โครงการประชานิยม คือ
โครงการที่ออกแบบมาเพื่อโฆษณาพรรคเป็นหลัก ส่วนคุณภาพและความยั่งยืนอีกเรื่องนึง
จริงๆโครงการก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี เพียงแต่ที่ไม่ดีมันคิดได้ง่ายกว่า และเราในฐานะคนเลือกก็รู้เพียงแค่ว่าโครงการนี้จะได้อะไร แต่จะได้มาด้วยวิธีไหนไม่รู้
แล้วโครงการประชานิยมที่ไม่ดีคืออะไร
โครงการที่ไล่แก้ตามอาการของโรคไปเรื่อยๆ ไม่รู้จักผลข้างเคียงของโครงการ และไม่ได้วิเคราะห์สาเหตุของโรคอย่างจริงจัง จนสุดท้ายก็ต้องเป็นไปตามกรรม
ผมเปรียบเทียบเหมือนคนที่มักป่วยเป็นไข้หวัดเป็นประจำ (เอามาจากบทความสุขภาพของ อ.ปานเทพ)
เมื่อเป็นหวัดเราก็ต้องทานยาลดไข้ ทานยาลดน้ำมูก และทานยาแก้อักเสบ (ตามสูตร) แล้วเราก็มีความสุขที่อาการของโรคหายไปอย่างรวดเร็ว
และถ้ามีเสมหะก็ทานยาทำให้เสมหะแห้งลง หากหายใจไม่สะดวกเป็นโรคหอบหืดก็สูดยาขยายหลอดลมหรือพ่นยาแก้อักเสบ โดยไม่เคยรู้ว่ายาพวกนี้ก่อให้เกิดผลตามมาเป็นลูกโซ่ต่อร่างกาย ทั้งโรคไมเกรนและไซนัส รวมถึงตับทำงานแย่ลงเพราะน้ำตาลในเลือดเริ่มสูงขึ้น
เมื่อน้ำตาลเริ่มสูงขึ้น (เพราะกลไกของตับอ่อนทำงานแย่ลงจากการกินยามาก) หากยังรับประทานยาสูตรแก้หวัดต่อไป หรือต่อไปหลังจากนั้นรับประทานยาแก้โรคเบาหวาน พอสักระยะหนึ่งก็จะส่งผลตามมาให้เราเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเมื่อรับประทานยาแก้ความดันโลหิตสูงในขั้นต่อไปเราก็จะต้องเริ่มมาเป็นโรคหัวใจ เพราะรับประทานยาเกี่ยวกับหัวใจก็จะส่งผลกระทบต่อตับและไตต่อมากระทบเป็นลูกโซ่
โดยเฉพาะยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ และยาปฏิชีวนะ และยาเคมีแทบทุกชนิดมีผลต่อการทำงานของตับให้เสื่อมลง และถ้าตับทำงานเสื่อมลงก็แปลว่าภูมิต้านทานเราย่อมลดลงไปด้วย ดังนั้นมนุษย์เราพร้อมจะเกิดโรคได้ทุกชนิดถ้าเพียงแต่ “ตับเสื่อมสภาพลง”
ทั้งๆที่ความจริงแล้วไข้หวัดมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะความร้อนจะทำให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงขึ้น เชื้อโรคอ่อนแอลง เพียงแค่เรานอนพักผ่อน ห่มผ้าให้ตัวอุ่นๆ กินอาหารให้น้อยลงแล้วดื่มแต่น้ำที่อุณหภูมิห้อง หากตัวร้อนมากก็ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด เท่านี้โรคไข้หวัดก็จะหายได้เองและใช้เวลาเร็วกว่าการกินยาอีกด้วย
ที่นี้มาดูตัวอย่างของจริงกัน
ชาวนาทำงานหนัก ยากจน ทุกคนรู้ครับ แต่เคยถามไหมว่าเพราะอะไร
ไม่มีที่ดิน ค่าเช่าแพง - พอจะทำกฎหมายปฏิรูปที่ดินได้ไหม
เป็นหนี้ - ธกส.พอจะให้ยืมและพักชำระหนี้ได้ไหม
ค่าปุ๋ย, ค่ายา แพง - คุยกับพ่อค้าได้ไหม หรือเริ่มโครงการเกษตรอินทรีย์, ทางน้ำดีแค่ไหน
ผลผลิตไม่ดี - น้ำแล้งหรือน้ำท่วม รัฐคาดการณ์และควบคุมน้ำดีหรือยัง, การปลูกฤดูนี้มีข้อบกพร่องไหม, วิธีใช้แบบดำนาหรือโยนกล้า
