ธ.ก.ส.กับภารกิจรับจำนำข้าว
สัมภาษณ์พิเศษ : ธ.ก.ส.กับภารกิจรับจำนำข้าว 'ลักษณ์' นั่งเก้าอี้ต่อสานงานอีก 4 ปี
หลังจากลุ้นมานาน ว่ารัฐบาลจะสรรหาคนที่ไว้วางใจให้มาสานต่อนโยบายรับจำนำข้าวที่กำลังถูกจับตามองและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในขณะนี้ได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นช่วงประจวบเหมาะกับนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กำลังจะหมดสัญญาว่าจ้างที่มีระยะเวลา 4 ปีลงในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งที่ผ่านมานายลักษณ์ค่อนข้างจะยึดถือหลักการที่ถูกต้องและคำนึงถึงสถานะของธนาคารเป็นที่ตั้ง และมีการแสดงความคิดเห็นสวนทางกับรัฐบาลจนถูกปรามหลายต่อหลายครั้ง
แต่ในที่สุดการประชุมคณะกรรมการธนาคาร (บอร์ด) เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้พิจารณาต่อสัญญาว่าจ้างนายลักษณ์ วจนานวัช นั่งในตำแหน่งผู้จัดการธนาคารไปอีก 4 ปี ซึ่งน่าจะเป็น 4 ปีที่ค่อนข้างสาหัสและเหน็ดเหนื่อยสำหรับธ.ก.ส. ท่ามกลางมรสุมของโครงการจำนำข้าวที่ยังไม่รู้ว่ารัฐบาลจะหาทางลงได้อย่างไร
ดูแลเกษตรกรภารกิจธ.ก.ส.
นายลักษณ์ เปิดใจว่า ธ.ก.ส.ถือเป็นสถาบันการเงินของรัฐ จึงต้องทำหน้าที่ในการสนองนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วนอย่างการรักษาเสถียรภาพราคาผลิตผลทางการเกษตร ทั้งข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพด เพราะถือเป็นภารกิจหลักของธ.ก.ส. ไม่ว่ารัฐบาลไหนจะเข้ามาบริหารประเทศ
“เราต้องทำเมื่อได้รับมอบหมายมา ไม่ว่ารูปแบบของโครงการจะเป็นอย่างไร โดย 2 ปีของรัฐบาลก่อนหน้า ธ.ก.ส. ทำโครงการในรูปแบบประกันรายได้เกษตรกร และใน 2 ปีหลังกับรัฐบาลชุดนี้ ก็เปลี่ยนมาทำโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานก็ไม่เคยเอา 2 โครงการมาเปรียบเทียบกัน โดยเฉพาะในแง่การใช้เงินเพราะรัฐบาลก่อนไม่ได้ตั้งราคาประกันสูงเท่ากับราคาจำนำขณะนี้ หากคิดที่ราคาเท่ากันเงินที่ใช้ประกันราคาปีหลังสุด 6.8 หมื่นล้านบาทอาจจะมากกว่านี้ เพราะเกษตรกรทุกคนหรือ 3.7 ล้านคนได้รับประโยชน์”
ขณะที่โครงการจำนำข้าวมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ประมาณ 1.4 ล้านคนต่อ 1 รอบการผลิต หากนำข้าวมาจำนำตามคุณภาพข้าว อย่างข้าวหอมมะลิจะได้เงินเฉลี่ยตันละ 1.7-1.8 หมื่นบาทเทียบราคารับจำนำ 2 หมื่นบาทต่อตัน ส่วนข้าวขาวได้ตันละ 1.2-1.3 หมื่นบาทจากราคาจำนำ 1.5 หมื่นบาทต่อตัน ส่วนเกษตรกรที่ไม่เข้าโครงการก็ได้ประโยชน์ทางอ้อม ข้าวหอมมะลิอาจจะขายได้อย่างน้อยตันละ 1.6 หมื่นบาทถือว่าทำให้ทุกคนได้ประโยชน์
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวในช่วงที่รัฐบาลนี้เข้ามา 2 ปี 4 รอบการผลิต มีเกษตรกรได้ประโยชน์กว่า 4 ล้านครัวเรือน ใช้เงินไป 6.2 แสนล้านบาท จำนวนข้าว 40 ล้านตัน ซึ่งจากผลสำรวจความพึงพอใจของเกษตรกรพบว่า 93% พอใจในโครงการจำนำข้าว เพราะช่วยให้หนี้สินลดลงและมีเงินเก็บออมในบัญชีมากขึ้นโดยรวมกว่าแสนล้านบาทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ส่วนตัวเลขการขาดทุนจากการดำเนินโครงการปีแรก 