บทความเก่าที่ผมเคยเอามาลงเมื่อนานมาแล้ว วันนี้เอามาปัดฝุ่นให้ท่านนักลงทุนมือใหม่มือเก่าได้ศึกษาติดตามพฤติกรรมตลาดทุนกันครับ
อยากให้อ่านให้มากกว่า3บรรทัดนะครับแล้วจะได้ความรู้เกี่ยวกับตลาดต่างๆครับ ขอบคุณครับ
ทฤษฏี Dow รู้ไว้กำไรจะได้ไม่ Down
Dow Theory เป็นทฤษฎีที่พูดถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น กับ แนวโน้มตลาด ซึ่งคิดค้นโดย Charles H, Dow ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการของ The Wall Street Journal และผู้ร่วมก่อตั้ง Dow Jones and Company ซึ่ง ทฤษฎีดาวนี้ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคซึ่งมีด้วยกัน 6 ประการ ได้แก่
1.แนวโน้มตลาด (Market Trend) แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1 แนวโน้มหลัก เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาในระยะยาว กินเวลามากกว่า 1 ปีเป็นต้นไป
1.2 แนวโน้มรอง เป็นการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นจากแนวโน้มหลัก กินระยะเวลา 1 เดือน - 1 ปี
1.3 แนวโน้มย่อย เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละวันซึ่งไม่มีผลต่อแนวโน้มหลัก กินระยะเวลาน้อยกว่า 1 เดือน
นักลงทุนหลายๆ ท่านก็คงมีคำถามว่า แล้ว หน้าตา ของแนวโน้มทั้ง 3 ข้อมันมีหน้าตาเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลยครับ
1.1 แนวโน้มหลัก หรือ Primary Movement / Primary Trend
ข้อสังเกต
ระยะเวลาการเกิด > 1 ปี
ทฤษฎีดาวกล่าวว่า ในแนวโน้มหลักนี้ไม่มีนักลงทุนคนใดทราบแน่ชัดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร และ แนวโน้มหลักนี้ ไม่มีใครสามารถควบคุมตลาดได้ (ไม่สามารถควบคุมได้ในระยะยาว) เพราะ เมื่อนักลงทุนจำนวนมหาศาล (รวมเป็นเงินมหาศาล) เข้ามาในตลาด จะมีมีนักลงทุนคนใดคนหนึ่งที่จะสามารถควบคุมภาวะตลาดในระยะยาวได้ ซึ่งแปลว่า แนวโน้มหลักนั้นจะชี้ให้เห็นแนวโน้มที่แท้จริงของตลาด (อาจรวมไปถึงธุรกิจโดยรวมด้วย) โดยแนวโน้มหลักนั้นจะแบ่งได้ 2 แบบคือ
#1 แนวโน้มหลักขาขึ้น (Uptrend)
#2 แนวโน้มหลักขาลง (Downtrend)
ต่อมาเรามาดูข้อ 1.2 กันบ้างซึ่งก็คือแนวโน้มรอง หรือ Secondary Movement / Secondary Trend
ข้อสังเกต
ระยะเวลาการเกิด : 1 เดือน < ระยะเวลา < 1 ปี
ข้อสังเกตของแนวโน้มรองนี้สังเกตได้ง่ายๆ คือ จะวิ่งสวนทางกลับ แนวโน้มหลัก หมายความว่า หากแนวโน้มหลัก วิ่งขึ้น แนวโน้มรอง จะวิ่งลง ในทางตรงกันข้าม หากแนวโน้มหลักวิ่งลง แนวโน้มรอง จะวิ่งขึ้น โดยแนวโน้มรองที่วิ่งลงในแนวโน้มขาขึ้น เราเรียกว่า "Correction" และ แนวโน้มรองที่วิ่งขึ้นในแนวโน้มขาลง เราเรียกว่า "Rebound" มาดูภาพกันเลยดีกว่าครับ
#1 Secondary Trend Correction
#2 Secondary Trend Rebound
และสุดท้ายก็คือข้อที่ 1.3 แนวโน้มย่อย Daily Fluctaution / Minor Trend
ข้อสังเกต
สำหรับแนวโน้มย่อยนี้ ข้อสังเกตก็คือ เราไม่สามารถทราบได้ว่า แนวโน้มนั้น ไปทางไหน (ไม่รู้ว่าขึ้นหรือลงกันแน่) ซึ่งแนวโน้มย่อยๆ นี้เอง ที่มาประกอบกันเป็นแนวโน้มรอง และแนวโน้มใหญ่ตามลำดับ [ในแนวโน้มย่อยนี้ สามารถควบคุมได้โดยนักลงทุนรายใหญ่ เพราะเป็นเพียงแนวโน้มสั้นๆ เท่านั้น]
Minor Trend
----------------------
2.แนวโน้มหลักมี 3 ระยะ
