Credit:
www.investmentory.com
นักลงทุนหรือเทรดเดอร์มือใหม่ที่ใช้ วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ในการเล่นหุ้น คงจะต้องรู้จักกับ 2 คำนี้อย่างแน่นอน คำแรก คือ คำว่า "Breakout" และคำต่อมา คือคำว่า "Retracement" เหตุที่รู้จักหรือเคยได้ยิน 2 คำนี้เป็นอย่างดีก็เพราะว่า มันเป็นกลยุทธ์หรือวิธีที่นักลงทุนและเทรดเดอร์นั้นใช้ในการเข้าซื้อหุ้นอยู่บ่อย ๆ อาจจะเรียกได้ว่าใช้เป็นหลักเลยก็ว่าได้
แต่คำถามที่นักลงทุนมือใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาดหรืออาจเข้ามาได้สักพักหลายต่อหลายคนยังค้างคาใจอยู่ก็คือ ซื้อเมื่อราคา Breakout (ทะลุ) กับ ซื้อเมื่อราคา Retracement (ย่อตัว) อันไหนจะดีกว่ากัน วันนี้ผมจะพาไปหาคำตอบกันครับ ตามมาเลยครับ
บทความในวันนี้ผมจะพาไปดูเทคนิคการซื้อ-ขายหุ้นยอดฮิตที่นักลงทุนและเทรดเดอร์หลาย ๆ ท่านใช้กัน นั่นก็คือ เทคนิคที่เรียกกันว่า
"Trend Following" หรือ
"การเทรดตามแนวโน้ม" นั่นเองครับ ซึ่งแนวโน้มที่ว่า ก็คือ ทิศทางของตลาด (Market Direction) หลัก ๆ ก็จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) กับแนวโน้มขาลง (Downtrend) สำหรับ สภาวะไร้แนวโน้ม (Sideway) นั้นจะเป็นการวิ่งขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ในกรอบ (Trading Range) ซึ่งไม่ใช่แนวโน้มที่เราจะเอามาใช้ในเทคนิคการเทรดแบบ Trend Following นี้ (และจะไม่กล่าวถึงในบทความนี้ครับ)
ลักษณะของแนวโน้ม (Trend Characteristics)
แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) : ทิศทางของตลาดวิ่งขึ้นโดยจะทำจุดสูงสุดใหม่สูงขึ้นเรื่อย ๆ (Higher High: HH) และมักจะทะลุแนวต้านที่เป็นจุดวกกลับ (Swing High) ก่อนหน้าเสมอ รวมถึงการทำจุดต่ำสุดก็จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน (Higher Low: HL) สังเกตจากภาพด้านล่าง
แนวโน้มขาลง (Downtrend) : ทิศทางของตลาดวิ่งลงโดยจะทำจุดต่ำสุดใหม่ต่ำลงเรื่อย ๆ (Lower High: LH) และมักจะหลุดแนวรับที่เป็นจุดวกกลับ (Swing Low) ก่อนหน้าเสมอ รวมถึงการทำจุดต่ำสุดก็จะต่ำลงเรื่อย ๆ เช่นกัน (Lower Low: LL) สังเกตจากภาพด้านล่าง
จาก 2 ภาพด้านบน จะเห็นว่า
"ตลาดจะไม่วิ่งเป็นเส้นตรง" แต่จะ
"วิ่งขึ้นสลับกับวิ่งลง" ซึ่งประกอบด้วยแนวโน้มหลัก (แนวโน้มที่เราใช้เทรด) และแนวโน้มรอง (แนวโน้มที่วิ่งสวนแนวโน้มหลักในระยะสั้น)
4 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจจะยังไม่รู้กับเทคนิคการเทรดแบบ Trend Following
1.คุณจะเทรดอย่างปลอดภัยเมื่อเทรดไปตามแนวโน้มที่เกิดขึ้น (ย้ำว่าตามแนวโน้มนะครับ)
2.ทุก ๆ การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในแนวโน้ม (ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง) ถ้าคุณมาถูกทางนั่นคือ กำไร!!
3.ต้องยอมรับว่า แนวโน้มไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ อาจจะเกิดแนวโน้มไม่ถึง 30% นอกนั้นอีก 70% เป็น Sideway ดังนั้นเมื่อไรที่แนวโน้มเกิดขึ้น เกาะไว้ให้แน่น!!