2554/2555 ที่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีระบุตัวเลข 1.3 แสนล้านบาทนั้น ยอมรับว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงแต่พบว่าเป็นเงินส่วนที่ตกถึงมือเกษตรกรประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเป็นค่าบริหารจัดการหรือค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลก็เริ่มตระหนักและดูแลเรื่องนี้ เพื่อลดการขาดทุนลงมาแล้ว ผ่านการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าวนาปรังที่อยู่ระหว่างดำเนินการในขณะนี้
พร้อมรับมือเกณฑ์รับจำนำใหม่
นายลักษณ์ ให้ความเห็นว่า การที่รัฐบาลทบทวนโครงการรับจำนำข้าวและกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ โดยการกำหนดวงเงินไม่เกินครัวเรือนละ 5 แสนบาท และปรับลดราคาข้าวขาวลงมาเหลือ 1.2 หมื่นบาทต่อตัน และข้าวหอมมะลิเหลือ 1.6 หมื่นบาทต่อตัน นับเป็นราคาที่สมเหตุสมผล เพราะเป็นราคาต้นทุนบวกกำไร 40% ไว้แล้ว ทำให้ราคาดังกล่าวเกษตรกรยังพอจะมีกำไร แต่เกษตรกรก็ต้องดูแลคุณภาพข้าวให้มีความชื้นไม่เกิน 25% เพื่อให้ได้ราคาจำนำที่ตันละอย่างน้อย 1 หมื่นบาทหลังตัดทอนความชื้นออกไปประมาณ 1.5 พันบาทต่อตัน
“ธ.ก.ส.ในฐานะหน่วยปฏิบัติงานปลายทาง หรือผู้จ่ายเงินไม่หนักใจ ซึ่งได้เรียกประชุมสาขาในพื้นที่ที่ปลูกข้าวนาปรังแล้วรวม 16 จังหวัด กระจายอยู่ในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันตก เพื่อให้เดินหน้าตามแนวทางใหม่ได้ทันทีโดยไม่สะดุด โดยเฉพาะในช่วง 10 วันที่ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่นี้ และไม่น่าจะส่งผลให้มีการเร่งเก็บเกี่ยว เพราะการเพาะปลูกมีระยะเวลาที่ชัดเจน หากเร่งเก็บเกี่ยวจะเป็นข้าวเขียวหรือมีความชื้นสูงทำให้ราคายิ่งตกหรือไม่เข้าเกณฑ์รับจำนำ”
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลพบว่ามีข้าวที่ยังไม่นำเข้ามาจำนำอีกประมาณ 3 ล้านตัน เกษตรกรรวม 2 แสนราย ซึ่งเป็นรายใหญ่ประมาณ 20-25% ที่เหลือเป็นรายย่อย โดยธ.ก.ส.จะดูวันที่ออกใบประทวนเป็นหลักและต้องตรวจสอบให้ชัดเจนด้วยเพราะมีผลต่อราคาจำนำ ซึ่งการปรับเกณฑ์ใหม่ไม่ได้ทำให้วงเงินลดลง โดยน่าจะอยู่ที่ 1.05 แสนล้านบาท ประมาณข้าวอยู่ที่ 7 ล้านตันเท่าเดิม จากที่ผ่านมามีข้าวเข้ามาแล้ว 4 ล้านตันใช้เงินไป 5 หมื่นล้านบาท แต่จะช่วยให้เงินถึงมือเกษตรกรรายย่อยมากขึ้น
เยียวยา2แสนรายผ่านลดต้นทุน
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ที่หายไปของเกษตรกรกว่า 2 แสนรายที่เข้าโครงการจำนำข้าวนาปรังรอบนี้ไม่ทัน ธ.ก.ส.พร้อมให้การช่วยเหลือลดต้นทุนการเงินลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิต โดยกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดย ธ.ก.ส.จะพิจารณาลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาจำนำใหม่ 2 แสนรายดังกล่าว พร้อมพิจารณาจัดสินเชื่อใหม่ให้อีก 2 รอบการผลิต รวมทั้งพิจารณาเพิ่มวงเงินสินเชื่อกรณีพิเศษให้อีก 20% อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน และให้ผู้ถือบัตรสินเชื่อเกษตรกรได้ใช้สิทธิอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเปิดให้มีสิทธิประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลของรัฐบาลด้วย