ตลาดกระทิง 3 ระยะ
2.1 ระยะสะสม (Accumulation Phase) : ระยะนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่สนใจว่าแนวโน้มราคาหลักทรัพย์กำลังเกิดขึ้น แต่จะมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเรื่มสะสมหุ้น อาจจะเป็น นักลงทุน VI หรือ นักลงทุนรายใหญ่
2.2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ในขาขึ้น (Big Move phase) : เป็นระยะที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนั้น หรือ ลงทุนในตลาดฯ
2.3 ระยะอื่มตัว (Excess phase) : ระยะนี้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาในตลาดหุ้นจำนวนมาก ตลาดเริ่มอิ่มตัว และเป็นระยะที่ใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว
ตลาดหมี 3 ระยะ
2.1 ระยะกระจายตัว ( Distribution phase) : ระยะนี้เป็นการจบรอบนักลงทุน VI และรายใหญ่เริ่มถอนตัวออกจากตลาดฯ และขายให้กับนักลงทุนรายย่อย (ที่เข้ามาในตลาดจำนวนมาก)
2.2 ระยะปรับตัวครั้งใหญ่ในขาลง (Big Move Phase) : ระยะนี้เป็นการร่วงลงอย่างรวดเร็ว และกินระยะเวลาช่วงหนึ่ง (นักลงทุนรายย่อยจะขาดทุนอย่างมาก)
2.3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายใหญ่ เริ่มถอนตัวจากตลาดจากการขาดทุนอย่างหนัก และ จะเกิดใกล้ๆ กับจุดต่ำสุดของขาลง เมื่อเจอจุดต่ำสุดแล้วจะกลับไปเป็นระยะสะสมใหม่อีกครั้ง
3.ตลาดสะท้อนข้อมูลหลักทรัพย์ไว้หมดแล้ว : ราคาที่เกิดขึ้นในตลาดนั้นได้สะท้อนถึงข้อมูลสาธารณะที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเอาไว้หมดแล้ว
4.ค่าเฉลี่ยของตลาดจะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน : ซึ่งก็คือค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม หรือ ตัวเลขต่างๆ ที่แสดงให้เห็นแนวโน้มการเติบโตในตลาด จะต้องไปในทิศทางเดียวกันกับแนวโน้มราคาที่เกิดขึ้น
5.ปริมาณการซื้อขาย (Volume) จะต้องสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้น : Dow Theory เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เกิดจากปริมาณการซื้อขายจำนวนมากแสดงถึงความเห็นส่วนใหญ่ในตลาด ซึ่งถือเป็นสัญญาณสนับสนุนที่สำคัญของแนวโน้มที่เกิดขึ้น
6.แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งมีสัญญาณที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแนวโน้ม : ในแนวโน้มขาขึ้นราคาจะยังวิ่งขึ้นต่อและทำ New High จนกว่าจะมีปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลมากพอจะมาเปลี่ยนให้เป็นแนวโน้มขาลง
----------------------------------
ตลาดกระทิง 3 ระยะ
1 ระยะสะสม (Accumulation Phase) : ระยะนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่สนใจว่าแนวโน้มราคาหลักทรัพย์กำลังเกิดขึ้น แต่จะมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเรื่มสะสมหุ้น อาจจะเป็น นักลงทุน VI หรือ นักลงทุนรายใหญ่
2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ในขาขึ้น (Big Move phase) : เป็นระยะที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนั้น หรือ ลงทุนในตลาดฯ
3 ระยะอื่มตัว (Excess phase) : ระยะนี้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาในตลาดหุ้นจำนวนมาก ตลาดเริ่มอิ่มตัว และเป็นระยะที่ใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว
