มติรัฐบาล-กกต. บทนำมติชน
ผลการหารือระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กลาโหม พร้อมกับรัฐมนตรีอีกหลายคน กับคณะกรรมการการเลือกตั้งถึงแนวทางการเลื่อนหรือไม่
เลื่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์สรุปออกมาว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ยังจะต้อง
ดำเนินต่อไป เพราะแม้จะปรากฏอุปสรรคตามรายงานของ กกต. แต่ปัญหาหลักที่ต้องตระหนักคือ
การเลื่อนการเลือกตั้งที่ไม่มีกฎหมายรองรับ จะมีความผิด นอกจากนี้รัฐบาลยังเห็นว่า การเลือกตั้ง
ล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ส่งสัญญาณให้เห็นว่าประชาชนใน 66 จังหวัด จากทั้งหมด
77 จังหวัด ไม่ขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้ง หากรัฐบาลและ กกต.ถือเอาจังหวัดที่ไม่สามารถใช้สิทธิ
ในภาคใต้ และ กทม. มาเป็นเหตุเลื่อนการเลือกตั้งทั้งหมด จะไม่สามารถตอบกับคนไทย
อีก 66 จังหวัดที่พร้อมเลือกตั้งได้
การหารือระหว่างรัฐบาลกับ กกต. ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่สโมสรทหารบก ถือเป็นการ
หารือที่ว่ากันด้วยเหตุและผล แม้จะเห็นความสำคัญของคนไทยที่ไม่ต้องการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์
แต่ก็ต้องยึดให้ความสำคัญกับคนไทยที่พร้อมจะเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ มากกว่า ส่วนหลังจากการ
เลือกตั้งแล้วปรากฏเหตุการณ์ที่ทำให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ครบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด รัฐบาล
ก็สามารถเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งใหม่ในพื้นที่ที่ยังไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ แม้ว่าจะ
ต้องใช้เวลานานถึง 4-5 เดือน แต่การดำเนินการดังกล่าวทำให้ผู้ที่ต้องการเลือกตั้งจะได้ใช้สิทธิ ส่วนผู้ที่
ไม่ต้องการเลือกตั้งก็ไม่ไปใช้สิทธิ ขณะที่ฝ่ายจัดการการเลือกตั้งก็ได้พยายามเต็มที่ในการจัดการเลือกตั้ง
ให้สำเร็จ
ผลการหารือระหว่างรัฐบาลกับ กกต.ครั้งนี้ เป็นผลการหารือที่เริ่มเข้ารูปเข้ารอย ประการแรก เป็นการ
พิจารณาโดยยึดหลักกฎหมายประกอบการตัดสินใจ ประการที่สอง เป็นการหารือโดยใช้หลักเหตุและผล
ฝ่ายรัฐบาลนำความเชื่อ และข้อจำกัด พูดคุยกับฝ่าย กกต. ที่มีความเชื่อและข้อจำกัดเช่นกัน ประการที่สาม
การหารือสามารถยุติลงโดยการร่วมมือทำงานกัน และประการสุดท้าย คือ การพยายามทำความเข้าใจผู้มี
สิทธิเลือกตั้ง ทั้งฝ่ายที่ต้องการเลือก และฝ่ายที่ต้องการเลื่อน และเมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว ทั้งรัฐบาล
และ กกต. จึงมีมติออกมา และเชื่อว่ามติดังกล่าวจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์วิกฤตทางการเมือง
ขณะนี้
http://www.matichon.co.th/daily/view_newsonline.php?newsid=1391133713§ionid=0102
สอบตกปฏิรูปขั้นพื้นฐาน บทบรรณาธิการไทยรัฐ
การเลือกตั้งทั่วไปคราวนี้ เป็นครั้งที่ยุ่งยากที่สุดและมืดมนที่สุด ไม่รู้อนาคตและไม่ทราบว่าจะนำ
