****โครงการรับจำำนำข้าว หายนะข้าวไทย?????????***



วันนี้มีเวลา  เลยอยากดูซิว่า  โครงการจำนำข้าว  นี่  มันเป็นอย่างไร

จะหายนะ  อย่างที่เขาพูดกันไหม   ผม  review  เป็น fact  ข้อเท็จจริง  ที่หาพอจะหาได้ จาก  internet

ลองอ่านและ คิด  ตัดสินดู ว่า  จริงแล้ว   เราควรล้มเลิกดีไหม  

ไม้ได้ให้มาคล้อยตาม  แต่ผมแสดงข้อมูล  คนอ่านมีหน้าที่ตรวจสอบ ข้อมูล ว่าเท็จ  หรือจริงอย่างไร

ความเห็นส่วนตัว  จะขอใส่ในหัวข้อ  กระทู้ถัดไป  


1.ความหมาย   รับจำนำข้าว  คืออะไร


https://www.facebook.com/DroitAdministrative/posts/685759918106588


2.ทำไมตัวเลขการขาดทุนของรัฐบาลจึงแตกต่างจากตัวเลขการขาดทุนของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร


เรื่องมูลค่าการขาดทุนที่ทั้งสองฝ่ายนำเสนอนั้น ต่างเป็นตัวเลขผลขาดทุน”ทางบัญชี”ทั้งสิ้น

แต่สาเหตุที่ตัวเลขผลขาดทุนทางบัญชีของทั้ง 2 ฝ่ายแตกต่างกัน

เป็นเพราะฝ่ายรัฐบาลตีมูลค่าของข้าวในสต๊อกด้วยต้นทุนข้าวที่ซื้อมา ในราคาข้าวเปลือกตันละ 15,000 บาทหรือคิดเป็นข้าวสารตันละ 24,000 บาท

ส่วน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ซึ่งอ้างอิงข้อมูลของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าวใช้วิธีตีมูลค่าข้าวในสต๊อกด้วยราคาตลาด






มหากาพย์จำนำข้าว (2): “หม่อมอุ๋ย” กางวิธีคำนวณขาดทุนจำนำข้าว และควักเงินจ้างบริษัทสำรวจชาวนาพิสูจน์ใครได้ใครเสีย

http://thaipublica.org/2013/10/pledge-rice-epic-2/


3.วิธีการคำนวนการขาดทุนทางบัญชีของโครงการจำนำข้าวควรยึดหลักการคำนวนอะไร


โครงการจำนำข้าวควรยึดหลักการคำนวนวิธีใด

หากย้อนกลับไปดูตำราวิชาการบัญชีว่าด้วยการตีมูลค่าสินค้าคงคลัง (inventory valuation methods) จะมีหลักการตีราคา 2 รูปแบบ คือ

(1) คำนวนด้วยต้นทุนของสินค้า

(2) คำนวนด้วยราคาตลาดในการจัดหาสินค้านั้นมาทดแทน ทั้ง 2 วิธีต่างก็เป็นวิธีการที่ได้ยอมรับให้ใช้และมีสอนกันในวิชาการบัญชีทั่วไป

ฝั่งรัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ เลือกที่จะใช้วิธีการแรกในการตีมูลค่าข้าวที่เหลืออยู่ในคลังด้วยราคาต้นทุนที่ซื้อข้าวมา ผลการขาดทุนทางบัญชีจึงมีประมาณ 1 แสนล้านบาท


แต่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ และม.ร.ว.ปรีดิยาธรเลือกที่จะใช้วิธีการที่เรียกว่า LCMหรือราคาตลาดเป็นตัวกำหนดมูลค่าของข้าวที่เหลืออยู่ในคลัง ผลขาดทุนจึงสูงกว่า


ประเด็นจึงมีอยู่ว่าในกรณีการจำนำข้าวรัฐบาลควรใช้วิธีทางบัญชีวิธีใดจึงจะเหมาะสม

ในวงการธุรกิจที่สินค้าคงคลังมีราคาเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว นักบัญชีทราบดีว่าหลักวิชาการทางบัญชีที่นิยมใช้กันคือการตีราคาสินค้าคงคลังด้วยราคาตลาด เพราะว่าการตีราคาสินค้าคงคลังด้วยต้นทุนสินค้าที่ได้มาจะไม่สามารถแสดงมูลค่าที่แท้จริงของสินค้า โดยเฉพาะในกรณีที่ราคาตลาดของสินค้านั้นๆ ตกต่ำลงกว่าราคาต้นทุนที่ซื้อมาอย่างรวดเร็ว การใช้ราคาต้นทุนจะก่อให้เกิดการบิดเบือนสถานะทางบัญชี ขัดกับวัตถุประสงค์ของวิชาบัญชีที่มุ่งเน้นให้ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรับทราบสภาพการดำเนินงานทางธุรกิจที่แท้จริงเพื่อให้การตัดสินใจบริหารองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในกรณีการจำนำข้าว รัฐบาลซึ่งเป็นผู้บริหารของประเทศจำเป็นต้องรับทราบสถานการณ์รายได้-รายจ่ายที่เป็นจริงให้มากที่สุด หากตัวเลขระบุว่าจะมีโอกาสขาดทุนมาก รัฐบาลก็จะได้เตรียมรับมือกับความเสี่ยงทางการคลังไม่ใช่ปล่อยให้ไฟไหม้บ้าน แล้วค่อยคิดซื้อประกันไฟที่หลัง

