หายนะจำนำข้าว!ค้างหนี้ชาวนาแสนล้าน
ข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
โครงการจำนำข้าวป่วน รัฐบาลค้างจ่ายเงินชาวนาแสนล้าน ออกใบประทวนไร้ขีดจำกัด 7.3 ล้านตัน ธ.ก.ส.ยันเกินกรอบวงเงินต้องรอ กขช.ไฟเขียว
โครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปี 2556/2557 ที่เปิดโครงการมาตั้งแต่เดือนต.ค. ที่ผ่านมา ไปสิ้นสุดเดือนก.พ. 2557 เริ่มจะประสบปัญหาแหล่งเงินที่จะมานำมาใช้ดำเนินโครงการ หลังจากมติคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) กำหนดกรอบวงเงินสำหรับใช้ในโครงการปี 2556/2557 ไม่เกิน 2.7 แสนล้านบาท ผลผลิตข้าว 15 ล้านตัน แต่ขณะนี้ปรากฏว่ามีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเกษตรกรบางส่วน ยังไม่สามารถรับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ เนื่องจากยังไม่มีมติกขช.รองรับ โดย ธ.ก.ส.ได้ทยอยจ่ายเงินให้เกษตรกรตามใบประทวนไปก่อนหน้านี้แล้วจำนวน 1.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ที่เหลือต้องรอมติอนุมัติจาก กขช. ก่อน เพราะวงเงินที่ใช้เกินกรอบเดิมไปแล้ว
เผยรัฐค้างจ่ายชาวนาแสนล้าน
แหล่งข่าวจาก กขช. เปิดเผยว่า โครงการจำนำข้าวเปลือกปี 2556/2557 องค์การคลังสินค้า (อคส.) และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ออกใบประทวนให้เกษตรกร และยังไม่สามารถนำมาขึ้นเงินจาก ธ.ก.ส. ได้ขณะนี้มีจำนวน 1.15 แสนล้านบาท แบ่งเป็นใบประทวนที่ อคส. ออกไป จำนวน 1.04 แสนล้านบาท ผลผลิตข้าว 6.3 ล้านตัน และ อ.ต.ก. จำนวน 1.58 หมื่นล้านบาท ผลผลิต 0.97 ล้านตัน รวมผลผลิตที่รับจำนำไปแล้ว 7.3 ล้านตัน โดยเหตุผลที่เกษตรกรไม่สามารถนำไปขึ้นเงินจาก ธ.ก.ส.ได้นั้น เนื่องจาก ธ.ก.ส.ยังไม่ได้รับอนุมัติจาก กขช.ให้ดำเนินการ เพราะหากอนุมัติตามใบประทวนจะทำให้วงเงินที่ใช้ดำเนินโครงการจำนำข้าวเปลือก รวมทั้งหมดเกินกรอบวงเงินที่ครม.เคยอนุมัติไว้ไม่เกิน 5 แสนล้านบาท โดยตัวเลขผลดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ณ วันที่ 11 ธ.ค. อยู่ที่ 6.9-7.1 แสนล้านบาทแล้ว ซึ่งเกินกรอบวงเงินมาแล้วเกือบ 2 แสนล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในการประชุมครม.พิเศษเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปดำเนินการควบคุม การออกใบประทวนจำนำข้าว ไม่ให้เกินกรอบวงเงินที่เคยอนุมัติไว้ เพราะที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์มักเสนอขอขยายกรอบวงเงินเพิ่มภายหลังตลอด
เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา นางเบญจา หลุยเจริญ รักษาการรมช.คลัง จึงได้เรียกหน่วยงานเกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำมาประชุมนอกรอบที่กรมศุลกากร เพื่อกำชับไม่ให้มีการรับจำนำและออกใบประทวนเกินกว่ากรอบที่ครม.เคยอนุมัติไป ซึ่งในที่ประชุมได้กำหนดเกณฑ์เบื้องต้นว่าให้ดำเนินการรับจำนำในรอบนาปี (สิ้นเดือนก.พ. 57) ภายในวงเงิน 1.5 แสนล้านบาทเท่านั้น และแบ่งสัดส่วนการออกใบประทวน ของ อคส. ไว้ที่ 1.12 แสนล้านบาท และ อ.ต.ก. จำนวน 3.7 หมื่นล้านบาท โดยได้รายงานมติดังกล่าวในที่ประชุม กขช.วันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมาด้วย
"ยิ่งลักษณ์"สั่งคุมไม่เกิน5แสนล้าน
การประชุมเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. นั้น มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกฯและรมว.คลัง, นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการรองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ร่วมประชุมพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อคส. และ อ.ต.ก. ซึ่งมีมติร่วมกันว่า หากมีการออกใบประทวนเกินกว่าที่กำหนดไว้ ทั้ง อคส. และ อ.ต.ก.ต้องรับผิดชอบหาเงินมาจ่ายตามใบประทวนเอง ขณะที่กระทรวงการคลังจะไม่รับรู้หรือหาแหล่งเงินให้
แหล่งข่าวยังบอกว่า แหล่งเงินที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2556/2557 รอบแรกนี้ มติ ครม.กำหนดกรอบวงเงินรวม 3 ฤดูกาลผลิต (2554/2555 2555/56 และ 2556/2557) ไว้ทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท โดยกระทรวงการคลังต้องจัดหาเงินกู้ให้ ธ.ก.ส. จำนวน 4.1 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินส่วนของ ธ.ก.ส. 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งล่าสุดมีกรอบวงเงินกู้เหลืออีก 4.5 หมื่นล้านบาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงการคลังอ้างว่าสามารถกู้ได้อีกเพียง 3.2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีปัญหาทางเทคนิค ทั้งตลาดเงินไม่เอื้อ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เหมาะสม
"แม้ว่า ธ.ก.ส.จะได้รับเงินจากการระบายผลผลิตข้าวคืนจากกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา 1.64 แสนล้านบาท เมื่อหักเงินทุนของ ธ.ก.ส. 9 หมื่นล้านบาท หักเงินกู้จากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในโครงการรับจำนำปี 2555/2556 อีก 6.2 หมื่นล้านบาท เงินชดเชยโครงการ ปี 2555/2556 จำนวน 1.25 หมื่นล้านบาท รวมกับเงินระบายที่นำกลับมาหมุนเวียนใช้อีก 7.4 หมื่นล้านบาท และมีการเบิกจ่ายไปแล้ว 2.9 หมื่นล้านบาท ทำให้เหลือเงินที่กระทรวงการคลังต้องจัดหามาให้อีก 4.5 หมื่นล้านบาท " แหล่งข่าวย้ำ
พาณิชย์คืนเงินขายข้าว1.3แสนล้าน
ขณะที่เงินจากการระบายข้าวที่กระทรวงพาณิชย์ทยอยชำระคืนให้ ธ.ก.ส. จนถึงสิ้นเดือนพ.ย. อยู่ที่ 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งวงเงินที่ชำระคืนดังกล่าว พบว่า มีเงินจากการขายมันสำปะหลังปี 2555 /2556 จำนวน 6.4 พันล้านบาท และเงินขายยางพารา ปี 2554/2555 จำนวน 2.6 พันล้านบาท เหลือเป็นเงินระบายข้าวเพียง 1.6 แสนล้านบาท แต่เมื่อในจำนวนนี้ยังแยกเป็นเงินขายข้าวจากโครงการก่อนปี 2554/2555 จำนวน 2.24 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินระบายข้าวปี 2554/2555 (นาปี) จำนวน 4.69 หมื่นล้านบาท ข้าวนาปรังปี 2554/2555 จำนวน 1.61 หมื่นล้านบาท นาปี 2555/2556 จำนวน 4.25 หมื่นล้านบาท และนาปรังปี 2555 จำนวน 5.03 หมื่นล้าน ดังนั้นเงินจากการระบายข้าวปี 3 ฤดู มีเพียง 1.3 แสนล้านบาทเท่านั้น
เดือนต.ค. กระทรวงพาณิชย์ คืนเงินระบายผลผลิต 9.1 พันล้านบาท จากเป้าหมาย 1.2 หมื่นล้านบาท เป็นเงินขายข้าว 5.2 พันล้านบาท และเงินขายมัน 3.8 พันล้านบาท เดือนพ.ย.กระทรวงพาณิชย์คืนเงินระบายผลผลิตได้ 7.7 พันล้านบาท จากเป้าหมาย 1.2 หมื่นล้านบาท เป็นเงินขายข้าวเพียง 5.2 พันล้านบาท และเงินขายมัน 2.5 พันล้านบาท สะท้อนได้ว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถระบายข้าวได้ตามแผนที่ประกาศต่อสาธารณะ โดยเฉพาะการขายแบบจีทูจี