4.เทคนิคการเทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) มีด้วยกัน 2 แบบ คือ
- เทรดเมื่อเกิดการทะลุแนวต้าน (หรือหลุดแนวรับ) Trade Breakouts
- เทรดเมื่อเกิดการย่อตัวลงมา (หลังจากทะลุแล้ว) Trade Retracements
Trade Breakouts VS. Trade Retracements
เมื่อเราทราบลักษณะพฤติกรรมของแนวโน้มที่เกิดขึ้นในตลาดแล้ว เราจะสามารถนำพฤติกรรมเหล่านั้นมาใช้ในการออกแบบกลยุทธ์หรือวิธีที่ใช้เข้าซื้อได้ และบทความนี้จะมาพูดถึงวิธียอดนิยมกัน ถ้านักลงทุนที่ศึกษาการเทรดแบบ Technical มาบ้างคงต้องทราบวิธีการเทรดที่เรียกว่า Breakouts กันดีอยู่แล้วแน่นอนครับ นั่นก็คือ เราจะเข้าซื้อเมื่อราคาทะลุ (Breakout) แนวต้าน ทันที!! โดยไม่ได้รีรออะไร (เข้าบริเวณจุดที่ 1 ดังภาพข้างล่าง)
ต่อมาคือวิธีการเทรดที่เรียกว่า Retracements วิธีการนี้ก็คือ หลังจากราคาได้ทะลุแนวต้าน (สำหรับขาขึ้น) ไปแล้วนั้นเราจะรอให้ราคาย่อตัวลงมาทดสอบกับแนวรับก่อนเข้าซื้อนั่นเอง (เข้าบริเวณจุดที่ 2 ดังภาพข้างล่าง)
ข้อดีและข้อเสียของแต่ละเทคนิค
บอกก่อนเลยครับว่าเทคนิคทั้ง 2 แบบที่กล่าวมานั้นไม่มีใครผิด เพราะอะไรรู้ไหมครับ ก็เพราะว่าไม่มีใครทราบได้อย่างแน่ชัดว่าตลาดหุ้นจะวิ่งไปทางไหนและจะวิ่งไปเท่าไรน่ะสิครับ ดังนั้นจะใช้เทคนิคไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าเทคนิคไหนมันเหมาะสมกับเรา ซึ่งพื้นฐานที่ควรทราบก็คือ
เมื่อเราเลือกที่จะเทรดแบบ Breakout
ข้อดี คือ เราจะไม่พลาดโอกาสของแนวโน้มใหญ่ (Big Trend) ที่เกิดขึ้น (คือขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่ลงมาทดสอบแนวรับก่อนหน้าเลย)
ข้อเสีย คือ ต้องตั้ง Stop Loss กว้าง และ อาจเจอการทะลุหลอกได้ (False Break)
เทคนิคนี้เหมาะกับคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูงและกล้าได้กล้าเสีย (Aggressive Trader)
เมื่อเราเลือกที่จะเทรดแบบ Retracement
ข้อดี คือ เราจะตั้ง Stop Loss ได้แคบกว่าแบบแรก ทำให้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูงขึ้น (Higher Risk/Reward) และ ไม่โดนการทะลุหลอก (False Break)
ข้อเสีย คือ อาจพลาดโอกาสเข้าซื้อเวลาเกิดแนวโน้มใหญ่ (Big Trend) เพราะต้องรอการย่อตัว (Retracement) ลงมาก่อนจึงจะเข้าซื้อ
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ต่ำกว่าและค่อนข้างอนุรักษ์นิยม (Conservative)
สรุป
สำหรับบทความนี้ผมก็ได้พานักลงทุนทุกท่านไปรู้กับ
- แนวโน้ม (Trends) ซึ่งมี 2 แบบคือ แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) กับ แนวโน้มขาลง (Downtrend)
- ลักษณะสำคัญของแนวโน้ม (Trend Characteristic) เพื่อเอาไว้คัดกรองว่าแบบไหนเป็นแนวโน้มขาลงและแบบไหนเป็นแนวโน้มขาขึ้น
- เทคนิคการเทรดยอดนิยมที่คิดว่านักลงทุนหลาย ๆ ท่านคงรู้จักกันดีนั่นก็คือการเทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) นั่นเอง ซึ่งยังแบ่งเทคนิคการเทรดได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ Breakout กับ Retracement
- สุดท้ายผมพูดถึงข้อดีและข้อเสียของเทคนิคการเทรดตามแนวโน้ม ซึ่งไม่มีแบบไหนผิด แต่เราต้องเลือกอันที่เหมาะสมกับเราและนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นั่นเองครับ
[เทคนิคการเทรด] เทรด Breakout VS. เทรด Retracement อย่างไหนดีกว่ากัน!?