นี่คือเหตุผลที่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าวที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการนโยบายข้าวเลือกใช้วิธีการ LCMโดยตีมูลค่าสต็อคข้าวด้วยราคาตลาดเพื่อสะท้อนฐานะที่แท้จริงของโครงการจำนำข้าว แม้ในตอนต้นรัฐบาลจะไม่ยอมรับตัวเลขขาดทุนของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯจนกลายเป็นข่าวใหญ่โตมาแล้วแต่ท้ายที่สุดก็ยอมรับว่าการจำนำข้าว2 ฤดูแรก (นาปี2554/55 และนาปรัง 2555) ขาดทุนถึง 136,896ล้านบาท มาวันนี้ราคาข้าวในตลาดลดลงไปมากจากวันที่ปิดบัญชี การขาดทุนก็ย่อมมากขึ้นเพราะรัฐบาลขายข้าวได้น้อยมาก

อนึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลการทำบัญชีของธุรกิจเอกชนทั่วประเทศ และทราบดีถึงหลักบัญชีที่ถูกต้อง หรือแม้แต่องค์การคลังสินค้าที่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงพาณิชย์เองยังเลือกตีราคามูลค่าสต๊อคข้าวในโครงการจำนำข้าวด้วยราคาตลาด บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังดูแลก็มีบัญชีแบบ mark to the marketแต่รัฐบาลกลับปล่อยให้กระทรวงพาณิชย์ทำบัญชีอีกแบบหนึ่ง

การที่รัฐบาลเลือกใช้วิธีตีมูลค่าข้าวด้วยต้นทุนการซื้อข้าว จึงเป็นการหลอกลวงตนเองและประชาชน ว่าจะมีภาระทางการคลังในอนาคตน้อยกว่าที่ควรจะเป็น


4. การขาดทุนจริงของโครงการจำนำข้าว “จะ” เป็นเท่าไหร่กันแน่

การจำนำจะขาดทุนจริงเท่าไหร่ ณ วันนี้ ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ชัดเจน เพราะรัฐบาลปิดบังข้อมูลการขายข้าวทั้งๆที่การปกปิดดังกล่าวผิดกฎหมายข้อมูลข่าวสารทางราชการที่กำหนดให้หน่วยงานรัฐต้องเปิดเผยข้อมูลของทางราชการ (ยกเว้นข้อมูลบางประภท)

ดูคลิป เจ้าของกระทรวงตอบคำถามนักข่าว   คงตอบคำถามข้อนี้ได้อย่างดี
ตอน 1
http://www.youtube.com/watch?v=IVywypmkF0A
ตอน2
http://www.youtube.com/watch?v=Acc2pycXgFk
ตอน3
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แม้รัฐบาลจะมีการเปิดเผยตัวเลขเงินรายได้จากการขายข้าว แต่ก็ไม่ยอมบอกว่าขายข้าวไปจำนวนเท่าไร เพราะขืนเปิดเผย ประชาชนก็จะรู้ว่ารัฐบาลขายข้าวขาดทุนหนักกว่าที่รัฐบาลพูด และอาจหนักกว่าที่นักวิชาการประมาณการไว้ เพราะรัฐบาลขายข้าวต่ำกว่าราคาตลาดมาก ทำให้เกิดปัญหาการเมืองตามมา

หลักฐานที่บ่งชี้ว่ารัฐบาลจะขาดทุนหนักมากเพราะขายข้าวในราคาต่ำกว่าราคาตลาดมาจากรายงานการปิดบัญชีของกระทรวงพาณิชย์ที่รมว.วราเทพนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ผู้เขียนพบว่าราคาข้าวที่ขายต่ำกว่าราคาตลาด คือราคาข้าวนาปี 2554/55 ที่ขายเฉลี่ย 14,435.71 บาทต่อตัน ต่ำกว่าราคาขายส่งข้าวสารในตลาดกรุงเทพฯในเวลาเดียวกันที่เฉลี่ย 19,635 บาทต่อตัน เนื่องจากมีต้นทุนค่าซื้อข้าวและต้นทุนดำเนินการ 29,605.52 บาทต่อตันข้าวสาร จึงขาดทุนจริงตันละ 15,169.31 บาท  และสำหรับข้าวนาปรังปี 2555 พาณิชย์ขายเฉลี่ยเพียง12,839.45  บาทต่อตัน เทียบกับราคาตลาด17,266 บาทต่อตัน และขาดทุนตันละ 11,781.61 บาท ถ้าคิดเฉพาะข้าวที่ขายไปจริงจำนวน 3.62 ล้านตันข้าวสารในสองฤดู มูลค่าการขาดทุนจริงคือ 49,561.10 ล้านบาท (ณ 31มกราคม 2556) ผู้เขียนประมาณการว่าเฉพาะการขายข้าวราคาต่ำให้พ่อค้าบางรายที่เป็นพรรคพวกทำให้โครงการรับจำนำข้าวขาดทุนเพิ่มขึ้นอีก 30% ของภาระขาดทุนทั้งหมด…นี่แหละคือเหตุผลแท้จริงที่รัฐบาลต้องปกปิดข้อมูลการข่ายข้าว

