ชาวนาที่ค้างใบประทวน เมื่อไหร่จะได้เงิน
- วันนี้ มีผู้สื่อข่าวถามผม ว่าชาวนาที่ค้างใบประทวน เมื่อไหร่จะได้เงิน
- ข้อมูลในสื่อแจ้งว่า ขณะนี้ รัฐบาลค้างจ่ายเงินให้แก่ชาวนา ที่ส่งข้าวเข้าไปโกดังแล้ว และได้รับใบประทวนแล้ว แต่ไม่สามารถขึ้นเป็นเงินได้ โดยมีใบประทวนค้างจ่ายกว่า 1 ล้านฉบับ
- ชาวนาที่ไม่ได้รับเงิน เดือดร้อนมาก ต้องไปกู้เงินนอกระบบ เสียดอกเบี้ยในอัตราสูงมาก ผลกระทบเกิดขึ้นต่อชาวนาหลายแสนคน
- ปัญหาเกิดจากเหตุใด
- ปัญหาเกิดจากรัฐมนตรีคลัง (นายกิตติรัตน์) ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าครับ
- ถ้าจะเข้าใจเรื่องนี้ให้กระจ่าง ต้องย้อนไปในช่วงเวลา ที่ผมดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีคลัง ก่อนหน้านี้
- ในช่วงที่ผมดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีคลังนั้น ผมได้เสนอ ครม. กำหนดวงเงินสำหรับใช้จำนำข้าว 4.1 แสนล้านบาท ในวันที่ 13 กันยายน 2554
- แต่ที่สำคัญที่สุด ก็คือผมได้เสนอให้กำหนด ในลักษณะที่เป็น “ วงเงินแบบหมุนเวียน “
- พูดง่ายๆ ก็คือการใช้วงเงิน ต้องใช้เป็นรอบๆ โดยในรอบที่หนึ่ง ช่วงแรกจะจ่ายเงินออกให้แก่ชาวนาก่อน แล้วช่วงหลัง จะมีการขายข้าวออกไป เพื่อรับเงินกลับคืนมาทดแทน
- เมื่อขายข้าวออกไปแล้ว ได้เงินกลับคืนเข้ามาแล้ว รัฐบาลจึงจะมีวงเงิน ที่จะจ่ายออกไปให้แก่ชาวนาในรอบที่สอง
- ทำไมผมจึงได้เสนอ ครม. ให้กำหนด ในลักษณะที่เป็นวงเงินหมุนเวียน
- ก็เพื่อรักษาวินัยการเงินการคลังครับ เพื่อเป็นการบีบบังคับให้การใช้เงิน จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนดไว้ และเพื่อเป็นการบีบบังคับ ต้องมีการขายข้าวออกไป เพื่อให้มีวงเงิน ที่จะจ่ายในรอบต่อๆ ไป
- และในฐานะที่ผมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง และเป็นประธาน ธกส. โดยตำแหน่งด้วยนั้น ก่อนพ้นตำแหน่ง ผมก็ได้ย้ำในการประชุมกรรมการ ขอให้ ธกส. เร่งรัด ให้กระทรวงพาณิชย์ ทะยอยขายข้าวออกไปแต่เนิ่นๆ
- แต่เหตุการณ์ที่ผ่านมา ปรากฎว่าทางกระทรวงพาณิชย์ ไม่ยอมขายข้าวออกไปเท่าที่ควร
- ผู้วิเคราะห์ในวงการค้าข้าวแจ้งผมว่า เหตุผลที่ไม่ค่อยยอมขายข้าวออกไป มีสองข้อ
- ข้อหนึ่ง เนื่องจากกลัวว่าถ้าขายออกไปมาก จะทำให้ราคาตลาดโลกลดต่ำ ซึ่งจะมีผลทำให้การตีราคาสต๊อกข้าวในมือ จะมีมูลค่าสต๊อกลดต่ำลงไปด้วย
- อีกเหตุผลหนึ่ง เขาคิดว่า อาจจะเกี่ยวข้องไปถึงเรื่องที่ ป.ป.ช. กำลังตรวจสอบอยู่ในขณะนี้