ประเทศไปสู่ชะตากรรมใด เมื่อรัฐบาลและ กกต. ตัดสินใจให้เดินหน้าเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์
เนื่องจากรัฐบาลยืนกรานไม่ยอมเลื่อน เพราะถึงเลื่อนออกไปปัญหาก็ไม่จบ เดินหน้าต่อไปปัญหาก็
ไม่จบ จึงสุ่มเสี่ยงเดินหน้า ถึงแม้จะต้องใช้เวลาถึงครึ่งปี
กกต. หวังจะยึดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเลื่อนการเลือกตั้งออก ไป เนื่องจากมีปัญหา
และอุปสรรคมากมาย ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสุจริตเที่ยงธรรม
แต่คำวินิจฉัยของศาลเพียงแต่ “แนะนำ” ว่าอาจเลื่อนการเลือกตั้งออกไปได้ โดยให้เป็น อำนาจ
ของนายกรัฐมนตรีกับประธาน กกต. หารือกัน แต่ไม่บังคับว่าจะต้องเลื่อน
เมื่อรัฐบาลยืนกรานไม่เลื่อนกกต. จึงไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น เพราะอำนาจในการออก
พระราชกฤษฎีกาเลื่อนการเลือกตั้งเป็นของนายกรัฐมนตรี รัฐบาล อ้างว่าไม่มีกฎหมายรองรับ กลัวว่า
นายกรัฐ- มนตรีจะโดนฟ้อง อันที่จริงไม่น่าห่วงเรื่องนี้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพัน
ทุกองค์กรรวมทั้งศาล จึงสามารถอ้างเป็นข้อต่อสู้ในศาลได้
แต่เหตุผลที่แท้จริงของรัฐบาลคือการรักษาอำนาจ ต้องเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด เพราะเชื่อว่าพรรค
เพื่อไทยจะชนะ แล้วอ้างต่อชาวโลกได้ว่า ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน มากกว่า
“มวลมหาประชาชน” กปปส. ที่ปักหลักชุมนุมขับไล่รัฐบาลมาสามเดือน รัฐบาลจึงมีความชอบธรรม
ที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป ต้องเลือกตั้งก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะถูก ป.ป.ช. “สอย”
ส่วน กกต.พยายามชี้ให้เห็นว่าถ้าไม่เลื่อนการเลือกตั้ง จะมีปัญหาขาดกรรมการประจำหน่วย ไม่มี
บัตรเลือกตั้งในหลายหน่วย และมีการชุมนุมขัดขวางการเลือกตั้ง อาจปะทะกับกลุ่มที่เห็นต่าง นำ
ไปสู่เหตุรุน- แรง และถึงจะเลือกตั้งตามกำหนด ก็จะไม่ได้ ส.ส.พอที่จะเปิดประชุมสภา ไม่สามารถ
เลือกนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และเกิดสุญญากาศการเมือง
เนื่องจากไม่มีผู้สมัคร ส.ส.ใน 28 เขต จึงขาด ส.ส.ไป 28 คน และไม่สามารถประกาศผลการ
เลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออีก 125 คน เพราะต้องนับคะแนนรวมทั้งประ- เทศ ทั้งยังจะต้องจัด
ตั้งเลือกตั้งใหม่ซ้ำซาก ต้องใช้เวลาถึง 6 เดือน ว่างทั้งรัฐสภาและรัฐบาล ถาวร การตัดสินใจเดิน
หน้าเลือกตั้ง พิสูจน์ว่า นักการเมืองสอบตกวิชาปฏิรูปการเมือง
เป็นการสอบตกขั้นพื้นฐานของการปฏิรูปการเมือง ประการแรกคือสุ่มเสี่ยงต่อการนำไปสู่ความรุนแรง
ถึงแม้จะมีเหตุร้ายในวันเลือกตั้งล่วงหน้า เป็นหนังตัวอย่าง ยังก้าวไม่ถึงการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
ประการที่สอง สอบตกในเรื่อง “จิตสาธารณะ” ยึดถือประโยชน์สุขของบ้านเมืองเป็นตัวตั้ง เพราะ
มุ่งรักษาอำนาจตนและพรรคพวกเป็นหลักใหญ่.
