ทำน้อยได้ผลมาก
การทำกุศลในพระพุทธศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระกรุณาเทศนาโปรดท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี
เมื่อครั้งประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ดังที่มีเรื่องบันทึกอยู่ในเวลามสูตร คัมภีร์อังคุตตรนิกาย
นวกนิบาต โดยทรงปรารภถีงพระชาติที่พระองค์ทรงบังเกิดเป็นเวลามพราหมณ์ ได้ถวายมหาทานที่ใช้ทรัพย์สิ่งของมาก
แต่มีผลดีสู้การปฏิบัติศีลธรรมตามหลัก ๔ ประการไม่ได้
ข้อปฏิบัติ ๔ ประการที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ ได้แก่
๑. มีจิตใจเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ คือ ที่พึ่งที่ระลึก
๒. รักษาศีล ๕ ได้แก่ ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม (ผิดลูก-เมีย-ผัวเขา) การกล่าวเท็จ และ
งดเว้นจาการดื่มสุราเมรัยและเสพของมึนเมา
๓. การเจริญเมตตาจิต ได้แก่ แผ่ความปรารถนาดีไมตรีจิต คิดจะให้บุคคลและสัตว์ทั้งหลายมีความสุข แ้ม้จะเป็นช่วงสั้นๆ
เพียงแค่สูดดมของหอม ก็มีอานิสงส์มาก
อนึ่ง ใน
โอกขาสูตร คัมภีร์สังยุตตนิกาย นิทานวรรค กล่าวว่า
การแผ่เมตตาจิต เพียงแค่รีดนมโคให้หยดน้ำนมแห่งแม่โคลง
(หรือชั่วรีดขึ้นแล้วรีดลง) มีคุณค่ามากกว่าการตั้งเตาหุงอาหารเลี้ยงคน ๓ มื้อ มื้อละ ๓๐๐ กระทะ (หม้อใหญ่)
๔. การเจริญอนิจจสัญญา ได้แก่ การกำหนดหมายว่า
ไม่เที่ยง แม้เพียงชั่วระยะเวลาแค่ลัดนิ้วมือ หรือ งอนิ้วมือเข้า หรือ
เหยียดนิ้วมือออก เท่านั้น
กุศลกรรมทั้ง ๔ นี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า มีอานิสงส์ (ผลดี) มากกว่าการถวายทานแต่พระอริยบุคคล ๔ ระดับ (๑. พระโสดาบัน
๒. พระสกทาคามี ๓. พระอนาคามี ๔. พระอรหันต์) การถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า การถวายทานแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การถวายทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข และการสร้างที่อยู่อาศัยถวายแด่พระสงฆ์ผู้มาจาก ๔ ทิศ
การถวายทานแด่ท่านผู้มีคุณอันสูงยิ่งทั้งหลายทั้ง ๕ ระดับดังกล่าวนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ยังมีอานิสงส์น้อยกว่า
การลงมือปฏิบัติที่ตัวของผู้ปฏิบัติเอง ทั้ง ๔ ข้อข้างต้น ตามพระพุทธดำรัสแนะนำว่า
การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ก็มีผลมากกว่าการถวายทาน
การรักษาศีล ๕ มีผลมากกว่าการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
การเจริญเมตตาจิต คือ การแผ่ความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ มีผลมากกว่าการรักษาศีล ๕
และการเจริญอนิจจสัญญา คือ การกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง
มีผลมากกว่าการเจริญเมตตาจิต และการเจริญอนิจจสัญญา มีอานิสงส์ คือ ผลดีมากกว่ากันเป็นตามลำดับ โดยจะสังเกตเห็นว่า
ลำดับหลังๆลงทุนน้อย ลงแรงน้อยกว่า แต่มีผลด้านการพัฒนาจิตใจสูงกว่า เพราะฉะนั้น การเจริญอนิจจสัญญา มีผลดีสูงที่สุด
และการกระทำตามหลักทั้ง ๔ ข้อ ไม่ต้องใช้ทรัพย์สินเลย แต่ใช้การปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบของศีลธรรมให้ถูกต้องและถูกทาง
พระพุทธศาสนาสอนให้พุทธบริษัทลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อจะได้เกิดมีคุณธรรมต่างๆที่ตัวเองบ้าง และจะได้รู้เห็นด้วยตนเอง
โดยไม่ต้องเชื่อใครมาบอก ดังบทพระธรรมคุณว่า วิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตัว หรือ มีคำพังเพยว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
แล้วท่านจะไม่ลงมือปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนบ้างหรือ
ที่มา : หนังสือชีวประวัติสามเณร : ทำน้อยได้ผลมาก รวบรวมเรียบเรียงโดย จำเนียร ทรงฤกษ์
พระสูตรที่อ้างอิงถึง
เวลามสูตร :
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%E0%C7%C5%D2%C1%CA%D9%B5%C3&book=1&bookZ=45&original=1
โอกขาสูตร :
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%E2%CD%A1%A2%D2%CA%D9%B5%C3&book=1&bookZ=45&original=1