อ้างอิงจาก บทความ TDRI สถาบันเพื่อวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
การขาดทุนทางบัญชีจากการจำนำข้าว
http://tdri.or.th/tdri-insight/nipon-kamphol-rice-pledging/


5.  โครงการรับจำนำข้าว เขาโกงกันอย่างไร

ข้อมูลนี้ได้จาก  ปชป  ส่วนใหญ่  ใครว่า bias ก็ผ่านไปนะครับ

คนที่ตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดคือ  พรรค  ปชป  
ที่จริง  ข้อมูลนี้อยู่ในข้อมูลที่พรรค  ปชป   อภิปราย  ไม่ไว้วางใจ  รัฐบาล  ที่ผ่านมา   แต่คงไม่มีใครมานั่งฟังทั้งวัน

ผมขอคัดเอามาแค่บางส่วน   เป็นข้อมูลสาธารณะ ของฝ่ายค้าน     อยาก  free  load  ก็ตาม link ครับ  ไปวิเคราะห์กันดู

http://www.democrat.or.th/th/news-activity/article/detail.php?ID=14187




5.1เงินไม่ถึงมือเกษตรกร แต่หนี้ท่วมประเทศ

มีคำถามอยู่  คำถามหนึ่ง ที่ถาม เสมอ  คือ   แล้ว  ชาวนารวย  ขึ้นไม่ดีหรือ


คำตอบน่าจะอยู่ใน slide  นี้  ผมก็ไม่รู้ว่าจริงหรือเท็จ  ลองๆ  แย้งมาดูครับ






5.2ขาดทุนกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี


หัวข้อข้างบน  น่าจะตอบคำถามได้บ้างแล้ว

แล้ว มีอีกคำถาม  ที่ชอบ  ถามกัน  ก็คือ  โครงการลงทุนภาครัฐ มีอะไรบ้างที่ไม่ขาดทุน

อันนี้  ผมไม่รู้  นะครับ  แต่คิดว่าน่าจะไม่มี

แต่ผมขอตอบแทนในมุมมองของผม

หากโครงการ  นี้เสียไป 2แสนล้านต่อปีจริง ก็ต้อง  

1.มาดูว่า  ชาวนา เกือบทุกคนไหม  ที่ได้รับอานิสงค์
2.มาดูว่า   ชาวนามีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นไหม
3.มาดูว่า   เกิดรั่วไหล    กระทบ สถานะการเงินการคลังของประเทศไหม  ซึ่งจะทำให้โครงการไม่ยั่งยืน
และกระทบ ต่อประเทศโดยรวมไหม
4.มาดูว่า  มีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ไหม

อันนี้ฝ่ายรัฐบาลมาตอบปัญหา  พิธีกรดำเนินรายการได้ดี  แต่คำถามเหมือนไม่ได้คำตอบ  ลองฟังดู
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

5.3โรงสีและนักการเมืองเก็บเกี่ยวผลประโยชน์


5.4เล่นกลสัญญาข้าวจีทูจี
งัดข้อมูลส่งออกกรมศุลฯ มัดทุจริตจำนำข้าว-ป.ป.ช.ชี้ระบายจีทูจีส่อเก๊

http://isranews.org/thaireform-other-news/item/25628-010381.html








5.5ส่งออกข้าวเสียแชมป์


5.6เจ๊ “ด.” กินรวบผลประโยชน์ ????? ขอผ่าน  เพราะไม่รู้ว่าใคร มีจริงหรือเปล่า

5.7โกงใบประทวน


5.8สวมสิทธิ์เกษตรกร


5.9เวียนเทียนข้าว



5.10เซอร์เวเยอร์ทุจริต



5.11ระบายข้าวเอื้อประโยชน์พวกพ้อง




อื่นๆ
  งานวิชาการตอบโจทย์โครงการจำนำข้าว “ไทยกำหนดราคาข้าวในตลาดโลกไม่ได้”
http://thaipublica.org/2013/09/the-rice-world-market-power/

หลักเศรษฐศาสตร์กับโครงการรับจำนำข้าว : อีกหนึ่งเสียงที่รัฐควรฟัง
http://wannaphong.blogspot.com/2012/10/blog-post_7821.html

เพิ่มเติม 19.30
ความเห็นส่วนตัว  ผมใส่ไว้ในความเห็นที่ 33  ครับ   พอดีต้อเลี้ยงลูกไปด้วย
อะครับ วันนี้พาไปจับปลามา ได้ปลาซิวหางดำมาด้วยดีใจสุดๆไปเลย


เพิ่มเติม  20-12-2556

หายนะจำนำข้าว ภาค2 --------> ค้างหนี้ชาวนาแสนล้าน

http://ppantip.com/topic/31412356/comment11
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่