http://www.thairath.co.th/column/pol/editor/399926
สื่อก็มีจุดยืน ว่าจะอยู่ข้างไหน ดูได้จากบทบรรณาธิการในแต่ละวัน แต่ละสถานะการณ์
ต่างจาก คอลัมน์ต่างๆ ที่คคห.จะเป็นของ เจ้าของคอลัมน์ ที่อาจแตกต่างจาก จุดยืน
ของสื่อ อย่างที่เราจะเห็น บทความของ วสิษฐ เดชกุญชร นงนุช สิงหะเดชะ
และ ทวี มีเงิน ใน มติชน ข่าวสด หรือ หมัดเหล็ก ในไทยรัฐ
แต่อ่านบทบรรณาธิการ จะเห็นชัดเจน ในจุดยืนของสื่อนั้น
มติชน vs ไทยรัฐ จุดยืนของสื่อ บทพิสูจน์ ดูได้จากบทบรรณาธิการ
ผลการหารือระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กลาโหม พร้อมกับรัฐมนตรีอีกหลายคน กับคณะกรรมการการเลือกตั้งถึงแนวทางการเลื่อนหรือไม่
เลื่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์สรุปออกมาว่า การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ยังจะต้อง
ดำเนินต่อไป เพราะแม้จะปรากฏอุปสรรคตามรายงานของ กกต. แต่ปัญหาหลักที่ต้องตระหนักคือ
การเลื่อนการเลือกตั้งที่ไม่มีกฎหมายรองรับ จะมีความผิด นอกจากนี้รัฐบาลยังเห็นว่า การเลือกตั้ง
ล่วงหน้าเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ส่งสัญญาณให้เห็นว่าประชาชนใน 66 จังหวัด จากทั้งหมด
77 จังหวัด ไม่ขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้ง หากรัฐบาลและ กกต.ถือเอาจังหวัดที่ไม่สามารถใช้สิทธิ
ในภาคใต้ และ กทม. มาเป็นเหตุเลื่อนการเลือกตั้งทั้งหมด จะไม่สามารถตอบกับคนไทย
อีก 66 จังหวัดที่พร้อมเลือกตั้งได้
การหารือระหว่างรัฐบาลกับ กกต. ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม ที่สโมสรทหารบก ถือเป็นการ
หารือที่ว่ากันด้วยเหตุและผล แม้จะเห็นความสำคัญของคนไทยที่ไม่ต้องการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์
แต่ก็ต้องยึดให้ความสำคัญกับคนไทยที่พร้อมจะเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ มากกว่า ส่วนหลังจากการ
เลือกตั้งแล้วปรากฏเหตุการณ์ที่ทำให้ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ครบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด รัฐบาล
ก็สามารถเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาให้เลือกตั้งใหม่ในพื้นที่ที่ยังไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ แม้ว่าจะ
ต้องใช้เวลานานถึง 4-5 เดือน แต่การดำเนินการดังกล่าวทำให้ผู้ที่ต้องการเลือกตั้งจะได้ใช้สิทธิ ส่วนผู้ที่
ไม่ต้องการเลือกตั้งก็ไม่ไปใช้สิทธิ ขณะที่ฝ่ายจัดการการเลือกตั้งก็ได้พยายามเต็มที่ในการจัดการเลือกตั้ง
ให้สำเร็จ
ผลการหารือระหว่างรัฐบาลกับ กกต.ครั้งนี้ เป็นผลการหารือที่เริ่มเข้ารูปเข้ารอย ประการแรก เป็นการ
พิจารณาโดยยึดหลักกฎหมายประกอบการตัดสินใจ ประการที่สอง เป็นการหารือโดยใช้หลักเหตุและผล
ฝ่ายรัฐบาลนำความเชื่อ และข้อจำกัด พูดคุยกับฝ่าย กกต. ที่มีความเชื่อและข้อจำกัดเช่นกัน ประการที่สาม
การหารือสามารถยุติลงโดยการร่วมมือทำงานกัน และประการสุดท้าย คือ การพยายามทำความเข้าใจผู้มี
สิทธิเลือกตั้ง ทั้งฝ่ายที่ต้องการเลือก และฝ่ายที่ต้องการเลื่อน และเมื่อพิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว ทั้งรัฐบาล
และ กกต. จึงมีมติออกมา และเชื่อว่ามติดังกล่าวจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์วิกฤตทางการเมือง
ขณะนี้
http://www.matichon.co.th/daily/view_newsonline.php?newsid=1391133713§ionid=0102
สอบตกปฏิรูปขั้นพื้นฐาน บทบรรณาธิการไทยรัฐ