ส่วนในระยะปานกลางถึงระยะยาว ธ.ก.ส.ก็จะเข้าไปสนับสนุนนโยบายการจัดโซนนิ่งการเพาะปลูกพืช พร้อมจัดให้มีแรงจูงใจที่เหมาะสมในการลดพื้นที่การปลูกข้าวและหันไปปลูกพืชพลังงานแทน รวมถึงจะเร่งนำงานวิจัยที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตรเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์จริง เพื่อให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายสินค้าราคาสูงขึ้น ซึ่งเรื่องนี้คงต้องทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานต่อไป ตั้งความหวังว่าภายใน 4 ปีนี้ คงได้เห็นเป็นรูปธรรม
สำหรับประเด็นของการใช้เงินรับจำนำข้าว 6.2 แสนล้านบาท ซึ่งเกินกรอบเพดานที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) อนุมัติไว้ 5 แสนล้านบาทนั้น ล่าสุดทุกฝ่ายเห็นไปในทิศทางเดียวกันที่จะดูแลให้การดำเนินโครงการระยะต่อไป ให้อยู่ภายในวงเงินหมุนเวียน 5 แสนล้านบาท โดยส่วนที่เกินไป 1.2 แสนล้านบาทก็เป็นเงินที่ได้รับมาจากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์
ผู้จัดการธ.ก.ส.กล่าวว่า สิ่งที่จะทำให้วงเงินลดลงมาเหลือ 5 แสนล้านบาทได้ภายในสิ้นปีนี้คือกระทรวงพาณิชย์ต้องเร่งระบายข้าวในสต็อกที่มี 17 ล้านตันออกไปโดยเร็วเพื่อนำเงินที่ได้มาใช้หนี้คืน ธ.ก.ส.ทั้งจากการสำรองจ่ายไปก่อนเกือบแสนล้านบาทระหว่างที่รอเงินจากการขายข้าวและเงินส่วนที่ธ.ก.ส.จ่ายไปแล้ว 9 หมื่นล้านบาทก่อนหน้านี้ รวมถึงเพื่อนำมาชำระคืนเงินกู้ 4.1 แสนล้านบาทที่กระทรวงการคลังบริหารและยืดระยะเวลาการชำระนี้ออกไปเรื่อยๆ อยู่ในขณะนี้ เพราะหากมีเงินขายข้าวเข้ามามากพอก็น่าจะไปจ่ายหนี้ดังกล่าวเพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นด้วย
ลุยแจกบัตรสินเชื่อครบ4ล้านใบ
นายลักษณ์กล่าวถึงงานที่ต้องสานต่อว่า จะเดินหน้าโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งได้ดำเนินการมาในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2552-2555) และคงต้องเดินหน้าต่อเนื่องในอีก 4 ปีข้างหน้า (2556-2559) ตามที่ได้แสดงวิสัยทัศน์ไว้กับบอร์ด สำหรับงานเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องไปถึงปีหน้าคือ การแจกบัตรสินเชื่อเกษตรกรให้ครบ 4 ล้านใบ จากปัจจุบันแจกไปได้ประมาณ 2.66 ล้านใบ เพื่อให้ครอบคลุมลูกค้าเกษตรกรทั้งหมดของธนาคาร รวมถึงลูกค้าที่เข้าสู่การพักหนี้จากปัญหาหนี้สินอีกว่า 3.5 แสนรายด้วย โดยต่อไปลูกค้าใหม่ของธนาคารจะได้บัตรสินเชื่อเกษตรกรด้วย
นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังมีแนวคิดจะเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้มากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้บัตรสินเชื่อได้เหมือนบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ โดยจะขยายขอบเขตการใช้บัตรเพิ่มขึ้น นอกจากใช้รูดซื้อปัจจัยการผลิต อย่างปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์ น้ำมันแล้ว อาจจะรวมไปถึงให้สามารถซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นได้ด้วย เช่น ข้าวสาร เป็นต้น ในเบื้องต้นจะคัดกรองเกษตรกรที่มีวินัยในการชำระหนี้คืนให้ทดลองใช้บัตรสินเชื่อได้เหมือนกับบัตรเครดิตก่อนจะขยายให้ครบทุกคน
