อยากขอคำแนะนำผู้ที่จบ PhD กำลังเรียนPhDอยู่หรือทำงานด้านวิจัยครับ เกี่ยวกับการสมัครเรียนและชีวิตการทำงาน

สวัสดีครับ

ผมเป็นคนหนึ่งที่อยากทำ PhD ครับ (สายวิทยาการคอม/วิศวะคอม/IT) จุดประสงค์ของผม คือ อยากเป็นนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนาโครงการของตัวเองตามห้องแลป  ผมชอบประดิษฐ์  ชอบคิดค้น  ชอบประยุกต์  แต่ไม่อยากเป็นอาจารย์ครับ  ผมมีเรื่องอยากจะสอบถามกับชีวิตของนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์

1. ถ้าผมอยากทำงานในสถาบันวิจัยทางยุโรป  ควรจะต้องจบ PhD จากสถาบันในยุโรปเท่านั้นใช่ไหมครับ  ผมเคยไปอ่านรายละเอียดสถาบันวิจัยในประเทศเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์บางที่มีหัวข้อที่สนใจและอยากทำด้วยมากๆ  publication ของเค้าก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในงานที่สนใจด้วย ถ้าเกิดสมมติว่าเรามีโอกาสได้ทุนเรียนป.เอกในประเทศไทย(เป็นนานาชาติและมีโอกาสได้ไปทำวิจัยในยุโรปสั้นๆแต่เป็นวุฒิในเมืองไทย)  แล้วเมื่อจบแล้วเราอยากจะสมัครกับสถาบันวิจัยในยุโรปมีความเป็นไปได้เพียงใดครับในเชิงสถิติและความน่าจะเป็น(เอาแบบในความเป็นจริงน่ะครับ)  หรือเราควรเลือกที่จะรอสมัคร PhDในสถาบันที่ยุโรปเท่านั้น  เพราะอย่างน้อยๆสถาบันที่เราจบในยุโรปเวลาไปสมัครตามแลปวิจัยในยุโรปเค้ารู้จักมากกว่าหรือเราอาจได้ connection มากกว่าอะไรแบบนี้

2. มีใครที่จบป.โทในประเทศไทย  โปรไฟล์ปานกลางแล้วสามารถสมัครไปทำ PhD ในยุโรปแบบได้ทุนบ้างไหมครับ  คิดว่าอะไรคือส่วนสำคัญในการสมัครที่ทำให้คุณสมัครทุนกับ PhD ได้เป็นผลสำเร็จหรือครับ  ผมเป็นคนที่ปานกลางๆน่ะครับ ไม่ได้เกียรตินิยมหรือเคยไปแข่งโอลิมปิคอะไรมาเลย  งานป.โทก็ไม่ได้ตีพิมพ์อะไรกับระดับอินเตอร์(ตอนนั้นไม่ทราบว่าจะสำคัญเมื่อจะเรียนต่อในระดับสูง  เพราะแค่ตีพิมพ์ในประเทศได้ก็ถือว่าผ่านเกณฑ์จบป.โทน่ะครับ)  ได้เกรดแค่ดีประมาณนึง และได้ทุนเป็นผู้ช่วยวิจัยในต่างประเทศสมัยเรียนป.โทเพียงเทอมเดียว  ไม่รู้ว่าจะไปอัพโปรไฟล์ให้มันมีอะไรเด่นๆขึ้นดีเวลาไปสมัครขอทุนทำ PhD โดยเฉพาะในสถาบันหรือมหาวิทยาลัยในยุโรป    
ตอนนี้มีความรู้สึกว่าการทำวิทยานิพนธ์ป.โทไม่ได้ช่วยอะไรมากมายเลยในการสมัคร PhDถ้าเราไม่ได้เอาไปตีพิมพ์กับวารสารนานาชาติชั้นนำ  เพราะเท่าที่อ่านดูและสังเกตจาก นศ. PhD ปัจจุบันในมหาวิทยาลัยที่สนใจ  โปรไฟล์ดีมากๆ  เช่นได้เกียรตินิยม ตีพิมพ์กับวารสารระดับนานาชาติชั้นสูงได้ (นี่ขนาดไม่เคยเลือกมหาวิทยาลัยตาม Ranking  เลยนะ เลือกมหาวิทยาลัยที่มีหัวข้อที่เราสนใจเป็นหลัก)  อาจจะเลือกเรียนในประเทศแล้วพยายามทำงานให้ดีๆ ได้ตีพิมพ์กับวารสารดังๆเพื่อมาชดเชยส่วนนี้น่ะครับหากเรียนในประเทศ  เพราะคงเป็นสิ่งเดียวที่พอจะวัดได้บ้าง