"ขณะนี้มีปัญหาการกู้เงินใหม่จำนวน 1.4 แสนล้านบาท ตามกรอบวงเงินที่ใช้ในโครงการใหม่ปี 2556/2557 จำนวน 2.7 แสนล้านบาท เพราะอยู่ในช่วงของรัฐบาลรักษาการ ดังนั้นการกู้เงินในลักษณะการก่อหนี้สาธารณะคงทำไม่ได้ นอกจากนี้สำนักบริหารหนี้สาธารณะก็ยังไม่ได้จัดทำแผนการก่อหนี้เสนอครม. ซึ่งคงต้องรอรัฐบาลใหม่ ดังนั้นตอนนี้แหล่งเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวรอบใหม่ หลังสิ้นเดือนก.พ. ปีหน้าไปแล้ว อาจประสบปัญหาแหล่งเงินได้ " แหล่งข่าวกล่าว
กิตติรัตน์ลั่นออกใบประทวนแล้วได้เงินแน่
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โครงการจำนำข้าวฤดูกาลผลิต ปี 2556/57 รัฐบาลต้องรับจำนำข้าวนาปีให้แล้วเสร็จในสิ้นเดือนก.พ. ส่วนนาปรังต้องให้รัฐบาลชุดต่อไปเป็นผู้พิจารณา โดยยืนยันชาวนาที่ได้รับใบประทวนไปแล้วขณะนี้ จะได้รับเงินจำนำข้าวอย่างแน่นอน โดยกระทรวงการคลังจะบริหารเงินจำนำข้าวให้อยู่ในกรอบเงินกู้ 5 แสนล้านบาท โดยมาจากการเร่งระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ และเงินกู้ ซึ่งยังมีช่องว่างให้หาแหล่งเงินกู้มาบริหาร ในส่วนของการชดเชยปัจจัยการผลิตให้กับชาวสวนยางที่เหลือกว่า 1 หมื่นล้านบาท ยังต้องจ่ายให้เหมือนเดิม เพื่อให้ครบจำนวนตามที่เกษตรกรขึ้นบัญชีไว้
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20131218/550488/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7!%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html
****โครงการรับจำำนำข้าว หายนะข้าวไทย?????????*** ภาค 1
http://ppantip.com/topic/31387979
หายนะจำนำข้าว ภาค2 --------> ค้างหนี้ชาวนาแสนล้าน
ข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
โครงการจำนำข้าวป่วน รัฐบาลค้างจ่ายเงินชาวนาแสนล้าน ออกใบประทวนไร้ขีดจำกัด 7.3 ล้านตัน ธ.ก.ส.ยันเกินกรอบวงเงินต้องรอ กขช.ไฟเขียว
โครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ปี 2556/2557 ที่เปิดโครงการมาตั้งแต่เดือนต.ค. ที่ผ่านมา ไปสิ้นสุดเดือนก.พ. 2557 เริ่มจะประสบปัญหาแหล่งเงินที่จะมานำมาใช้ดำเนินโครงการ หลังจากมติคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) กำหนดกรอบวงเงินสำหรับใช้ในโครงการปี 2556/2557 ไม่เกิน 2.7 แสนล้านบาท ผลผลิตข้าว 15 ล้านตัน แต่ขณะนี้ปรากฏว่ามีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเกษตรกรบางส่วน ยังไม่สามารถรับเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ เนื่องจากยังไม่มีมติกขช.รองรับ โดย ธ.ก.ส.ได้ทยอยจ่ายเงินให้เกษตรกรตามใบประทวนไปก่อนหน้านี้แล้วจำนวน 1.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ที่เหลือต้องรอมติอนุมัติจาก กขช. ก่อน เพราะวงเงินที่ใช้เกินกรอบเดิมไปแล้ว
เผยรัฐค้างจ่ายชาวนาแสนล้าน
