ผู้ที่ก่อความรุนแรง คือฝ่ายไหนกันแน่

กระทู้สนทนา
การก่อความรุนแรงมีอยู่ 2 ประเด็น 1. ทนต่อแรงยั่วยุไม่ไหว  2. จงใจวางแผนให้เกิด  
แต่ จากเวลา สถานที่  ภาพถ่าย ทำให้ชี้ชัดได้ว่าผู้ก่อเหตุมีการวางแผนเพื่อสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงก่อนวันเลือกตั้ง
รวมถึง การแต่งกายของมือปืน การพกพาอาวุธ และสถานที่ ก่อเหตุ  แสดงว่าทุกอย่างน่าจะมีการเตรียมการเอาไว้

ซึ่งตัวละคร 3 ฝ่ายที่น่าสงสัยคือ
1. รัฐบาล
2. นปช
3. กปปส

    การวิเคราะห์ว่า ใครน่าสงสัยมากที่สุด จึงต้องดูคนที่ได้ผลประโยชน์จากสถานการณ์ความรุนแรงมากที่สุด
ซึ่ง
1. ผู้น่าสงสัย กลุ่มแรกคือ รัฐบาล  กลุ่มนี้กลัวจะเกิดความรุนแรงเป็นที่สุด  เพราะตนเป็นผู้ดูแลบ้านเมือง  ซึ่งหากจะให้เกิดความรุนแรง สู้สลายฝูงชนตามหลักสากลดีกว่า
    อีกประการหนึ่งคือ พรุ่งนี้จะเกิดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นทางของรัฐบาลเอง จึงไม่มีเหตุผลที่รัฐจะเป็นผู้ก่อเหตุ
2. ผู้น่าสงสัยกลุ่มที่ 2 คือ  นปช  กลุ่ม นปช เป็นกลุ่มที่สนับสนุนและเรียกร้องประชาธิปไตยมาตลอด อีกทั้งปฏิเสธไม่ได้ว่าแกนนำ นปช เป็นคนในรัฐบาลด้วย
    การก่อสถานการ์รุนแรง ย่อมเป็นผลเสียต่อ นปช เอง ทั้งเสี่ยงต่อการเป็นเป้าจับผิด
3. กลุ่มที่ 3 คือ กปปส  เห็นได้ชัดว่า กลุ่ม กปปส ต้องการ ผลคือ ความล้มเหลวของรัฐบาลมากที่สุด ซึ่งมีกลุ่มกองกำลังหลังฉากหลายกลุ่มอำพรางตัว
    ฉากหน้า กลุ่มผู้ชุมนุมดูเหมือนจะเป็นอหิงสา  แต่ทุกครั้งที่เกิดการปะทะจะมีกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงแฝงตัวด้วยเสมอ
    และมักจะปรากฎเหตุการณ์รุนแรงในช่วงเวลาที่หมิ่นเหม่ต่อเสถียรภาพของรัฐเสมอ  เช่น สถานการณ์ความรุนแรงหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง
   สถานการณ์วันรับสมัครเลือกตั้ง สถานการณ์วันเลือกตั้งล่วงหน้า และสถานการณ์ก่อนวันเลือกตั้งจริง ซึ่งดูเหมือนจะทำให้รัฐเสียหายทั้งสิ้น
   แต่ กปปส กลับใช้สถานการณ์ดังกล่าว ปราศัยยกความชอบให้ตนเอง และย้ำให้คนเกลียดรัฐบาลมากขึ้น  
กลุ่มที่ได้ประโยชน์มากที่สุด ในสถานการณ์เช่นนี้ คือ กลุ่ม กปปส ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่