“คาดว่าภายใน 4 ปีข้างหน้าเกษตรกรคงเข้ามาอยู่ในระบบบัตรเครดิตทั้งหมด และการอนุมัติวงเงินสินเชื่อเป็นเงินสดอย่างในปัจจุบันก็จะหมดไป รวมทั้งจะขยายวัตถุประสงค์ของการใช้บัตรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นการเปลี่ยนจากระบบปิดในปัจจุบันให้เป็นระบบเปิดใช้บัตรเป็นการทั่วไปได้จากที่ต้องใช้เฉพาะร้านค้าที่เข้าโครงการและมีเครื่องรูดบัตรเท่านั้น”
มุ่งสู่ศูนย์กลางเงินทุนภาคเกษตร
นายลักษณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ระบบไอทีของธนาคารมีความพร้อมรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ ได้แล้ว เพราะ 4 ปีที่ผ่านมา ได้เร่งปรับระบบคอล แบงกิ้งจนเสร็จ เพื่อจะได้นำความทันสมัยไปสู่พี่น้องเกษตรกร ทำให้ระบบการวิเคราะห์สินเชื่อที่ดี มีเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ เครื่องปรับสมุดเงินฝาก จะเริ่มนำมาติดตั้งในกทม.และปริมณฑลก่อนจะขยายไปยังต่างจังหวัด ซึ่งในปีหน้าคาดว่าจะได้เห็นบริการที่ทันสมัยเทียบชั้นแบงก์พาณิชย์ของธ.ก.ส.ได้ไม่ยาก
“เป้าหมายใน 4 ปีข้างหน้านี้ เราอยากเห็นธ.ก.ส.เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการด้านเงินทุนของภาคเกษตรและชนบทไทยจริงๆ ตอนนี้จึงเร่งขยายสาขาให้ได้ 1,600 จากขณะนี้มี 1,200 สาขา เร่งติดตั้งตู้เอทีเอ็มให้ครบ 2 แห่งและบริการตลอด 24 ชั่วโมงเหมือนเอทีเอ็มของแบงก์พาณิชย์จากเดิมที่ให้บริการถึง 5 ทุ่มเท่านั้น” นายลักษณ์กล่าวและว่า ที่สำคัญจะต้องพัฒนาองค์กรเครือข่ายสหกรณ์ชุมชนจำนวน 1,200 แห่งให้เข้มแข็งตามไปด้วย โดยในอนาคตจะให้เครือข่ายชุมชนทำหน้าที่อนุมัติสินเชื่อที่ไม่ซับซ้อนให้เกษตรกรแทนสาขาของธนาคาร เพื่อลดงานไปในตัวด้วย
ส่วนการเตรียมพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่มีประชากรกว่า 600 ล้านคนและ 20% หรือ 120 ล้านคนเป็นกลุ่มผู้มีกำลังซื้อนั้นทำให้ธนาคารต้องเข้าไปช่วยเกษตรกรพัฒนาทั้งคุณภาพสินค้าและพัฒนาตัวของเกษตรเองให้มีความรู้เพื่อแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ด้วย โดยมองว่าไทยสามารถแข่งขันได้ เพราะภาคเกษตรของไทยยังมีความเข้มแข็งกว่าประเทศอื่นๆ แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะมีความผันผวนขึ้นลงบ้าง แต่โดยรวม 4 ปีที่ผ่านมาถือว่าเกษตรกรไทยมีรายได้มากขึ้นและมีเงินออมสูงขึ้นดูจากเงินฝากของธนาคารที่เพิ่มจาก 1.4 แสนล้านบาท 4 ปีก่อนเป็น 2.5 แสนล้านบาทในปัจจุบัน
เครดิต
http://www.komchadluek.net/detail/20130624/161724/%E0%B8%98.%E0%B8%81.%E0%B8%AA.%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7.html#.UcetE9IQ6Mg
ธ.ก.ส.กับภารกิจรับจำนำข้าว
สัมภาษณ์พิเศษ : ธ.ก.ส.กับภารกิจรับจำนำข้าว 'ลักษณ์' นั่งเก้าอี้ต่อสานงานอีก 4 ปี