ตลาดหมี 3 ระยะ
1 ระยะกระจายตัว ( Distribution phase) : ระยะนี้เป็นการจบรอบนักลงทุน VI และรายใหญ่เริ่มถอนตัวออกจากตลาดฯ และขายให้กับนักลงทุนรายย่อย (ที่เข้ามาในตลาดจำนวนมาก)
2 ระยะปรับตัวครั้งใหญ่ในขาลง (Big Move Phase) : ระยะนี้เป็นการร่วงลงอย่างรวดเร็ว และกินระยะเวลาช่วงหนึ่ง (นักลงทุนรายย่อยจะขาดทุนอย่างมาก)
3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายใหญ่ เริ่มถอนตัวจากตลาดจากการขาดทุนอย่างหนัก และ จะเกิดใกล้ๆ กับจุดต่ำสุดของขาลง เมื่อเจอจุดต่ำสุดแล้วจะกลับไปเป็นระยะสะสมใหม่อีกครั้ง
ทีนี้เราคงทราบกันแล้วว่า แนวโน้มหลักของตลาดนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะซึ่งจะเกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมาแต่คำถามก็คือแล้วหน้าตาของแต่ละระยะล่ะ จะสังเกตได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เสียเวลาอันมีค่าของนักลงทุน เรามาดูหน้าตาของแต่ละระยะกันเลยครับ
คำอธิบายภาพ
Bull Market หรือ ตลาดกระทิง ซึ่งเป็นตลาดขาขึ้น
#ระยะที่ 1 ระยะสะสม (Accumulation) : จะเป็นช่วงที่ตลาดยังทรงๆ ในช่วงนั้นยังเป็นช่วงที่นักลงทุนไม่ค่อยสนใจกับตลาดหุ้น สังเกตได้จากตลาดจะเคลื่อนที่แบบไม่มีแนวโน้ม (Non-Trend) หรือ Sideway นั่นเอง
#ระยะที่ 2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ (Big Move) : ระยะนี้เริ่มเมื่อเกิดการทะลุแนวต้านของ Sideway ขึ้นมา แล้วการย่อตัวในครั้งนั้น ไม่ทำ New Low หรือ ไม่หลุดแนวรับ (ที่เคยเป็นแนวต้าน) จากนั้นก็จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องทำจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด สูงขึ้นไปเรื่อยๆ
#ระยะที่ 3 ระยะอิ่มตัว (Excess) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาในตลาดจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด จนมีคำหล่าวในตลาด Wall Street ว่า "หากคนขับ Taxi พูดถึงเรื่องหุ้น" เมื่อไรแปลว่าจุดสูงสุดของตลาดนั้นใกล้เข้ามาแล้ว [สังเกตได้จากบริเวณใกล้ๆ จุดสูงสุดของแนวโน้มขาขึ้น]
Bear Market หรือ ตลาดหมี ซึ่งเป็นตลาดขาลง
#ระยะที่ 1 ระยะแจกจ่าย (Distribution) : สังเกตได้จากตลาดไม่ทำ New High แต่กลับวิ่ง Sideway หรือ Non-Trend และอยู่บริเวณจุดสูงสุด
#ระยะที่ 2 ระยะปรับตัวลงครั้งใหญ่ (Big Move) : สังเกตได้จากหากราคาปรับตัวหลุดแนวรับ แล้วทำจุดต่ำสุดใหม่ และ Rebound ไม่ผ่านแนวต้าน (ที่เป็นแนวรับเดิม) จากนั้นราคาจะปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องทำจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด ต่ำลงเรื่อยๆ
#ระยะที่ 3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : นักลงทุนที่ลงทุนไว้ขายขาดทุนออกมาเป็นจำนวนมาก และออกจากตลาดหุ้นไป สังเกตได้จากการเห็นจุดต่ำสุด หากเห็นจุดต่ำสุดจะถือว่าเป็นการจบแน้วโน้มขาลง และจะเข้าสู้ ระยะที่ 1 ของตลาดกระทิงใหม่นั่นเอง
เครดิตที่มา
http://www.investmentory.com/2013/05/dow-down-3.html
หลังจากรับสาระกันแล้วก็ตบท้ายด้วยเฮียจีFCครับ