ราคาไม่ดี - รัฐพอจะช่วยชาวนาให้เก็บสต็อกข้าวเองได้ไหม, แปรรูปได้เองหรือมีโรงสีไหม, รัฐส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายให้ชาวนาไหม, รัฐควบคุมปริมาณเพาะปลูกต่อปีเท่าไหร่
โครงการที่ว่ามาทั้งหมดทำมาหมดแล้วแต่ไม่ได้ผล - ควบคุมการทุจริตการรั่วไหลดีหรือยัง, จุดไหนไม่เป็นไปตามเป้า
ผมไม่ใช่ชาวนา และก็ไม่รู้อะไรนักหรอก
แต่ผมก็รู้ว่ามันไม่ใช่แค่การโยนเงินลงไปรับซื้อเองตันละ 15,000 แล้วก็จบ
รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์จบแค่ขั้นตอนนี้จริงๆ เพราะจนทุกวันนี้ จำนำข้าวก็ยังคงเป็นนโยบายหาเสียงหลัก ส่วนการอุดหนุนค่าปุ๋ยหรืออะไรอย่างอื่นก็เป็นแค่การพูดตามวาระโอกาสเท่านั้น
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ต้นทุนปลูกข้าวสูงขึ้นเป็นตันละ 8,000 เพราะทุกคนเก็งกำไรกันหมด ในขณะที่จำนำ 15,000 ได้จริงประมาณ 13,000 ส่วนต่างที่ได้เพิ่มไม่เหมือนกับที่ทุกคนคาดหวังไว้แต่แรก และหากยกเลิกการจำนำหรือลดราคาลงทันที ก็จะทำให้ชาวนาอยู่ไม่ได้ ซึ่งก็ดูท่าว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น
สัญญาณหนึ่งคือ การลดราคาจำนำเหลือ 12,000 และจำกัดปริมาณรับจำนำ
แสดงให้เห็นว่าการระบายข้าวของรัฐกำลังมีปัญหา ไม่ว่าจะขาดทุนเท่าไหร่ ขายได้เท่าไหร่ก็ตาม แต่ตอนนี้รัฐเริ่มไม่มีเงินในมือแล้ว ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งงดการปล่อยกู้ให้กับโครงการนี้ ค้างจ่ายชาวนาหลายเดือน จนตอนนี้ต้องไปล้วงเงินออมใน ธกส.
ฉะนั้นที่รัฐบาลบอกว่าจะจำนำข้าวแล้วก็ระบายข้าวออกไปเพื่อมารับจำนำใหม่ทุกปีนั้น ไม่จริง และไม่ยั่งยืน
ละครเรื่องนี้ยังไม่ถึงตอนจบ แต่หากดำเนินต่อไปก็ยากที่จะกอบกู้สถานการณ์ได้ และความฝันของชาวนาจะได้ลืมตาอ้าปากก็คงจบลงเช่นกัน พร้อมกับความเสียหายของประเทศนับแสนล้านบาทและอาจจะถึงล้านล้านบาท จนประเทศต้องเข้าสู่ภาวะวิกฤติการเงินอีกครั้งหนึ่ง
(นอกเรื่องนิดนึงสำหรับนโยบายการเมือง)
เดิมที่การเมืองเลือกตั้งก็แค่เลือกคนดีและเชื่อว่าเขาจะรู้ปัญหา
ต่อมาก็พัฒนาเป็นนักการเมืองเสนอนโยบาย ถ้าถูกใจก็ได้รับเลือกมาเป็นรัฐบาลแล้วทำตามนโยบายนั้น แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังเป็นการบริหารแบบ"บนลงล่าง"
ผมคิดว่า ต่อไปนี้ภาคประชาชนควรจะต้องนำปัญหาปากท้องของตนมาพูดคุยกัน จนได้แนวทางแก้ไขร่วมกันหรือได้เป้าหมายกำหนดเป็นนโยบาย แล้วเสนอให้นักการเมืองนำไปดำเนินการ เป็นการควบคุมงานบริหารแบบ"ล่างสู่บน"
น่าจะช่วยให้ทิศทางการทำงานรัฐบาลมีความชัดเจน ต่อเนื่องและป้องกันการเกิดนโยบายแนวประชานิยมได้
ก็ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ขอบคุณครับ
