมดีดว่าส่วนของเจ้าของอยู่แล้ว
กองทุนรวม คืออะไร????
กองทุนรวมคือ การนำเงินของผู้ลงทุนหลายๆ คนมารวมกัน แล้วนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ตามนโยบายของกองทุน ภายใต้การบริหารของผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุน สินทรัพย์ที่กองทุนรวมลงทุนนั้นมีหลายประเภทเช่น หุ้นสามัญ พันธบัตร หุ้นกู้ ทองคำ เป็นต้น แม้ว่า กองทุนรวมได้รับการบริหารโดยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ แต่ผู้ลงทุนก็มีโอกาสขาดทุนจากการลงทุนในกองทุนรวมได้ เช่น ในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง การลงทุนในกองทุนหุ้นระยะสั้นมีโอกาสได้ผลตอบแทนติดลบหรือขาดทุนได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรทำความเข้าใจถึงสินทรัพย์ที่กองทุนลงทุนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เพื่อให้สามารถรับมือกับความผันผวนจากการลงทุนที่อาจเกิดขึ้นได้
พูดง่ายๆก็คือฝากเค้าไปลงทุนหรือเล่นหุ้นให้เรารวมกับคนอื่นๆที่เค้าไปฝากเล่นเหมือนกัน เหมือนเราเป็นลูกทัวร์ที่มารวมๆกันแล้วเลือกว่าจะให้ไกด์คนไหนพาไปเที่ยว ทีนี้เราจะเลือกตัวไหน กองไหน ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่เรารับได้ High risk high return เสี่ยงมากๆโอกาสได้ก็มากเช่นกัน แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่เราจะขาดทุนได้ค่ะ
อ้างอิงข้อมูลจากตำราเรียน และเว็บ
http://k-expert.askkbank.com/Article/Pages/A2_086.aspx
http://www.start-to-invest.com/webedu/content.html;jsessionid=6C5FA5160573CA643A8BE735F07303BA?menu_id=449
ผิดพลาดประการใด ใครพอชี้แนะได้ น้อมรับค่ะ
แก้ไขคำผิดค่ะ
แสดงความคิดเห็น
กองทุนรวม / กองทุนทองคำ / ตราสารหนี้ต่างกันอย่างไร ?
กองทุนรวม กองทุนทองคำรวม และ ตราสารหนี้ ไม่ทราบว่าทั้ง 3 อย่างนี้มันแตกต่างกันตรงไหนบ้างครับ ผลกำไร เงินปันผล อัตราแลกเปลี่ยนบลา ๆ รวมทั้งในแต่อย่างมีอัตราความเสี่ยงแบบไหนบ้างครับ ต่ำ สูง หรือปานกลาง แล้วถ้าผมหันไปลงทุนในหุ้นมันจะแตกต่างกันอย่างไรครับ แบบหุ้นระยะยาวที่รอเงินปันผลไม่ได้เก็งกำไร ซึ่งขึ้นอยู่กับรายได้ของบริษัทนั้น ๆ ที่ได้ไปลงทุน