^v^แม่ทัพสายรุ้งโจโฉ เอามาสาระความรู้ลงอีกรอบ "วัฏจักรของตลาดหุ้น ตลาดกระทิง และตลาดหมี" ตอนนี้เราอยู่ช่วงไหน?^v^
บทความเก่าที่ผมเคยเอามาลงเมื่อนานมาแล้ว วันนี้เอามาปัดฝุ่นให้ท่านนักลงทุนมือใหม่มือเก่าได้ศึกษาติดตามพฤติกรรมตลาดทุนกันครับ
อยากให้อ่านให้มากกว่า3บรรทัดนะครับแล้วจะได้ความรู้เกี่ยวกับตลาดต่างๆครับ ขอบคุณครับ
ทฤษฏี Dow รู้ไว้กำไรจะได้ไม่ Down
Dow Theory เป็นทฤษฎีที่พูดถึงการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น กับ แนวโน้มตลาด ซึ่งคิดค้นโดย Charles H, Dow ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการของ The Wall Street Journal และผู้ร่วมก่อตั้ง Dow Jones and Company ซึ่ง ทฤษฎีดาวนี้ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคซึ่งมีด้วยกัน 6 ประการ ได้แก่
1.แนวโน้มตลาด (Market Trend) แบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.1 แนวโน้มหลัก เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาในระยะยาว กินเวลามากกว่า 1 ปีเป็นต้นไป
1.2 แนวโน้มรอง เป็นการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นจากแนวโน้มหลัก กินระยะเวลา 1 เดือน - 1 ปี
1.3 แนวโน้มย่อย เป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาในแต่ละวันซึ่งไม่มีผลต่อแนวโน้มหลัก กินระยะเวลาน้อยกว่า 1 เดือน
นักลงทุนหลายๆ ท่านก็คงมีคำถามว่า แล้ว หน้าตา ของแนวโน้มทั้ง 3 ข้อมันมีหน้าตาเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลยครับ
1.1 แนวโน้มหลัก หรือ Primary Movement / Primary Trend
ข้อสังเกต
ระยะเวลาการเกิด > 1 ปี
ทฤษฎีดาวกล่าวว่า ในแนวโน้มหลักนี้ไม่มีนักลงทุนคนใดทราบแน่ชัดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร และ แนวโน้มหลักนี้ ไม่มีใครสามารถควบคุมตลาดได้ (ไม่สามารถควบคุมได้ในระยะยาว) เพราะ เมื่อนักลงทุนจำนวนมหาศาล (รวมเป็นเงินมหาศาล) เข้ามาในตลาด จะมีมีนักลงทุนคนใดคนหนึ่งที่จะสามารถควบคุมภาวะตลาดในระยะยาวได้ ซึ่งแปลว่า แนวโน้มหลักนั้นจะชี้ให้เห็นแนวโน้มที่แท้จริงของตลาด (อาจรวมไปถึงธุรกิจโดยรวมด้วย) โดยแนวโน้มหลักนั้นจะแบ่งได้ 2 แบบคือ
#1 แนวโน้มหลักขาขึ้น (Uptrend)
#2 แนวโน้มหลักขาลง (Downtrend)
ต่อมาเรามาดูข้อ 1.2 กันบ้างซึ่งก็คือแนวโน้มรอง หรือ Secondary Movement / Secondary Trend
ข้อสังเกต
ระยะเวลาการเกิด : 1 เดือน < ระยะเวลา < 1 ปี
ข้อสังเกตของแนวโน้มรองนี้สังเกตได้ง่ายๆ คือ จะวิ่งสวนทางกลับ แนวโน้มหลัก หมายความว่า หากแนวโน้มหลัก วิ่งขึ้น แนวโน้มรอง จะวิ่งลง ในทางตรงกันข้าม หากแนวโน้มหลักวิ่งลง แนวโน้มรอง จะวิ่งขึ้น โดยแนวโน้มรองที่วิ่งลงในแนวโน้มขาขึ้น เราเรียกว่า "Correction" และ แนวโน้มรองที่วิ่งขึ้นในแนวโน้มขาลง เราเรียกว่า "Rebound" มาดูภาพกันเลยดีกว่าครับ
#1 Secondary Trend Correction
#2 Secondary Trend Rebound
และสุดท้ายก็คือข้อที่ 1.3 แนวโน้มย่อย Daily Fluctaution / Minor Trend
ข้อสังเกต
สำหรับแนวโน้มย่อยนี้ ข้อสังเกตก็คือ เราไม่สามารถทราบได้ว่า แนวโน้มนั้น ไปทางไหน (ไม่รู้ว่าขึ้นหรือลงกันแน่) ซึ่งแนวโน้มย่อยๆ นี้เอง ที่มาประกอบกันเป็นแนวโน้มรอง และแนวโน้มใหญ่ตามลำดับ [ในแนวโน้มย่อยนี้ สามารถควบคุมได้โดยนักลงทุนรายใหญ่ เพราะเป็นเพียงแนวโน้มสั้นๆ เท่านั้น]
Minor Trend
----------------------
2.แนวโน้มหลักมี 3 ระยะ
ตลาดกระทิง 3 ระยะ
2.1 ระยะสะสม (Accumulation Phase) : ระยะนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่สนใจว่าแนวโน้มราคาหลักทรัพย์กำลังเกิดขึ้น แต่จะมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเรื่มสะสมหุ้น อาจจะเป็น นักลงทุน VI หรือ นักลงทุนรายใหญ่
2.2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ในขาขึ้น (Big Move phase) : เป็นระยะที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนั้น หรือ ลงทุนในตลาดฯ
2.3 ระยะอื่มตัว (Excess phase) : ระยะนี้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาในตลาดหุ้นจำนวนมาก ตลาดเริ่มอิ่มตัว และเป็นระยะที่ใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว
ตลาดหมี 3 ระยะ
2.1 ระยะกระจายตัว ( Distribution phase) : ระยะนี้เป็นการจบรอบนักลงทุน VI และรายใหญ่เริ่มถอนตัวออกจากตลาดฯ และขายให้กับนักลงทุนรายย่อย (ที่เข้ามาในตลาดจำนวนมาก)
2.2 ระยะปรับตัวครั้งใหญ่ในขาลง (Big Move Phase) : ระยะนี้เป็นการร่วงลงอย่างรวดเร็ว และกินระยะเวลาช่วงหนึ่ง (นักลงทุนรายย่อยจะขาดทุนอย่างมาก)
2.3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายใหญ่ เริ่มถอนตัวจากตลาดจากการขาดทุนอย่างหนัก และ จะเกิดใกล้ๆ กับจุดต่ำสุดของขาลง เมื่อเจอจุดต่ำสุดแล้วจะกลับไปเป็นระยะสะสมใหม่อีกครั้ง
3.ตลาดสะท้อนข้อมูลหลักทรัพย์ไว้หมดแล้ว : ราคาที่เกิดขึ้นในตลาดนั้นได้สะท้อนถึงข้อมูลสาธารณะที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคเอาไว้หมดแล้ว
4.ค่าเฉลี่ยของตลาดจะต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน : ซึ่งก็คือค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม หรือ ตัวเลขต่างๆ ที่แสดงให้เห็นแนวโน้มการเติบโตในตลาด จะต้องไปในทิศทางเดียวกันกับแนวโน้มราคาที่เกิดขึ้น
5.ปริมาณการซื้อขาย (Volume) จะต้องสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้น : Dow Theory เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เกิดจากปริมาณการซื้อขายจำนวนมากแสดงถึงความเห็นส่วนใหญ่ในตลาด ซึ่งถือเป็นสัญญาณสนับสนุนที่สำคัญของแนวโน้มที่เกิดขึ้น
6.แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งมีสัญญาณที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแนวโน้ม : ในแนวโน้มขาขึ้นราคาจะยังวิ่งขึ้นต่อและทำ New High จนกว่าจะมีปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลมากพอจะมาเปลี่ยนให้เป็นแนวโน้มขาลง
----------------------------------
ตลาดกระทิง 3 ระยะ
1 ระยะสะสม (Accumulation Phase) : ระยะนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่สนใจว่าแนวโน้มราคาหลักทรัพย์กำลังเกิดขึ้น แต่จะมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเรื่มสะสมหุ้น อาจจะเป็น นักลงทุน VI หรือ นักลงทุนรายใหญ่
2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ในขาขึ้น (Big Move phase) : เป็นระยะที่นักลงทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนั้น หรือ ลงทุนในตลาดฯ