- เมื่อไม่ยอมขายข้าวออกไป ก็ไม่มีเงินหมุนเวียนวนกลับ ทำให้เงินเหลือในวงเงินดังกล่าว ที่จะจ่ายให้แก่ชาวนา ในรอบต่อๆ ไป ร่อยหรอไปด้วย
- เรียกได้ว่า การใช้เงินสำหรับโครงการนี้ โดนกลไกล๊อก ที่ผมเสนอ ครม. เอาไว้ เพราะยึดกรอบวินัยการเงินการคลังนั่นเอง
- ถามว่า มาถึงวันนี้ รัฐบาลจะสามารถกู้เงินมา เพื่อจ่ายให้แก่ชาวนา ได้หรือไม่
- ผมเองเห็นใจชาวนามาก
- และถ้ารัฐมนตรีคลัง (นายกิตติรัตน์) ได้วางแผนล่วงหน้า ก็ย่อมจะทราบถึงปัญหานี้ และควรจะได้เสนอ ครม. ให้ขยายวงเงินหมุนเวียน ให้สูงขึ้นสักจำนวนหนึ่ง เพื่อรองรับปัญหานี้
- แต่ก็ต้องทำก่อนที่จะมีการยุบสภา
- อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีคลัง (นายกิตติรัตน์) มิได้วางแผนแก้ปัญหานี้ไว้ สุดท้ายมีการยุบสภาเสียก่อน จึงมีผลเท่ากับ รัฐมนตรีคลังได้จูงมือ พารัฐบาล เข้าตาจน
- ณ จุดนี้ รัฐบาลรักษาการณ์ ไม่สามารถกู้เงินได้แล้ว เพราะจะฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ
- มาตรา 181 (3) ซึ่งระบุให้รัฐบาลรักษาการณ์ “ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ”
- ถึงแม้ทราบข้อจำกัดนี้ รัฐมนตรีคลัง (นายกิตติรัตน์) ก็ได้เสนอเรื่องต่อ ครม. ให้ทำเรื่องไปขออนุญาต กกต. เพื่อกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท
- เรื่องนี้น่าจะยาก
- เนื่องจากวงเงินเดิมกำหนดไว้ในลักษณะเป็นวงเงินหมุนเวียน จึงไม่มีช่องที่รัฐบาลจะกู้เงินภายในวงเงินเดิมแม้แต่น้อย
- ผมเองจึงไม่เห็นว่า กกต. จะสามารถอนุญาตได้อย่างใด
- ผมคาดว่า การที่รัฐบาลเสนอเรื่องไปที่ กกต. อาจจะเป็นเพียงเพื่อให้ชาวนาเห็นว่า รัฐบาลได้พยายามแล้ว แต่อุปสรรคอยู่ที่ กกต. มิใช่อยู่ที่รัฐบาล มากกว่าที่จะหวังผลอย่างแท้จริง
- ถามว่า รัฐบาลจะขอให้ ธกส. ใช้เงินสภาพคล่อง เพื่อจ่ายให้ชาวนาไปบางส่วน ได้หรือไม่
- ข่าวล่าสุด ทั้งผู้บริหารและสหภาพพนักงาน ธกส. ไม่เห็นด้วย เพราะทำให้ ธกส. เสี่ยงที่จะขาดทุน โดยที่ไม่มีข้อผูกมัดจาก ครม. มาคุ้มครอง
- นอกจากนี้ ธกส. มีการทำธุรกิจการธนาคารอื่นๆ ตามปกติอีกด้วย ธกส. จึงจำเป็นต้องมีสภาพคล่องไว้ใช้หล่อเลี้ยงธุรกิจปกติ
- หากนำมาทุ่มในโครงการจำนำข้าว ก็จะเป็นอันตรายต่อ ธกส.
- และหากเกิดความเสียหาย ผู้บริหาร ธกส. จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวอีกด้วย
- ถามว่า รัฐบาลจะใช้ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารรัฐอื่นๆ เพื่อจ่ายเงินให้แก่ชาวนาได้หรือไม่ ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่าน ธกส.