อะไรคือนโยบายที่เรียกว่า ประชานิยม
โครงการที่ออกแบบมาเพื่อโฆษณาพรรคเป็นหลัก ส่วนคุณภาพและความยั่งยืนอีกเรื่องนึง
จริงๆโครงการก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี เพียงแต่ที่ไม่ดีมันคิดได้ง่ายกว่า และเราในฐานะคนเลือกก็รู้เพียงแค่ว่าโครงการนี้จะได้อะไร แต่จะได้มาด้วยวิธีไหนไม่รู้
แล้วโครงการประชานิยมที่ไม่ดีคืออะไร
โครงการที่ไล่แก้ตามอาการของโรคไปเรื่อยๆ ไม่รู้จักผลข้างเคียงของโครงการ และไม่ได้วิเคราะห์สาเหตุของโรคอย่างจริงจัง จนสุดท้ายก็ต้องเป็นไปตามกรรม
ผมเปรียบเทียบเหมือนคนที่มักป่วยเป็นไข้หวัดเป็นประจำ (เอามาจากบทความสุขภาพของ อ.ปานเทพ)
เมื่อเป็นหวัดเราก็ต้องทานยาลดไข้ ทานยาลดน้ำมูก และทานยาแก้อักเสบ (ตามสูตร) แล้วเราก็มีความสุขที่อาการของโรคหายไปอย่างรวดเร็ว
และถ้ามีเสมหะก็ทานยาทำให้เสมหะแห้งลง หากหายใจไม่สะดวกเป็นโรคหอบหืดก็สูดยาขยายหลอดลมหรือพ่นยาแก้อักเสบ โดยไม่เคยรู้ว่ายาพวกนี้ก่อให้เกิดผลตามมาเป็นลูกโซ่ต่อร่างกาย ทั้งโรคไมเกรนและไซนัส รวมถึงตับทำงานแย่ลงเพราะน้ำตาลในเลือดเริ่มสูงขึ้น
เมื่อน้ำตาลเริ่มสูงขึ้น (เพราะกลไกของตับอ่อนทำงานแย่ลงจากการกินยามาก) หากยังรับประทานยาสูตรแก้หวัดต่อไป หรือต่อไปหลังจากนั้นรับประทานยาแก้โรคเบาหวาน พอสักระยะหนึ่งก็จะส่งผลตามมาให้เราเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเมื่อรับประทานยาแก้ความดันโลหิตสูงในขั้นต่อไปเราก็จะต้องเริ่มมาเป็นโรคหัวใจ เพราะรับประทานยาเกี่ยวกับหัวใจก็จะส่งผลกระทบต่อตับและไตต่อมากระทบเป็นลูกโซ่
โดยเฉพาะยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ และยาปฏิชีวนะ และยาเคมีแทบทุกชนิดมีผลต่อการทำงานของตับให้เสื่อมลง และถ้าตับทำงานเสื่อมลงก็แปลว่าภูมิต้านทานเราย่อมลดลงไปด้วย ดังนั้นมนุษย์เราพร้อมจะเกิดโรคได้ทุกชนิดถ้าเพียงแต่ “ตับเสื่อมสภาพลง”
ทั้งๆที่ความจริงแล้วไข้หวัดมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะความร้อนจะทำให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงขึ้น เชื้อโรคอ่อนแอลง เพียงแค่เรานอนพักผ่อน ห่มผ้าให้ตัวอุ่นๆ กินอาหารให้น้อยลงแล้วดื่มแต่น้ำที่อุณหภูมิห้อง หากตัวร้อนมากก็ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด เท่านี้โรคไข้หวัดก็จะหายได้เองและใช้เวลาเร็วกว่าการกินยาอีกด้วย
ที่นี้มาดูตัวอย่างของจริงกัน
ชาวนาทำงานหนัก ยากจน ทุกคนรู้ครับ แต่เคยถามไหมว่าเพราะอะไร
ไม่มีที่ดิน ค่าเช่าแพง - พอจะทำกฎหมายปฏิรูปที่ดินได้ไหม
เป็นหนี้ - ธกส.พอจะให้ยืมและพักชำระหนี้ได้ไหม
ค่าปุ๋ย, ค่ายา แพง - คุยกับพ่อค้าได้ไหม หรือเริ่มโครงการเกษตรอินทรีย์, ทางน้ำดีแค่ไหน
ผลผลิตไม่ดี - น้ำแล้งหรือน้ำท่วม รัฐคาดการณ์และควบคุมน้ำดีหรือยัง, การปลูกฤดูนี้มีข้อบกพร่องไหม, วิธีใช้แบบดำนาหรือโยนกล้า