3 ระยะอื่มตัว (Excess phase) : ระยะนี้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาในตลาดหุ้นจำนวนมาก ตลาดเริ่มอิ่มตัว และเป็นระยะที่ใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว
ตลาดหมี 3 ระยะ
1 ระยะกระจายตัว ( Distribution phase) : ระยะนี้เป็นการจบรอบนักลงทุน VI และรายใหญ่เริ่มถอนตัวออกจากตลาดฯ และขายให้กับนักลงทุนรายย่อย (ที่เข้ามาในตลาดจำนวนมาก)
2 ระยะปรับตัวครั้งใหญ่ในขาลง (Big Move Phase) : ระยะนี้เป็นการร่วงลงอย่างรวดเร็ว และกินระยะเวลาช่วงหนึ่ง (นักลงทุนรายย่อยจะขาดทุนอย่างมาก)
3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายใหญ่ เริ่มถอนตัวจากตลาดจากการขาดทุนอย่างหนัก และ จะเกิดใกล้ๆ กับจุดต่ำสุดของขาลง เมื่อเจอจุดต่ำสุดแล้วจะกลับไปเป็นระยะสะสมใหม่อีกครั้ง
ทีนี้เราคงทราบกันแล้วว่า แนวโน้มหลักของตลาดนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ระยะซึ่งจะเกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมาแต่คำถามก็คือแล้วหน้าตาของแต่ละระยะล่ะ จะสังเกตได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เสียเวลาอันมีค่าของนักลงทุน เรามาดูหน้าตาของแต่ละระยะกันเลยครับ
คำอธิบายภาพ
Bull Market หรือ ตลาดกระทิง ซึ่งเป็นตลาดขาขึ้น
#ระยะที่ 1 ระยะสะสม (Accumulation) : จะเป็นช่วงที่ตลาดยังทรงๆ ในช่วงนั้นยังเป็นช่วงที่นักลงทุนไม่ค่อยสนใจกับตลาดหุ้น สังเกตได้จากตลาดจะเคลื่อนที่แบบไม่มีแนวโน้ม (Non-Trend) หรือ Sideway นั่นเอง
#ระยะที่ 2 ระยะปรับตัวขึ้นครั้งใหญ่ (Big Move) : ระยะนี้เริ่มเมื่อเกิดการทะลุแนวต้านของ Sideway ขึ้นมา แล้วการย่อตัวในครั้งนั้น ไม่ทำ New Low หรือ ไม่หลุดแนวรับ (ที่เคยเป็นแนวต้าน) จากนั้นก็จะปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องทำจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด สูงขึ้นไปเรื่อยๆ
#ระยะที่ 3 ระยะอิ่มตัว (Excess) : ระยะนี้เป็นระยะที่นักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาในตลาดจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด จนมีคำหล่าวในตลาด Wall Street ว่า "หากคนขับ Taxi พูดถึงเรื่องหุ้น" เมื่อไรแปลว่าจุดสูงสุดของตลาดนั้นใกล้เข้ามาแล้ว [สังเกตได้จากบริเวณใกล้ๆ จุดสูงสุดของแนวโน้มขาขึ้น]
Bear Market หรือ ตลาดหมี ซึ่งเป็นตลาดขาลง
#ระยะที่ 1 ระยะแจกจ่าย (Distribution) : สังเกตได้จากตลาดไม่ทำ New High แต่กลับวิ่ง Sideway หรือ Non-Trend และอยู่บริเวณจุดสูงสุด
#ระยะที่ 2 ระยะปรับตัวลงครั้งใหญ่ (Big Move) : สังเกตได้จากหากราคาปรับตัวหลุดแนวรับ แล้วทำจุดต่ำสุดใหม่ และ Rebound ไม่ผ่านแนวต้าน (ที่เป็นแนวรับเดิม) จากนั้นราคาจะปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องทำจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด ต่ำลงเรื่อยๆ
#ระยะที่ 3 ระยะสิ้นหวัง (Despair) : นักลงทุนที่ลงทุนไว้ขายขาดทุนออกมาเป็นจำนวนมาก และออกจากตลาดหุ้นไป สังเกตได้จากการเห็นจุดต่ำสุด หากเห็นจุดต่ำสุดจะถือว่าเป็นการจบแน้วโน้มขาลง และจะเข้าสู้ ระยะที่ 1 ของตลาดกระทิงใหม่นั่นเอง
เครดิตที่มา
http://www.investmentory.com/2013/05/dow-down-3.html
หลังจากรับสาระกันแล้วก็ตบท้ายด้วยเฮียจีFCครับ