- ผมคิดว่า หากผู้บริหาร กรรมการ ของสถาบันการเงินของรัฐดังกล่าว เข้าไปให้กู้แก่รัฐบาลเพื่อโครงการนี้ ทุกๆ คน จะมีความเสี่ยงต่อตนเอง แบบเต็มๆ
- ทั้งนี้เพราะ มาตรา 181 (4) บัญญัติไว้ให้รัฐบาลรักษาการณ์ “ ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อดำเนินการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง ”
- หากรัฐบาลสั่งให้สถาบันการเงินของรัฐ ดำเนินการดังกล่าว ทั้ง ครม. และผู้บริหารสถาบันการเงินของรัฐ ก็อาจจะมีความผิดทุกๆ คน
- ถามว่า การที่ชาวนา รวมตัวกัน ฟ้องคดีรัฐบาล และพรรคเพื่อไทย จะได้เงินหรือไม่
- หากเป็นการฟ้องศาลปกครอง ก็ไม่สามารถตัดสินเกินไปกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้ หากเป็นการฟ้องศาลแพ่ง กว่าจะได้ผล ก็คงกินเวลาอีกนานมาก
- ถามว่า หากมีการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และถ้าหากชาวนาพากันเลือกพรรคเพื่อไทย จะได้เงินหรือไม่
- หากมีรัฐบาลใหม่ เงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัดสำหรับรัฐบาลรักษาการณ์ ก็จะหมดไป รัฐบาลใหม่ จะสามารถกู้เงินมาเพื่อแก้ปัญหาได้ทันที
- แต่เงื่อนเวลาอาจจะแตกต่างกัน
- หากสมมุติเล่นๆ ว่ารัฐบาลใหม่ เป็นรัฐบาลคนกลาง ไม่ว่าเกิดขึ้นเนื่องจากนายกยิ่งลักษณ์ลาออก หรือเนื่องจากการปฏิวัติรัฐประหาร รัฐบาลใหม่ก็คงดำเนินการได้ทันที
- แต่สำหรับรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งนั้น เงื่อนเวลา จะมีความแน่นอนน้อยกว่า
- เพราะกว่าจะเลือกตั้งกันครบถ้วน กว่าจะได้จำนวน ส.ส. มากพอที่จะเปิดสภา และกว่าจะฝ่าฟันการต่อสู้ในศาล ที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังการนับคะแนน จะทำให้กะเวลาได้ยากกว่ามาก
- สรุปแล้ว หากรัฐบาลใหม่ เป็นรัฐบาลคนกลาง เงื่อนเวลา น่าจะแน่นอน หากเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เงื่อนเวลา จะกะยากกว่า
- ที่ผมพูดทั้งหมดนี้ ไม่ได้สนับสนุนรัฐบาลแบบใดเป็นพิเศษ แต่ต้องการให้ชาวนา ทำใจยอมรับ
- หรือหากไม่ทำใจยอมรับ ก็ขอให้รู้ ว่าปัญหาเกิดจากจุดใด
จาก
https://www.facebook.com/thirachai.phuvanatnaranubala
ชาวนาที่ค้างใบประทวน เมื่อไหร่จะได้เงิน
- วันนี้ มีผู้สื่อข่าวถามผม ว่าชาวนาที่ค้างใบประทวน เมื่อไหร่จะได้เงิน
- ข้อมูลในสื่อแจ้งว่า ขณะนี้ รัฐบาลค้างจ่ายเงินให้แก่ชาวนา ที่ส่งข้าวเข้าไปโกดังแล้ว และได้รับใบประทวนแล้ว แต่ไม่สามารถขึ้นเป็นเงินได้ โดยมีใบประทวนค้างจ่ายกว่า 1 ล้านฉบับ
- ชาวนาที่ไม่ได้รับเงิน เดือดร้อนมาก ต้องไปกู้เงินนอกระบบ เสียดอกเบี้ยในอัตราสูงมาก ผลกระทบเกิดขึ้นต่อชาวนาหลายแสนคน
- ปัญหาเกิดจากเหตุใด
- ปัญหาเกิดจากรัฐมนตรีคลัง (นายกิตติรัตน์) ไม่ได้วางแผนล่วงหน้าครับ
- ถ้าจะเข้าใจเรื่องนี้ให้กระจ่าง ต้องย้อนไปในช่วงเวลา ที่ผมดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีคลัง ก่อนหน้านี้
- ในช่วงที่ผมดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีคลังนั้น ผมได้เสนอ ครม. กำหนดวงเงินสำหรับใช้จำนำข้าว 4.1 แสนล้านบาท ในวันที่ 13 กันยายน 2554
- แต่ที่สำคัญที่สุด ก็คือผมได้เสนอให้กำหนด ในลักษณะที่เป็น “ วงเงินแบบหมุนเวียน “
- พูดง่ายๆ ก็คือการใช้วงเงิน ต้องใช้เป็นรอบๆ โดยในรอบที่หนึ่ง ช่วงแรกจะจ่ายเงินออกให้แก่ชาวนาก่อน แล้วช่วงหลัง จะมีการขายข้าวออกไป เพื่อรับเงินกลับคืนมาทดแทน