Credit: www.investmentory.com
นักลงทุนหรือเทรดเดอร์มือใหม่ที่ใช้ วิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis) ในการเล่นหุ้น คงจะต้องรู้จักกับ 2 คำนี้อย่างแน่นอน คำแรก คือ คำว่า "Breakout" และคำต่อมา คือคำว่า "Retracement" เหตุที่รู้จักหรือเคยได้ยิน 2 คำนี้เป็นอย่างดีก็เพราะว่า มันเป็นกลยุทธ์หรือวิธีที่นักลงทุนและเทรดเดอร์นั้นใช้ในการเข้าซื้อหุ้นอยู่บ่อย ๆ อาจจะเรียกได้ว่าใช้เป็นหลักเลยก็ว่าได้
แต่คำถามที่นักลงทุนมือใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาดหรืออาจเข้ามาได้สักพักหลายต่อหลายคนยังค้างคาใจอยู่ก็คือ ซื้อเมื่อราคา Breakout (ทะลุ) กับ ซื้อเมื่อราคา Retracement (ย่อตัว) อันไหนจะดีกว่ากัน วันนี้ผมจะพาไปหาคำตอบกันครับ ตามมาเลยครับ
บทความในวันนี้ผมจะพาไปดูเทคนิคการซื้อ-ขายหุ้นยอดฮิตที่นักลงทุนและเทรดเดอร์หลาย ๆ ท่านใช้กัน นั่นก็คือ เทคนิคที่เรียกกันว่า "Trend Following" หรือ "การเทรดตามแนวโน้ม" นั่นเองครับ ซึ่งแนวโน้มที่ว่า ก็คือ ทิศทางของตลาด (Market Direction) หลัก ๆ ก็จะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) กับแนวโน้มขาลง (Downtrend) สำหรับ สภาวะไร้แนวโน้ม (Sideway) นั้นจะเป็นการวิ่งขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ในกรอบ (Trading Range) ซึ่งไม่ใช่แนวโน้มที่เราจะเอามาใช้ในเทคนิคการเทรดแบบ Trend Following นี้ (และจะไม่กล่าวถึงในบทความนี้ครับ)
ลักษณะของแนวโน้ม (Trend Characteristics)
แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) : ทิศทางของตลาดวิ่งขึ้นโดยจะทำจุดสูงสุดใหม่สูงขึ้นเรื่อย ๆ (Higher High: HH) และมักจะทะลุแนวต้านที่เป็นจุดวกกลับ (Swing High) ก่อนหน้าเสมอ รวมถึงการทำจุดต่ำสุดก็จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน (Higher Low: HL) สังเกตจากภาพด้านล่าง
แนวโน้มขาลง (Downtrend) : ทิศทางของตลาดวิ่งลงโดยจะทำจุดต่ำสุดใหม่ต่ำลงเรื่อย ๆ (Lower High: LH) และมักจะหลุดแนวรับที่เป็นจุดวกกลับ (Swing Low) ก่อนหน้าเสมอ รวมถึงการทำจุดต่ำสุดก็จะต่ำลงเรื่อย ๆ เช่นกัน (Lower Low: LL) สังเกตจากภาพด้านล่าง
จาก 2 ภาพด้านบน จะเห็นว่า "ตลาดจะไม่วิ่งเป็นเส้นตรง" แต่จะ "วิ่งขึ้นสลับกับวิ่งลง" ซึ่งประกอบด้วยแนวโน้มหลัก (แนวโน้มที่เราใช้เทรด) และแนวโน้มรอง (แนวโน้มที่วิ่งสวนแนวโน้มหลักในระยะสั้น)
4 ข้อเท็จจริงที่คุณอาจจะยังไม่รู้กับเทคนิคการเทรดแบบ Trend Following
1.คุณจะเทรดอย่างปลอดภัยเมื่อเทรดไปตามแนวโน้มที่เกิดขึ้น (ย้ำว่าตามแนวโน้มนะครับ)
2.ทุก ๆ การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในแนวโน้ม (ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง) ถ้าคุณมาถูกทางนั่นคือ กำไร!!
3.ต้องยอมรับว่า แนวโน้มไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ อาจจะเกิดแนวโน้มไม่ถึง 30% นอกนั้นอีก 70% เป็น Sideway ดังนั้นเมื่อไรที่แนวโน้มเกิดขึ้น เกาะไว้ให้แน่น!!