หลังจากลุ้นมานาน ว่ารัฐบาลจะสรรหาคนที่ไว้วางใจให้มาสานต่อนโยบายรับจำนำข้าวที่กำลังถูกจับตามองและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในขณะนี้ได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นช่วงประจวบเหมาะกับนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กำลังจะหมดสัญญาว่าจ้างที่มีระยะเวลา 4 ปีลงในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งที่ผ่านมานายลักษณ์ค่อนข้างจะยึดถือหลักการที่ถูกต้องและคำนึงถึงสถานะของธนาคารเป็นที่ตั้ง และมีการแสดงความคิดเห็นสวนทางกับรัฐบาลจนถูกปรามหลายต่อหลายครั้ง
แต่ในที่สุดการประชุมคณะกรรมการธนาคาร (บอร์ด) เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา มีมติเป็นเอกฉันท์ให้พิจารณาต่อสัญญาว่าจ้างนายลักษณ์ วจนานวัช นั่งในตำแหน่งผู้จัดการธนาคารไปอีก 4 ปี ซึ่งน่าจะเป็น 4 ปีที่ค่อนข้างสาหัสและเหน็ดเหนื่อยสำหรับธ.ก.ส. ท่ามกลางมรสุมของโครงการจำนำข้าวที่ยังไม่รู้ว่ารัฐบาลจะหาทางลงได้อย่างไร
ดูแลเกษตรกรภารกิจธ.ก.ส.
นายลักษณ์ เปิดใจว่า ธ.ก.ส.ถือเป็นสถาบันการเงินของรัฐ จึงต้องทำหน้าที่ในการสนองนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วนอย่างการรักษาเสถียรภาพราคาผลิตผลทางการเกษตร ทั้งข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพด เพราะถือเป็นภารกิจหลักของธ.ก.ส. ไม่ว่ารัฐบาลไหนจะเข้ามาบริหารประเทศ
“เราต้องทำเมื่อได้รับมอบหมายมา ไม่ว่ารูปแบบของโครงการจะเป็นอย่างไร โดย 2 ปีของรัฐบาลก่อนหน้า ธ.ก.ส. ทำโครงการในรูปแบบประกันรายได้เกษตรกร และใน 2 ปีหลังกับรัฐบาลชุดนี้ ก็เปลี่ยนมาทำโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งในฐานะผู้ปฏิบัติงานก็ไม่เคยเอา 2 โครงการมาเปรียบเทียบกัน โดยเฉพาะในแง่การใช้เงินเพราะรัฐบาลก่อนไม่ได้ตั้งราคาประกันสูงเท่ากับราคาจำนำขณะนี้ หากคิดที่ราคาเท่ากันเงินที่ใช้ประกันราคาปีหลังสุด 6.8 หมื่นล้านบาทอาจจะมากกว่านี้ เพราะเกษตรกรทุกคนหรือ 3.7 ล้านคนได้รับประโยชน์”
ขณะที่โครงการจำนำข้าวมีเกษตรกรได้รับประโยชน์ประมาณ 1.4 ล้านคนต่อ 1 รอบการผลิต หากนำข้าวมาจำนำตามคุณภาพข้าว อย่างข้าวหอมมะลิจะได้เงินเฉลี่ยตันละ 1.7-1.8 หมื่นบาทเทียบราคารับจำนำ 2 หมื่นบาทต่อตัน ส่วนข้าวขาวได้ตันละ 1.2-1.3 หมื่นบาทจากราคาจำนำ 1.5 หมื่นบาทต่อตัน ส่วนเกษตรกรที่ไม่เข้าโครงการก็ได้ประโยชน์ทางอ้อม ข้าวหอมมะลิอาจจะขายได้อย่างน้อยตันละ 1.6 หมื่นบาทถือว่าทำให้ทุกคนได้ประโยชน์
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะโครงการรับจำนำข้าวในช่วงที่รัฐบาลนี้เข้ามา 2 ปี 4 รอบการผลิต มีเกษตรกรได้ประโยชน์กว่า 4 ล้านครัวเรือน ใช้เงินไป 6.2 แสนล้านบาท จำนวนข้าว 40 ล้านตัน ซึ่งจากผลสำรวจความพึงพอใจของเกษตรกรพบว่า 93% พอใจในโครงการจำนำข้าว เพราะช่วยให้หนี้สินลดลงและมีเงินเก็บออมในบัญชีมากขึ้นโดยรวมกว่าแสนล้านบาทในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ส่วนตัวเลขการขาดทุนจากการดำเนินโครงการปีแรก 2554/2555 