ราคาไม่ดี - รัฐพอจะช่วยชาวนาให้เก็บสต็อกข้าวเองได้ไหม, แปรรูปได้เองหรือมีโรงสีไหม, รัฐส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายให้ชาวนาไหม, รัฐควบคุมปริมาณเพาะปลูกต่อปีเท่าไหร่
โครงการที่ว่ามาทั้งหมดทำมาหมดแล้วแต่ไม่ได้ผล - ควบคุมการทุจริตการรั่วไหลดีหรือยัง, จุดไหนไม่เป็นไปตามเป้า
ผมไม่ใช่ชาวนา และก็ไม่รู้อะไรนักหรอก
แต่ผมก็รู้ว่ามันไม่ใช่แค่การโยนเงินลงไปรับซื้อเองตันละ 15,000 แล้วก็จบ
รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์จบแค่ขั้นตอนนี้จริงๆ เพราะจนทุกวันนี้ จำนำข้าวก็ยังคงเป็นนโยบายหาเสียงหลัก ส่วนการอุดหนุนค่าปุ๋ยหรืออะไรอย่างอื่นก็เป็นแค่การพูดตามวาระโอกาสเท่านั้น
สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ต้นทุนปลูกข้าวสูงขึ้นเป็นตันละ 8,000 เพราะทุกคนเก็งกำไรกันหมด ในขณะที่จำนำ 15,000 ได้จริงประมาณ 13,000 ส่วนต่างที่ได้เพิ่มไม่เหมือนกับที่ทุกคนคาดหวังไว้แต่แรก และหากยกเลิกการจำนำหรือลดราคาลงทันที ก็จะทำให้ชาวนาอยู่ไม่ได้ ซึ่งก็ดูท่าว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น
สัญญาณหนึ่งคือ การลดราคาจำนำเหลือ 12,000 และจำกัดปริมาณรับจำนำ
แสดงให้เห็นว่าการระบายข้าวของรัฐกำลังมีปัญหา ไม่ว่าจะขาดทุนเท่าไหร่ ขายได้เท่าไหร่ก็ตาม แต่ตอนนี้รัฐเริ่มไม่มีเงินในมือแล้ว ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งงดการปล่อยกู้ให้กับโครงการนี้ ค้างจ่ายชาวนาหลายเดือน จนตอนนี้ต้องไปล้วงเงินออมใน ธกส.
ฉะนั้นที่รัฐบาลบอกว่าจะจำนำข้าวแล้วก็ระบายข้าวออกไปเพื่อมารับจำนำใหม่ทุกปีนั้น ไม่จริง และไม่ยั่งยืน
ละครเรื่องนี้ยังไม่ถึงตอนจบ แต่หากดำเนินต่อไปก็ยากที่จะกอบกู้สถานการณ์ได้ และความฝันของชาวนาจะได้ลืมตาอ้าปากก็คงจบลงเช่นกัน พร้อมกับความเสียหายของประเทศนับแสนล้านบาทและอาจจะถึงล้านล้านบาท จนประเทศต้องเข้าสู่ภาวะวิกฤติการเงินอีกครั้งหนึ่ง
(นอกเรื่องนิดนึงสำหรับนโยบายการเมือง)
เดิมที่การเมืองเลือกตั้งก็แค่เลือกคนดีและเชื่อว่าเขาจะรู้ปัญหา
ต่อมาก็พัฒนาเป็นนักการเมืองเสนอนโยบาย ถ้าถูกใจก็ได้รับเลือกมาเป็นรัฐบาลแล้วทำตามนโยบายนั้น แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังเป็นการบริหารแบบ"บนลงล่าง"
ผมคิดว่า ต่อไปนี้ภาคประชาชนควรจะต้องนำปัญหาปากท้องของตนมาพูดคุยกัน จนได้แนวทางแก้ไขร่วมกันหรือได้เป้าหมายกำหนดเป็นนโยบาย แล้วเสนอให้นักการเมืองนำไปดำเนินการ เป็นการควบคุมงานบริหารแบบ"ล่างสู่บน"
น่าจะช่วยให้ทิศทางการทำงานรัฐบาลมีความชัดเจน ต่อเนื่องและป้องกันการเกิดนโยบายแนวประชานิยมได้
ก็ขอบคุณทุกท่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ขอบคุณครับ