- เมื่อขายข้าวออกไปแล้ว ได้เงินกลับคืนเข้ามาแล้ว รัฐบาลจึงจะมีวงเงิน ที่จะจ่ายออกไปให้แก่ชาวนาในรอบที่สอง
- ทำไมผมจึงได้เสนอ ครม. ให้กำหนด ในลักษณะที่เป็นวงเงินหมุนเวียน
- ก็เพื่อรักษาวินัยการเงินการคลังครับ เพื่อเป็นการบีบบังคับให้การใช้เงิน จะต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนดไว้ และเพื่อเป็นการบีบบังคับ ต้องมีการขายข้าวออกไป เพื่อให้มีวงเงิน ที่จะจ่ายในรอบต่อๆ ไป
- และในฐานะที่ผมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง และเป็นประธาน ธกส. โดยตำแหน่งด้วยนั้น ก่อนพ้นตำแหน่ง ผมก็ได้ย้ำในการประชุมกรรมการ ขอให้ ธกส. เร่งรัด ให้กระทรวงพาณิชย์ ทะยอยขายข้าวออกไปแต่เนิ่นๆ
- แต่เหตุการณ์ที่ผ่านมา ปรากฎว่าทางกระทรวงพาณิชย์ ไม่ยอมขายข้าวออกไปเท่าที่ควร
- ผู้วิเคราะห์ในวงการค้าข้าวแจ้งผมว่า เหตุผลที่ไม่ค่อยยอมขายข้าวออกไป มีสองข้อ
- ข้อหนึ่ง เนื่องจากกลัวว่าถ้าขายออกไปมาก จะทำให้ราคาตลาดโลกลดต่ำ ซึ่งจะมีผลทำให้การตีราคาสต๊อกข้าวในมือ จะมีมูลค่าสต๊อกลดต่ำลงไปด้วย
- อีกเหตุผลหนึ่ง เขาคิดว่า อาจจะเกี่ยวข้องไปถึงเรื่องที่ ป.ป.ช. กำลังตรวจสอบอยู่ในขณะนี้
- เมื่อไม่ยอมขายข้าวออกไป ก็ไม่มีเงินหมุนเวียนวนกลับ ทำให้เงินเหลือในวงเงินดังกล่าว ที่จะจ่ายให้แก่ชาวนา ในรอบต่อๆ ไป ร่อยหรอไปด้วย
- เรียกได้ว่า การใช้เงินสำหรับโครงการนี้ โดนกลไกล๊อก ที่ผมเสนอ ครม. เอาไว้ เพราะยึดกรอบวินัยการเงินการคลังนั่นเอง
- ถามว่า มาถึงวันนี้ รัฐบาลจะสามารถกู้เงินมา เพื่อจ่ายให้แก่ชาวนา ได้หรือไม่
- ผมเองเห็นใจชาวนามาก
- และถ้ารัฐมนตรีคลัง (นายกิตติรัตน์) ได้วางแผนล่วงหน้า ก็ย่อมจะทราบถึงปัญหานี้ และควรจะได้เสนอ ครม. ให้ขยายวงเงินหมุนเวียน ให้สูงขึ้นสักจำนวนหนึ่ง เพื่อรองรับปัญหานี้
- แต่ก็ต้องทำก่อนที่จะมีการยุบสภา
- อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีคลัง (นายกิตติรัตน์) มิได้วางแผนแก้ปัญหานี้ไว้ สุดท้ายมีการยุบสภาเสียก่อน จึงมีผลเท่ากับ รัฐมนตรีคลังได้จูงมือ พารัฐบาล เข้าตาจน
- ณ จุดนี้ รัฐบาลรักษาการณ์ ไม่สามารถกู้เงินได้แล้ว เพราะจะฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ
- มาตรา 181 (3) ซึ่งระบุให้รัฐบาลรักษาการณ์ “ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ”
- ถึงแม้ทราบข้อจำกัดนี้ รัฐมนตรีคลัง (นายกิตติรัตน์) ก็ได้เสนอเรื่องต่อ ครม. ให้ทำเรื่องไปขออนุญาต กกต. เพื่อกู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท
- เรื่องนี้น่าจะยาก
- เนื่องจากวงเงินเดิมกำหนดไว้ในลักษณะเป็นวงเงินหมุนเวียน จึงไม่มีช่องที่รัฐบาลจะกู้เงินภายในวงเงินเดิมแม้แต่น้อย
- ผมเองจึงไม่เห็นว่า กกต. จะสามารถอนุญาตได้อย่างใด
- ผมคาดว่า การที่รัฐบาลเสนอเรื่องไปที่ กกต. อาจจะเป็นเพียงเพื่อให้ชาวนาเห็นว่า รัฐบาลได้พยายามแล้ว แต่อุปสรรคอยู่ที่ กกต. มิใช่อยู่ที่รัฐบาล มากกว่าที่จะหวังผลอย่างแท้จริง
- ถามว่า รัฐบาลจะขอให้ ธกส. ใช้เงินสภาพคล่อง เพื่อจ่ายให้ชาวนาไปบางส่วน ได้หรือไม่
- ข่าวล่าสุด ทั้งผู้บริหารและสหภาพพนักงาน ธกส. ไม่เห็นด้วย เพราะทำให้ ธกส. เสี่ยงที่จะขาดทุน โดยที่ไม่มีข้อผูกมัดจาก ครม. มาคุ้มครอง
- นอกจากนี้ ธกส. มีการทำธุรกิจการธนาคารอื่นๆ ตามปกติอีกด้วย ธกส. จึงจำเป็นต้องมีสภาพคล่องไว้ใช้หล่อเลี้ยงธุรกิจปกติ
- หากนำมาทุ่มในโครงการจำนำข้าว ก็จะเป็นอันตรายต่อ ธกส.