ที่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีระบุตัวเลข 1.3 แสนล้านบาทนั้น ยอมรับว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงแต่พบว่าเป็นเงินส่วนที่ตกถึงมือเกษตรกรประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท ที่เหลือเป็นค่าบริหารจัดการหรือค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ซึ่งรัฐบาลก็เริ่มตระหนักและดูแลเรื่องนี้ เพื่อลดการขาดทุนลงมาแล้ว ผ่านการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การรับจำนำข้าวนาปรังที่อยู่ระหว่างดำเนินการในขณะนี้
พร้อมรับมือเกณฑ์รับจำนำใหม่
นายลักษณ์ ให้ความเห็นว่า การที่รัฐบาลทบทวนโครงการรับจำนำข้าวและกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ โดยการกำหนดวงเงินไม่เกินครัวเรือนละ 5 แสนบาท และปรับลดราคาข้าวขาวลงมาเหลือ 1.2 หมื่นบาทต่อตัน และข้าวหอมมะลิเหลือ 1.6 หมื่นบาทต่อตัน นับเป็นราคาที่สมเหตุสมผล เพราะเป็นราคาต้นทุนบวกกำไร 40% ไว้แล้ว ทำให้ราคาดังกล่าวเกษตรกรยังพอจะมีกำไร แต่เกษตรกรก็ต้องดูแลคุณภาพข้าวให้มีความชื้นไม่เกิน 25% เพื่อให้ได้ราคาจำนำที่ตันละอย่างน้อย 1 หมื่นบาทหลังตัดทอนความชื้นออกไปประมาณ 1.5 พันบาทต่อตัน
“ธ.ก.ส.ในฐานะหน่วยปฏิบัติงานปลายทาง หรือผู้จ่ายเงินไม่หนักใจ ซึ่งได้เรียกประชุมสาขาในพื้นที่ที่ปลูกข้าวนาปรังแล้วรวม 16 จังหวัด กระจายอยู่ในภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันตก เพื่อให้เดินหน้าตามแนวทางใหม่ได้ทันทีโดยไม่สะดุด โดยเฉพาะในช่วง 10 วันที่ปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่นี้ และไม่น่าจะส่งผลให้มีการเร่งเก็บเกี่ยว เพราะการเพาะปลูกมีระยะเวลาที่ชัดเจน หากเร่งเก็บเกี่ยวจะเป็นข้าวเขียวหรือมีความชื้นสูงทำให้ราคายิ่งตกหรือไม่เข้าเกณฑ์รับจำนำ”
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลพบว่ามีข้าวที่ยังไม่นำเข้ามาจำนำอีกประมาณ 3 ล้านตัน เกษตรกรรวม 2 แสนราย ซึ่งเป็นรายใหญ่ประมาณ 20-25% ที่เหลือเป็นรายย่อย โดยธ.ก.ส.จะดูวันที่ออกใบประทวนเป็นหลักและต้องตรวจสอบให้ชัดเจนด้วยเพราะมีผลต่อราคาจำนำ ซึ่งการปรับเกณฑ์ใหม่ไม่ได้ทำให้วงเงินลดลง โดยน่าจะอยู่ที่ 1.05 แสนล้านบาท ประมาณข้าวอยู่ที่ 7 ล้านตันเท่าเดิม จากที่ผ่านมามีข้าวเข้ามาแล้ว 4 ล้านตันใช้เงินไป 5 หมื่นล้านบาท แต่จะช่วยให้เงินถึงมือเกษตรกรรายย่อยมากขึ้น
เยียวยา2แสนรายผ่านลดต้นทุน
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการชดเชยรายได้ที่หายไปของเกษตรกรกว่า 2 แสนรายที่เข้าโครงการจำนำข้าวนาปรังรอบนี้ไม่ทัน ธ.ก.ส.พร้อมให้การช่วยเหลือลดต้นทุนการเงินลง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิต โดยกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดย ธ.ก.ส.จะพิจารณาลดภาระดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาจำนำใหม่ 2 แสนรายดังกล่าว พร้อมพิจารณาจัดสินเชื่อใหม่ให้อีก 2 รอบการผลิต รวมทั้งพิจารณาเพิ่มวงเงินสินเชื่อกรณีพิเศษให้อีก 20% อัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน และให้ผู้ถือบัตรสินเชื่อเกษตรกรได้ใช้สิทธิอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเปิดให้มีสิทธิประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการประกันภัยพืชผลของรัฐบาลด้วย