แหล่งข่าวจาก กขช. เปิดเผยว่า โครงการจำนำข้าวเปลือกปี 2556/2557 องค์การคลังสินค้า (อคส.) และ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ออกใบประทวนให้เกษตรกร และยังไม่สามารถนำมาขึ้นเงินจาก ธ.ก.ส. ได้ขณะนี้มีจำนวน 1.15 แสนล้านบาท แบ่งเป็นใบประทวนที่ อคส. ออกไป จำนวน 1.04 แสนล้านบาท ผลผลิตข้าว 6.3 ล้านตัน และ อ.ต.ก. จำนวน 1.58 หมื่นล้านบาท ผลผลิต 0.97 ล้านตัน รวมผลผลิตที่รับจำนำไปแล้ว 7.3 ล้านตัน โดยเหตุผลที่เกษตรกรไม่สามารถนำไปขึ้นเงินจาก ธ.ก.ส.ได้นั้น เนื่องจาก ธ.ก.ส.ยังไม่ได้รับอนุมัติจาก กขช.ให้ดำเนินการ เพราะหากอนุมัติตามใบประทวนจะทำให้วงเงินที่ใช้ดำเนินโครงการจำนำข้าวเปลือก รวมทั้งหมดเกินกรอบวงเงินที่ครม.เคยอนุมัติไว้ไม่เกิน 5 แสนล้านบาท โดยตัวเลขผลดำเนินโครงการรับจำนำข้าว ณ วันที่ 11 ธ.ค. อยู่ที่ 6.9-7.1 แสนล้านบาทแล้ว ซึ่งเกินกรอบวงเงินมาแล้วเกือบ 2 แสนล้านบาท
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในการประชุมครม.พิเศษเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. ที่ผ่านมา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปดำเนินการควบคุม การออกใบประทวนจำนำข้าว ไม่ให้เกินกรอบวงเงินที่เคยอนุมัติไว้ เพราะที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์มักเสนอขอขยายกรอบวงเงินเพิ่มภายหลังตลอด
เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. ที่ผ่านมา นางเบญจา หลุยเจริญ รักษาการรมช.คลัง จึงได้เรียกหน่วยงานเกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำมาประชุมนอกรอบที่กรมศุลกากร เพื่อกำชับไม่ให้มีการรับจำนำและออกใบประทวนเกินกว่ากรอบที่ครม.เคยอนุมัติไป ซึ่งในที่ประชุมได้กำหนดเกณฑ์เบื้องต้นว่าให้ดำเนินการรับจำนำในรอบนาปี (สิ้นเดือนก.พ. 57) ภายในวงเงิน 1.5 แสนล้านบาทเท่านั้น และแบ่งสัดส่วนการออกใบประทวน ของ อคส. ไว้ที่ 1.12 แสนล้านบาท และ อ.ต.ก. จำนวน 3.7 หมื่นล้านบาท โดยได้รายงานมติดังกล่าวในที่ประชุม กขช.วันที่ 11 ธ.ค. ที่ผ่านมาด้วย
"ยิ่งลักษณ์"สั่งคุมไม่เกิน5แสนล้าน
การประชุมเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. นั้น มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกฯและรมว.คลัง, นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการรองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ร่วมประชุมพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อคส. และ อ.ต.ก. ซึ่งมีมติร่วมกันว่า หากมีการออกใบประทวนเกินกว่าที่กำหนดไว้ ทั้ง อคส. และ อ.ต.ก.ต้องรับผิดชอบหาเงินมาจ่ายตามใบประทวนเอง ขณะที่กระทรวงการคลังจะไม่รับรู้หรือหาแหล่งเงินให้
แหล่งข่าวยังบอกว่า แหล่งเงินที่จะนำมาใช้ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี 2556/2557 รอบแรกนี้ มติ ครม.กำหนดกรอบวงเงินรวม 3 ฤดูกาลผลิต (2554/2555 2555/56 และ 2556/2557) ไว้ทั้งสิ้น 5 แสนล้านบาท โดยกระทรวงการคลังต้องจัดหาเงินกู้ให้ ธ.ก.ส. จำนวน 4.1 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินส่วนของ ธ.ก.ส. 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งล่าสุดมีกรอบวงเงินกู้เหลืออีก 4.5 หมื่นล้านบาท แต่ปรากฏว่ากระทรวงการคลังอ้างว่าสามารถกู้ได้อีกเพียง 3.2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีปัญหาทางเทคนิค ทั้งตลาดเงินไม่เอื้อ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เหมาะสม