4.เทคนิคการเทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) มีด้วยกัน 2 แบบ คือ
- เทรดเมื่อเกิดการทะลุแนวต้าน (หรือหลุดแนวรับ) Trade Breakouts
- เทรดเมื่อเกิดการย่อตัวลงมา (หลังจากทะลุแล้ว) Trade Retracements
Trade Breakouts VS. Trade Retracements
เมื่อเราทราบลักษณะพฤติกรรมของแนวโน้มที่เกิดขึ้นในตลาดแล้ว เราจะสามารถนำพฤติกรรมเหล่านั้นมาใช้ในการออกแบบกลยุทธ์หรือวิธีที่ใช้เข้าซื้อได้ และบทความนี้จะมาพูดถึงวิธียอดนิยมกัน ถ้านักลงทุนที่ศึกษาการเทรดแบบ Technical มาบ้างคงต้องทราบวิธีการเทรดที่เรียกว่า Breakouts กันดีอยู่แล้วแน่นอนครับ นั่นก็คือ เราจะเข้าซื้อเมื่อราคาทะลุ (Breakout) แนวต้าน ทันที!! โดยไม่ได้รีรออะไร (เข้าบริเวณจุดที่ 1 ดังภาพข้างล่าง)
ต่อมาคือวิธีการเทรดที่เรียกว่า Retracements วิธีการนี้ก็คือ หลังจากราคาได้ทะลุแนวต้าน (สำหรับขาขึ้น) ไปแล้วนั้นเราจะรอให้ราคาย่อตัวลงมาทดสอบกับแนวรับก่อนเข้าซื้อนั่นเอง (เข้าบริเวณจุดที่ 2 ดังภาพข้างล่าง)
ข้อดีและข้อเสียของแต่ละเทคนิค
บอกก่อนเลยครับว่าเทคนิคทั้ง 2 แบบที่กล่าวมานั้นไม่มีใครผิด เพราะอะไรรู้ไหมครับ ก็เพราะว่าไม่มีใครทราบได้อย่างแน่ชัดว่าตลาดหุ้นจะวิ่งไปทางไหนและจะวิ่งไปเท่าไรน่ะสิครับ ดังนั้นจะใช้เทคนิคไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าเทคนิคไหนมันเหมาะสมกับเรา ซึ่งพื้นฐานที่ควรทราบก็คือ
เมื่อเราเลือกที่จะเทรดแบบ Breakout
ข้อดี คือ เราจะไม่พลาดโอกาสของแนวโน้มใหญ่ (Big Trend) ที่เกิดขึ้น (คือขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่ลงมาทดสอบแนวรับก่อนหน้าเลย)
ข้อเสีย คือ ต้องตั้ง Stop Loss กว้าง และ อาจเจอการทะลุหลอกได้ (False Break)
เทคนิคนี้เหมาะกับคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูงและกล้าได้กล้าเสีย (Aggressive Trader)
เมื่อเราเลือกที่จะเทรดแบบ Retracement
ข้อดี คือ เราจะตั้ง Stop Loss ได้แคบกว่าแบบแรก ทำให้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูงขึ้น (Higher Risk/Reward) และ ไม่โดนการทะลุหลอก (False Break)
ข้อเสีย คือ อาจพลาดโอกาสเข้าซื้อเวลาเกิดแนวโน้มใหญ่ (Big Trend) เพราะต้องรอการย่อตัว (Retracement) ลงมาก่อนจึงจะเข้าซื้อ
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ต่ำกว่าและค่อนข้างอนุรักษ์นิยม (Conservative)
สรุป
สำหรับบทความนี้ผมก็ได้พานักลงทุนทุกท่านไปรู้กับ
- แนวโน้ม (Trends) ซึ่งมี 2 แบบคือ แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) กับ แนวโน้มขาลง (Downtrend)
- ลักษณะสำคัญของแนวโน้ม (Trend Characteristic) เพื่อเอาไว้คัดกรองว่าแบบไหนเป็นแนวโน้มขาลงและแบบไหนเป็นแนวโน้มขาขึ้น
- เทคนิคการเทรดยอดนิยมที่คิดว่านักลงทุนหลาย ๆ ท่านคงรู้จักกันดีนั่นก็คือการเทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) นั่นเอง ซึ่งยังแบ่งเทคนิคการเทรดได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ Breakout กับ Retracement
- สุดท้ายผมพูดถึงข้อดีและข้อเสียของเทคนิคการเทรดตามแนวโน้ม ซึ่งไม่มีแบบไหนผิด แต่เราต้องเลือกอันที่เหมาะสมกับเราและนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นั่นเองครับ