ส่วนในระยะปานกลางถึงระยะยาว ธ.ก.ส.ก็จะเข้าไปสนับสนุนนโยบายการจัดโซนนิ่งการเพาะปลูกพืช พร้อมจัดให้มีแรงจูงใจที่เหมาะสมในการลดพื้นที่การปลูกข้าวและหันไปปลูกพืชพลังงานแทน รวมถึงจะเร่งนำงานวิจัยที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตรเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์จริง เพื่อให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายสินค้าราคาสูงขึ้น ซึ่งเรื่องนี้คงต้องทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานต่อไป ตั้งความหวังว่าภายใน 4 ปีนี้ คงได้เห็นเป็นรูปธรรม
สำหรับประเด็นของการใช้เงินรับจำนำข้าว 6.2 แสนล้านบาท ซึ่งเกินกรอบเพดานที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) อนุมัติไว้ 5 แสนล้านบาทนั้น ล่าสุดทุกฝ่ายเห็นไปในทิศทางเดียวกันที่จะดูแลให้การดำเนินโครงการระยะต่อไป ให้อยู่ภายในวงเงินหมุนเวียน 5 แสนล้านบาท โดยส่วนที่เกินไป 1.2 แสนล้านบาทก็เป็นเงินที่ได้รับมาจากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์
ผู้จัดการธ.ก.ส.กล่าวว่า สิ่งที่จะทำให้วงเงินลดลงมาเหลือ 5 แสนล้านบาทได้ภายในสิ้นปีนี้คือกระทรวงพาณิชย์ต้องเร่งระบายข้าวในสต็อกที่มี 17 ล้านตันออกไปโดยเร็วเพื่อนำเงินที่ได้มาใช้หนี้คืน ธ.ก.ส.ทั้งจากการสำรองจ่ายไปก่อนเกือบแสนล้านบาทระหว่างที่รอเงินจากการขายข้าวและเงินส่วนที่ธ.ก.ส.จ่ายไปแล้ว 9 หมื่นล้านบาทก่อนหน้านี้ รวมถึงเพื่อนำมาชำระคืนเงินกู้ 4.1 แสนล้านบาทที่กระทรวงการคลังบริหารและยืดระยะเวลาการชำระนี้ออกไปเรื่อยๆ อยู่ในขณะนี้ เพราะหากมีเงินขายข้าวเข้ามามากพอก็น่าจะไปจ่ายหนี้ดังกล่าวเพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นด้วย
ลุยแจกบัตรสินเชื่อครบ4ล้านใบ
นายลักษณ์กล่าวถึงงานที่ต้องสานต่อว่า จะเดินหน้าโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร การแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งได้ดำเนินการมาในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2552-2555) และคงต้องเดินหน้าต่อเนื่องในอีก 4 ปีข้างหน้า (2556-2559) ตามที่ได้แสดงวิสัยทัศน์ไว้กับบอร์ด สำหรับงานเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการต่อเนื่องไปถึงปีหน้าคือ การแจกบัตรสินเชื่อเกษตรกรให้ครบ 4 ล้านใบ จากปัจจุบันแจกไปได้ประมาณ 2.66 ล้านใบ เพื่อให้ครอบคลุมลูกค้าเกษตรกรทั้งหมดของธนาคาร รวมถึงลูกค้าที่เข้าสู่การพักหนี้จากปัญหาหนี้สินอีกว่า 3.5 แสนรายด้วย โดยต่อไปลูกค้าใหม่ของธนาคารจะได้บัตรสินเชื่อเกษตรกรด้วย
นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ยังมีแนวคิดจะเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้มากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้บัตรสินเชื่อได้เหมือนบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ โดยจะขยายขอบเขตการใช้บัตรเพิ่มขึ้น นอกจากใช้รูดซื้อปัจจัยการผลิต อย่างปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธุ์ น้ำมันแล้ว อาจจะรวมไปถึงให้สามารถซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นได้ด้วย เช่น ข้าวสาร เป็นต้น ในเบื้องต้นจะคัดกรองเกษตรกรที่มีวินัยในการชำระหนี้คืนให้ทดลองใช้บัตรสินเชื่อได้เหมือนกับบัตรเครดิตก่อนจะขยายให้ครบทุกคน
“คาดว่าภายใน 4 ปีข้างหน้าเกษตรกรคงเข้ามาอยู่ในระบบบัตรเครดิตทั้งหมด และการอนุมัติวงเงินสินเชื่อเป็นเงินสดอย่างในปัจจุบันก็จะหมดไป รวมทั้งจะขยายวัตถุประสงค์ของการใช้บัตรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถือเป็นการเปลี่ยนจากระบบปิดในปัจจุบันให้เป็นระบบเปิดใช้บัตรเป็นการทั่วไปได้จากที่ต้องใช้เฉพาะร้านค้าที่เข้าโครงการและมีเครื่องรูดบัตรเท่านั้น”
มุ่งสู่ศูนย์กลางเงินทุนภาคเกษตร
นายลักษณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ระบบไอทีของธนาคารมีความพร้อมรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ ได้แล้ว เพราะ 4 ปีที่ผ่านมา ได้เร่งปรับระบบคอล แบงกิ้งจนเสร็จ เพื่อจะได้นำความทันสมัยไปสู่พี่น้องเกษตรกร ทำให้ระบบการวิเคราะห์สินเชื่อที่ดี มีเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ เครื่องปรับสมุดเงินฝาก จะเริ่มนำมาติดตั้งในกทม.และปริมณฑลก่อนจะขยายไปยังต่างจังหวัด ซึ่งในปีหน้าคาดว่าจะได้เห็นบริการที่ทันสมัยเทียบชั้นแบงก์พาณิชย์ของธ.ก.ส.ได้ไม่ยาก
“เป้าหมายใน 4 ปีข้างหน้านี้ เราอยากเห็นธ.ก.ส.เป็นศูนย์กลางบริหารจัดการด้านเงินทุนของภาคเกษตรและชนบทไทยจริงๆ ตอนนี้จึงเร่งขยายสาขาให้ได้ 1,600 จากขณะนี้มี 1,200 สาขา เร่งติดตั้งตู้เอทีเอ็มให้ครบ 2 แห่งและบริการตลอด 24 ชั่วโมงเหมือนเอทีเอ็มของแบงก์พาณิชย์จากเดิมที่ให้บริการถึง 5 ทุ่มเท่านั้น” นายลักษณ์กล่าวและว่า ที่สำคัญจะต้องพัฒนาองค์กรเครือข่ายสหกรณ์ชุมชนจำนวน 1,200 แห่งให้เข้มแข็งตามไปด้วย โดยในอนาคตจะให้เครือข่ายชุมชนทำหน้าที่อนุมัติสินเชื่อที่ไม่ซับซ้อนให้เกษตรกรแทนสาขาของธนาคาร เพื่อลดงานไปในตัวด้วย
ส่วนการเตรียมพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ที่มีประชากรกว่า 600 ล้านคนและ 20% หรือ 120 ล้านคนเป็นกลุ่มผู้มีกำลังซื้อนั้นทำให้ธนาคารต้องเข้าไปช่วยเกษตรกรพัฒนาทั้งคุณภาพสินค้าและพัฒนาตัวของเกษตรเองให้มีความรู้เพื่อแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ด้วย โดยมองว่าไทยสามารถแข่งขันได้ เพราะภาคเกษตรของไทยยังมีความเข้มแข็งกว่าประเทศอื่นๆ แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะมีความผันผวนขึ้นลงบ้าง แต่โดยรวม 4 ปีที่ผ่านมาถือว่าเกษตรกรไทยมีรายได้มากขึ้นและมีเงินออมสูงขึ้นดูจากเงินฝากของธนาคารที่เพิ่มจาก 1.4 แสนล้านบาท 4 ปีก่อนเป็น 2.5 แสนล้านบาทในปัจจุบัน
เครดิต http://www.komchadluek.net/detail/20130624/161724/%E0%B8%98.%E0%B8%81.%E0%B8%AA.%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7.html#.UcetE9IQ6Mg