ทำน้อยได้ผลมาก
การทำกุศลในพระพุทธศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระกรุณาเทศนาโปรดท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี
เมื่อครั้งประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ดังที่มีเรื่องบันทึกอยู่ในเวลามสูตร คัมภีร์อังคุตตรนิกาย
นวกนิบาต โดยทรงปรารภถีงพระชาติที่พระองค์ทรงบังเกิดเป็นเวลามพราหมณ์ ได้ถวายมหาทานที่ใช้ทรัพย์สิ่งของมาก
แต่มีผลดีสู้การปฏิบัติศีลธรรมตามหลัก ๔ ประการไม่ได้
ข้อปฏิบัติ ๔ ประการที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ ได้แก่
๑. มีจิตใจเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ คือ ที่พึ่งที่ระลึก
๒. รักษาศีล ๕ ได้แก่ ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม (ผิดลูก-เมีย-ผัวเขา) การกล่าวเท็จ และ
งดเว้นจาการดื่มสุราเมรัยและเสพของมึนเมา
๓. การเจริญเมตตาจิต ได้แก่ แผ่ความปรารถนาดีไมตรีจิต คิดจะให้บุคคลและสัตว์ทั้งหลายมีความสุข แ้ม้จะเป็นช่วงสั้นๆ
เพียงแค่สูดดมของหอม ก็มีอานิสงส์มาก
อนึ่ง ในโอกขาสูตร คัมภีร์สังยุตตนิกาย นิทานวรรค กล่าวว่า การแผ่เมตตาจิต เพียงแค่รีดนมโคให้หยดน้ำนมแห่งแม่โคลง
(หรือชั่วรีดขึ้นแล้วรีดลง) มีคุณค่ามากกว่าการตั้งเตาหุงอาหารเลี้ยงคน ๓ มื้อ มื้อละ ๓๐๐ กระทะ (หม้อใหญ่)
๔. การเจริญอนิจจสัญญา ได้แก่ การกำหนดหมายว่า ไม่เที่ยง แม้เพียงชั่วระยะเวลาแค่ลัดนิ้วมือ หรือ งอนิ้วมือเข้า หรือ
เหยียดนิ้วมือออก เท่านั้น
กุศลกรรมทั้ง ๔ นี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า มีอานิสงส์ (ผลดี) มากกว่าการถวายทานแต่พระอริยบุคคล ๔ ระดับ (๑. พระโสดาบัน
๒. พระสกทาคามี ๓. พระอนาคามี ๔. พระอรหันต์) การถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า การถวายทานแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การถวายทานแด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข และการสร้างที่อยู่อาศัยถวายแด่พระสงฆ์ผู้มาจาก ๔ ทิศ
การถวายทานแด่ท่านผู้มีคุณอันสูงยิ่งทั้งหลายทั้ง ๕ ระดับดังกล่าวนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า ยังมีอานิสงส์น้อยกว่า
การลงมือปฏิบัติที่ตัวของผู้ปฏิบัติเอง ทั้ง ๔ ข้อข้างต้น ตามพระพุทธดำรัสแนะนำว่า
การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ก็มีผลมากกว่าการถวายทาน
การรักษาศีล ๕ มีผลมากกว่าการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
การเจริญเมตตาจิต คือ การแผ่ความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ มีผลมากกว่าการรักษาศีล ๕
และการเจริญอนิจจสัญญา คือ การกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง
มีผลมากกว่าการเจริญเมตตาจิต และการเจริญอนิจจสัญญา มีอานิสงส์ คือ ผลดีมากกว่ากันเป็นตามลำดับ โดยจะสังเกตเห็นว่า
ลำดับหลังๆลงทุนน้อย ลงแรงน้อยกว่า แต่มีผลด้านการพัฒนาจิตใจสูงกว่า เพราะฉะนั้น การเจริญอนิจจสัญญา มีผลดีสูงที่สุด
และการกระทำตามหลักทั้ง ๔ ข้อ ไม่ต้องใช้ทรัพย์สินเลย แต่ใช้การปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบของศีลธรรมให้ถูกต้องและถูกทาง
พระพุทธศาสนาสอนให้พุทธบริษัทลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อจะได้เกิดมีคุณธรรมต่างๆที่ตัวเองบ้าง และจะได้รู้เห็นด้วยตนเอง
โดยไม่ต้องเชื่อใครมาบอก ดังบทพระธรรมคุณว่า วิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตัว หรือ มีคำพังเพยว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น
แล้วท่านจะไม่ลงมือปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนบ้างหรือ
ที่มา : หนังสือชีวประวัติสามเณร : ทำน้อยได้ผลมาก รวบรวมเรียบเรียงโดย จำเนียร ทรงฤกษ์
พระสูตรที่อ้างอิงถึง
เวลามสูตร : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%E0%C7%C5%D2%C1%CA%D9%B5%C3&book=1&bookZ=45&original=1
โอกขาสูตร : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=%E2%CD%A1%A2%D2%CA%D9%B5%C3&book=1&bookZ=45&original=1