"แม้ว่า ธ.ก.ส.จะได้รับเงินจากการระบายผลผลิตข้าวคืนจากกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา 1.64 แสนล้านบาท เมื่อหักเงินทุนของ ธ.ก.ส. 9 หมื่นล้านบาท หักเงินกู้จากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในโครงการรับจำนำปี 2555/2556 อีก 6.2 หมื่นล้านบาท เงินชดเชยโครงการ ปี 2555/2556 จำนวน 1.25 หมื่นล้านบาท รวมกับเงินระบายที่นำกลับมาหมุนเวียนใช้อีก 7.4 หมื่นล้านบาท และมีการเบิกจ่ายไปแล้ว 2.9 หมื่นล้านบาท ทำให้เหลือเงินที่กระทรวงการคลังต้องจัดหามาให้อีก 4.5 หมื่นล้านบาท " แหล่งข่าวย้ำ
พาณิชย์คืนเงินขายข้าว1.3แสนล้าน
ขณะที่เงินจากการระบายข้าวที่กระทรวงพาณิชย์ทยอยชำระคืนให้ ธ.ก.ส. จนถึงสิ้นเดือนพ.ย. อยู่ที่ 1.8 แสนล้านบาท ซึ่งวงเงินที่ชำระคืนดังกล่าว พบว่า มีเงินจากการขายมันสำปะหลังปี 2555 /2556 จำนวน 6.4 พันล้านบาท และเงินขายยางพารา ปี 2554/2555 จำนวน 2.6 พันล้านบาท เหลือเป็นเงินระบายข้าวเพียง 1.6 แสนล้านบาท แต่เมื่อในจำนวนนี้ยังแยกเป็นเงินขายข้าวจากโครงการก่อนปี 2554/2555 จำนวน 2.24 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเป็นเงินระบายข้าวปี 2554/2555 (นาปี) จำนวน 4.69 หมื่นล้านบาท ข้าวนาปรังปี 2554/2555 จำนวน 1.61 หมื่นล้านบาท นาปี 2555/2556 จำนวน 4.25 หมื่นล้านบาท และนาปรังปี 2555 จำนวน 5.03 หมื่นล้าน ดังนั้นเงินจากการระบายข้าวปี 3 ฤดู มีเพียง 1.3 แสนล้านบาทเท่านั้น
เดือนต.ค. กระทรวงพาณิชย์ คืนเงินระบายผลผลิต 9.1 พันล้านบาท จากเป้าหมาย 1.2 หมื่นล้านบาท เป็นเงินขายข้าว 5.2 พันล้านบาท และเงินขายมัน 3.8 พันล้านบาท เดือนพ.ย.กระทรวงพาณิชย์คืนเงินระบายผลผลิตได้ 7.7 พันล้านบาท จากเป้าหมาย 1.2 หมื่นล้านบาท เป็นเงินขายข้าวเพียง 5.2 พันล้านบาท และเงินขายมัน 2.5 พันล้านบาท สะท้อนได้ว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถระบายข้าวได้ตามแผนที่ประกาศต่อสาธารณะ โดยเฉพาะการขายแบบจีทูจี
"ขณะนี้มีปัญหาการกู้เงินใหม่จำนวน 1.4 แสนล้านบาท ตามกรอบวงเงินที่ใช้ในโครงการใหม่ปี 2556/2557 จำนวน 2.7 แสนล้านบาท เพราะอยู่ในช่วงของรัฐบาลรักษาการ ดังนั้นการกู้เงินในลักษณะการก่อหนี้สาธารณะคงทำไม่ได้ นอกจากนี้สำนักบริหารหนี้สาธารณะก็ยังไม่ได้จัดทำแผนการก่อหนี้เสนอครม. ซึ่งคงต้องรอรัฐบาลใหม่ ดังนั้นตอนนี้แหล่งเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการรับจำนำข้าวรอบใหม่ หลังสิ้นเดือนก.พ. ปีหน้าไปแล้ว อาจประสบปัญหาแหล่งเงินได้ " แหล่งข่าวกล่าว
กิตติรัตน์ลั่นออกใบประทวนแล้วได้เงินแน่
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โครงการจำนำข้าวฤดูกาลผลิต ปี 2556/57 รัฐบาลต้องรับจำนำข้าวนาปีให้แล้วเสร็จในสิ้นเดือนก.พ. ส่วนนาปรังต้องให้รัฐบาลชุดต่อไปเป็นผู้พิจารณา โดยยืนยันชาวนาที่ได้รับใบประทวนไปแล้วขณะนี้ จะได้รับเงินจำนำข้าวอย่างแน่นอน โดยกระทรวงการคลังจะบริหารเงินจำนำข้าวให้อยู่ในกรอบเงินกู้ 5 แสนล้านบาท โดยมาจากการเร่งระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ และเงินกู้ ซึ่งยังมีช่องว่างให้หาแหล่งเงินกู้มาบริหาร ในส่วนของการชดเชยปัจจัยการผลิตให้กับชาวสวนยางที่เหลือกว่า 1 หมื่นล้านบาท ยังต้องจ่ายให้เหมือนเดิม เพื่อให้ครบจำนวนตามที่เกษตรกรขึ้นบัญชีไว้
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20131218/550488/%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7!%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99.html
****โครงการรับจำำนำข้าว หายนะข้าวไทย?????????*** ภาค 1
http://ppantip.com/topic/31387979