3. มีใครที่เรียนต่อ PhD ทั้งที่ป.โทไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ไหมครับ  สมัครที่ไหนกันไว้มั่ง

4. คนที่เรียนจบ PhD แล้ว ทำงานวิจัยหรือเป็นนักวิทยาศาสตร์ในยุโรปบ้างครับ  ชีวิตเหมือนตอนทำ PhD ไหม ดีหรือแย่กว่ากันครับในแง่คุณภาพชีวิต  ถ้าย้อนเวลามาได้จะยังทำสายนี้อยู่ไหมครับ 555555 ผมอยากฟังคห.ประกอบการตัดสินใจน่ะครับ  ผมเป็นคนไม่ได้มองรายได้เป็นหลักมาก  แค่พออยู่ได้ไม่ลำบากพอมีเงินเก็บ  ได้ทำงานที่ชอบประดิษฐ์ คิดค้น ก็พอใจแล้ว

กำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจจุดเปลี่ยนในชีวิตที่สำคัญครับ ขอเล่าพื้นหลังของตัวผมเองให้ฟังสักเล็กน้อย ตอนนี้ทำงานเอกชนเป็นวิศวกรซอฟแวร์ครับ เงินเดือนไม่มากแต่พออยู่ได้ไม่ลำบาก 45 k ครับ(ตอนนี้อายุ 29 กำลังจะ 30 แล้ว)  ลักษณะนิสัยผมไม่ค่อยใช้เงินเปลืองมีเงินเหลือเก็บทุกเดือน ผ่อนรถอย่างเดียว บ้านอยู่กับพ่อแม่ครับ เงินเดือนมักเอาลง provident fund กับซื้อหุ้นบ.ที่ maximum ตลอดเลย มองว่าคุณภาพชีวิตการทำงานรวมๆดีไม่แย่ครับ แต่ที่อยากต่อ PhD เพราะคิดว่าชอบคิดค้น  ชอบเรียนรู้วิทยาศาสตร์น่ะครับ (ความชอบส่วนตัวเลย) ซึ่งการทำงานเอกชนไม่ได้ตอบโจทย์ตรงนี้และไม่ได้เกี่ยวอะไรกับด้านที่สนใจ  ตัวผมสนใจทำวิจัยด้านระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ หรือพวก image processing ในงานวิทยาศาสตร์และจะขลุกกับสิ่งพวกนี้ได้เป็นวันๆเลย  เพราะตอนทำวิทยานิพนธ์ก็ทำด้านนี้น่ะครับ ชอบมาก  และกอปรกับที่ผมชอบศิลปะยุโรปด้วยเลยอยากไปทำวิจัยหรือทำ PhD ที่ยุโรปซักพักหากมีโอกาสและเป็นไปได้  แต่ผมไม่รู้ว่าชีวิตของนักวิทยาศาสตร์ สายวิจัย เป็นเช่นไร  ทราบดีว่ารายได้ไม่เท่ากับคนที่ทำเอกชน ทำธุรกิจอยู่แล้ว แต่ก็แอบคิดว่าคงไม่ถึงขนาดต้องรัดเข็มขัดขนาดนั้นและน่าจะพอมีเงินเหลือเก็บได้บ้างเพื่อตัวเองในอนาคต  และอีกอย่างหากเรียนต่อ PhD หางานวิจัยในยุโรปทำได้  น่าจะได้ connection เจอคนที่ชอบอะไรเหมือนๆกัน  อาจจะมีโอกาสได้ตั้งทีมทำโปรเจคท์อะไรกันได้บ้างเพราะรู้สึกว่างานพวกนี้เราต้องทำเป็นทีม  ซึ่งเรื่อง connection เป็นสิ่งที่อยากได้มากเลยล่ะครับ  การไปเรียนต่อ PhD นอกจากจะได้รู้จักกับ Professor ที่เค้ามีความรู้ในสายงานเรา ด้านการวิจัย ค้นคว้า ทดลอง ก็อาจจะได้ connection ต่อยอดมาจากอ. อีกที  ตอนนี้กำลังหาทุนและจะทำการสมัครเท่าที่จะทำได้น่ะครับ  ทั้งในประเทศและต่างประเทศเน้นที่ยุโรปเป็นหลักๆเพราะส่วนใหญ่ไม่มี tuition fees และมีเงินเดือนด้วย  แต่การสมัครเรียนในยุโรปดูมืดมนพอสมควรเลยครับเพราะเป็นลักษณะเปิดรับแบบเป็น open job เหมือนรับสมัครงาน  เปิดรับจำนวนน้อยๆแต่ผู้สมัครมากมายทั้งใน EU และนอก EU เราโปรไฟล์ไม่ได้เด่นอะไรแถมยังพูดภาษาที่สามไม่ได้แบบคนในประเทศเค้าและใน EU ด้วยแล้ว  เรียกว่าเสียเปรียบแทบจะทุกด้านเลย  ส่วนสมัคร PhD ในประเทศไทยโอกาสสูงขึ้นมาหน่อยในด้านคุณสมบัติต่างๆก็ดูจะเป็นไปได้มากกว่า  แต่อาจต้องคิดในเรื่องการสมัครงานหลังจบ (ไม่ได้บอกว่าไม่ดีนะครับ แต่อาจได้ภาษา ได้ connection กับสถาบันวิจัยในยุโรปไม่มากเท่ากับไปเรียนยุโรปเอง)  ตอนนี้เลยทำได้เพียงแค่เตรียมๆพัฒนาภาษาอังกฤษกับสอบภาษาอังกฤษให้มีผลสอบดูดีขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยกับติดตาม PhD positions ที่เปิดรับที่ต่างๆ อ่านรายละเอียด และคาดความน่าจะเป็นว่าโอกาสได้เพียงใด  ถ้าโอกาสน้อยก็คงเลือกไม่สมัคร  แม้จะลองอยากสมัครทุกที่ที่เปิดรับก็ตามแต่เพราะค่อนข้างเกรงใจอ.ที่ปรึกษาที่ต้องมาเขียน letter of recommendations  ให้ทุกที่ที่เราจะไปสมัคร คงดูไม่ดีนัก   อีกเรื่องที่ต้องต่อสู้ คือ การให้กำลังใจตัวเองและการเตรียมใจเพราะหนทางนี้คงไม่ง่าย  รอบตัวผม(นอกจากพ่อแม่กับอาจารย์)ไม่มีใครสนับสนุนให้ผมทำ PhD นัก เพราะมองว่ารายได้น้อย  เป็นพวกเรียนสูงแต่มีรายได้สู้อาชีพอื่นไม่ได้  สู้คนทำเอกชนหรือพ่อค้าแม่ค้าที่จบป. 4 แต่ทำเงินเป็นล้านไม่ได้  บางคนก็บอกงานเดิมที่ทำก็ดีอยู่แล้วจะเรียนต่อทำไม(อืม อันนี้เป้าหมายชีวิตแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันด้วยนี่สิ) การตัดสินใจเรียนต่อจึงต้องเจอคำเสียดสีแนวนี้ตลอดเวลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งผมก็ตัดสินใจจะเลือกฟังเสียงตัวเองมากกว่าเสียงคนอื่น ยิ้ม อ่ะนะ

ขอบคุณสำหรับคำตอบและคำแนะนำจากทุกท่านล่วงหน้านะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่