- และหากเกิดความเสียหาย ผู้บริหาร ธกส. จะต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวอีกด้วย
- ถามว่า รัฐบาลจะใช้ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารรัฐอื่นๆ เพื่อจ่ายเงินให้แก่ชาวนาได้หรือไม่ ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อมผ่าน ธกส.
- ผมคิดว่า หากผู้บริหาร กรรมการ ของสถาบันการเงินของรัฐดังกล่าว เข้าไปให้กู้แก่รัฐบาลเพื่อโครงการนี้ ทุกๆ คน จะมีความเสี่ยงต่อตนเอง แบบเต็มๆ
- ทั้งนี้เพราะ มาตรา 181 (4) บัญญัติไว้ให้รัฐบาลรักษาการณ์ “ ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อดำเนินการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง ”
- หากรัฐบาลสั่งให้สถาบันการเงินของรัฐ ดำเนินการดังกล่าว ทั้ง ครม. และผู้บริหารสถาบันการเงินของรัฐ ก็อาจจะมีความผิดทุกๆ คน
- ถามว่า การที่ชาวนา รวมตัวกัน ฟ้องคดีรัฐบาล และพรรคเพื่อไทย จะได้เงินหรือไม่
- หากเป็นการฟ้องศาลปกครอง ก็ไม่สามารถตัดสินเกินไปกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้ หากเป็นการฟ้องศาลแพ่ง กว่าจะได้ผล ก็คงกินเวลาอีกนานมาก
- ถามว่า หากมีการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และถ้าหากชาวนาพากันเลือกพรรคเพื่อไทย จะได้เงินหรือไม่
- หากมีรัฐบาลใหม่ เงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัดสำหรับรัฐบาลรักษาการณ์ ก็จะหมดไป รัฐบาลใหม่ จะสามารถกู้เงินมาเพื่อแก้ปัญหาได้ทันที
- แต่เงื่อนเวลาอาจจะแตกต่างกัน
- หากสมมุติเล่นๆ ว่ารัฐบาลใหม่ เป็นรัฐบาลคนกลาง ไม่ว่าเกิดขึ้นเนื่องจากนายกยิ่งลักษณ์ลาออก หรือเนื่องจากการปฏิวัติรัฐประหาร รัฐบาลใหม่ก็คงดำเนินการได้ทันที
- แต่สำหรับรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งนั้น เงื่อนเวลา จะมีความแน่นอนน้อยกว่า
- เพราะกว่าจะเลือกตั้งกันครบถ้วน กว่าจะได้จำนวน ส.ส. มากพอที่จะเปิดสภา และกว่าจะฝ่าฟันการต่อสู้ในศาล ที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังการนับคะแนน จะทำให้กะเวลาได้ยากกว่ามาก
- สรุปแล้ว หากรัฐบาลใหม่ เป็นรัฐบาลคนกลาง เงื่อนเวลา น่าจะแน่นอน หากเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เงื่อนเวลา จะกะยากกว่า
- ที่ผมพูดทั้งหมดนี้ ไม่ได้สนับสนุนรัฐบาลแบบใดเป็นพิเศษ แต่ต้องการให้ชาวนา ทำใจยอมรับ
- หรือหากไม่ทำใจยอมรับ ก็ขอให้รู้ ว่าปัญหาเกิดจากจุดใด
จาก https://www.facebook.com/thirachai.phuvanatnaranubala