การเลือกตั้งทั่วไปคราวนี้ เป็นครั้งที่ยุ่งยากที่สุดและมืดมนที่สุด ไม่รู้อนาคตและไม่ทราบว่าจะนำ
ประเทศไปสู่ชะตากรรมใด เมื่อรัฐบาลและ กกต. ตัดสินใจให้เดินหน้าเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์
เนื่องจากรัฐบาลยืนกรานไม่ยอมเลื่อน เพราะถึงเลื่อนออกไปปัญหาก็ไม่จบ เดินหน้าต่อไปปัญหาก็
ไม่จบ จึงสุ่มเสี่ยงเดินหน้า ถึงแม้จะต้องใช้เวลาถึงครึ่งปี
กกต. หวังจะยึดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเลื่อนการเลือกตั้งออก ไป เนื่องจากมีปัญหา
และอุปสรรคมากมาย ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสุจริตเที่ยงธรรม
แต่คำวินิจฉัยของศาลเพียงแต่ “แนะนำ” ว่าอาจเลื่อนการเลือกตั้งออกไปได้ โดยให้เป็น อำนาจ
ของนายกรัฐมนตรีกับประธาน กกต. หารือกัน แต่ไม่บังคับว่าจะต้องเลื่อน
เมื่อรัฐบาลยืนกรานไม่เลื่อนกกต. จึงไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น เพราะอำนาจในการออก
พระราชกฤษฎีกาเลื่อนการเลือกตั้งเป็นของนายกรัฐมนตรี รัฐบาล อ้างว่าไม่มีกฎหมายรองรับ กลัวว่า
นายกรัฐ- มนตรีจะโดนฟ้อง อันที่จริงไม่น่าห่วงเรื่องนี้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพัน
ทุกองค์กรรวมทั้งศาล จึงสามารถอ้างเป็นข้อต่อสู้ในศาลได้
แต่เหตุผลที่แท้จริงของรัฐบาลคือการรักษาอำนาจ ต้องเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด เพราะเชื่อว่าพรรค
เพื่อไทยจะชนะ แล้วอ้างต่อชาวโลกได้ว่า ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน มากกว่า
“มวลมหาประชาชน” กปปส. ที่ปักหลักชุมนุมขับไล่รัฐบาลมาสามเดือน รัฐบาลจึงมีความชอบธรรม
ที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป ต้องเลือกตั้งก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะถูก ป.ป.ช. “สอย”
ส่วน กกต.พยายามชี้ให้เห็นว่าถ้าไม่เลื่อนการเลือกตั้ง จะมีปัญหาขาดกรรมการประจำหน่วย ไม่มี
บัตรเลือกตั้งในหลายหน่วย และมีการชุมนุมขัดขวางการเลือกตั้ง อาจปะทะกับกลุ่มที่เห็นต่าง นำ
ไปสู่เหตุรุน- แรง และถึงจะเลือกตั้งตามกำหนด ก็จะไม่ได้ ส.ส.พอที่จะเปิดประชุมสภา ไม่สามารถ
เลือกนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และเกิดสุญญากาศการเมือง
เนื่องจากไม่มีผู้สมัคร ส.ส.ใน 28 เขต จึงขาด ส.ส.ไป 28 คน และไม่สามารถประกาศผลการ
เลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออีก 125 คน เพราะต้องนับคะแนนรวมทั้งประ- เทศ ทั้งยังจะต้องจัด
ตั้งเลือกตั้งใหม่ซ้ำซาก ต้องใช้เวลาถึง 6 เดือน ว่างทั้งรัฐสภาและรัฐบาล ถาวร การตัดสินใจเดิน
หน้าเลือกตั้ง พิสูจน์ว่า นักการเมืองสอบตกวิชาปฏิรูปการเมือง
เป็นการสอบตกขั้นพื้นฐานของการปฏิรูปการเมือง ประการแรกคือสุ่มเสี่ยงต่อการนำไปสู่ความรุนแรง
ถึงแม้จะมีเหตุร้ายในวันเลือกตั้งล่วงหน้า เป็นหนังตัวอย่าง ยังก้าวไม่ถึงการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี
ประการที่สอง สอบตกในเรื่อง “จิตสาธารณะ” ยึดถือประโยชน์สุขของบ้านเมืองเป็นตัวตั้ง เพราะ
มุ่งรักษาอำนาจตนและพรรคพวกเป็นหลักใหญ่.
http://www.thairath.co.th/column/pol/editor/399926
สื่อก็มีจุดยืน ว่าจะอยู่ข้างไหน ดูได้จากบทบรรณาธิการในแต่ละวัน แต่ละสถานะการณ์
ต่างจาก คอลัมน์ต่างๆ ที่คคห.จะเป็นของ เจ้าของคอลัมน์ ที่อาจแตกต่างจาก จุดยืน
ของสื่อ อย่างที่เราจะเห็น บทความของ วสิษฐ เดชกุญชร นงนุช สิงหะเดชะ
และ ทวี มีเงิน ใน มติชน ข่าวสด หรือ หมัดเหล็ก ในไทยรัฐ
แต่อ่านบทบรรณาธิการ จะเห็นชัดเจน ในจุดยืนของสื่อนั้น